ไมเกรน

Key Takeaways

  • ผู้ที่มีอาการไมเกรนมักจะปวดหัวข้างเดียวบริเวณขมับ หรือปวดหัวทั้งสองข้าง
  • อาการปวดหัวไมเกรนมักจะปวดเป็นจังหวะตุบ ๆ และปวดจนไม่สามารถทำอะไรได้
  • ผู้ที่เป็นไมเกรนมักจะมีสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการ เช่น แสงจ้า ความร้อน เสียงดัง หรือกลิ่นฉุนบางอย่าง
สารบัญบทความ

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

ไมเกรนคืออะไร?

โรคไมเกรน (Migraine) คืออาการปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดหัวรุนแรงหรือปวดตุบ ๆ โดยอาการปวดไมเกรนมักจะเกิดข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะ แต่บางครั้งอาจปวดหัวไมเกรนทั้งสองข้างได้เช่นกัน อาการปวดไมเกรนมักมีความรุนแรงและยาวนานตั้งแต่หลายชั่วโมงไปจนถึงหลายวัน อาการไมเกรนโดยเบื้องต้นแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

1. บอกเหตุล่วงหน้า (Prodrome)

อาการไมเกรนเบื้องต้น ผู้ป่วยอาจรู้สึก หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน หรือมีอาการปวดตึงบริเวณต้นคอ ร่วมด้วย

2. อาการเตือนนำ (Aura)

ก่อนเกิดอาการไมเกรนในบางรายอาจมองเห็นแสงจ้า แสงวูบวาบ เห็นภาพเบลอ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน

3. อาการปวดศีรษะ (Headache)

ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดไมเกรนชัดเจน กล่าวคือมีอาการปวดหัวตุบ ๆ ข้างเดียว หรือาจปวดหัวทั้งสองข้าง และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ไวต่อแสง เสียง 

4. เข้าสู่ภาวะปกติ (Postdrome)

หลังจากอาการปวดหัวลดลง ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หงุดหงิด หรือมีความไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ

 

ไมเกรนรักษาอย่างไร ? ปรึกษาคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ส่งยาถึงที่

เช็กลิสต์! อาการปวดไมเกรนเป็นอย่างไร?

อาการไมเกรน

อาการไมเกรนเป็นยังไง? ปวดหัวแบบไหนถึงเรียกว่าไมเกรน โดยทั่วไปแล้วลักษณะไมเกรนมีอาการดังนี้

  • ปวดหัวข้างเดียว หรือปวดทั้งสองข้าง
  • ปวดหัวเป็นจังหวะตุ๊บ ๆ 
  • ปวดหัวมากจนทำอะไรไม่ได้
  • แพ้แสงจ้า หรือเสียงดัง 
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดเบ้าตา

 

BeDee Tips: ยาแก้ปวดไมเกรน ยี่ห้อไหนดี? ปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวันถึงเที่ยงคืน ไม่มีค่าปรึกษา จัดส่งยาถึงที่

ไมเกรนเกิดจากสาเหตุใด?

ไมเกรนเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไมเกรนมีดังนี้

 

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม

ไมเกรนเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากคนในครอบครัวเป็นโรคไมเกรนก็มีโอกาสสูงที่เราจะมีอาการได้เช่นกัน

  • การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง

การเปลี่ยนแปลงในระดับของสารเคมีบางชนิดในสมอง โดยเฉพาะสารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่มีบทบาทในการควบคุมการส่งสัญญาณของเส้นประสาท อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นอาการปวดหัวไมเกรน

  • ฮอร์โมน

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ระดับของเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ต่ำลงอย่างรวดเร็วในช่วงมีประจำเดือน หรือช่วงหลังคลอดบุตร สามารถกระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้

  • ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม

เช่น อากาศร้อนจัด แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นแรง หรือปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น โรคเครียดโรคเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ การดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของไทรามีน เช่น เนย ชีส อาหารหมักดอง เนื้อสัตว์แปรรูป

  • ปัจจัยทางกายภาพ

ความเครียดทางร่างกาย การออกกำลังกายมากเกินไป หรืออาการเหนื่อยล้ามาก ๆ สามารถกระตุ้นให้เป็นไมเกรนได้

 

BeDee Tips: วิธีจัดการความเครียดทำอย่างไรได้บ้าง อ่านเลย

การวินิจฉัยโรคไมเกรน

การวินิจฉัยโรคไมเกรนนั้นแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ เช่น มีอาการปวดหัวอย่างไร มักจะเกิดขึ้นเมื่อใด เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ ลักษณะการปวดเป็นอย่างไร เช่น ปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวทั้งสองข้าง ปวดตุ๊บ ๆ มีปัจจัยอะไรกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนบ้าง มีอาการอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยหรือไม่ การซักประวัติเหล่านี้ก็เพื่อแยกอาการปวดหัวไมเกรนกับอาการปวดหัวที่อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ออกจากกัน หากแพทย์สงสัยว่าอาจมีโรคอื่น ๆ อาจสั่งตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การสแกนสมอง CT หรือ MRI หรือการตรวจเลือด

การรักษาโรคไมเกรนทำอย่างไร?

วีธีรักษาไมเกรน

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

การรักษาไมเกรนนั้นจะใช้ยาในการรักษา เป้าหมายของการให้ยาแก้ปวด เพื่อให้หายปวดศีรษะและอาการร่วมอย่างรวดเร็วภายใน 2 ชั่วโมงและไม่กลับมาปวดศีรษะอีกภายใน 24 ชั่วโมง และเพื่อให้กลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพตามปกติ

 

ยาแก้ปวดจัดเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ยาแก้ปวดทั่วไปและยาแก้ปวดหัวเฉพาะไมเกรน สำหรับยาแก้ปวดหัวทั่วไป เช่น พาราเซตามอล ยากลุ่ม NSAIDs เช่น ไอบูโพรเฟน หรือ นาโปรเซน สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวเล็กน้อย ถึงปานกลางได้

 

ยาที่ใช้สำหรับรักษาไมเกรนโดยเฉพาะ ได้แก่ ยา Ergotamine ยาปวดหัวไมเกรนกลุ่มทริปแทน เช่น ยา Sumatriptan และ Eletriptan ยากลุ่มนี้ช่วยยับยั้งสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหัวไมเกรน และมีประสิทธิภาพในการรักษาไมเกรนที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง

 

ข้อควรระวังเพิ่มเติม ยา Ergotamine ไม่ควรทานร่วมกับยากลุ่มทริปแทน เนื่องจากการเสริมฤทธิ์กันของยาต่อการหดตัวของหลอดเลือด การทานยาสองชนิดนี้ควรเว้นระยะเวลาห่างกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

 

ยาป้องกันไมเกรน 

แพทย์จะพิจารณาให้ยาป้องกันไมเกรนเมื่อผู้ป่วยมีความถี่ของอาการปวดศีรษะไมเกรนมากกว่าหรือเท่ากับ 4 วันต่อเดือน เพื่อทำให้ความรุุนแรงและความถี่ของอาการปวดศีรษะลดลง ลดระยะเวลาขณะที่มีอาการปวดศีรษะเฉียบพลัน และช่วยให้ลดปริมาณการใช้ยาแก้ปวด รวมทั้งทำให้การออกฤทธิ์ของยาแก้ปวดดีขึ้น ดังนั้นหากสังเกตว่ามีอาการปวดศีรษะบ่อยครั้ง มีแนวโน้มทานยาแก้ปวดมากขึ้น หรือมีอาการปวดศีรษะรุนแรง จนมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ทันที

 

นอกจากนี้ไมเกรนสามารถรักษาได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด การดื่มคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ 
  • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อช่วยลดความเครียด
  • ฝึกเทคนิคผ่อนคลาย เช่น เทคนิคการหายใจ การทำสมาธิ หรือโยคะ
  • ทำกายภาพบำบัด

เมื่อเป็นไมเกรนควรดูแลตัวเองอย่างไร?

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการไมเกรน เช่น แสง เสียง ความร้อน หรือกลิ่น
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • ประคบเย็น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไมเกรน

1. ปวดหัวไมเกรนกินยาอะไรหาย?

โดยทั่วไปยาปวดหัวไมเกรนนั้นมีตั้งแต่ยารักษาอาการปวดทั่วไปที่ไม่รุนแรงมาก เช่น พาราเซตามอล หรือยากลุ่ม NSAIDs ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดหัวไมเกรนมากขึ้นแพทย์อาจจ่ายยาในกลุ่มไมเกรนโดยเฉพาะ เช่นยา Sumatriptan Rizatriptan Eletriptan

2. ปวดไมเกรนบ่อยอันตรายไหม?

อาการปวดหัวไมเกรนหากเกิดขึ้นบ่อยอาจส่งผลรุนแรงอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ภาวะไมเกรนเรื้อรัง (Chronic Migraine) หากเป็นไมเกรนบ่อยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาและหาสาเหตุต่อไป

3. ไมเกรนปวดตรงไหน?

โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคไมเกรนมักมีอาการปวดหัวข้างเดียว หรือปวดทั้งสองข้างบริเวณขมับ รอบดวงตา หรือหน้าผาก มีอาการปวดแบบตุ๊บ ๆ แตกต่างจากการปวดหัวจากความเครียดที่มักปวดตื้อ ๆ

ไมเกรน ปล่อยไว้ทรมาน รีบปรึกษาแพทย์

ปวดไมเกรนทุกวันปวดหัวแล้วอ้วก มีอาการไมเกรนเริ่มต้นอย่าปล่อยไว้ รีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาบรรเทาอาการ 

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนแอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS 

 

Content powered by BeDee Expert

ภญ. วุฒิรัต ธรรมวุฒิ

เภสัชกร 

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Migraine – Symptoms and causes – Mayo Clinic. (2023, July 7). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/migraine-headache/symptoms-causes/syc-20360201

 

What is migraine? (2024, March 14). WebMD. https://www.webmd.com/migraines-headaches/migraines-headaches-migraines

 

Migraine. (2024, August 28). NHS. https://www.nhs.uk/conditions/migraine/

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Takeaways REM Sleepคือหนึ่งในช่วงของวงจรการนอนหลับในแต่ละคืน การนอนหลับในช่วง REM Sleep นั้นดวงตาของเราจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงนี้สมองจะมีการทำงานคล้ายกับช่วงที่ตื่นอยู่ แต่กล้ามเนื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในภาวะอัมพาตชั่วคราว จึงมักจะเกิดกา

Key Takeaway วัคซีนไข้หวัดใหญ่ถูกผลิตขึ้นจากเชื้อตาย มีความปลอดภัยสูง  ตัวเชื้อในวัคซีนจะเข้าไปกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคไข้หวัดใหญ่ในร่างกายของผู้ที่รับวัคซีน เมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่แล้วยังควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่อยู่เนื่องจากภูมิคุ้มกันจะค่อ