Key Takeaways สะดุ้งตื่นเกิดจากการกระตุกของกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็วในขณะที่ร่างกายของเรากำลังจะเข้าสู่ภาวะหลับลึก ทำให้เราสะดุ้งตื่นขึ้นมาชั่วขณะ อาการสะดุ้งตื่นสามารถพบได้ในคนทั่วไป แต่มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก หากมีปัญหาสะดุ้งตื่นบ่อย นอนไม่หลับ นอน
พยาธิเส้นด้าย อันตรายในกลุ่มเด็กเล็ก
Key Takeaways
- พยาธิเส้นด้าย (Threadworm) หรือพยาธิเข็มหมุด (Pinworm) เป็นพยาธิที่มีลักษณะเรียวและยาวคล้ายเส้นด้าย มีสีขาวค่อนไปทางใส มักพบในลำไส้ใหญ่ส่วนปลายของมนุษย์โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน
- ส่วนใหญ่มักติดพยาธิผ่านทางปาก หากมีการสัมผัสไข่พยาธิจากที่ติดอยู่ตามสิ่งของ อาหาร น้ำดื่ม หรือจากผู้อื่น
- วิธีรักษาในปัจจุบันจะใช้การรักษาด้วยยาถ่ายพยาธิ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยไม่ควรหาซื้อยาถ่ายพยาธิมารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเนื่องจากจำเป็นต้องทราบชนิดของพยาธิก่อนจึงจะสามารถจ่ายยาให้เหมาะสมได้
พยาธิเส้นด้ายคืออะไร?
พยาธิเส้นด้าย (Threadworm) หรือที่บางคนเรียกว่าพยาธิเข็มหมุด (Pinworm) ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Enterobius Vermicularis เป็นพยาธิชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเรียวและยาวคล้ายเส้นด้าย มีสีขาวค่อนไปทางใส มักพบในลำไส้ใหญ่ส่วนปลายของมนุษย์โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ที่มักเผลอเอามือหรือเอาของเล่นเข้าปาก เมื่อพยาธิตัวเมียโตเต็มที่จะเคลื่อนตัวจากลำไส้ไปยังบริเวณทวารหนักของมนุษย์เพื่อวางไข่ ทำให้เกิดอาการคันรอบทวารหนัก โดยเฉพาะเวลากลางคืน
พยาธิเส้นด้ายเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?
พยาธิเส้นด้ายสามารถผ่านเข้าสู่ได้หลายทาง โดยทั่วไปแล้ววิธีการที่จะทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดจากพยาธิมีดังนี้
- ทางปาก หากมีการสัมผัสไข่พยาธิจากที่ติดอยู่ตามสิ่งของ อาหาร น้ำดื่ม หรือจากผู้อื่น เนื่องจากไข่พยาธิชนิดนี้มีขนาดเล็กมาก ไข่พยาธิสามารถติดตามนิ้วมือ เล็บ และเข้าสู่ร่างกายทางปาก หากไม่ได้ล้างมือให้สะอาดก่อน หรือนำสิ่งของที่ปนเปื้อนเข้าปาก พยาธิสามารถเจริญเติบโตในลำไส้ต่อไปได้
- การหายใจ เนื่องจากไข่พยาธิมีขนาดเล็กมากและหากมีการฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศไข่พยาธิเส้นด้ายสามารถเข้าสู้ร่างกายทางการสูดหายใจได้
อาการของโรคพยาธิเส้นด้ายเป็นอย่างไร?
อาการของโรคพยาธิเส้นด้ายนั้นโดยมากมีอาการเด่นคืออาการคันรอบทวารหนัก มักพบในกลุ่มเด็กมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากเด็ก ๆ อาจยังมีการรักษาความสะอาดได้ไม่ดีนัก อาการที่มักพบ เช่น
- คันบริเวณทวารหนัก โดยเฉพาะตอนกลางคืน เนื่องจากพยาธิตัวเมียจะเคลื่อนตัวจากลำไส้ไปวางไข่รอบทวารหนัก ทำให้เกิดอาการคัน
- กระสับกระส่าย นอนไม่หลับไม่สนิทเนื่องจากอาการคัน
- ปวดท้อง
- เบื่ออาหาร
- ระคายเคืองรอบทวารหนัก เนื่องจากเกาบริเวณทวารหนัก หากเกามากจนเป็นแผล อาจมีการอักเสบหรือติดเชื้อที่ผิวหนังตามมา
- มีรายงานว่าพยาธิตัวเต็มวัยสามารถเคลื่อนตัวไปตามสำไส้ไปถึงไส้ติ่ง อาจทำให้เกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันได้
สามารถอ่านเกี่ยวกับพยาธิชนิดอื่นได้ที่ : พยาธิตัวตืด
วิธีวินิจฉัยโรคพยาธิเส้นด้าย
การตรวจและวินิจฉัยโรคสามารถทำได้โดยการตรวจหาไข่พยาธิจากรอบทวารหนัก ทางการแพทย์นิยมใช้วิธีเทปใส (Scotch Tape Technique) ติดที่บริเวณทวารหนักในช่วงเช้าหลังตื่นนอนก่อนอาบน้ำเพื่อตรวจหาไข่พยาธิผ่านกล้องจุลทรรศน์
วิธีรักษาโรคพยาธิเส้นด้าย
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
วิธีรักษาพยาธิเส้นด้ายในปัจจุบันจะใช้การรักษาด้วยยาถ่ายพยาธิ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยไม่ควรหาซื้อยาถ่ายพยาธิมารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเนื่องจากจำเป็นต้องทราบชนิดของพยาธิก่อนจึงจะสามารถจ่ายยาให้เหมาะสมได้
เมเบนดาโซล (Mebendazole)
คือยาถ่ายพยาธิที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อพยาธิในลำไส้หลายชนิดรวมถึง พยาธิเส้นด้าย (พยาธิเข็มหมุด) พยาธิแส้ม้า และพยาธิตัวกลม ตัวยาจะออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการดูดซึมกลูโคสของพยาธิ ทำให้พยาธิขาดพลังงานและตายในที่สุด
อัลเบนดาโซล (Albendazole)
คือยาถ่ายพยาธิที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อพยาธิหลายชนิดรวมถึงพยาธิเส้นด้าย (พยาธิเข็มหมุด) พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตืด และพยาธิตัวจี๊ด ตัวยาทำงานโดยการยับยั้งกระบวนการสร้างพลังงานของพยาธิ ทำให้พยาธิตายและถูกกำจัดออกจากร่างกาย
นอกจากนี้แล้วหากพบว่าติดพยาธิ สมาชิกในครอบครัวและบุคคลใกล้ชิด เช่น เพื่อนร่วมชั้นเรียนควรจะได้รับการรักษาไปพร้อม ๆ กัน
ปรึกษาการทานยารักษาพยาธิเส้นด้ายกับคุณหมอและเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ส่งยาถึงที่
วิธีป้องกันโรคพยาธิเส้นด้าย
วิธีป้องกันโรคพยาธินั้นจะเน้นการดูแลสุขอนามัยให้เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้พยาธิเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีการดังนี้
- ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่หลังจากเข้าห้องน้ำ ก่อนการประกอบอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร และหลังสัมผัสสิ่งสกปรก
- รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บให้สั้น ล้างมือทุกครั้งก่อนนำอาหารเข้าปาก
- รับประทานอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด ปรุงสุก
- ล้างผักสดและผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
- ไม่ควรใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม เสื้อผ้า และควรหมั่นทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ หรือนำออกไปตากแดดบ่อย ๆ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการพยาธิเส้นด้าย
1. ใครเสี่ยงติดพยาธิเส้นด้ายบ้าง?
กลุ่มเสี่ยงต่อการติดพยาธิเส้นด้าย ได้แก่ เด็ก ๆ ที่ชอบเล่นของเล่นที่ปนเปื้อนไข่พยาธิ เด็กเล็ก หรือเด็กก่อนวัยเรียนที่ชอบเอามือหรือเอาของเข้าปาก รวมถึงบุคคลใกล้ชิดของผู้ติดพยาธิ เนื่องจากไข่พยาธิสามารถแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสและการใช้ของร่วมกัน
2. พยาธิเส้นด้ายอันตรายไหม?
อาการของโรคแม้จะไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น คันบริเวณทวารหนัก
ซึ่งการเกาอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้ อาการคันในตอนกลางคืนยังอาจรบกวนการนอนหลับโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
นอกจากนี้ หากเด็กหรือผู้ป่วยเกาหรือสัมผัสไข่พยาธิแล้วไม่ล้างมือ ไข่พยาธิอาจติดไปกับมือ เล็บ และปนเปื้อนอาหาร น้ำ หรือสิ่งของรอบตัว ทำให้เกิดการแพร่กระจายต่อไปยังผู้อื่นได้ และยังพบว่าพยาธิตัวเต็มวัยสามารถเคลื่อนตัวไปตามสำไส้ไปถึงไส้ติ่ง อาจทำให้เกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันได้
พยาธิเส้นด้ายพบได้บ่อยในเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง
เนื่องจากเด็ก ๆ อาจยังดูแลสุขอนามัยของตัวเองได้ไม่ดีนัก คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังความสะอาดของเด็ก ๆ หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่ สวมใส่รองเท้าเมื่อออกจากบ้าน หากเด็ก ๆ มีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนแอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พญ. วิภาดา พิพัฒน์วัชรา
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Website, N. (2023c, December 12). Threadworms. nhs.uk. https://www.nhs.uk/conditions/threadworms/
Queensland, C. O. S. O. (2023, August 18). Threadworms. Health and Wellbeing | Queensland Government. https://www.qld.gov.au/health/condition/child-health/infections-and-parasites/threadworms
Felman, A. (2023, November 22). Everything you need to know about pinworms. https://www.medicalnewstoday.com/articles/175134