ถ่ายเป็นเลือด

Key Takeaway

  • ถ่ายเป็นเลือดเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ทางเดินอาหาร ลำไส้ใหญ่ ริดสีดวงทวาร
  • หากถ่ายเป็นเลือดจากอาการท้องผูกอาการอาจหายเองได้ 
  • ถ่ายเป็นเลือดเป็น ๆ หาย ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
สารบัญบทความ

ถ่ายเป็นเลือดคืออะไร

ถ่ายเป็นเลือด คืออาการที่ผู้ป่วยขับถ่ายเป็นเลือด อุจจาระมีเลือดปนเล็กน้อย หรือ ถ่ายเป็นมูกเลือด เมื่อพบว่าถ่ายมีเลือดปนหรือมีเลือดหยดออกมาทางทวารหนักจากการถ่ายอุจจาระตามปกตินั่นแสดงว่าเกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกาย แน่นอนว่าความผิดปกติที่กล่าวมานี้เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารที่อาจบ่งบอกว่าอวัยวะสำคัญ ๆ อย่างกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก หรืออวัยวะอื่น ๆ กำลังมีปัญหาควรรีบปรึกษาแพทย์

 

 ปรึกษาคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง ไม่มีค่าจัดส่งยา

ถ่ายเป็นเลือด อาการเป็นอย่างไรบ้าง

อาการถ่ายเป็นเลือดที่อาจสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นลักษณะอาการที่มีเลือดสีแดงสดหรือสีเข้มออกมาจากทวารหนัก หรือถ่ายอุจจาระมีเลือดปนในอุจจาระ มีเลือดเคลือบอุจจาระอยู่ มีลิ่มเลือดปนอยู่ หรือถ่ายแล้วมีเลือดออกตามมา

การถ่ายเป็นเลือดอาจเป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยไปจนถึงสัญญาณอันตรายของปัญหาสุขภาพที่สำคัญ โดยความรุนแรงของโรคสามารถดูได้จากปริมาณของเลือดที่ถ่ายออกมา ระยะเวลาและจำนวนครั้งที่ถ่ายเป็นเลือด ซึ่งผู้ที่มีเลือดออกมากอาจมีโอกาสเกิดโรคมากกว่า อาการถ่ายเป็นเลือดเป็นจุดเริ่มต้นของโรคอันตรายต่าง ๆ เบื้องต้นให้คนไข้สังเกตสีของอุจจาระของตัวเองทุกวันว่ามีความผิดปกติหรือเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ หากมีภาวะอุจจาระปนเลือด ควรหมั่นสังเกตตนเองเพื่อประเมินลักษณะอาการและข้อบ่งชี้เกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

ถ่ายเป็นเลือดบอกโรคอะไรได้บ้าง

ถ่ายเป็นเลือด เกิดจากอะไร

ริดสีดวงทวาร

อุจจาระเป็นเลือดอาจเป็นอาการของริดสีดวงทวารได้ โดยอาการของโรคคือผู้ป่วยจะมีอาการปวด เจ็บ ระคายเคืองและเวลาอุจจาระ แล้วมีเลือดออกบริเวณใกล้ ๆ รูทวาร อาจพบว่ามีเห็นก้อนเนื้อหรือตุ่มริดสีดวงโผล่ออกมาที่ทวารหนัก อาการนี้มักพบในคนที่มีอาการท้องผูกหรือท้องเสียบ่อยทำให้มีการเบ่งอุจจาระเป็นประจำ

ลำไส้ใหญ่อักเสบ

หากเป็นอาการของลำไส้ใหญ่อักเสบ จะพบว่ามีอาการถ่ายเป็นเลือดหรือถ่ายเป็นมูกเลือดปนมากับอุจจาระและมักมีลักษณะของอุจจาระเหลวถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายบ่อยครั้งจนทำให้เกิดความอ่อนเพลีย โดยอาจมีอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดร่วมด้วย เช่น รู้สึกปวดท้องและไม่สบายตัว มีไข้ หากเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้ความอยากอาหารลดลงและน้ำหนักลดลงอย่างผิดปกติได้

ความผิดปกติของทางเดินอาหารส่วนต้น 

การถ่ายออกมาเป็นเลือดอาจเกิดจากความผิดปกติของทางเดินอาหารส่วนต้น เช่น แผลในกระเพาะอาหาร โดยจะมีอาการถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นสีดำ

อาการเลือดออกบริเวณลำไส้ใหญ่

หากมีอาการถ่ายเป็นเลือดสด อาจมีอาการเลือดออกบริเวณลำไส้ใหญ่ ซึ่งอาจไม่มีอาการของโรคดังกล่าวชัดเจน แต่อาจมีอาการอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น อ่อนเพลีย หน้ามืด เหนื่อยง่าย เป็นต้น มักเกิดในผู้สูงอายุ 

อย่างไรก็ตามนอกจากนี้ปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นแล้วอาการถ่ายเป็นเลือดนั้นอาจเป็น ผลข้างเคียงจากคีโม ได้เช่นกันซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ปริมาณเกล็ดเลือดของผู้ป่วยต่ำลงจึงทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้นในช่วงหลังรับคีโม 2 สัปดาห์แรก

ถ่ายเป็นเลือดแบบใดที่ควรไปพบแพทย์

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการถ่ายเป็นเลือดปริมาณมากหรือเป็นระยะเวลาติดต่อกันและมีอาการหลายครั้ง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการรักษาที่ต้นตอสาเหตุ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินอาหารกลับมาทำงานเป็นปกติและเพื่อป้องกันอันตรายของโรคที่อาจมีข้อบ่งชี้จากอาการถ่ายเป็นเลือด ผู้ป่วยจึงควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที

 

ถ่ายเป็นเลือด รักษายังไง? ปรึกษาคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง ไม่มีค่าจัดส่งยา

วิธีการวินิจฉัยอาการถ่ายเป็นเลือด

อาการอุจจาระมีเลือดนั้นเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแล้วแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของการถ่ายเป็นเลือดแล้วจึงวางแผนการรักษา เช่น การตรวจร่างกาย เจาะเลือด ตรวจอุจจาระเพื่อค้นหาสาเหตุ หรือ อาจจำเป็นต้องส่องกล้องทางเดินอาหาร และลำไส้ตามการวินิจฉัยของแพทย์ เพื่อจะได้ทำการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

การรักษาอาการถ่ายเป็นเลือด มีวิธีรักษาอย่างไร

ถ่ายเป็นเลือด รักษา

กรณีถ่ายเป็นเลือดปนเล็กน้อย

ถ่ายเป็นเลือด รักษายังไง? บ่อยครั้งที่อาการถ่ายมีเลือดปนเล็กน้อยนั้นไม่ใช่อาการอันตรายและอาจหายเองได้ ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเกิดจากท้องผูก แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่ถ่ายเป็นเลือดรุนแรงกว่านั้นวิธีรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการซึ่งควรปรึกษาแพทย์อีกครั้ง เมื่อถ่ายเป็นเลือด ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยการรับประทานอาหารที่มีกากใยช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารเพื่อบรรเทาอาการท้องผูก และออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง 

กรณีถ่ายเป็นเลือดในปริมาณมาก

หากผู้ป่วยมีอาการอุจจาระมีเลือดปนมากผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้อง การถ่ายเป็นเลือดวิธีรักษาเบื้องต้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดอาการถ่ายเป็นเลือดของแต่ละบุคคล เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาระงับกรดในกระเพาะอาหาร หรือยาต้านการอักเสบ หรือในบางกรณีอาจจะต้องมีการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการตามสาเหตุอย่างเหมาะสมร่วมกับการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ

วิธีป้องกันการถ่ายเป็นเลือด 

การป้องกันการถ่ายเป็นเลือดนั้น เบื้องต้นสามารถทำได้โดยการดูแลรักษาอวัยวะระบบย่อยอาหารให้แข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนในสัดส่วนปริมาณที่เหมาะสมและอาหารมีกากใย เช่น ผักและผลไม้ อย่างมะละกอหรือกล้วย เพื่อป้องกันอาการท้องผูกซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผลในทวารหนักและโรคริดสีดวง 
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ 
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสจัดเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบย่อยอาหาร 
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสมกับร่างกาย 
  • ขับถ่ายเป็นเวลาทุกวัน
  • ไม่กลั้นอุจจาระจนติดเป็นนิสัยเพื่อลดโอกาสในการเกิดอาการท้องผูกและการทำงานที่ผิดปกติของลำไส้ในระยะยาว

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับถ่ายเป็นเลือด

ถ่ายเป็นเลือดอันตรายไหม?

ส่วนใหญ่ถ่ายเป็นเลือดสด สาเหตุที่พบบ่อยคือโรคริดสีดวงทวารและเลือดออกที่เกิดจากการเบ่งอุจจาระในคนที่ท้องผูกเป็นประจำ ในกรณีนี้ไม่ได้เป็นอันตรายมากนัก แต่อย่างไรก็ตามการพบเลือดในอุจจาระอาจเป็นสัญญาณของโรคที่รุนแรงได้เช่นกันผู้ป่วยจึงควรสังเกตอาการและรับการวินิจฉัยจากแพทย์หากยังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุของอาการดังกล่าว

เมื่อไหร่ที่ควรกังวลเกี่ยวกับเลือดในอุจจาระ?

เมื่อมีอาการถ่ายเป็นเลือดปริมาณมากหรือติดต่อกันหลายวัน หรือมีอาการป่วย มีไข้ อ่อนเพลีย หนาวสั่น หรือเวียนศีรษะ ร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ทันที

ถ่ายเป็นเลือด กินอะไรดี?

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าถ่ายเป็นเลือดกินอะไรดี หรือถ่ายเป็นเลือด กินผลไม้อะไรก่อนอื่นผู้ป่วยควรทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและทานอาหารมีกากใย เช่น ผักและผลไม้ อย่างมะละกอหรือกซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผลในทวารหนักและโรคริดสีดวง ควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสจัดเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบย่อยอาหาร และควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สรุปหากมีอาการถ่ายเป็นเลือดควรปรึกษาแพทย์

ถ่ายเป็นเลือดที่พบได้เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย อาการที่สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าคืออุจจาระปนเลือดหรือถ่ายเป็นมูกเลือด หากมีภาวะถ่ายเป็นเลือดควรหมั่นสังเกตตนเองเพื่อประเมินลักษณะอาการและข้อบ่งชี้เกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา 

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือเลือกปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวันถึงเที่ยงคืน ไม่มีค่าปรึกษาเภสัชกร พร้อมจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

พญ.ธวลิดา เวชชวณิชย์

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

IOWA health care. (September 2018). Stools with blood. The University of Iowa. https://uihc.org/health-topics/stools-blood

 

Poonam Sachdev. (November 15, 2023). Blood in Stool: Causes and Treatment. WebMD LLC. https://www.webmd.com/digestive-disorders/blood-in-stool

 

Qin Rao. (April 11, 2024). Medical News Today. https://www.medicalnewstoday.com/articles/blood-in-stool#summaryhttps://www.medicalnewstoday.com/articles/blood-in-stool#summary

บทความที่เกี่ยวข้อง

เคยไหม? จู่ๆ ก็มีอาการปวดหัวไม่ทราบสาเหตุ บางครั้งก็ปวดหัวตื้อๆ หนักๆ หรือปวดหัวข้างเดียว บางรายก็อาจมีอาเจียนร่วมด้วย ทำให้เวลาที่มีอาการปวดหัว มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือการนอนหลับไปหมด   “ปวดหัว” เป็นอาการที่มีสาเหตุมาจากหลาก

Key Highlight    อาการหูอื้อที่ควรรีบปรึกษาหมอ เช่น หูอื้อบ่อย หูอื้อหลายวัน มีอาการหูอื้อตลอดเวลา ปวดหู หูอื้อข้างเดียว บ้านหมุน เวียนศีรษะ อาการหูอื้อทั่วไป เช่น หูอื้อจากน้ำเข้าหู หูอื้อจากการขึ้นเครื่องบิน อาการหูอื้อเหล่านี้อาจเกิดขึ้นและหายไปภา