Key Highlight ก้อนไขมันและก้อนเนื้องอกไขมัน (Fat Nodule และ Lipoma) เกิดขึ้นจากเซลล์ไขมัน ซึ่งอยู่ในชั้นไขมัน โดยเป็นชั้นที่อยู่ระหว่างชั้นใต้ผิวหนังและชั้นกล้ามเนื้อ ควรพบแพทย์ไหม? หากก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้น ควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจอย่างละเอียด การรักษา
กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากอะไร โรคฮิตที่ชาวออฟฟิศต้องระวัง
Key Highlight
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะโดยเฉพาะเชื้ออีโคไล (Escherichia coli) ที่พบบ่อยที่สุด
- ผู้ป่วยมักรู้สึกปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะไม่สุด ปวดท้องน้อย ปัสสาวะขุ่น
- หากมีอาการควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะ
รู้จัก โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คืออะไร
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) คือ ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้ออีโคไล (Escherichia coli) ในกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจเกิดจากการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานหรือการทำความสะอาดไม่ถูกวิธี เช่น การเช็ดทำความสะอาดจากด้านหลังไปด้านหน้า จึงทำให้ติดเชื้อ นอกจากนี้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยังเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีกด้วย อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเนื่องจากท่อปัสสาวะที่สั้นกว่า พบในช่วงอายุ 20-50 ปี โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานออฟฟิศที่มักติดการนั่งนาน ๆ ติดการกลั้นปัสสาวะ ดื่มน้ำน้อย
ปรึกษาวิธีรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบกับแพทย์ที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดิน รับสินค้าถึงบ้าน
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการเป็นอย่างไร
อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่มักพบได้มีดังนี้
- ปัสสาวะแสบขัด
- ปัสสาวะบ่อย กระปริบกะปรอย
- รู้สึกปัสสาวะไม่สุด
- ปวดท้องน้อยตอนปัสสาวะ
- ปัสสาวะไม่ออก ต้องเบ่ง
- มีเลือดออกมาพร้อมปัสสาวะ
- ปัสสาวะขุ่น
- ปัสสาวะตอนกลางคืน 2 ครั้งขึ้นไป
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ สาเหตุเกิดจากอะไร
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่พบได้ เช่น
- ติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะโดยเฉพาะเชื้ออีโคไล (Escherichia coli)
- ดื่มน้ำน้อย
- กลั้นปัสสาวะ
- การดูแลทำควาสะอาดหลังเสร็จธุระแบบผิดวิธี เช่น การเช็ดจากด้านหลังไปด้านหน้า ทำให้ติดเชื้อจากทางช่องคลอดหรือทวารหนัก
- โรคเบาหวาน
- การมีเพศสัมพันธ์
- สตรีวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากเมื่อฮอร์โมนลดลงจะทำให้เยื่อบุช่องคลอดและเยื่อบุท่อปัสสาวะบางและขาดความชุ่มชื้น ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อมากขึ้น
- การรับประทานยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบเสี่ยงเกิดโรคอะไรบ้าง
นอกจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้วยังอาจก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาด้วย เช่น
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- ติดเชื้อที่ไต
- นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
- กระเพาะปัสสาวะไวเกินปกติ
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบอื่น ๆ ของร่างกาย
วิธีการวินิจฉัยกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขั้นตอนวินิจฉัยที่ใช้ในการประเมินอาการคือแพทย์จะเริ่มจากการซักถามประวัติ โรคประจำตัวผู้ป่วยเบื้องต้น จากนั้นแพทย์จะเก็บตัวอย่างปัสสาวะ ตัวอย่างเลือด เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจว่ามีเซลล์เม็ดเลือดขาว และแบคทีเรีย ปนในปัสสาวะหรือไม่ นอกจากนี้อาจมีการอัลตราซาวด์ หรือส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะเพิ่มเติมด้วย
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ รักษาอย่างไร
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กินอะไรหาย? สำหรับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ วิธีรักษาโดยหลักแล้วแพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องร่วมด้วยแพทย์อาจจ่ายยาแก้ปวดร่วมด้วย ทั้งนี้ไม่ควรซื้อยารักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบและยาขับปัสสาวะมารับประทานเองโดยเด็ดขาด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง
ปรึกษาการใช้ยากระเพาะปัสสาวะอักเสบกับเภสัชกร BeDee ได้ทุกวันถึงเที่ยงคืน! ไม่มีค่าปรึกษา รับสินค้าถึงบ้าน
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดูแลตัวเองอย่างไร
เมื่อมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือแม้แต่ยังไม่มีอาการก็ตาม ควรดูแลตัวเองหรือป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซึ่งจะทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วยวิธีการดังนี้
- พยายามไม่กลั้นปัสสาวะ
- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
- ทำความสะอาดจุดซ้อนเร้นอย่างถูกต้อง โดยเช็ดจากข้างหน้าไปข้างหลัง
- หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด
- ล้างทำความสะอาดจุดซ้อนเร่งหลังมีเพศสัมพันธ์
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หายเองได้ไหม?
การรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วยตัวเองนั้นอาจจะไม่ได้ทำให้อาการหายขาดได้ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาและวิธีการรักษาที่ถูกต้องจึงจะทำให้อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบดีขึ้น
2. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กินยาอะไร?
กระเพาะปัสสาวะอักเสบการรักษาคือการรับประทานปฏิชีวนะซึ่งจำเป็นต้องจ่ายโดยแพทย์ ผู้ป่วยไม่ควรหาซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจได้รับยาที่ไม่ตรงกับอาการและเสี่ยงต่อการดื้อยาหรือาจเกิดอันตรายได้ในกรณีที่แพ้ยา
3. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กี่วันหาย?
สำหรับการทานยาปฏิชีวนะเพื่อรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้น โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะจ่ายยาเพื่อรับประทาน 3-5 วัน หรือในบางรายอาจรับประทาน 7-10 วัน แล้วแต่อาการในแต่ละราย
สรุปกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต้องปรึกษาแพทย์
ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน พร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
รศ ดร.พญ.อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข
สูตินรีแพทย์
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
1: Sheffield JS, Cunningham FG. Urinary tract infection in women. Obstet
Gynecol. 2005 Nov;106(5 Pt 1):1085-92.
2: Cai T, Tamanini I, Tascini C, Köves B, Bonkat G, Gacci M, Novelli A,
Horcajada JP, Bjerklund Johansen TE, Zanel G. Fosfomycin Trometamol versus
Comparator Antibiotics for the Treatment of Acute Uncomplicated Urinary Tract
Infections in Women: A Systematic Review and Meta-Analysis. J Urol. 2020
Mar;203(3):570-578.
3: Valiquette L. Urinary tract infections in women. Can J Urol. 2001 Jun;8 Suppl
1:6-12.
4: Nicolle LE. Short-term therapy for urinary tract infection: success and
failure. Int J Antimicrob Agents. 2008 Feb;31 Suppl 1:S40-5.