หากพูดถึงเรื่องการลดน้ำหนัก Intermittent Fasting หรือการทำ IF น่าจะเป็นหนึ่งในวิธีที่หลายคนเลือกใช้ IF เป็นวิธีการลดน้ำหนักที่นิยมมาระยะหนึ่ง แต่ปัญหาหนึ่งที่หลายคนพบคือทำ IF แล้วไม่ได้ผล หรือ น้ำหนักไม่ลดอย่างที่ต้องการ มาทำความเข้าใจวิธีทํา IF และส
อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ผลกระทบต่อสุขภาพและวิธีดูแลตนเอง
Key Takeaways
- ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด หรือโรคปอด
- หากฝุ่น PM 2.5 สะสมอยู่ในร่างกายไปเรื่อย ๆ อาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง และเกิดปัญหาโรคทางเดินหายใจเรื้อรังได้
- อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ที่มักพบ เช่น คันตา น้ำตาไหล จาม คัดจมูก ไอ
ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร อันตรายอย่างไร
ฝุ่น PM 2.5 หรือ Particulate Matter คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน มีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก สามารถล่องลอยอยู่ในอากาศ เมื่อเราสูดเอาฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกาย ขนจมูกของเราไม่สามารถทำหน้าที่ช่วยกรองฝุ่นนั้นได้ แม้ฝุ่นในบางอนุภาคจะมีขนาดใหญ่ อย่างเช่น ฝุ่นควันบุหรี่ แต่ส่วนมากเราจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ฝุ่นอนุภาคเล็ก ๆ เหล่านี้สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 เช่น อาการภูมิแพ้อาการไอเรื้อรัง หรือผื่นคันตามร่างกายได้ในระยะยาว
BeDee Tips: ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร มาทำความเข้าใจเลย
ปรึกษาอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 กับแพทย์โรคผิวหนังที่แอป BeDee สะดวก ไม่มีค่าจัดส่งยา
เช็กลิสต์! อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 มีอาการอย่างไร
อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5สามารถแสดงออกได้หลายลักษณะ เนื่องจาก PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางระบบหายใจและผิวหนัง ทำให้เกิดการระคายเคืองและอาการแพ้ PM2.5 ต่าง ๆ ดังนี้
อาการทั่วไป
- ปวดหัว
- อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
อาการทางระบบหายใจ
- คัดจมูกและน้ำมูกไหล
- ไอและเจ็บคอ ไอแห้ง ๆ หรือไอมีเสมหะ
- หายใจไม่สะดวก หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หรือหายใจถี่
- หอบหืดกำเริบ
อาการทางผิวหนัง
- ผื่นแดง คัน และระคายเคือง
- แสบร้อนผิวหนัง
- ผิวแห้งและแตก
อาการทางตา
- ตาแดงและคันตา
- น้ำตาไหล ระคายเคืองตา
อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกับคนทั่วไปอย่างไรบ้าง
ทราบหรือไม่? ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเรามากมาย แล้วผลกระทบดังกล่าวมีอะไรบ้าง มาดูไปพร้อม ๆ กัน
โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
โรคที่เกิดจากฝุ่น PM2.5ที่สำคัญเลยคือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เนื่องจาก PM2.5 ส่งผลกระโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจ ยิ่งฝุ่นละอองมีขนาดเล็กมากเท่าไหร่ ยิ่งสามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายของเราได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งฝุ่นพิษเหล่านี้จะเดินทางเข้าสู่ระบบหายใจได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหอบกำเริบ หากฝุ่นละอองสะสมอยู่ในร่างกายของเราไปเรื่อย ๆ อาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง และเกิดปัญหาโรคทางเดินหายใจเรื้อรังได้ในที่สุด
ผลกระทบด้านผิวหนัง
ฝุ่น PM 2.5 สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังได้ด้วยเช่นกัน หลายคนเกิดอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ผิวหนังโดยเฉพาะผู้ที่มี ผิวแพ้ง่าย อาจทำให้เกิดอาการ ผื่นแพ้อากาศ ผื่นแพ้ฝุ่น PM 2.5 ลมพิษ สิว หรือโรคสะเก็ดเงินได้ ฝุ่น PM 2.5 ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดสารอนุมูลอิสระ ส่งผลให้เซลล์ผิวหนังถูกทำลายซึ่งทำให้ผิวดูหมองคล้ำ เกิดริ้วรอยจุดด่างดำ นอกจากนี้ PM 2.5 สามารถทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนและต่อมไขมัน ทำให้เกิดสิวและปัญหาผิวมัน
BeDee Tips: ทำความรู้จัก ยาทาแก้ผื่นคัน เพิ่มเติม อ่านเลย
ผลกระทบโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ
ผลจากอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 อย่างหนึ่งที่หลายคนอาจคาดไม่ถึงคือผลกระทบต่อโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ การสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 เป็นระยะเวลานานสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแข็ง ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน นอกจากนี้การสูดฝุ่น PM 2.5 เข้าไปโดยไม่ได้รับการป้องกันในระยะหนึ่งสามารถส่งผลให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายเฉียบพลันได้ในที่สุด
ผลกระทบโรคที่เกี่ยวกับสมองและพัฒนาการ
ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายด้านรวมถึงระบบสมองและพัฒนาการ สำหรับผลกระทบทางด้านสมอง PM 2.5 สามารถทำให้เกิดการอักเสบในสมอง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์และโรคพาร์กินสัน ทำให้เซลล์สมองเสื่อมสภาพและลดประสิทธิภาพการทำงาน และอาจทำให้เกิดการตีบหรืออุดตันของเส้นเลือดในสมอง เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
ในด้านผลกระทบต่อพัฒนาการนั้นพบว่าเด็กที่สัมผัสกับ PM 2.5 อาจมีพัฒนาการทางสมองที่ช้าลง เนื่องจากฝุ่นละอองสามารถรบกวนกระบวนการพัฒนาของเซลล์สมอง และอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder, ADHD) มากขึ้น
อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 กับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทำให้เกิดอาการอะไรบ้าง
ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน แต่จะมีผลกระทบมากขึ้นกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด หรือโรคปอด
สำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ฝุ่น PM 2.5 สามารถทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้
- คันตา น้ำตาไหล และตาแดง: เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 สามารถทำให้ตาอักเสบและระคายเคืองได้
- น้ำมูกไหล จาม คัดจมูก: ฝุ่น PM 2.5 สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการทางเดินหายใจส่วนบน
- ไอ หายใจลำบาก: ฝุ่น PM 2.5 สามารถทำให้หลอดลมอักเสบและทำให้หายใจลำบากได้โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคภูมิแพ้
- หอบหืดกำเริบ: ผู้ที่มีโรคหอบหืดอาจมีอาการกำเริบหรือแย่ลงเมื่อได้รับฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณมาก
อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 แบบใดที่ควรรีบพบแพทย์
การสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 สามารถทำให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองต่างๆ ได้ อาการเหล่านี้อาจรุนแรงและจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ทันที อาการที่ควรรีบพบแพทย์มีดังนี้
- หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หรือหายใจถี่
- ไอรุนแรงและต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยเฉพาะถ้ามีเสมหะหรือเลือดปน
- ผื่นแพ้รุนแรง ผื่นแดง คัน และบวมที่ไม่หายหรือแย่ลง
- ตาแดง คันตา และระคายเคือง
- การมองเห็นแย่ลง การมองเห็นพร่ามัวหรือมีความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น
- อ่อนเพลียรุนแรง
- ปวดหัว เวียนหัว หรืออาเจียน
- ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง หรือโรคหัวใจ หากมีอาการแย่ลง ควรรีบพบแพทย์
วิธีรักษาอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5
อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 สามารถรักษาได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการจากฝุ่น PM 2.5ที่เกิดขึ้น วิธีการรักษาและบรรเทาอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 มีดังนี้
โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
- ใช้ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines):
- ยากลุ่มนี้ช่วยลดอาการคัน น้ำมูกไหล และจาม
- ยาสเตียรอยด์ทางจมูก (Nasal Corticosteroids):
- ยาพ่นจมูกที่มีสารสเตียรอยด์ช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุจมูก
- ยาลดการอักเสบ (Anti-inflammatory drugs):
- ยากลุ่มนี้ช่วยลดการอักเสบของหลอดลมและปอด
- ยาลดอาการไอ (Cough Suppressants):
- ยาที่ช่วยลดอาการไอและบรรเทาอาการไอเรื้อรัง
- การบำบัดด้วยยาฉีด (Allergy Shots or Immunotherapy):
- การฉีดสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ในปริมาณน้อย ๆ เข้าไปในร่างกายเป็นระยะเวลาเพื่อสร้างภูมิต้านทาน
ปรึกษาการใช้ยาแก้อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 กับเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวันถึงเที่ยงคืน ไม่มีค่าปรึกษา
เมื่อแพ้ฝุ่น PM 2.5 ควรดูแลตัวเองอย่างไร
ฝุ่นละออง PM 2.5 ของประเทศไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการป้องกันตนเอง สิ่งที่ควรทำและสามารถทำได้เพื่อดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการแพ้ฝุ่น PM เช่น
- ทำความสะอาดที่อยู่อาศัยสม่ำเสมอ เช่น ที่นอน หลังตู้ ใบพัดลม แผ่นกรองแอร์ มุ้งลวด
- ใช้เครื่องฟอกอากาศ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง พยายามอยู่ในที่ร่มหรือภายในอาคารเมื่อมีระดับฝุ่น PM 2.5 สูง
- สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ เช่น หน้ากาก N95 ควรใส่หน้ากากอย่างถูกวิธี ให้หน้ากากแนบสนิทกับใบหน้า
- สวมแว่นตากันฝุ่น โดยเฉพาะผู้ที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์
- ปิดประตูและหน้าต่าง ในวันที่มีระดับฝุ่น PM 2.5 สูง ควรปิดประตูและหน้าต่างเพื่อป้องกันฝุ่นเข้ามาในบ้าน
- ล้างหน้า ดวงตา และจมูก ด้วยน้ำเกลือหลังจากออกไปข้างนอกสามารถช่วยลดการสะสมของฝุ่นได้
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพราะน้ำจะช่วยเร่งการขับฝุ่น PM 2.5 ที่เล็ดลอดเข้ามาในกระแสเลือดให้ออกไปจากร่างกายในรูปแบบของปัสสาวะได้มากขึ้น
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ5หมู่
- รับประทานผักผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
- เลี่ยงการสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า การดื่มแอลกอฮอล์
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5
1. ค่า PM 2.5 ไม่ควรเกินเท่าไหร่ จึงจะจัดว่าปลอดภัยต่อสุขภาพ?
ค่า PM 2.5 ไม่ควรเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถึงจะปลอดภัยต่อสุขภาพและเหมาะกับการดำเนินชีวิต โดยหากเช็กจากดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index, AQI) ระดับฝุ่น PM 2.5 ไม่ควรเกินโซนสีเหลือง
2. อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 สามารถหายเองได้ไหม?
อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 สามารถหายได้เองในบางกรณี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ภูมิคุ้มกันและระยะเวลาที่ได้รับฝุ่น อย่างไรก็ตามเนื่องจากฝุ่น PM2.5 นั้นลอยอยู่ในอากาศจึงทำให้อาจหลีกเลี่ยงได้ยาก ควรเน้นการป้องกันและดูแลตัวเองเบื้องต้นเพื่อรับมือกับฝุ่น หากมีอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 สามารถปรึกษาแพทย์ได้ทันที
3. อยู่ในห้องแอร์มีฝุ่นPM 2.5 ไหม?
เนื่องจากภายในห้องหรืออาคารที่เราอาศัยอยู่นั้นบริเวณหน้าต่างหรือประตูไม่ได้ปิดมิดชิดทั้งหมด จึงทำให้ฝุ่น PM 2.5 สามารถเล็ดลอดเข้ามาได้ ควรใช้เครื่องฟอกอากาศร่วมด้วยเพื่อกรองอากาศ
สรุปอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 หากมีอาการรีบปรึกษาแพทย์
มีอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ไม่ควรละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้ แนะนำปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวันถึงเที่ยงคืน ไม่มีค่าปรึกษาเภสัชกร เป็นส่วนตัวสูง พร้อมจัดส่งสินค้าถึงมือ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พญ.จิรภัทร สุริยะชัยสวัสดิ์
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Inhalable Particulate Matter and Health (PM2.5 and PM10) | California Air Resources Board. (n.d.). https://ww2.arb.ca.gov/resources/inhalable-particulate-matter-and-health
Health Impact of Pollution | State of the air. (n.d.). https://www.lung.org/research/sota/health-risks
Particulate matter. (n.d.). https://www.health.nsw.gov.au/environment/air/Pages/particulate-matter.aspx