เมื่อพูดถึงการดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องการการพักฟื้นเป็นเวลานาน การเลือกเตียงผู้ป่วยที่เหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความสบายแล้ว ยังช่วยลดภาระของผู้ดูแลและป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการนอนในท่าเดิมน
ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร ผลกระทบอันตรายต่อสุขภาพ
Key Takeaways
- สาเหตุการเกิด PM 2.5 มีหลายปัจจัย เช่น ธรรมชาติ การก่อสร้าง การคมนาคม การเผาไหม้
- ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ผื่นคัน ไอเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดมะเร็งได้
- หากมีอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ควรปรึกษาแพทย์
ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร
ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร ? ฝุ่น PM 2.5 (Particulate Matter 2.5) คือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมโครเมตร สาเหตุการเกิดฝุ่น PM 2.5 นั้นมีแหล่งกำเนิดหลายประการ ได้แก่
ธรรมชาติ
PM 2.5 เกิดจากธรรมชาติ เช่น ฝุ่นจากทะเลทราย การระเบิดของภูเขาไฟ ลมทะเล
การก่อสร้าง
การขุดเจาะ การก่อสร้างอาคาร การบดหิน การทุบทำลายอาคาร สามารถเป็นสาเหตุของการเกิดฝุ่น PM 2.5 ได้
การคมนาคม
สาเหตุการเกิด PM 2.5 อีกอย่างหนึ่งเกิดจากการเดินทางขนส่งคมนาคมโดยรถยนต์ รถบรรทุก และยานพาหนะที่ใช้น้ำมันดีเซลที่สามารถปล่อยมลพิษ PM 2.5 ผ่านทางท่อไอเสียได้
การเผาไหม้
ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากการเผาไม้ การเผาขยะ เผาป่า และการเผาไร่ทำการเกษตร
โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า
การเกิดฝุ่น PM 2.5 สามารถเกิดได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ถ่านหินในการผลิตภาคอุตสาหกรรมหรือโรงงานไฟฟ้า การผลิตปูนซีเมนต์ เหล็ก
BeDee Tips: อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 เป็นอย่างไรบ้าง เช็กเลย
ปรึกษาอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 กับแพทย์โรคผิวหนังที่แอป BeDee สะดวก ไม่มีค่าจัดส่งยา
ฝุ่น PM 2.5 เกิดในช่วงไหนบ้าง
ฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นเมื่อไหร่? ฝุ่น PM 2.5 สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีความเข้มข้นสูงขึ้นในบางช่วงเวลาและบางฤดูกาล ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยดังนี้
- ฤดูหนาว:ทําไมฝุ่น PM 2.5 เยอะในช่วงปลายปี? สาเหตุเนื่องจากในหลายประเทศโดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีอากาศหนาว ฝุ่น PM 2.5 มักจะสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนและสภาพอากาศที่ทำให้ฝุ่นไม่กระจายตัว
- ฤดูแล้ง: ในบางพื้นที่ที่มีการเผาไหม้เพื่อการเกษตร ฝุ่น PM 2.5 มักจะสูงขึ้นในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากการเผาไร่และการเผาขยะที่มากขึ้น
- ช่วงที่มีการจราจรหนาแน่น: ในเมืองใหญ่ที่มีการจราจรหนาแน่น ฝุ่น PM 2.5 มักจะสูงขึ้นในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน
- ช่วงที่มีการผลิตทางอุตสาหกรรม: พื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก ฝุ่น PM 2.5 มักจะสูงขึ้นในช่วงที่มีการผลิตมาก
- ช่วงที่เกิดไฟป่า: ในพื้นที่ที่มีการเกิดไฟป่าบ่อย ๆ ฝุ่น PM 2.5 มักจะสูงขึ้นในช่วงที่เกิดไฟป่า
การเฝ้าระวังและตรวจสอบค่าฝุ่น PM 2.5 ในอากาศเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน
ฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้น ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมาก จนทำให้เราหายใจรับฝุ่นพิษเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอันตรายจากฝุ่น PM 2.5 ที่ไหลเวียนเข้าสู่กระแสเลือดสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ในระยะยาว ดังนี้
ผลเสียต่อผิวหนัง
นอกจากฝุ่น PM 2.5 จะเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยการหายใจแล้ว ฝุ่น PM 2.5 ยังสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังได้อีกด้วย ซึ่งนั่นจะทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบและเกิดสารอนุมูลอิสระ ส่งผลให้เซลล์ผิวหนังถูกทำลาย นอกจากนี้ผิวหนังภายนอกจะเกิดความหมองคล้ำ เกิดริ้วรอยจุดด่างดำ และอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกำเริบของโรคผิวหนังบางชนิดอีกด้วย เช่น อาการผื่นแพ้อากาศ อาการผื่นคัน เป็นต้น
ผลเสียต่อทางเดินหายใจ
อย่างที่ทราบกันว่า PM 2.5 ในอากาศ ส่งผลกระทบโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจ ยิ่งฝุ่นละอองมีขนาดเล็กมากเท่าไหร่ ยิ่งสามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายของเราได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งฝุ่นพิษเหล่านี้จะเดินทางเข้าสู่ระบบหายใจได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหอบ ภูมิแพ้ กำเริบ ไอเรื้อรัง หากฝุ่นละอองสะสมอยู่ในร่างกายของเราไปเรื่อย ๆ อาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง และเกิดปัญหาโรคทางเดินหายใจเรื้อรังได้ในที่สุด
ผลเสียต่อประสาทและสมอง
ค่าฝุ่น PM 2.5 ที่มีขนาดเล็กสามารถเข้าสู่กระแสเลือด จนเกิดการสะสมอยู่ภายในร่างกายของเราได้ ซึ่งค่าฝุ่นละอองที่สูงส่งผลให้ความดันโลหิตสูง เลือดมีความหนืด มีอาการปวดหัวบริเวณท้ายทอยบ่อยขึ้น
รวมถึงหลอดเลือดแดงในสมองอาจเกิดการแข็งตัว เป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์อัมพาตได้จากการที่เส้นเลือดในสมองตีบเฉียบพลัน
ผลเสียต่อหัวใจและหลอดเลือด
อันตรายจากฝุ่น PM 2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแข็ง ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ทั้งนี้การสูดฝุ่นพิษเข้าไปโดยไม่ได้รับการป้องกันในระยะหนึ่ง ส่งผลให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายเฉียบพลันได้ในที่สุด
ผลเสียต่อตา
ปริมาณ PM 2.5 ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดโรคกระจกตาอักเสบ และส่งผลให้กระจกตาถลอกได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากเมื่อมี PM 2.5 ในอากาศจำนวนมากเราอาจรู้สึกระคายเคืองจนเผลอขยี้ตา ทำให้กระจกตาอ่อนแอ เกิดโรคเยื่อบุตาอักเสบ รวมถึงมีอาการคันตา ตาแดง และเปลือกตาบวมขึ้นมาได้
ปรึกษาอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 กับแพทย์โรคผิวหนังที่แอป BeDee สะดวก ไม่มีค่าจัดส่งยา
เมื่อมีฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นควรดูแลตัวเองอย่างไร
ฝุ่นละออง PM 2.5 ของประเทศไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการป้องกันตนเอง สิ่งที่ควรทำและสามารถทำได้เพื่อดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการแพ้ฝุ่น PM เช่น
- ทำความสะอาดที่อยู่อาศัยสม่ำเสมอ
- ใช้เครื่องฟอกอากาศ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง พยายามอยู่ในที่ร่มหรือภายในอาคารเมื่อมีระดับฝุ่น PM 2.5 สูง
- สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ เช่น หน้ากาก N95
- ปิดประตูและหน้าต่าง ในวันที่มีระดับฝุ่น PM 2.5 สูง ควรปิดประตูและหน้าต่างเพื่อป้องกันฝุ่นเข้ามาในบ้าน
- ล้างหน้าและล้างจมูก การล้างหน้าล้างจมูกหลังจากออกไปข้างนอกสามารถช่วยลดการสะสมของฝุ่นได้
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพราะน้ำจะช่วยเร่งการขับฝุ่น PM 2.5 ที่เล็ดลอดเข้ามาในกระแสเลือดให้ออกไปจากร่างกายในรูปแบบของปัสสาวะได้มากขึ้น
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร
1. ฝุ่นPM 2.5 เกิดจากอะไร มากที่สุด
ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไรมากที่สุด ปัญหาฝุ่น PM 2.5 สาเหตุมักเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการเผาในที่โล่ง การใช้ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง เช่น รถยนต์ รถบรรทุก การเผาไหม้ในโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ การเผาไร่ เผาป่า และเผาขยะ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดฝุ่น PM 2.5 ในหลายภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่เกษตรกรรมและป่าไม้
2. ฝุ่น PM 2.5 ในไทยมาจากไหน
สำหรับในประเทศไทยนั้นพบว่า ฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้นมากที่สุดมักมีแหล่งกำเนิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการเผาในที่โล่ง ได้แก่ ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง เช่น รถยนต์ รถบรรทุก การเผาไหม้ในโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติการเผาไร่ เผาป่า และเผาขยะ
มีอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ควรทำอย่างไร
หากมีอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 เช่น คันตา น้ำตาไหล ไอ จาม มีผื่นคัน อาจเป็นสัญญาณของอาการแพ้ฝุ่น ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเนื่องจากร่างกายของแต่ละคนตอบสนองต่อสิ่งเร้าแตกต่างกันไป บางคนอาจมีอาการรุนแรง หรือบางคนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย
สรุปฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร หากมีอาการแพ้ฝุ่นควรรีบปรึกษาแพทย์
เมื่อเราทราบแล้วว่า ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร เกิดขึ้นช่วงไหน ควรหาทางหลีกเลี่ยงหรือป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM 2.5 ให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพระยะยาวที่ร้ายแรงตามมาได้ หากมีอาการแพ้ฝุ่นหรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เป็นส่วนตัวสูง พร้อมจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Inhalable Particulate Matter and Health (PM2.5 and PM10) | California Air Resources Board. (n.d.). https://ww2.arb.ca.gov/resources/inhalable-particulate-matter-and-health
Health Impact of Pollution | State of the air. (n.d.). https://www.lung.org/research/sota/health-risks
Particulate matter. (n.d.). https://www.health.nsw.gov.au/environment/air/Pages/particulate-matter.aspx