พูดถึงเรื่องลดความอ้วนแน่นอนว่าเรื่องอาหารเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก ปัจจุบันมีสูตรอาหารลดน้ําหนักหรือแม้แต่กลุ่มอาหารเสริมลดน้ำหนัก แชร์กันมากมายตามโซเชียล หรือบางคนเลือกทำ IF แต่น้ำหนักก็ยังไม่ลดซึ่งอาจเกี่ยวข้องมาจากอาหารที่ทานไม่เหมาะสม เพราะอาหารลด
แบบประเมินความเสี่ยงโรคไต คัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้นด้วยตัวเอง
Key Takeaways
- แบบประเมินความเสี่ยงโรคไตเป็นเครื่องมือที่ช่วยประเมินความเสี่ยงต่อเบื้องต้นต่อการเกิดโรคไตในอีก 10 ปี
- ผู้ที่ชอบทานรสเค็มจัด หรือมีประวัติทานยาเป็นเวลานานควรทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคไต
- การทำแบบประเมินจะช่วยให้เราป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตตั้งแต่เนิ่น ๆ
แบบประเมินความเสี่ยงโรคไตใน 10 ปีข้างหน้า ป้องกันความเสี่ยงด้วยการคัดกรองเบื้องต้น
โรคไต (Kidney Disease) คือ ภาวะที่การทำงานของไตเกิดความผิดปกติทำให้ไม่สามารถกรองของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากเลือดได้อย่างเต็มที่
ความอันตรายของโรคไต มีดังนี้
- การสะสมของเสียในร่างกาย: เมื่อไตไม่สามารถกรองของเสียออกจากเลือดได้ ของเสียจะสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
- ปัญหาความดันโลหิต: โรคไตสามารถทำให้ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ภาวะบวม: เมื่อไตไม่สามารถกรองน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้ น้ำจะสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวมที่ขาและเท้า
- สมดุลของเกลือและแร่ธาตุผิดปกติ: ไตที่ทำงานไม่ปกติสามารถทำให้ระดับเกลือและแร่ธาตุ เช่น โพแทสเซียมและแคลเซียมในร่างกายผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหากับหัวใจและกระดูก
- ภาวะเลือดจาง: เมื่อไตทำงานผิดปกติทำให้ไม่สามารถผลิตฮอร์โมน Erythropoietin ซึ่งช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะเลือดจาง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด: ผู้ป่วยโรคไตมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
การประเมินโรคไตด้วยแบบประเมินเบื้องต้นจะช่วยให้เราทราบถึงความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการดูแลตัวเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ปรึกษาเรื่องโรคไตกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่มีค่าจัดส่งยา
แบบประเมินความเสี่ยงโรคไต ใน 10 ปีข้างหน้า (Thai CKD Risk Score)
Disclaimer: แบบประเมินความเสี่ยงโรคไตใน 10 ปีข้างหน้า หรือ Thai CKD Risk Score เป็นแบบประเมินความเสี่ยงเพื่อทำนายโอกาสการเกิดโรคไตในอีกระยะ 10 ข้างหน้า ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องยืนยันในการเกิดโรคได้ ผู้ทำแบบทดสอบควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายอีกครั้ง
โปรดเลือกคำตอบที่ตรงกับท่านที่สุดในแต่ละข้อพร้อมให้คะแนน เมื่อทำครบทุกข้อแล้วให้รวมคะแนนและดูการแปรผลความเสี่ยงในตารางถัดไป
ปัจจัยเสี่ยง | คะแนนความเสี่ยง |
อายุ | Add New |
• น้อยกว่า 45 | 0 |
• 45-54 ปี | 2 |
• มากกว่า 55 ปี | 4 |
เพศ | Add New |
• หญิง | 0 |
• ชาย | 3 |
รอบเอว | Add New |
• ผู้หญิง น้อยกว่า 80 เซนติเมตร | 0 |
• ผู้ชาย น้อยกว่า 90 เซนติเมตร | 0 |
• ผู้หญิง มากว่า 80 เซนติเมตร | 1 |
• ผู้ชาย มากกว่า 90 เซนติเมตร | 1 |
ประวัติการป่วยโรคเบาหวาน | Add New |
• มี | 0 |
• ไม่มี | 2 |
ระดับความดันโลหิต | Add New |
• น้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท | -2 |
• 120-129 มิลลิเมตรปรอท | 0 |
• 130-139 มิลลิเมตรปรอท | 1 |
• 140-149 มิลลิเมตรปรอท | 2 |
• 150-159 มิลลิเมตรปรอท | 3 |
• เท่ากับหรือมากกว่า 160 มิลลิเมตรปรอท | 4 |
ที่มา : คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.rama.mahidol.ac.th/kidney_disease_risk/Thai_CKD_risk_score/
แปลผลระดับคะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตใน 10 ปีข้างหน้า
ผลรวมคะแนนความเสี่ยง | ระดับความเสี่ยง |
-2 ถึง 2 | ระดับน้อย (มีความเสี่ยงน้อยกว่า 5%) |
3 ถึง 6 | ระดับปานกลาง (มีความเสี่ยง 5-10%) |
7 ถึง 9 | ระดับสูง (มีความเสี่ยง 10-20%) |
10 ขึ้นไป | ระดับสูงมาก (มีความเสี่ยง 20% ขึ้นไป) |
คำแนะนำสำหรับผู้มีความเสี่ยงต่อโรคไตจากแบบประเมินความเสี่ยงโรคไตใน 10 ปีข้างหน้า
ระดับความเสี่ยง | คำแนะนำ |
1. ระดับน้อย | ควรหมั่นดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำและนอนหลับให้เพียงพอ ลดหรือจำกัดการรับประทานหวาน มัน เค็ม ไม่รับประทานเกินความต้องการของร่างกาย รักษาระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือ เหมาะสม และไปตรวจสุขภาพประจำทุกปี |
2. ระดับปานกลาง | ควรหมั่นดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำและนอนหลับให้เพียงพอ ลดหรือจำกัดการรับประทานหวาน มัน เค็ม ไม่รับประทานเกินความต้องการของร่างกายรักษาระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือ เหมาะสม และไปตรวจสุขภาพประจำทุกปี |
3. ระดับสูง | ต้องใส่ใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น หาความรู้ด้านสุขภาพ ปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง หลีกเลี่ยงความเสี่ยงจะเป็นโรคไต รักษาระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลใน เลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือเหมาะสม และไปตรวจสุขภาพประจำทุกปี |
4. ระดับสูงมาก | ควรปรึกษาแพทย์ ปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง หลีกเลี่ยงความเสี่ยงจะเป็นโรคไต รักษาระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือเหมาะสม และไปตรวจสุขภาพประจำทุกปี |
แบบประเมินความเสี่ยงโรคไต มีความสำคัญอย่างไรบ้าง ทำไมถึงควรทำ
แบบประเมินความเสี่ยงโรคไตมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบและทราบถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคไตตั้งแต่แรก ๆ ซึ่งมีประโยชน์และความสำคัญของแบบประเมินโรคไตมีดังนี้
- การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรก: การประเมินความเสี่ยงช่วยให้ตรวจพบโรคไตตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งทำให้สามารถเริ่มการรักษาได้ทันเวลาและลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน
- การป้องกันและลดความเสี่ยง: เมื่อทราบถึงความเสี่ยงแล้วจะช่วยให้เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การควบคุมความดันโลหิต การลดการบริโภคเกลือ และการดูแลน้ำหนักตัว เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไตได้ดีขึ้น
- การดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม: การทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคไตช่วยให้ทราบถึงวิธีการดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น เช่น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไต
- การติดตามและตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ: เมื่อทราบแล้วว่าเรามีความเสี่ยงก็จะช่วยให้เกิดการตรวจสุขภาพเป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามสถานะของไตและตรวจหาอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น
ใครที่ควรทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคไต
ผู้ที่ควรทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคไต ได้แก่กลุ่มบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตดังนี้
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไต
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
- ผู้ที่มีประวัติการทานยาเป็นเวลานาน เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs
- ผู้ที่มีโรคหัวใจหรือหลอดเลือด
สรุปแบบประเมินความเสี่ยงโรคไต
โรคไตเป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดภาวะอันตรายต่อร่างกายอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น บวมน้ำ น้ำท่วมปอด ความดันโลหิตสูง ภาวะเลือดจาง
ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เป็นส่วนตัวสูง พร้อมจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พญ.กนกวรรณ อนุศักดิ์
แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Thai CKD risk score. (n.d.). https://www.rama.mahidol.ac.th/kidney_disease_risk/Thai_CKD_risk_score/#regat3
Thai CKD risk score. (n.d.-b). https://www.rama.mahidol.ac.th/kidney_disease_risk/Thai_CKD_risk_score/
https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1308820220905025852.pdf