นักกำหนดอาหาร

การดูแลสุขภาพมีปัจจัยที่สำคัญอย่างมากข้อหนึ่งเลยก็คือ “อาหาร” เพราะการรับประทานอาหารย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราโดยตรง ดังนั้นนักกําหนดอาหาร นักโภชนาการจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในทุกวันนี้ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่คนเรามีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป เน้นสะดวก รวดเร็ว ทานง่าย จึงทำให้ละเลยการรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อร่างกายไป แล้วนักกำหนดอาหารสำคัญอย่างไร สามารถช่วยอะไรเราได้บ้างโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ?

สารบัญบทความ

ทำความรู้จักกับ นักกำหนดอาหาร 

นักกําหนดอาหาร (dietitian) คือ ผู้ที่ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้านโภชนาการ ถือเป็นหนึ่งในสหสาขาวิชาชีพหรือเรียกได้ว่าเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของคุณหมอ นักกำหนดอาหารสามารถวิเคราะห์ปัญหาด้านโภชนาการและวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพได้ โดยนักกำหนดอาหารใช้การกำหนดอาหารร่วมกับการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารประกอบกับการรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและให้ประโยชน์กับร่างกายแต่ละบุคคลมากที่สุด นักกำหนดอาหารต้องเป็นผู้ที่มีใบประกอบโรคศิลปะสาขาการกำหนดอาหารจึงจะสามารถให้ความรู้ผู้ป่วยในเรื่องการรับประทานอาหารกับโรคต่าง ๆ ในเชิงการแพทย์ได้

 

 

ปรึกษาเรื่องการทานอาหารและวิธีลดน้ำหนัก กับนักกำหนดอาหารที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง 

นักกำหนดอาหารสำคัญอย่างไร

ความสำคัญของนักกำหนดอาหาร

นอกจากการปฏิบัติตัวและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งแล้วนักกำหนดอาหารยังเป็นหนึ่งในบทบาทที่สำคัญโดยเป็นผู้ช่วยทางการแพทย์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยและแพทย์ เนื่องจากนักกำหนดอาหารจะช่วยประเมินภาวะโภชนาการ วิเคราะห์หาสาเหตุ วางแผนการรับประทานอาหาร และให้ข้อมูลในด้านอาหารหรือข้อมูลทางโภชนาการของอาหารที่เรารับประทานในแต่ละมื้อ เช่น ปริมาณพลังงาน โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โซเดียม น้ำตาล เป็นต้น ซึ่งนักกำหนดอาหารจะสามารถแนะนำอาหารที่ควรและไม่ควรรับประทานสำหรับผู้ป่วยแต่ละโรค รวมถึงผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือแม้แต่ในผู้ที่ยังไม่ป่วยแต่ต้องการรักษาสุขภาพได้เป็นอย่างดี

หน้าที่ของนักกำหนดอาหาร

นักกำหนดอาหารจะช่วยเหลือเราได้อย่างไร ? โดยทั่วไปแล้วนักกำหนดอาหารมีหน้าที่ดังนี้

  • ประเมินภาวะโภชนาการ
  • วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยเพื่อประเมินว่าร่างกายของผู้ป่วยควรได้รับและไม่ควรได้รับอาหารประเภทใด
  • คำนวณปริมาณสารอาหารในแต่ละมื้อหรือแต่ละวันที่ผู้ป่วยควรได้รับ
  • วางแผนและกำหนดมื้ออาหารให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วย

ความแตกต่างระหว่าง นักกำหนดอาหาร VS นักโภชนาการ

 

หลายคนอาจเคยได้ยินทั้งชื่ออาชีพนักโภชนาการ กับ นักกําหนดอาหาร จริง ๆ แล้วทั้ง 2 อาชีพนี้แตกต่างกันหรือไม่ ?

 

นักโภชนาการ Nutritionist คือ ผู้ที่ศึกษาด้านโภชนาการโดยตรงในระดับมหาวิทยาลัย สามารถให้ความรู้ทั่วไปในด้านอาหารและโภชนาการได้

 

นักกําหนดอาหาร Dietitian คือ ผู้ที่ศึกษาด้านโภชนาการโดยตรงเช่นเดียวกับนักโภชนาการ แต่สิ่งที่แตกต่างจากนักโภชนาการคือนักกำหนดอาหารสามารถวางแผนด้านโภชนบำบัด โดยต้องผ่านการอบรม สอบ และได้รับใบประกอบโรคศิลปะสาขาการกำหนดอาหารจึงจะสามารถให้ความรู้ ให้คำปรึกษา ประเมินภาวะโภชนาการ และกำหนดปริมาณวิธีการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับภาวะโรคต่าง ๆ ของผู้ป่วยแต่ละบุคคลได้

ใครบ้างที่ต้องพบนักกำหนดอาหาร

ใครควรปรึกษานักกำหนดอาหาร

เมื่อมีปัญหาสุขภาพอย่าลืมปรึกษานักกำหนดอาหารควบคู่กับการพบแพทย์ไปด้วย ผู้ที่ควรปรึกษานักกำหนดอาหาร ได้แก่ 

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • ผู้ที่ต้องการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
  • ผู้ที่ข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร เช่น มังสวิรัต คีโต Plant Base Food
  • ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
  • ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ
  • ผู้ที่ปัญหาโรคอ้วน น้ำหนักเกิน หรือน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
  • ผู้ป่วยที่ขาดสารอาหารระดับรุนแรง
  • ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา อาทิ ผ่าตัด ฉายรังสี และเคมีบำบัด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับนักกำหนดอาหาร

1. นักกำหนดอาหาร ทำงานที่ไหน?

โดยทั่วไปแล้วนักกำหนดอาหารซึ่งถือเป็นบุคลากรทางการแพทย์อีกตำแหน่งหนึ่งจะให้คำปรึกษาและกำหนดอาหารของผู้ป่วยในโรงพยาบาล คลินิก หรือแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันด้านการแพทย์ของโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อคอยให้คำแนะนำผู้ป่วยในด้านอาหาร

2. นักกำหนดอาหารต้องเรียนจบอะไร?

นักกำหนดอาหารจะศึกษาด้านโภชนาการและการกำหนดอาหาร และจะต้องผ่านการอบรม สอบ และได้รับใบประกอบโรคศิลปะสาขาการกำหนดอาหารจึงจะสามารถให้ความรู้ ให้คำปรึกษา ประเมินภาวะโภชนาการ และกำหนดปริมาณพลังงานและสารอาหาร รวมถึงวิธีการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับภาวะโรคของผู้ป่วยแต่ละบุคคลได้

3. ค่า BMI คำนวณอย่างไร?

จะทราบได้อย่างไรว่าตนเองกำลังอยู่ในภาวะอ้วน? วิธีสำหรับคัดกรองเบื้องต้นว่าร่างกายเรากำลังอยู่ในภาวะอ้วนหรือไม่คือการวัดค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI (Body Mass Index) และการวัดรอบเอว ซึ่งจะมีวิธีคำนวณดังนี้

 

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก(กิโลกรัม) ส่วนสูง (เมตร)^2

สามารถเปรียบเทียบผลได้จากตารางเกณฑ์ดัชนีมวลกายสำหรับชาวเอเชีย ดังนี้

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) (kg/m^2)
ผลลัพธ์
<18.5
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
18.6-22.9
น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ
23.0-24.9
น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์
25.0-29.9
โรคอ้วน
>30.0
โรคอ้วนอันตราย

มีปัญหาสุขภาพ ต้องการควบคุมน้ำหนัก ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ต้องยอมรับว่าอาหารสำคัญต่อเรื่องสุขภาพมากโดยเฉพาะในทุกวันนี้ที่เรามีเทรนด์การรับประทานอาหารรวมถึงข้อมูลมากมายจนอาจทำให้เราสับสนได้ว่าจริง ๆ แล้วร่างกายของเราต้องการอาหารแบบใด 

ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร และปรึกษาเภสัชกรบนแอป BeDee ได้ทุกวัน พร้อมสินค้าถึงมือ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

สุกัญญา รัตนกุญชร

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Bda. (n.d.). Dietitian or nutritionist? https://www.bda.uk.com/about-dietetics/what-is-dietitian/dietitian-or-nutritionist.html

 

Cooper, J. (2017, July 6). Do I need a nutritionist or dietitian? WebMD. https://www.webmd.com/diabetes/nutritionist-dietitian-choose

โปรแกรมควบคุมน้ำหนักเฉพาะบุคคลกับนักกำหนดอาหารจาก BeDee

BeDee มีแพ็กเกจปรึกษาการควบคุมน้ำหนักกับนักกำหนดอาหาร วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พร้อมออกแบบแนวทางการทานอาหารแบบ Personalize ที่เหมาะสมกับร่างกายและความต้องการของคุณอย่างตรงจุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารบัญบทความ Sleep Test คืออะไร การทดสอบการนอนหลับ หรือ Sleep Test คือ การตรวจระบบการทำงานของร่างกายในขณะที่นอนหลับโดยใช้เครื่องมือเฉพาะเพื่อหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่เรานอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสม

Key Takeaways การตรวจสุขภาพประจำปีช่วยให้เรารู้เท่าทันสุขภาพตัวเองในปัจจุบันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม การตรวจสุขภาพประจำปีช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคร้ายแรงในอนาคต การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ทุกช่วงวัย สารบัญบทความ ตรวจสุขภาพประจําป