แบบประเมินความเสี่ยงเบาหวาน

Key Takeaways

  • โรคเบาหวานทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพฤกษ์อัมพาต ชาปลายมือปลายเท้า 
  • แบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานจะช่วยให้เราทราบความเสี่ยงต่อโรคใน 12 ปีข้างหน้า
  • นอกจากการทำแบบประเมิน ควรตรวจสุขภาพกับแพทย์เป็นประจำทุกปี
สารบัญบทความ

รู้จักแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน 

โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงผิดปกติเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลิน หรือมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินลดลง ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินนั้นทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด โดยการนำน้ำตาลจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นเมื่อฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ จะทำให้ในกระแสเลือดมีระดับน้ำตาลที่สูงมากขึ้น 

 

ดังนั้นแล้วเราควรจะระมัดระวังการทานอาหารและรูปแบบการใช้ชีวิตตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานในอนาคต อีกวิธีหนึ่งที่เราสามารถทำได้คือการทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในอนาคต

 

BeDee Tips: โรคเบาหวานมีสัญญาณเตือนอะไรบ้าง เช็คเบาหวานด้วยตัวเอง อ่านเลย

 

ทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานเบื้องต้นกับพยาบาลที่แอป BeDee ไม่มีค่าใช้จ่าย

แบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน

แบบประเมินนี้เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นต่อการเกิดโรคเบาหวานในช่วง 12 ปี ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องยืนยันในการเกิดโรคได้ ผู้ทำแบบทดสอบควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายอีกครั้ง

โปรดเลือกคำตอบที่ตรงกับท่านที่สุดในแต่ละข้อพร้อมให้คะแนน เมื่อทำครบทุกข้อแล้วจะให้รวมคะแนนและดูการแปรผลความเสี่ยงในตารางถัดไป

ปัจจัยเสี่ยง
ตัวแปร
คะแนน
1. อายุ
☐ 34-39 ปี
☐ 40-44 ปี
☐ 45-49 ปี
☐ 50 ปีขึ้นไป
0
0
1
2
2. เพศ
☐ หญิง
☐ ชาย
0
2
3. ดัชนีมวลกาย(BMI)
☐ ต่ำกว่า 23 กก./ม.2
☐ ตั้งแต่ 23 ขึ้นไปแต่ น้อยกว่า 27.5 กก/ม.2
☐ มากกว่า 27.5 กก./ม2 ขึ้นไป
0
3
5
4. รอบเอว (เซนติเมตร)
☐ ผู้ชายน้อยกว่า 90 ซม.
☐ ผู้หญิงน้อยกว่า 80 ซม.
☐ ผู้ชายตั้งแต่ 90 ซม. ขึ้นไป
☐ ผู้หญิงตั้งแต่ 80 ซม. ขึ้นไป
0
2
5. ความดันโลหิต
☐ ไม่มี
☐ มี
0
2
6. ประวัติโรคเบาหวานในญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ หรือ น้อง)
☐ ไม่มี
☐ มี
0
4

ที่มา : ศูนย์เบาหวานศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/diabetes/ct_diabeticrisk.asp

แบบคัดกรองความเสี่ยงเบาหวาน

ตารางแปลผลระดับคะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานใน 12 ปี

ผลรวมคะแนน
ความเสี่ยง เบาหวานใน 12 ปี
ระดับความเสี่ยง
โอกาสเกิด เบาหวาน
คำแนะนำ
น้อยกว่าหรือ เท่ากับ 2
น้อยกว่าร้อยละ 5
น้อย
1/20
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์
-ตรวจความดันโลหิต
-ประเมินความเสี่ยงซ้ำทุก 3 ปี
3-5
ร้อยละ 5-10
ปานกลาง
1/12
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์
- ตรวจความดันโลหิต
- ประเมินความเสี่ยงซ้ำทุก 1-3 ปี
6-8
ร้อยละ 11-20
สูง
1/7
- ควบคุมอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์
- ตรวจความดันโลหิต
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
- ประเมินความเสี่ยงซ้ำทุก 1-3 ปี
มากกว่า 8
มากกว่าร้อยละ 20
สูงมาก
1/3 - 1/4
- ควบคุมอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์
- ตรวจความดันโลหิต
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
- ประเมินความเสี่ยงซ้ำทุก 1 ปี
แบบประเมินเบาหวาน

มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน? ปรึกษาคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ไม่มีค่าจัดส่งยา

การทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน มีความสำคัญอย่างไรบ้าง ทำไมถึงควรทำ

การประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานมีความสำคัญหลายอย่าง กล่าวคือการทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานช่วยให้ทราบว่าเรามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นก้าวแรกในการป้องกันโรค ซึ่งหากเราทราบว่ามีความเสี่ยงสูงก็สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการควบคุมน้ำหนัก เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานได้ทันเวลา

 

นอกจากนี้แบบคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานยังช่วยให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการตรวจสุขภาพและตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำและยังสามารถช่วยให้แพทย์เฝ้าระวังและติดตาม รวมถึงวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม การป้องกันโรคเบาหวานและการจัดการก่อนที่โรคจะเกิดขึ้น สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ในระยะยาว เนื่องจากการรักษาโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนมักมีค่าใช้จ่ายสูง การทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานจึงเป็นขั้นตอนสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องในอนาคต

 

BeDee Tips: รู้จัก ยาเบาหวาน มีแบบไหนบ้าง ควรทานอย่างไร อ่านเลย

ใครที่ควรทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานบ้าง ? 

ทุกคนสามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานได้ แต่กลุ่มคนที่ควรทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานเป็นประจำมีดังนี้

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี เนื่องจากความเสี่ยงของโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นตามอายุ
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน เช่น พ่อแม่ พี่น้อง สายตรง หรือญาติที่เป็นโรคเบาหวาน 
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน 
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทานอาหารที่มีรสชาติหวาน มีน้ำตาลและไขมันสูง
  • ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกายน้อย 
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหรือมีไขมันในเลือดสูง 
  • ผู้หญิงที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 

 

การทำแบบประเมินความเสี่ยงต่อเบาหวานสามารถช่วยให้เราทราบถึงระดับความเสี่ยงและช่วยให้เราปรับปรุงพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อป้องกันโรคได้ทันเวลา

สรุปแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน 

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังซึ่งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาอีกมาก เช่น เบาหวานขึ้นตา ปลายประสาทอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ และอื่น ๆ การทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานจะช่วยให้เราทราบถึงความเสี่ยงในอนาคตเพื่อรับมือและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เป็นส่วนตัวสูง พร้อมจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

พญ.จิรภัทร สุริยะชัยสวัสดิ์
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

ศูนย์เบาหวานศิริราช. (n.d.). https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/diabetes/

 

World Health Organization: WHO & World Health Organization: WHO. (2023a, April 5). DiDiabetes – Symptoms and causes – Mayo Clinic. (2024, March 27). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/symptoms-causes/syc-20371444

 

Diabetes – Symptoms and causes – Mayo Clinic. (2024, March 27). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/symptoms-causes/syc-20371444

 

https://reference.medscape.com/calculator/236/findrisc-diabetes-risk-calculator

บทความที่เกี่ยวข้อง

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง การดูแลตัวเองให้สุขภาพแข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเส

Key Takeaways การตรวจสุขภาพประจำปีช่วยให้เรารู้เท่าทันสุขภาพตัวเองในปัจจุบันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม การตรวจสุขภาพประจำปีช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคร้ายแรงในอนาคต การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ทุกช่วงวัย สารบัญบทความ ตรวจสุขภาพประจําป