“ผื่นผ้าอ้อม” หรืออาการ “แพ้แพมเพิส” เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดหรือแม้แต่กลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องสวมใส่แพมเพิสแรกเกิดหรือสวมใส่แพมเพิสผู้สูงอายุเพื่อรองรับอาการปัสสาวะเล็ดเป็นเวลานาน อาการแพ้แพมเพิสสร้างความรำคาญในการใช้ชีวิตประจำวันเป็น
ผิวไหม้แดด ทำอย่างไรให้ผิวกลับมาสุขภาพดี
Key Highlight
- ควรหลีกเลี่ยงการแกะเกาบริเวณที่ผิวไหม้แดดเพราะอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเสียหายหรืออาจเกิดแผลอักเสบติดเชื้อได้
- การประคบเย็นจะช่วยปลอบประโลมให้ผิวเย็นลงและลดการอักเสบ ทำให้รู้สึกสบายขึ้น
- สามารถใช้ว่านหางจระเข้หรือครีมบำรุงผิวสูตรอ่อนโยน ไม่ผสมน้ำหอมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวได้
ผิวไหม้แดด เกิดจากอะไร
ผิวไหม้แดด (Sunburn) เกิดจากการที่ผิวหนังของเราสัมผัสกับแสงแดดที่ร้อนจัดจนทำให้ผิวหนังเกิดอาการแสบ แดง ร้อน ระคายเคือง ซึ่งอาการผิวไหม้แดดนั้นเกิดจากรังสี UVA และ UVB ที่ทำลายผิวชั้นนอก อาการผิวไหม้แดดอาจเกิดขึ้นเมื่อผิวหนังของเราสัมผัสกับแสงแดดข้างนอกภายใน 30 นาที หรือในผู้ที่มีผิวขาว หรือผิวบางอาจไวต่อแสงแดดและทำให้ผิวไหม้แดดในระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นได้
ตามกระบวนการฟื้นฟูของผิวหนังนั้นหลังจากที่ผิวหนังสัมผัสกับแสงแดดที่รุนแรงแล้วประมาณ 2-3 วันหลังจากนั้นผิวหนังจะค่อย ๆ ลอก แห้ง คัน เซลล์ผิวหนังเก่าที่ไหม้จะค่อย ๆ หลุดออกและสร้างผิวหนังใหม่ขึ้นมาทดแทน
BeDee Tips: รู้จักฝ้า กระ วิธีป้องกันและจัดการให้ตรงจุด อ่านเลย
ปรึกษาวิธีรักษาผิวไหม้แดดกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง
ผิวไหม้แดด อาการเป็นอย่างไร
ผิวไหม้แดดระดับเริ่มต้น
ผิวไหม้แดดในระดับนี้จะมีอาการไม่รุนแรงคืออาจมีอาการ บวม แดงในช่วง 3-5 วัน หลังจากนั้นผิวหนังจะค่อย ๆ หลุดลอกออก
ผิวไหม้แดดระดับปานกลาง
ผิวไหม้แดดระดับปานกลางจะมีอาการเจ็บ ปวด ผิวหนังอักเสบบวม แดง แสบ โดยอาการอาจเกิดขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นผิวหนังจะค่อย ๆ หลุดลอกออกเพื่อสร้างเซลล์หนังใหม่ขึ้นมาทดแทน
ผิวไหม้แดดระดับรุนแรง
ผิวไหม้แดดรุนแรงจะมีอาการอักเสบรุนแรง มีตุ่มน้ำ รู้สึกเจ็บปวด แสบ ร้อน หากเกิดผิวไหม้แดดในระดับรุนแรงควรพบแพทย์เพื่อรักษา
BeDee Tips: ผิวแพ้ง่าย ดูแลรับมือช่วงหน้าร้อนอย่างไรดี อ่านเลย
อาการผิวไหม้แดดแบบใดที่ควรพบแพทย์
ผิวไหม้แดดอาจรุนแรงได้ถึงขั้นอันตราย เมื่อมีอาการผิวไหม้แดดดังนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
- เจ็บปวดบริเวณผิวหนังอย่างรุนแรง
- ผิวหนังพุพอง เสียหายอย่างมาก
- ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ
- มีไข้
- ปวดศีรษะ เวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม
- ปวดท้อง
- มึนงง
ปรึกษาวิธีรักษาผิวไหม้แดดกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง
6 วิธีฟื้นฟูผิวไหม้แดดแบบเร่งด่วน
1. หลีกเลี่ยงการแกะ เกา ในบริเวณที่ผิวไหม้แดด
พอเรามีอาการผิวไหม้แดดหรือหน้าไหม้แดดบางคนอาจรู้สึกรำคาญจนต้องแกะเกา ซึ่งจริง ๆ แล้วเราควรหลีกเลี่ยงการแกะเกาบริเวณที่ผิวไหม้แดดเนื่องจากไม่ใช่วิธีแก้ผิวไหม้แดดที่ถูกต้อง การแกะเกาอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเสียหายหรืออาจเกิดแผลอักเสบติดเชื้อได้
2. ประคบเย็น
วิธีแก้หน้าไหม้แดดแบบเร่งด่วนวิธีหนึ่งก็คือการประคบเย็น หากรู้สึกผิวไหม้แดดเมื่อไหร่สามารถเริ่มประคบเย็นในตอนนั้นได้ทันที การรักษาผิวไหม้แดดด้วยการประคบเย็นจะช่วยปลอบประโลมให้ผิวเย็นลงและลดการอักเสบ ทำให้รู้สึกสบายขึ้น
3. ทาว่านหางจระเข้หรือครีมเพิ่มความชุ่มชื้น
วิธีรักษาหน้าไหม้แดดที่เรารู้จักกันดีก็คือการใช้ว่านหางจระเข้ทาบริเวณที่ผิวไหม้แดดหรือผิวโดนความร้อน เนื่องจากว่านหางจระเข้จะช่วยปลอบประโลมผิว ช่วยสมานแผล ช่วยทำให้เซลล์เนื้อเยื่อเจริญเติบโต ใช้รักษาได้ดีกับผิวที่โดนความร้อน เช่น ผิวไหม้แดด น้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากไม่สะดวกใช้ว่านหางจระเข้าสามารถใช้ครีมบำรุงผิวสูตรอ่อนโยนหรือครีมทาผิวไหม้แดดเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น บำรุงผิวไหม้แดดได้เช่นกัน
4. ดื่มน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น
การเพิ่มความชุ่มชื้นเมื่อผิวไหม้แดดสำคัญอย่างมาก เนื่องจากผิวไหม้แดดสูญเสียน้ำและความชุ่มชื้นอย่างมาก เราจึงจำเป็นต้องเติมความชุ่มชื้นดูแลผิวไหม้แดดด้วยการดื่มน้ำเพื่อให้ร่างกายได้รับความชุ่มชื้นอย่างเพียงพอซึ่งจะช่วยในกระบวนการทำงานและซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกายให้เกิดประสิทธิภาพอีกด้วย
5. หลีกเลี่ยงแสงแดด
การเผชิญกับแสงแดดจะทำให้ผิวไหม้แดดระคายเคืองและได้รับความเสียหายมากยิ่งขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดแรง ๆ ในช่วงที่มีอาการผิวไหม้แดด
6. งดขัดผิว
บางคนเข้าใจว่าวิธีแก้ผิวไหม้แดดคือการขัดหรือสครับผิวที่ไหม้แดดออกเพื่อให้ผิวหนังส่วนที่เสียหายหลุดลอกออกไป ซึ่งวิธีนี้เป็นความเข้าใจที่ผิว การขัดถูบริเวณที่ผิวไหม้แดดแรง ๆ จะทำให้ผิวหนังที่แสบร้อนได้รับความเสียหายอยู่แล้วระคายเคืองยิ่งกว่าเดิม ตามกลไกร่างกายแล้วผิวหนังที่เสียหายจะค่อย ๆ หลุดลอกและสร้างผิวหนังชั้นใหม่ขึ้นมาทดแทนได้เอง ไม่จำเป็นต้องเร่งด้วยการขัดถู
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดผิวไหม้แดด
ประเทศไทยโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนระดับรังสี UV (UV Index) นั้นอยู่ในระดับที่สูงและเป็นอันตรายต่อผิวหนัง เราสามารถป้องกันผิวไหม้แดดได้ด้วยวิธีดังนี้
- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง การทำกิจกรรมนอกบ้านในช่วงกลางวันหรือช่วงที่แดดแรง
- สวมเสื้อผ้าสีอ่อนเพราะจะช่วยสะท้อนความร้อนได้ดี เลือกเนื้อผ้าที่ช่วยระบายความร้อนได้ดี เช่น ผ้าคอตตอน ผ้าเรยอน
- สวมหมวก แว่นตากันแดด และกางร่มเมื่อต้องอยู่กลางแจ้ง
- ทาครีมกันแดด SPF 50 +
- จิบน้ำบ่อย ๆ ระหว่างวันเพื่อป้องกันการขาดน้ำและช่วยลดอุณหภูมิร่างกาย
- สำหรับผู้ที่ชอบออกกำลังกายกลางแจ้งควรเปลี่ยนมาออกช่วงเช้าและเย็น
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผิวไหม้แดด
1. ผิวไหม้แดดกี่วันหาย?
ระยะเวลาในการฟื้นฟูและรักษาผิวไหม้แดดนั้นขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ โดยทั่วไปแล้วผิวหนังจะค่อย ๆ หลุดลอกภายใน 2-3 วัน และค่อย ๆ สร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ขึ้นมาทดแทน แต่หากมีอาการผิวไหม้แดดรุนแรงอาจใช้เวลาเป็นเดือนในการรักษา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอาการเพิ่มเติม
2. ครีมรักษาผิวไหม้แดดมีอะไรบ้าง?
สำหรับการใช้ครีมฟื้นฟูผิวไหม้แดดแนะนำให้ใช้ว่านหางจระเข้หรือครีมบำรุงผิวสูตรอ่อนโยน ไม่ผสมน้ำหอมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเนื่องจากอาการผิวไหม้แดดและระดับความรุนแรงของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป
สรุป เมืองไทยต้องระวังผิวไหม้แดด
ไม่ใช่แค่ช่วงหน้าร้อน แต่ประเทศไทยของเรามีค่าดัชนี UV ที่สูงจัด เป็นอันตรายต่อผิวหนังตลอดทั้งปี เราจึงควรดูแลปกป้องและระวังผิวไหม้แดดตลอดทั้งปี เพราะไม่ใช่แค่เรื่องความสวยความงามแต่แสงแดดอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้เช่นกัน
ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน พร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
นพ. รัตน์ศักดิ์ ตั้งเทอดชนะกิจ
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Sunburn – Symptoms and causes – Mayo Clinic. (2022, October 8). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sunburn/symptoms-causes/syc-20355922
The Skin Cancer Foundation. (2023, June 14). Sunburn – the Skin Cancer Foundation. https://www.skincancer.org/risk-factors/sunburn/
https://www.msdmanuals.com/professional/dermatologic-disorders/reactions-to-sunlight/sunburn#Treatment_v962083