หนึ่งในปัญหาผิวที่พบบ่อยมาก ๆ โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ขึ้นไปคือปัญหาฝ้า กระ เพราะผิวหนังเราได้เผชิญกับแสงแดดและมลภาวะมานาน ถึงแม้ว่าปัญหาฝ้า กระจะไม่ได้เป็นอันตรายใด ๆ แต่กลับสร้างความไม่มั่นใจให้กับหลาย ๆ คนจนต้องหาวิธีรักษาฝ้า กระให้หายโดยเร็ว ในบทค
สิวหัวช้างจัดการและรับมืออย่างไรดี เมื่อหน้าพัง
Key Takeaways
- สิวหัวช้างคือสิวประเภทหนึ่ง มีขนาดใหญ่ บวม รักษาได้ยากกว่าสิวประเภทอื่น ๆ
- ไม่ควรบีบ แกะ หรือกดสิวหัวช้างด้วยตัวเองเพราะอาจทำให้ติดเชื้อจากมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่สะอาด
- การรักษาสิวหัวช้างควรปรึกษาแพทย์โดยตรง
สิวหัวช้างคืออะไร
สิวหัวช้าง (Nodule) คือ สิวที่มีลักษณะเป็นก้อนนูนขนาดใหญ่ ไม่มีหัว เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บมาก สิวหัวช้างจะมีหนองอยู่ภายใน เกิดจากการอักเสบรุนแรงจากเชื้อแบคทีเรียที่เจริญเติบโตบริเวณผิวหนังซึ่งสิวหัวช้างรักษาได้ยากกว่าสิวประเภทอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการรักษาโดยตรง
ปรึกษาวิธีรักษาสิวหัวช้างกับคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ส่งสินค้าถึงบ้าน
สาเหตุที่ทำให้เกิดสิวหัวช้างมีอะไรบ้าง
สิวหัวช้างเกิดจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่
- การอุดตันของรูขุมขน สิวหัวช้างเกิดจากการสะสมของน้ำมัน (Sebum) และเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วอุดตันในรูขุมขนรุนแรงจนทำให้เกิดสิวหัวช้าง
- การเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Propionibacterium acnes (P. acne) ในรูขุมขนซึ่ง P. acne จะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำมันมาก เมื่อแบคทีเรียเจริญเติบโตมากเกินไป จะทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เกิดสิวหัวช้าง
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ในช่วงวัยรุ่น ช่วงมีประจำเดือน หรือช่วงตั้งครรภ์ สามารถกระตุ้นการผลิตน้ำมันในผิวหนังมากขึ้น ส่งผลให้มีโอกาสเกิดสิวหัวช้างสูงขึ้น
- ปัจจัยทางพันธุกรรม หากมีประวัติคนในครอบครัวมีสิวรุนแรง อาจมีความเสี่ยงในการเกิดสิวหัวช้างมากขึ้น
- ความเครียดสามารถกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่เพิ่มการผลิตน้ำมัน ทำให้เกิดสิวมากขึ้น
- การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีส่วนผสมระคายเคืองหรือมีน้ำมันมาก ทำให้รูขุมขนอุดตันและกระตุ้นการเกิดสิวหัวช้างได้
- การกดหรือบีบสิวอาจทำให้เกิดการอักเสบที่ลึกลงในผิวหนังจนทำให้เกิดสิวหัวช้าง
บริเวณที่มักเกิดสิวหัวช้างคือบริเวณใดบ้าง
สิวหัวช้างมักเกิดในบริเวณที่มีน้ำมันมากและมีรูขุมขนที่หนาแน่น ซึ่งบริเวณที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่
- ใบหน้า: เช่น หน้าผาก สิวหัวช้างตรงจมูกสิวหัวช้างที่คาง และแก้ม เนื่องจากบริเวณนี้มีต่อมไขมันที่ผลิตน้ำมันมาก
- คอ: สิวหัวช้างสามารถเกิดขึ้นได้บริเวณคอ โดยเฉพาะส่วนด้านหลังของคอที่มักมีการเสียดสีจากเสื้อผ้าหรือผม
- หลัง: สิวหัวช้างที่หลังเป็นอีกหนึ่งบริเวณที่พบได้บ่อยเนื่องจากมีต่อมไขมันมาก โดยเฉพาะส่วนบนของหลัง
- หน้าอก: บริเวณหน้าอกก็มีต่อมไขมันที่ผลิตน้ำมันจำนวนมากเช่นกัน และอาจเกิดสิวหัวช้างได้ โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น
วิธีรักษาสิวหัวช้างทำอย่างไร
การรักษาสิวหัวช้างมีหลายวิธี โดยควรเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมและเหมาะกับความรุนแรงของสิวที่เกิดขึ้น
ใช้ยารักษาสิว
ใช้ครีมหรือยาทาสิวที่มีส่วนผสมของเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ซาลิไซลิกแอซิด (Salicylic Acid) หรือเรตินอล (Retinoid) ซึ่งสามารถช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน อย่างไรก็ตามการใช้กรดเหล่านี้ต้องระวังในผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย เนื่องจากอาจทำให้ผิวหน้าแห้งและเกิดการระคายเคืองได้ ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยา
ใช้สกินแคร์อ่อนโยน ไม่อุดตัน
ไม่ว่าจะเป็นสิวประเภทใดก็ตามสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกใช้สกินแคร์ดูแลผิวที่อ่อนโยน ปราศจากน้ำหอม รักษาความชุ่มชื้น แต่ไม่อุดตัน
รักษาด้วยหัตถการ
ในบางรายที่มีอาการสิวหัวช้างอักเสบรุนแรงแพทย์อาจแนะนำให้ฉีดยาเพื่อรักษาสิวหัวช้างหรือในบางรายอาจเป็นสิวหัวช้าง หรือสิวอักเสบรุนแรงถึงขั้นต้องผ่าออก อย่างไรก็ตามการทำหัตถการนั้นต้องทำโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น
ปรึกษาแพทย์ผิวหนัง
เนื่องจากสิวหัวช้างไม่มีหัว เป็นสิวประเภทที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาและหายเองได้ยาก ดังนั้นการสิวหัวช้างอักเสบรุนแรงรักษาสิวหัวช้างจึงควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังโดยตรงเพราะในบางรายอาจมีอาการจนต้องทานยา หรืออาจต้องผ่าออก
ปรึกษาการใช้ยารักษาสิวหัวช้างกับเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน ไม่มีค่าปรึกษา
วิธีดูแลผิวเมื่อเป็นสิวหัวช้างทำอย่างไร
แจกขั้นตอนดูแลผิวง่าย ๆ เป็นสิวหัวช้างแค่ไหนก็ไม่หวั่น ดังต่อไปนี้
- รักษาความสะอาดใบหน้าหรือส่วนที่เกิดสิวให้แห้งสะอาดอยู่เสมอ ไม่ควรปล่อยให้เกิดการหมักหมมของเหงื่อและความมัน
- หลีกเลี่ยงการแต่งหน้าในช่วงที่เป็นสิวมากเพราะอาจทำให้เกิดการอุดตันและทำให้สิ่งสกปรกสะสมได้
- ทายา ครีมรักษาสิว หรือรับประทานยารักษาสิวตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ
- ไม่ซื้อยาฮอร์โมน ยาคุมกำเนิด หรือยาสเตียรอยด์มารับประทานเอง
- พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผิวพรรณ ขณะที่นอนหลับร่างกายจะซ่อมแซมระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย มีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทนที่เซลล์เก่าในร่างกาย ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
- สระผมเป็นประจำและหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่มีน้ำมัน
- ทำความสะอาดหมอน ปลอกหมอน และผ้าขนหนูอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือถูใบหน้าบ่อย ๆ
- พยายามไม่แกะหรือบีบสิวหัวช้าง
สิวหัวช้างป้องกันได้อย่างไร
สิวหัวช้างมีวิธีป้องกัน ดังต่อไปนี้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
- หลีกเลี่ยงการสวมใส่หน้ากากอนามัยเป็นเวลานาน หรือควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยหากมีเหงื่อออกมาก
- หลีกเลี่ยงอากาศร้อนชื้น
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนสกินแคร์บ่อย ๆ
- ไม่สัมผัสใบหน้าบ่อย ๆ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้
- ผลัดเซลล์ผิวด้วย AHA เพื่อช่วยให้สิ่งอุดตัน สิ่งสกปรกตามรูขุมขนหรือสิวอุดตันผลัดออกไปจากชั้นผิวหนัง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิวหัวช้าง
1.สิวหัวช้าง ทายาอะไร ?
ยาทาสิวหัวช้าง หรือยาแต้มสิวหัวช้างมักอยู่ในกลุ่มของเบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ซึ่ง
เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะแบคทีเรีย P. acnes ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการอักเสบในสิวหัวช้าง Benzoyl Peroxide มักใช้ร่วมกับคลินดามัยซินซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะทาภายนอกที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบ
2. สิวหัวช้างหายเองได้ไหม
สิวหัวช้างเป็นสิวประเภทที่หายได้ยาก ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาดังนั้นการรักษาสิวหัวช้างเองอาจใช้เวลานานและอาจทำให้เราใช้ยาไม่เหมาะสมได้ เมื่อมีสิวหัวช้างแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพ
3. สิวหัวช้างบีบได้ไหม
ไม่ควรบีบสิวหัวช้างเพราะอาจทำให้อาการอักเสบของสิวหัวช้างแย่ลงหรืออาจเกิดการติดเชื้อจากมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่สะอาด หากจำเป็นต้องบีบหรือทำหัตถการใด ๆ เกี่ยวกับสิวควรปรึกษาแพทย์
เป็นสิวหัวช้างปรึกษาคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน
สิวหัวช้างเป็นสิวที่มีลักษณะใหญ่ ลึก เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บปวดเนื่องจากการติดเชื้อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดถุงหนองหรือซีสต์ภายใน สิวหัวช้างมีสาเหตุหลักมาจากการอุดตันของรูขุมขน น้ำมัน หรือแบคทีเรีย ซึ่งนำไปสู่การอักเสบ
ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนแอป BeDee ได้ทุกวัน พร้อมสินค้าถึงมือ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พญ.นันท์นภัส พันธ์นิกุล
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
DermNet. (2023b, August 22). Nodulocystic acne. DermNet®. https://dermnetnz.org/topics/nodulocystic-acne
Burgess, L. (2023, July 17). Nodular acne: Definition and treatment options. https://www.medicalnewstoday.com/articles/321815#symptoms
Hafsi, W., Arnold, D. L., & Kassardjian, M. (2023, June 1). Acne conglobata. StatPearls – NCBI Bookshelf. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK459219/