Key Takeaways CVS คือ โรคทางสายตาทำให้เกิดอาการ ตาแห้ง ตาล้า ตาพร่า โฟกัสไม่ได้ แสบตา CVS คือ โรคที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์หรืออยู่หน้าจออุปกรณ์ดิจิทัลเป็นเวลานาน หากมีอาการ CVS ควรพักสายตาทุก ๆ 15-20 นาที จัดระดับโต๊ะทำงานให้เหมาะสม หยอดน้ำตาเทียม
ปวดไหล่แบบนี้อันตรายหรือไม่ สาเหตุ และอาการที่ต้องรีบพบแพทย์
อาการปวดไหล่ ปวดคอ ปวดบ่า ไหล่ติด ไม่ได้เกิดกับคนทำงานออฟฟิศเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นกับเด็กและผู้สูงอายุได้ด้วย ซึ่งแต่ละช่วงวัยอาจมีสาเหตุการปวดไหล่ที่แตกต่างกันออกไป บางรายอาจเกิดจากปัญหาออฟฟิศซินโดรม สิ่งสำคัญที่จะทำให้แก้อาการปวดไหล่อย่างหายขาดได้นั้นคือการหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอาการ และการรักษาที่ตรงจุด มาดูอาการปวดไหล่แต่ละประเภทเลย
ข้อไหล่ คืออะไร?
ข้อไหล่ (Glenohumeral Joint) เป็นข้อต่อที่สำคัญที่สุดของบริเวณไหล่ เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของต้นแขน ประกอบไปด้วยส่วนหัวของกระดูกต้นแขน (Head of Humerus) และส่วนเบ้าของกระดูกสะบัก (Glenoid) ซึ่งความมั่นคงของหัวไหล่ต้องอาศัยเยื่อหุ้มข้อไหล่ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อโดยรอบเพื่อให้เราสามารถขยับ เอื้อมคว้าสิ่งของได้ตามต้องการ
สาเหตุของการปวดไหล่
อาการปวดไหล่ในเด็กและวัยรุ่น
อาการปวดไหล่ในเด็ก อาจเกิดจากอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดกันเป็นเวลาหลายชั่วโมง นั่งโต๊ะทำงานเป็นเวลานาน การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรืออาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมบางชนิดเกี่ยวกับข้ออักเสบชนิดที่มีการอักเสบบริเวณจุดเกาะของเส้นเอ็น
อาการปวดไหล่ในวัยทำงาน
อาการปวดไหล่ในผู้ใหญ่วัยทำงานอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในชีวิตประจําวันหรืออิริยาบถการทำงานในท่านั่งเป็นเวลานาน ๆ อาการออฟฟิศซินโดรม หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุหรือการใช้งานไหล่อย่างหนักทำให้กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นฉีกขาด กระดูกหัก หรือข้อเคลื่อน หรืออาจจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ กระดูกคอเสื่อม หรือกล้ามเนื้อหลังอักเสบ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์อย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุอีกครั้ง
อาการปวดไหล่ในผู้สูงวัย
ผู้สูงอายุหรือกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปมักพบอาการปวดไหล่ ไหล่ติด เนื่องจากการใช้งานไหล่มากเกินไป เป็นระยะเวลานานจนทำให้เกิดอาการเรื้อรัง หรือไหล่เสื่อม
ปรึกษาอาการปวดไหล่กับแพทย์เฉพาะทางที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง จัดส่งสินค้าถึงบ้าน
วิธีแก้อาการปวดไหล่ด้วยตัวเอง
หากผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ไม่รุนแรง สามารถบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นได้ ดังนี้
- หยุดงานใช้ไหล่หนัก ๆ เช่นการขยับแขนแรง ๆ หรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้ไหล่หนัก
- ประคบเย็นด้วย Cold Pack หากมีอาการปวดมาก
- ประคบอุ่นด้วยกระเป๋าน้ำร้อน หรือ Hot Pack หากมีอาการปวดไม่รุนแรง
- ทายาหรือใช้สเปรย์บรรเทาอาการปวด
- ไม่นอนตะแคงทับไหล่ข้างที่ปวด
- ยืดกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ บ่า สะบักหลักระหว่างวัน
- ไม่สะพายกระเป๋าหรือยกของหนัก ๆ
- ไม่ออกกำลังกายที่ต้องใช้หัวไหล่หนัก ๆ
อาการปวดไหล่ที่ควรพบแพทย์ทันที
ผู้ป่วยควรสังเกตอาการตัวเอง หากมีอาการปวดไหล่ตามด้านล่างนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์
- ไหล่บวม
- ปวดไหล่นานกว่า 2 สัปดาห์
- ปวดไหล่ร่วมกับมีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- ขยับไหล่ไม่ได้หรือปวดหัวไหล่ยกแขนไม่ขึ้น
- ปวดหัวไหล่ร้าวลงแขนจนรู้สึกชา
การรักษาอาการปวดไหล่
การรักษาอาการปวดไหล่สามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลัก ๆ ได้แก่
- ทำกายภาพบำบัด หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจให้การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดร่วมกับรับประทานยาแก้ปวด และติดตามดูอาการต่อไป
- ผ่าตัด ในกรณีที่อาการของผู้ป่วยไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ยาและการทำกายภาพบำบัดได้ อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดหัวไหล่ในปัจจุบันมักนิยมใช้การผ่าตัดแบบส่องกล้องเนื่องจากแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยด้วย
วิธีป้องกันอาการปวดไหล่
วิธีการป้องกันอาการปวดไหล่ ลดความรุนแรงและป้องกันไม่ให้อาการปวดไหล่ลุกลาม สามารถเริ่มต้นได้จากการปรับพฤติกรรมดังนี้
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การปรับท่านอน การเดิน ท่านั่ง ให้เหมาะสม
- ปรับเปลี่ยนความเหมาะสมของสถานที่ทำงาน เช่น ปรับโต๊ะทำงานให้ความสูงของหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับสายตา เก้าอี้นั่งควรมีพนักพิงและที่วางแขน หรือ ปรับลักษณะท่านั่งทำงานที่เหมาะสม
- การออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ การยืดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อ และเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ ด้วยการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เช่น ว่ายน้ำ เป็นต้น
ปรึกษาอาการออฟฟิศซินโดรมกับแพทย์เฉพาะทางที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง จัดส่งสินค้าถึงบ้าน
สรุปเรื่องอาการปวดไหล่
อย่านิ่งนอนใจอาการปวดไหล่ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุการปวดที่แน่ชัด หากปล่อยไว้อาจบาดเจ็บจนอาการลุกลามได้ ปรึกษาอาการปวดไหล่กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้ที่ BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง เราพร้อมช่วยเหลือคุณทุกวัน สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พว. มุทิตา คำวิเศษณ์
พยาบาลวิชาชีพ
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
- Arthritis of the Shoulder – OrthoInfo – AAOS. (n.d.). https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases–conditions/arthritis-of-the-shoulder
- Shoulder Pain – 10 Common Causes and Treatment Options. (n.d.). Www.pennmedicine.org. https://www.pennmedicine.org/for-patients-and-visitors/patient-information/conditions-treated-a-to-z/shoulder-pain