Key Takeaways CVS คือ โรคทางสายตาทำให้เกิดอาการ ตาแห้ง ตาล้า ตาพร่า โฟกัสไม่ได้ แสบตา CVS คือ โรคที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์หรืออยู่หน้าจออุปกรณ์ดิจิทัลเป็นเวลานาน หากมีอาการ CVS ควรพักสายตาทุก ๆ 15-20 นาที จัดระดับโต๊ะทำงานให้เหมาะสม หยอดน้ำตาเทียม
ปวดคอแบบไหนอันตราย วิธีรักษาและการป้องกันอาการปวดคอ
อาการ “ปวดคอ” เมื่อยคอ ปวดไหล่ ปวดคอบ่าไหล่ ปวดสะบัก หรือปวดท้ายทอย เป็นปัญหาใหญ่ของหลายคนในปัจจุบัน ทั้งกลุ่มคนทำงานออฟฟิศหรือแม้แต่อาชีพอื่น ๆ บางคนรู้สึกปวดตึงเส้นเอ็นคอขึ้นหัว คนทั่วไปมักเกิดอาการปวดต้นคอได้เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาการออฟฟิศซินโดรม หรือแม้แต่การก้มหน้าใช้โทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน มาดูกันเลยว่าปวดคอแบบไหนอันตรายควรพบแพทย์ และเราจะป้องกันอาการปวดคอได้อย่างไรบ้าง
รูปแบบอาการปวดคอ
อาการปวดคอนั้นมีหลายลักษณะการปวดหลายรูปแบบ สามารถแยกอาการปวดคอหลัก ๆ ได้ดังนี้
เส้นประสาทถูกกดทับ
อาการปวดต้นคอแบบเส้นประสาทถูกกดทับคือผู้ป่วยจะมีอาการปวดคอร้าวลงแขนจนถึงมือ อาจมีอาการชาและอ่อนแรงร่วมด้วย บางรายอาจมีอาการรุนแรงมากขึ้น ถึงขั้นยกไหล่ไม่ขึ้น หรือไม่สามารถขยับนิ้วมือได้
ไขสันหลังถูกกดทับ
สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีอาการปวดคอเรื้อรัง ปวดบ่า จนร้าวลงแขน อาจมีอาการชาแขน ขาและมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย หยิบจับสิ่งของไม่ถนัด เดินเซ บางรายอาจมีปัญหาการขับถ่ายหรือการทรงตัว
ปวดคอเพียงอย่างเดียว
ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการปวดคอ ปวดคอบ่าไหล่ หรืออาจมีอาการที่เราเรียกว่าออฟฟิศซินโดรม มักมีอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อคอเพียงอย่างเดียว ยังไม่ได้ส่งผลกระทบหรือลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ และอาจหายได้เองแนะนำควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการเพิ่มเติม
ปรึกษาอาการปวดคอกับแพทย์ที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง จัดส่งสินค้าถึงบ้าน
สาเหตุของอาการปวดคอ
อาการปวดคอ รู้สึกเส้นคอตึงมากนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่มักพบมีดังนี้
- พฤติกรรม จากกิจวัตรประจำวัน เช่น ก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ ก้มหน้าอ่านหนังสือ หรือการนั่งทำงานผิดท่าเป็นเวลานาน ๆ
- กระดูกสันหลังเสื่อม
- เส้นประสาทกดทับ
- ติดเชื้อ
- มีประวัติการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ บาดเจ็บบริเวณคอ
อาการปวดคอที่ควรพบแพทย์ทันที
อาการปวดคอที่ควรสังเกตและรีบพบแพทย์โดยด่วนได้แก่ อาการปวดคอร้าวลงบ่า ไหล่ แขน หันหรือขยับศีรษะแล้วรู้สึกเหมือนไฟช็อต เจ็บแปล๊บ แขนชา มือชา อ่อนแรงบริเวณแขน คอผิดรูป คลำแล้วมีก้อนบริเวณคอ มีไข้สูง เคยเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนบริเวณคอ หรือทำให้คอผิดรูป
ปวดคออย่าปล่อยไว้ หากไม่แน่ใจอาการหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญบนแอป BeDee พร้อมรับคำแนะนำการปฏิบัติตัวเบื้องต้นและแนวทางการรักษาเพิ่มเติม
วิธีบรรเทาอาการปวดคอด้วยตนเอง
วิธีแก้คอเคล็ดหรืออาการปวดคอเบื้องต้นด้วยตัวเองสามารถทำได้ดังนี้
- เมื่อมีอาการปวดคอไม่ควรหันหน้าหรือขยับคออย่างรวดเร็วเพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น
- ไม่ควรนอนหมอนสูง หมอนที่ใช้หนุนควรรองรับบริเวณศีรษะ คอ และบ่า พอดี ไม่ควรมีช่องว่างเพราะอาจทำให้ปวดคอได้
- ประคบบริเวณคอด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นหมาด ๆ หรือ Hot Pack ประมาณ 15-20 นาที เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อคอ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดอาการปวดคอ
- ยืดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ระหว่างวัน
- ไม่นั่งทำงานจ้องหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานหลายชั่วโมง ควรลุกขึ้นเดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ
- ปรับโต๊ะให้ความสูงของหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับสายตา
- เก้าอี้ที่ใช้ควรรองรับบริเวณหลังและคอ หรือสามารถปรับให้เข้ากับสรีระของผู้ใช้งานได้ตามสะดวก
ช้อปสินค้าดูแลและป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมที่แอป BeDee จัดส่งสินค้าถึงบ้าน
การรักษาอาการปวดคอ
กายภาพบำบัด
การทำกายภาพบำบัดสามารถรักษาอาการปวดคอได้ เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดจะช่วยลดการกดทับของเส้นประสาท ช่วยยืดกล้ามเนื้อ ยืดเส้นเอ็น และลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ บางคนอาจใช้วิธีนวดหรือกดจุดก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดคอได้เช่นกัน
การใช้ยา
สำหรับยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดคอ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs, ยาบรรเทาการอักเสบ, ยาคลายกล้ามเนื้อ, สเปรย์พ่นหรือแผ่นแปะแก้ปวด, ยาคลายเครียด หรืออาจใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์ ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความปวดของแต่ละบุคคล แนะนำปรึกษาแพทย์ในการรับประทานยา
การผ่าตัด
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอรุนแรง หรือเส้นประสาทกดทับ แพทย์อาจแนะนำวิธีการผ่าตัด
วิธีป้องกันอาการปวดคอ
อาการปวดคอสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้
- ปรับโต๊ะให้ความสูงของหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับสายตา
- เก้าอี้ที่ใช้ควรรองรับบริเวณหลังและคอ หรือสามารถปรับให้เข้ากับสรีระของผู้ใช้งานได้ตามสะดวก
- ลดการก้มหน้าเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานาน
- ไม่นั่งทำงานหรือจ้องคอมพิวเตอร์นาน ๆ ควรเว้นช่วงพักเปลี่ยนผ่อนคลายและเปลี่ยนอิริยาบถ
- ยืดกล้ามเนื้อบริเวณ คอ บ่า ไหล่ และสะบักบ่อย ๆ
- ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ เช่น รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อเช่น โยคะ
สรุปเรื่องปวดคอ
อาการปวดคอนั้นสร้างความลำบากในการทำงานและใช้ชีวิตประจำวันอย่างยิ่ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อรับการรักษาให้ตรงจุดและลดความเสี่ยงของอาการปวดคอนั้นเรื้อรังจนเกิดอันตราย
BeDee มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกวันตามเวลาที่คุณสะดวก ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พยาบาลวิชาชีพ
พว. มุทิตา คำวิเศษณ์
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Professional, C. C. M. (n.d.). Neck Pain. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/21179-neck-pain
Neck pain – Symptoms and causes – Mayo Clinic. (2022, August 25). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/neck-pain/symptoms-causes/syc-20375581