วิธีแก้ออฟฟิศซินโดรม

Key Takeaways

  • ออฟฟิศซินโดรมวิธีแก้คือการปรับพฤติกรรมการนั่ง การเดิน อย่างถูกต้อง
  • ออฟฟิศซินโดรมรักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรม ปรึกษาแพทย์ หรือการยืดกล้ามเนื้อด้วยตัวเองในท่าง่าย ๆ 
  • มีอาการออฟฟิศซินโดรมปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่แอป BeDee ได้ทุกวัน
สารบัญบทความ

ออฟฟิศซินโดรมอาการเป็นอย่างไร?

พูดถึงอาชีพงานออฟฟิศแล้วสิ่งหนึ่งที่มักจะพร้อมกันคงหนีไม่พ้นอาการออฟฟิศซินโดรม

 

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ รวมถึงเยื่อพังผืด เนื่องจากพฤติกรรมการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เกิดความผิดปกติของระบบในร่างกาย โดยเฉพาะระบบกระดูก เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ หรือดวงตา พฤติกรรมที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม เช่น การนั่งทำงานในลักษณะที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลา การใช้มือถือนาน ๆ จนทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ลุกลามตามมาได้ เรามาดูเลยว่าออฟฟิศซินโดรมวิธีแก้นั้นทำอย่างไรได้บ้าง

 

BeDee Tips: เช็กเลย! คุณกำลังขาด work life balance อยู่หรือเปล่า ? 

 

รักษาออฟฟิศซินโดรมกับคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ส่งยาถึงที่

ออฟฟิศซินโดรม 6 วิธีแก้คลายปวดคอ บ่า ไหล่

6 วิธีแก้ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรมมีวิธีแก้อย่างไร? BeDee ได้รวบรวม 6 วิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมทำง่าย ได้ผล ทำเองได้ทุกที่ทั้งที่ออฟฟิศหรือที่บ้าน เป็นการกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง แถมยังไม่ต้องใช้อุปกรณ์

1. ยืดกล้ามเนื้อคอด้านข้าง

ยืดกล้ามเนื้อคอ ออฟฟิศซินโดรม

ยืนหรือนั่งตัวตรง พับศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งแล้วใช้มือค่อย ๆ กดศีรษะลงมาเพื่อให้กล้ามเนื้อต้นคอค่อย ๆ ยืด ค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที ทำซ้ำ 3 เซ็ต จากนั้นจึงสลับข้าง

2. ยืดกล้ามเนื้อคอด้านหลัง

ยืดกล้ามเนื้อคอด้านหลัง

นั่งหรือยืนตัวตรง ประสานมือทั้งสองข้างไว้หลังบริเวณท้ายทอยแล้วค่อย ๆ กดศีรษะลงจนรู้สึกว่าคางเกือบชิดหน้าอกเพื่อยืดกล้ามเนื้อคอด้านหลัง ค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที ทำซ้ำ 3 เซ็ต

3. ยืดกล้ามเนื้อบ่าและสะบัก

ยืดกล้ามเนื้อบ่า สะบัก

นั่งหรือยืนตัวตรง มองตรง วางแขนสองข้างไว้ข้างลำตัวในท่าสบาย ๆ ดันไหล่ทั้งสองข้างขึ้นข้างบน จากนั้นจึงดันไปข้างหลังให้รู้สึกว่าหัวไหล่ถูกเปิดและยืดจากนั้นจึงปล่อยลง ทำซ้ำประมาณ 5-10 ครั้ง

4. ยืดสะบัก

ยืดสะบัก

นั่งหรือยืนตัวตรง ยกแขนข้างขวาขึ้น พับแขนลงและนำมือมาแตะไว้ด้านหลัง จากนั้นจึงนำมือข้างซ้ายไปเกี่ยวมือขวาไว้เพื่อเปิดหน้าอกและยืดสะบัก ค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที แล้วสลับข้าง

5. ยืดไหล่ บ่า และหลัง

ยืดไหล่ บ่า และหลัง

นั่งตัวตรง วางเท้าลงกับพื้น นำมือขวาไปจับที่หัวเข่าซ้าย นำมือซ้ายจับไว้ที่พนักเก้าอี้ แล้วค่อย ๆ หันหน้าไปด้านซ้าย ค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที ทำซ้ำ 3 เซ็ตแล้วสลับข้าง

6. ยืดกล้ามเนื้อหน้าอก

ยืดกล้ามเนื้อหน้าอก

ยืนตัวตรงใกล้ ๆ กำแพง นำมือขวาวางไว้ที่กำแพงความสูงประมาณหัวไหล่ จากนั้นยืดตัวไปด้านหน้าจนรู้สึกตึงบริเวณหน้าอกและหัวไหล่ ค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที ทำซ้ำ 3 เซ็ตแล้วสลับข้าง

ออฟฟิศซินโดรมรักษาที่ไหนดี? 

ปัจจุบันมีทางเลือกในการรักษาออฟฟิศซินโดรมหลายอย่างด้วยกัน แต่หากใครที่ไม่สะดวกเดินทาง ไม่มีเวลา สามารถรักษา Office Syndrome กับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่แอป BeDee พร้อมติดตามอาการ ส่งยาถึงที่ ไม่มีค่าจัดส่งยา

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิธีแก้ออฟฟิศซินโดรม

1. ออฟฟิศซินโดรมรักษาหายไหม?

ออฟฟิศซินโดรมนั้นสามารถรักษาให้หายได้ ออฟฟิศซินโดรมวิธีแก้ก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เมื่อค่อย ๆ เปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการทำกายภาพบำบัดจะทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อหายจากอาการบาดเจ็บ สิ่งสำคัญคือต้องป้องกันไม่ให้อาการบาดเจ็บกลับมาเป็นซ้ำ หากไม่แน่ใจวิธีแก้ออฟฟิศซินโดรมสามารถปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่แอป BeDee ได้ทุกวัน ไม่มีค่าส่งยา

2. วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรมควรทำอย่างไร?

ออฟฟิศซินโดรมวิธีแก้และป้องกันนั้นสามารถทำได้ดังนี้ 

  • ปรับโต๊ะทำงานให้ความสูงของหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับสายตา
  • เก้าอี้ควรรองรับบริเวณหลังและคอ หรือสามารถปรับให้เข้ากับสรีระของผู้ใช้งานได้ตามสะดวก
  • ควรปรับเก้าอี้ให้หัวเข่าอยู่ระดับเดียวกับข้อสะโพก
  • จัดวางสิ่งของบนโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ อยู่ในระยะที่หยิบของใช้ได้ง่าย โดยไม่ต้องโน้มตัวหรือเอื้อมไปหยิบ
  • ไม่นั่งหลังค่อม เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
  • พักสายตาจากคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือทุก ๆ 20 นาที
  • จอคอมพิวเตอร์ควรตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา 15 องศา จะช่วยลดอาการปวดตา ปวดคอ
  • ปรับความสว่างหน้าจอประมาณ 3 เท่าจากความสว่างของสภาพแวดล้อม
  • วางโทรศัพท์มือถือลงบ้าง ไม่ใช้งานอยู่ตลอดเวลา

ออฟฟิศซินโดรมวิธีแก้ต้องเปลี่ยนพฤติกรรม หากมีอาการรุนแรงปรึกษาแพทย์ได้เลย

ออฟฟิศซินโดรมวิธีแก้หลัก ๆ ก็คือการเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับการนั่ง การใช้กล้ามเนื้อในท่าที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ ซึ่งเรามักจะเผลอเดิน นั่ง ในที่ ๆ เราคุ้นชินเป็นเวลานาน กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อาจจะเกิดอาการเจ็บปวดเรื้อรัง ต้องพบแพทย์หรือทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย 

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนแอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS 

 

Content powered by BeDee Expert

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Issaragrisil, Dr. P. (n.d.). Preventing office syndrome while working from home. Bangkok Hospital. https://www.bangkokhospital.com/en/content/work-from-home-and-office-syndrome

 

Yeo, M. (2021). Office Syndrome – Causes, Symptoms Treatments. DTAP Medical Clinic | GP STD HIV Testing Clinic Singapore. https://www.dtapclinic.com/articles/office-syndrome-causes-symptoms-treatments/

บทความที่เกี่ยวข้อง

กายภาพบำบัด คือ วิชาชีพหนึ่งทางการแพทย์ที่ส่งเสริม รักษา ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การทำกายภาพบำบัดไม่จำเป็นต้องทำกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่กายภาพบำบัดสามารถทำได้กับทุกคนที่ต้องการผ่อนคลาย รวมถึงผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม กายภาพบ

Key Takeaways CVS คือ โรคทางสายตาทำให้เกิดอาการ ตาแห้ง ตาล้า ตาพร่า โฟกัสไม่ได้ แสบตา  CVS คือ โรคที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์หรืออยู่หน้าจออุปกรณ์ดิจิทัลเป็นเวลานาน หากมีอาการ CVS ควรพักสายตาทุก ๆ 15-20 นาที จัดระดับโต๊ะทำงานให้เหมาะสม หยอดน้ำตาเทียม