OCD คือ

Key Takeaways

  • OCD (Obsessive Compulsive Disorder) หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากการมีความคิดซ้ำ ๆ (Obsessions) และการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ (Compulsions)
  • พฤติกรรมที่เกิดขึ้นทำเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลจากความคิดซ้ำ ๆ เหล่านั้น
  • อาการย้ำคิดย้ำทำอาจรุนแรงจนกระทบต่อการทำงาน ความสัมพันธ์ และกิจวัตรประจำวัน
  • OCD คือโรคที่สามารถบรรเทาอาการได้เมื่อได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เช่น การบำบัดหรือการใช้ยา
สารบัญบทความ

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) คืออะไร? 

OCD คือ โรคย้ำคิดย้ำทำ ที่มีความสัมพันธ์กับโรควิตกกังวล ผู้ป่วยมักมีอาการ “ย้ำคิด” คือการคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งซ้ำ ๆ แบบห้ามไม่ได้ และ “ย้ำทำ” ซึ่งหมายถึงการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เพื่อคลายความกังวล แม้รู้ว่าไม่สมเหตุสมผลก็ตาม ตัวอย่างเช่น การล้างมือซ้ำ ๆ เพราะกลัวเชื้อโรค การเช็กประตูหลายครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าล็อกแล้ว อาการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติและรบกวนชีวิตประจำวันของผู้ป่วย

 

BeDee Tips: วิตกกังวลรักษาเองได้ไหม? อ่านเพิ่มเติมเลย

อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) 

อาการของ OCD

อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD คือการมีความคิดซ้ำๆ ที่ไม่พึงประสงค์และมีพฤติกรรมบังคับที่ทำซ้ำโดยไม่สามารถหยุดได้ โดยอาการสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่

 

  • ความคิดย้ำคิด (Obsessions): ความกังวลหรือความคิดซ้ำ ๆ เช่น กลัวเชื้อโรคหรือการปนเปื้อน
  • พฤติกรรมบังคับ (Compulsions): การทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เช่น การล้างมือซ้ำ ๆ หรือการตรวจสอบซ้ำเพื่อให้ความคิดเหล่านั้นสงบลง

สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) เกิดจากอะไร ?

สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำหรือ OCD คือการรวมกันของหลายปัจจัย ทั้งทางชีวภาพ จิตใจ และสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้มีดังนี้

  • พันธุกรรม: ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรค OCD มีความเสี่ยงมากขึ้น
  • สารเคมีในสมอง: ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง โดยเฉพาะเซโรโทนิน
  • ปัจจัยทางจิตใจ: เช่น โรควิตกกังวลและนิสัยชอบความสมบูรณ์แบบ
  • เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด: เช่น การเผชิญกับเหตุการณ์เครียดหรือเปลี่ยนแปลงในชีวิต

 

โรคย้ำคิดย้ำทำแก้ยังไง? ปรึกษาวิธีรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำOCD กับคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว ส่งยาถึงที่

ผลกระทบที่อาจเกิดจากโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) มีอะไรบ้าง?

ผลกระทบที่เกิดจากโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD คืออาการของโรคสามารถรบกวนการดำเนินชีวิตปกติได้ ผู้ป่วยอาจเสียเวลาไปกับพฤติกรรมซ้ำ ๆ จนไม่สามารถทำงานหรือทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ และอาจเกิดความรู้สึกกดดันหรือหดหู่จากการที่ไม่สามารถควบคุมความคิดหรือพฤติกรรมของตัวเองได้ ปัญหาที่อาจพบได้จากโรค OCD เช่น 

  • ปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคทางผิวหนังที่เกิดจากการล้างมือบ่อย ๆ
  • ปัญหาที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือการเข้าร่วมสังคม
  • ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ ผู้ป่วยอาจหลีกเลี่ยงการอยู่กับคนอื่น เพราะกลัวว่าคนรอบข้างจะสังเกตเห็นพฤติกรรมแปลก ๆ
  • ปัญหาด้านสุขภาพจิต ความกดดันและโรควิตกกังวลจากการพยายามหยุดอาการ อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือความเครียดสะสม

แนวทางการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

รักษา OCD

OCD คือโรคที่สามารถรักษาและบรรเทาอาการได้ โดยการรักษาหลัก ๆ ประกอบด้วย

1. รักษาด้วยยา 

การใช้ยารักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD คือการใช้ยาต้านเศร้า (Antidepressants) กลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) ซึ่งช่วยปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ การใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของจิตแพทย์เพื่อให้ได้ผลที่เหมาะสมและปลอดภัย

2. รักษาด้วยการบำบัด 

OCD คือ โรคที่สามารถใช้การบำบัดด้วยวิธีจิตบำบัดแบบ CBT (Cognitive Behavioral Therapy) เป็นแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง การบำบัดนี้ช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีจัดการกับความคิดซ้ำ ๆ และพฤติกรรมย้ำทำโดยไม่ต้องตอบสนองต่อมันโดยอัตโนมัติ การปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการบำบัดเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจโรคมากขึ้นและควบคุมอาการได้ดีขึ้น

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

1. โรค OCD รักษาเองได้ไหม?

โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD คือ โรคที่ไม่สามารถรักษาเองได้โดยไม่มีความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยควรปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม เช่น ยาและการบำบัดทางจิต

2. โรค OCD อันตรายไหม?

OCD คือ โรคที่สามารถส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตประจำวัน หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) คือปัญหาที่สามารถจัดการได้ รีบปรึกษาแพทย์

โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD คือโรคทางจิตเวชที่แม้จะดูซับซ้อน แต่สามารถรักษาและบรรเทาอาการได้ด้วยการใช้ยาและการบำบัด โดยหากได้รับการดูแลที่เหมาะสม ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนแอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS 

 

Content powered by BeDee Expert

พญ. กัญจน์อมล ศิริเวช

อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Takeaways Midlife Crisis มักเกิดในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป อาการที่พบ เช่น แยกตัวออกจากสังคม ตั้งคำถามกับเป้าหมายของตัวเอง ไม่อยากพูดคุยกับใคร เปรียบเทียบความสำเร็จหรือความล้มเหลวของตนเองกับผู้อื่น Midlife Crisis สามารถดีขึ้นได้ด้วยการปรับตัว ปรับควา

Key Takeaways Introvert คือคนที่มักจะชอบการเก็บตัว รู้สึกสบายใจเมื่อได้อยู่คนเดียวหรือทำงานคนเดียว Introvert เกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู และประสบการณ์ บางคนที่มีบุคลิกภาพผสมระหว่าง Introvert และ Extrovert เรียกว่า Ambivert สารบัญบ