โรคเครียดลงกระเพาะ

ความเครียดอยู่รอบตัวเราตลอดเวลาไม่ว่าจะเรื่องการเรียน การงาน การเงิน รถติด คนเยอะ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็ทำให้เกิดความเครียดโดยที่เราอาจไม่รู้ตัวได้ ความเครียดไม่ได้กระทบในด้านจิตใจเพียงเท่านั้นแต่ยังส่งผลถึงด้านร่างกายด้วย “ภาวะเครียดลงกระเพาะ” เป็นสิ่งที่หลายคนคงเคยได้ยินโดยเฉพาะในกลุ่มคนหนุ่มสาว คนทำงาน ก็จะได้ยินว่าคนรอบข้างของเรามีอาการเครียดลงกระเพาะ เครียด ปวดท้อง กันบ่อย หรืออาจมีผลกระทบจากความเครียดอื่น ๆ แสดงออกมาให้เห็น เช่น นอนไม่หลับ หรือกรดไหลย้อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจอาการเครียดลงกระเพาะกันว่ามีวิธีจัดการ และการป้องกันอย่างไร

สารบัญบทความ

เครียดลงกระเพาะ คืออะไร

โรคเครียดลงกระเพาะ คือภาวะที่ร่างกายหลั่งกรดในกระเพาะมากขึ้นเนื่องมาจากความเครียด ทำให้กระเพาะอาหารบีบตัว การทำงานของกระเพาะและลำไส้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เรารู้สึกปวดท้องหรือไม่สบายท้องหรือที่เราเรียกกันว่าอาการเครียดลงกระเพาะนั่นเอง เห็นได้ชัดเลยว่าโรคเครียดไม่ได้ส่งผลต่อด้านจิตใจเท่านั้นแต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้อีกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราไม่มีวิธีจัดการความเครียดที่ดีพออาจทำให้ความเครียดส่งผลกระทบลุกลามไปยังระบบอื่น ๆ ในร่างกายได้ 

 

มาดู 10 วิธีจัดการความเครียดที่สามารถทำได้ เริ่มที่ตัวเรา!

ความเครียดเกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารอย่างไร 

เมื่อเราเกิดความเครียดจะกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรดหรือน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติจึงทำให้เรารู้สึกปวดท้อง

เครียดลงกระเพาะ เกิดจากอะไร

 

เครียดลงกระเพาะ อาการ

เครียดลงกระเพาะ เกิดจากอะไร เราอาจสงสัยว่าเมื่อเกิดความเครียดแล้วเกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารได้อย่างไร ปัจจัยที่ทำให้เราเครียดจนปวดท้องหรือเครียดลงกระเพาะมีดังนี้

ความเครียดและกังวล

การประสบกับสถานการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกเครียดและกังวลมากสามารถส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารได้ ซึ่งทำให้ร่างกายหลั่งกรดออกมา และทำให้เกิดอาการไม่สบายในกระเพาะอาหารหรือเครียดแล้วปวดท้องได้ 

หากไม่แน่ใจว่าเรากำลังมีภาวะเครียดอยู่หรือไม่ ภาวะเครียดของเราในตอนนี้รุนแรงแค่ไหน หรืออาจเป็นอาการโรคเครียดสะสม สามารถทำแบบประเมินความเครียดได้เลยที่นี่

การบริโภคสารที่กระตุ้นกระเพาะ

ความเครียดลงกระเพาะอาจเกิดจากการทานอาหารรสเผ็ด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และสารเคมีที่สามารถกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroid anti-inflammatory drugs)

 

การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์

เครียดแล้วปวดท้องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอารมณ์ที่รุนแรง เช่น ความโกรธ ความเครียด 

 

โรคทางจิตเวช

โรคเครียดลงกระเพาะสามารถเกิดจากโรคทางจิตเวชได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคร้ายแรงทางจิตอื่น ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการเครียดลงกระเพาะได้เช่นกัน

ปัจจัยทางพันธุกรรม

บางคนอาจมีความไวต่อสภาวะเครียดมากกว่าปกติเนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรม

วิธีป้องกันอาการเครียดลงกระเพาะ

บางคนเครียดแล้วรู้ตัว แต่บางคนก็อาจเป็นคนเครียดง่ายโดยไม่รู้ตัว เมื่อรู้ตัวอีกทีก็อาจทำให้ระบบการทำงานของร่างกายพรวนได้ อย่าปล่อยให้ความเครียดส่งผลกระทบต่อร่างกาย ภาวะเครียดลงกระเพาะสามารถป้องกันได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • ฝึกจัดการกับความเครียด เช่น การใช้เทคนิคการผ่อนคลาย การฝึกลมหายใจ หรือการทำโยคะ
  • แบ่งเวลา วางแผนและแบ่งเวลาในชีวิตประจำวันอย่างมีระบบสามารถลดความเครียดได้
  • ออกกำลังกาย ช่วยให้สุขภาพจิตและร่างกายแข็งแรง ช่วยลดระดับความเครียด 
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroid anti-inflammatory drugs)
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • นอนหลับพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวินิจฉัยเครียดลงกระเพาะ 

ภาวะเครียดลงกระเพาะเป็นสภาวะที่ทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน สำหรับการวินิจฉัยภาวะเครียดลงกระเพาะนั้นมีหลายวิธี เริ่มต้นด้วยการพบแพทย์เพื่อซักประวัติและอาการ ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น 

  • การตรวจเลือด เพื่อช่วยในการตรวจสอบการติดเชื้อหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดในกระเพาะ
  • การตรวจอัลตราซาวน์ (Ultrasound) เพื่อส่องกระเพาะและอวัยวะที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติ
  • การตรวจร่างกายทางรังสี (X-ray) การใช้รังสีเพื่อหาสาเหตุของอาการเจ็บปวดในกระเพาะ
  • การส่องกล้องทางเดินอาหาร (Endoscopy) เพื่อตรวจดูภายในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก

 

อย่างไรก็ตามวิธีการตรวจวินิจฉัยขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของแต่ละบุคคล ปรึกษาวิธีการตรวจและรักษาอาการเครียดลงกระเพาะกับแพทย์เพิ่มเติม

การรักษาอาการเครียดลงกระเพาะ

เครียดลงกระเพาะ รักษา

เครียดลงกระเพาะ รักษายังไง? โดยทั่วไปแล้วการรักษาอาการเครียดลงกระเพาะมักจะแบ่งเป็นการรักษาอาการเจ็บปวดที่กำลังดำเนินอยู่และการป้องกันการเกิดอาการเครียดลงกระเพาะในอนาคต โดยทั่วแพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษาอาการโรคเครียดลงกระเพาะดังนี้

  • การเปลี่ยนพฤติกรรม พยายามลดหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เครียด เช่น การจัดการกับสถานการณ์ที่ทำให้เครียด การฝึกสติ หรือการใช้เทคนิคการหายใจเผื่อผ่อนคลาย
  • ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ลดหรือหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่อาจกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะ เช่น อาหารเผ็ด กาแฟ แอลกอฮอล์ และไขมันสูง
  • การใช้ยา เช่น ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • การจัดการกับความเครียด การทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ ฝึกโยคะ การออกกำลังาย เพื่อช่วยลดระดับเครียด

เครียดลงกระเพาะควรดูแลตัวเองอย่างไร

วิธีแก้อาการเครียดลงกระเพาะ

เครียดลงกระเพาะ วิธีแก้หรือการดูแลตัวเองก็คือการหลีกเลี่ยงความเครียดซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการเครียดลงกระเพาะ รับประทานรสชาติอ่อน ย่อยง่าย และรับประทานให้ครบ 3 มื้อ งดรับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ฝึกเทคนิคการผ่อนคลายและจัดการกับความเครียดอย่างดหมาะสม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเครียดลงกระเพาะ

1. เครียดลงกระเพาะอันตรายไหม?

ภาวะเครียดลงกระเพาะไม่ใช่โรคร้ายแรงที่จะทำให้เสียชีวิตแต่เป็นโรคเรื้อรังที่สร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน อาการปวดท้องอาจเกิดขึ้นจนทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ หรือบางคนอาจเครียดกินข้าวไม่ลง เครียดลงกระเพาะ น้ำหนักลด เครียดลงกระเพาะ ท้องเสีย หรือ เครียดจนคลื่นไส้ หากมีอาการเหล่านี้รุนแรงจนควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยถึงและสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจแทรกซ้อนเพิ่มเติมด้วย

2. เครียดลงกระเพาะ กี่วันหาย?

ระยะเวลาที่จะใช้ในการรักษาอาการเครียดลงกระเพาะนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยรวมถึงความรุนแรงของอาการวิธีการรักษาที่ถูกต้อง และลักษณะพฤติกรรมของผู้ป่วย การรักษาเครียดลงกระเพาะเกี่ยวข้องกับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วย ทั้งการรับประทานอาหาร การรับมือและจัดการกับความเครียด 

อาการเครียดลงกระเพาะอาจหายได้ภายไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์หลังจากการรักษาที่เหมาะสม แต่ในบางรายอาจต้องใช้เวลานานขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม

3. เครียดลงกระเพาะควรกินยาอะไร?

หากมีอาการเครียดลงกระเพาะแพทย์อาจพิจารณาให้ยากลุ่มลดกรดเพื่อลดการหลั่งกรดในกระเพาะ หรือหากมีอาการแสบท้องแพทย์อาจให้ยาเคลือบกระเพาะ ทั้งนี้การใช้ยาอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

 

ปรึกษาการใช้ยากับเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวันถึงเที่ยงคืน ไม่มีค่าปรึกษา

สรุปเครียดลงกระเพาะ อย่าปล่อยให้ทรมาน รีบปรึกษาแพทย์ด่วน

เครียดลงกระเพาะอาจไม่ใช่โรคร้ายแรงแต่สร้างความลำบากในการใช้ชีวิต นอกจากนี้อาการปวดท้องยังสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หากมีอาการปวดท้องควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม 

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีแพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

ผศ.นพ.โชติมันต์ ชินวรารักษ์

จิตแพทย์ทั่วไป

 

เรียบเรียงโดย 

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Gupta, N., MD. (2024, January 4). Stress-related stomach pain: When to see a doctor. UChicago Medicine. https://www.uchicagomedicine.org/forefront/gastrointestinal-articles/stress-stomach-pain-when-to-see-a-doctor

Harvard Health. (2023, July 18). The gut-brain connection. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/the-gut-brain-connection


How to calm an anxious stomach: The Brain-Gut Connection. (n.d.). Anxiety and Depression Association of America, ADAA. https://adaa.org/learn-from-us/from-the-experts/blog-posts/consumer/how-calm-anxious-stomach-brain-gut-connection

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่วงเวลาที่ผู้หญิงกำลังจะกลายเป็นคุณแม่ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่น่ายินดีและน่าจะมีความสุข แต่เมื่อหลังจากคลอดลูกแล้ว คุณแม่กลับมีอาการซึมลง ดูไม่มีความสุข หรือเกิดความเครียดขึ้นมา อาการเหล่านี้อาจส่งสัญญาณว่าคุณแม่กำลังมีอาการของซึมเศร้าหลังคลอด หรือที่

Key Takeaways คนท้องนอนไม่หลับเป็นอาการที่พบได้ในช่วงตั้งครรภ์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ฮอร์โมน และอารมณ์ หากคุณแม่มีอาการนอนไม่หลับควรหาวิธีผ่อนคลายโดยไม่ใช้ยานอนหลับ เพราะอาจส่งผลต่อทารก หากมีอาการนอนไม่หลับรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซ