หมดแพชชั่น
  • หมดแพชชั่น ภาวะที่รู้สึกหมดความชื่นชอบ หมดความสนใจ ความตื่นเต้น หลงใหล รู้สึกเบื่อหน่าย หมดแรงที่จะทำในสิ่งที่เราเคยชื่นชอบ เคยทำแล้วมีความสุข
  • หมดแพชชั่นอันตรายไม่แพ้โรคทางจิตเวชอื่น ๆ จนอาจทำให้เมื่อรู้ตัวอีกทีอาจกลายเป็นภาวะ Burnout Syndromeหรือโรคซึมเศร้า

 

รับมือภาวะหมด passion ได้ด้วยการใส่ใจตัวเราเองให้มากขึ้น เช่น นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รู้จักแบ่งเวลาเพื่อผ่อนคลาย ออกไปทำกิจกรรม หรือพูดคุยกับคนรอบข้าง

สารบัญบทความ

หมดแพชชั่น คืออะไร

คำว่า “แพชชั่น (Passion)” หมายถึง ความลุ่มหลง ความชื่นชอบ หลงใหล ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น งานอดิเรก การท่องเที่ยว การสะสม การทำงานศิลปะ หรืออาจเป็นอาชีพหรืองานประจำที่เราทำ ซึ่งแพชชั่นของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของแต่ละบุคคล

หมดแพชชั่น คือภาวะที่เรารู้สึกหมดความชื่นชอบ หมดความสนใจ ความตื่นเต้น หลงใหล รู้สึกเบื่อหน่าย หมดแรงที่จะทำในสิ่งที่เราเคยชื่นชอบ เคยทำแล้วมีความสุข ซึ่งสิ่งที่เราจะรู้สึกหมดแพชชั่นได้นั้น เช่น หมดแพชชั่นในการเรียน หมดไฟในการเรียน หมดแพชชั่นในการทํางาน หรือแม้แต่หมดแพชชั่นในการใช้ชีวิตได้เช่นกัน

อาการหมดแพชชั่นนั้นอันตรายไม่แพ้โรคทางจิตเวชอื่น ๆ เหมือนเป็นภัยเงียบที่ค่อย ๆ สะสมในใจเราไปทุกวัน จนอาจทำให้เมื่อรู้ตัวอีกทีอาจกลายเป็นภาวะ Burn out หรือโรคซึมเศร้า 

รู้สึกหมดแพชชั่น หมดไฟในการเรียนหรือการทำงาน ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก

หมดแพชชั่น สาเหตุที่ทำให้เราไปต่อไม่ไหว 

ทำไมเราถึงหมดแพชชั่น? การหมดแพชชั่นนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยสาเหตุที่มักพบบ่อย เช่น

  • ความกดดัน เช่น ปริมาณงานที่มากเกินไป ความยากของเนื้องาน เวลาการทำงานที่จำกัด กระชั้นชิด ชั่วโมงการเรียนหรือการทำงานที่มากเกินไป
  • มีปัญหาความสัมพันธ์หรือบรรยากาศในที่ทำงาน เช่น มีปัญหากับหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน 
  • รู้สึกว่างานที่ตนเองทำไม่สัมพันธ์กับค่าตอบแทนที่ได้รับ
  • มีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำ (Low self-esteem)
  • ไม่มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวหรือเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร

 

รู้สึกหมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ทำอย่างไรได้บ้าง คลิกอ่านเลย

6 วิธีรับมือ เมื่อรู้สึกหมดแพชชั่น

หมดแพชชั่น ทําไงดี

นอนพักผ่อนให้พอ

ความรู้สึกว่าเราไม่มีแพชชั่นอาจสัมพันธ์กับการพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึกเกินไป ทำให้ร่างกายและอารมณ์ไม่อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมได้ ควรเข้านอนไม่เกิน 22.00 น. หรือพักผ่อนให้ได้ 7-8 ชั่วโมง/วัน เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลีกเลี่ยงความเครียด 

การหมดแพชชั่นเกิดขึ้นได้หรืออาจแย่ลงเนื่องมาจากความเครียด ความกังวลกับอดีตหรือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ยังไม่เกิดขึ้น ให้เราลองดึงตัวเองกลับมาอยู่กับปัจจุบัน ฝึกสติและลมหายใจ

ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นวิธีจัดการความเครียดและอาการหมด passionได้ การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุข ทำให้เรารู้สึกมีความสุข เคลิบเคลิ้ม อิ่มอกอิ่มใจ คลายเครียด อยากอาหารมากขึ้น ช่วยหลั่งฮอร์โมนเพศ และเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายเพื่อลดความเครียดนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังกายที่ใช้แรงมากหรือออกอย่างหนัก สามารถออกกำลังกายเบา ๆ อย่างการเดินเล่น ปั่นจักรยาน หรือเล่นโยคะเบา ๆ

แบ่งเวลา

แน่นอนว่าอะไรที่มันมากเกินไปก็อาจไม่ดีแม้แต่สิ่งที่เรามีแพชชั่นด้วย ควรแบ่งเวลาการทำงานและเวลาพักผ่อนให้สมดุลกันเพื่อลดอาการหมดแพชชั่น

ออกไปเที่ยวหรือทำสิ่งใหม่ ๆ 

หากรู้สึกหมด passion กับทุกอย่างให้ลองเปลี่ยนบรรยากาศ ลาพักร้อน ออกไปเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ ช่วงวันเสาร์อาทิตย์บ้าง บางครั้งการทำอะไรเดิม ๆ ซ้ำ ๆ อาจทำให้สมองของเราเคยชิน ไม่ได้ทำงาน การลองออกไปเที่ยวออกไปเจอบรรยากาศใหม่ ๆ จะทำให้เรารู้สึกสดชื่น เกิดทักษะการเรียนรู้และการแก้ปัญหาใหม่ ๆ

พูดคุยกับคนรอบข้าง

ปรึกษาคนรอบข้าง เช่น เพื่อน หัวหน้างาน หรือคนที่เรารู้สึกสบายใจที่จะคุยด้วย เพื่อช่วยระบายความเครียดและช่วยคิดหาทางออกกับปัญหาในการหมดแพชชั่น

 

ทำแบบทดสอบประเมินภาวะ Burnout และความเครียดกับพยาบาลที่แอป BeDee ไม่มีค่าใช้จ่าย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการหมดแพชชั่น

1. หมดแพชชั่นแค่ไหนต้องพบแพทย์?

ภาวะหมดแพชชั่นที่อันตรายและควรพบแพทย์คือเมื่อเริ่มรู้สึกเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง มีความรู้สึกไม่อยากทำอะไร เบื่อแม้แต่สิ่งที่เคยชอบทำ มีอาการติดต่อกัน 2 สัปดาห์ขึ้นไป น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รู้สึกไร้เรี่ยวแรง หงุดหงิด กระสับกระส่าย กระวนกระวายใจ รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า รู้สึกผิด อ่อนเพลีย มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนมากเกินไป หรือนอนไม่หลับ และอาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

2. หมดแพชชั่นควรปรึกษาใคร?

การพูดคุยกับคนรอบข้าง คนที่เราไว้ใจและรู้สึกสบายใจด้วยเป็นการระบายที่ดี ช่วยให้เราได้ปลดปล่อยความรู้สึกออกมา หรือหากไม่สะดวกพูดคุยกับคนใกล้ชิดสามารถปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ได้เช่นกัน ข้อดีของการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญคือจะทำให้เราได้ฝึกจัดการอารมณ์และความรู้สึกอย่างเหมาะสม

สรุป หมดแพชชั่นปล่อยไว้อาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ รีบปรึกษาแพทย์

ใครที่เคยหมดแพชชั่นคงจะเข้าใจว่าเป็นความรู้สึกที่ทรมาน ไม่มีความสุข หรือแม้กระทั่งต้องฝืนใจทำในสิ่งที่ไม่มีแพชชั่น ไม่อยากทำแล้ว แต่จำเป็นต้องอยู่กับสิ่งนั้นต่อไป รีบปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เลย การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญไม่น่ากลัวอย่างที่คิดและยังช่วยให้เราได้มุมมองในการจัดการตัวเองเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

ปรึกษาหมอออนไลน์หรือปรึกษาเภสัชกร หรือนักจิตวิทยาคลินิก ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

 

Content powered by BeDee Expert

วชิรญา บุรพธานินทร์

นักจิตวิทยาคลินิก

Robson, D. (2023, January 18). A remedy for low motivation and passion. www.bbc.com. Retrieved April 3, 2024, from https://www.bbc.com/worklife/article/20230113-the-mindset-to-re-kindle-lost-passion


Entertainment, P., & Entertainment, P. (2024, January 5). The psychology behind passion. Psychologs Magazine | Mental Health Magazine | Psychology Magazine | Self-Help Magazine. https://www.psychologs.com/the-psychology-behind-passion/#google_vignette


Abramson, A. (n.d.). Burnout and stress are everywhere. https://www.apa.org. https://www.apa.org/monitor/2022/01/special-burnout-stress

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Takeaways OCD (Obsessive Compulsive Disorder) หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากการมีความคิดซ้ำ ๆ (Obsessions) และการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ (Compulsions) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นทำเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลจากความคิดซ้ำ ๆ เหล่านั้น อาการย้ำคิดย้ำทำ

Key Highlight หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้อย่างหนึ่งคือการเปลี่ยนบรรยากาศ ลาพักร้อน ออกไปเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ ช่วงวันเสาร์อาทิตย์ หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ไขที่สำคัญที่สุดเลยก็คือการแบ่งเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนให้เหมาะสม หากรู้สึกหมดไฟ การออกกำลังกายจะช่วยให้