Midlife Crisis

Key Takeaways

  • Midlife Crisis มักเกิดในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • อาการที่พบ เช่น แยกตัวออกจากสังคม ตั้งคำถามกับเป้าหมายของตัวเอง ไม่อยากพูดคุยกับใคร เปรียบเทียบความสำเร็จหรือความล้มเหลวของตนเองกับผู้อื่น
  • Midlife Crisis สามารถดีขึ้นได้ด้วยการปรับตัว ปรับความคิด และรับการบำบัดด้านจิตใจ ยิ่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเร็วก็จะยิ่งช่วยบรรเทาความรู้สึกได้ดีขึ้น

สารบัญบทความ

รู้จัก Midlife Crisis คืออะไร

Midlife Crisis คือวิกฤตวัยกลางคนที่มักเกิดขึ้นกับผู้ที่อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หลายคนคิดว่าเป็นอาการของ โรคซึมเศร้า ซึ่งจริง ๆ แล้ว Midlife Crisis เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย เช่น สภาพความเสื่อมของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน รวมถึงความเครียดหรือ โรคเครียด จากเรื่องของหน้าที่การงาน ความสำเร็จในชีวิต ภาระในครอบครัว เป้าหมายในชีวิต การสูญเสียบุคคลในครอบครัว เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้คนในวัย 40 ปีขึ้นไปเกิดคำถามและความกังวลในชีวิตจนเกิดเป็น Midlife Crisis ได้

 

 

BeDee Tips: รู้สึกเครียดทำไงดี ? ดูเคล็ดลับ วิธีจัดการความเครียด เพิ่มเติมเลย

 

 

มีปัญหาชีวิตหรือ Midlife Crisis ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่แอป BeDee เป็นส่วนตัว เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก

Midlife Crisis มีอาการหรือสัญญาณบอกอย่างไร

เช็กลิสต์ อาการหรือสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเผชิญกับ Midlife Crisis

  • ตั้งคำถามกับชีวิต ผู้ที่มีภาวะ Midlife Crisis มักตั้งคำถามว่าพวกเขาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือยัง หรือบางครั้งอาจรู้สึกว่าชีวิตขาดความหมาย
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต กลุ่มวัยกลางคนมักเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน เช่น การงาน ครอบครัว หรือความสัมพันธ์
  • เริ่มตระหนัก มีความกังวลถึงอายุที่เพิ่มมากขึ้น วิกฤตวัยกลางคนอีกอย่างหนึ่งคือการเริ่มตระหนักถึงการแก่ตัวลงและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ บางคนอาจสงสัยว่านี่เรากำลังเป็น โรควิตกกังวล หรือเปล่า
  • มองหาความหมายในชีวิต มีความพยายามในการค้นหาความหมายหรือเป้าหมายใหม่ในชีวิต

 

อาการอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมด้วย เช่น 

  • พฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น แยกตัวออกจากสังคม ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขึ้น
  • ความสัมพันธ์กับผู้อื่นเกิดความเปลี่ยนแปลง 
  • ไม่อยากพูดคุยกับใคร 
  • คิดวกวนถึงเหตุการณ์ในอดีต เช่น คิดถึงวัยเด็ก คิดถึงคนรักเก่า คิดถึงช่วงชีวิตที่ไม่ต้องมีความรับผิดชอบมาก
  • เปรียบเทียบความสำเร็จหรือความล้มเหลวของตนเองกับผู้อื่น
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น โกรธ หงุดหงิด รู้สึกเบื่อ ว่างเปล่า อาลัยอาวร เศร้า ไร้เป้าหมาย 
  • มีอาการหมดไฟ หรือ Burn out
  • หมกมุ่นเรื่องศาสนา ลัทธิ หรือความเชื่อต่าง ๆ มากขึ้น
  • มีปัญหานอนไม่หลับ
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  • ครุ่นคิด ตรึกตรองถึงความผิดพลาดในอดีต

Midlife Crisis สาเหตุเกิดจากอะไร

วิกฤตวัยกลางคน

Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคนเป็นภาวะที่ทำให้กลุ่มคนช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปีรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และพฤติกรรมในช่วงวัยกลางคน โดยมักมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

เช่น ความเสื่อมของสุขภาพ การสูญเสียความแข็งแรงทางด้านร่างกาย โรคประจำตัวหรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และความกังวลต่อรูปลักษณ์ของตนเอง

ความสำเร็จและเป้าหมายในชีวิต

สังคมมักมีความคาดหวังถึงการประสบความสำเร็จในช่วงวัยกลางคน การเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ต้องมีบ้าน มีรถ มีธุรกิจเป็นของตัวเอง สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เราตั้งคำถามหรือเกิดการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นว่าเราประสบความสำเร็จแล้วหรือยัง หรือเป้าหมายในชีวิตเราจริง ๆ แล้วคืออะไร

การเปลี่ยนแปลงในหน้าที่การงาน

การเปลี่ยนแปลงในอาชีพ การเกษียณอายุ หรือการลดบทบาทในหน้าที่การงาน อาจทำให้รู้สึกสูญเสียคุณค่าและความสำเร็จที่เคยมีในตอนหนุ่มสาว

ครอบครัว

การอยู่เป็นโสด หรือการที่ต้องเห็นเพื่อน ๆ หรือคนรอบตัวทยอยแต่งงานกันไป การที่ลูก ๆ เติบโตและย้ายออกจากบ้าน (Empty Nest Syndrome) การต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่ตัว หรือการสูญเสียคนใกล้ชิด อาจสร้างความรู้สึกเหงาและความวิตกกังวล

ปัญหาการเงิน

ปัญหาการเงินเรียกได้ว่าน่าจะเป็นปัญหาใหญ่ของผู้เผชิญ Midlife Crisis หลายคน เช่น การเป็นหัวหน้าครอบครัว การมีลูก หรือการเกษียณ จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้เกิดความเครียดและความกดดันอย่างมาก 

 

มีปัญหาชีวิตหรือ Midlife Crisis ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่แอป BeDee เป็นส่วนตัว เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก

ระดับของ Midlife crisis

Midlife crisis สามารถแบ่งระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • ระดับเล็กน้อย 

เราอาจรู้สึกไม่พอใจกับชีวิตหรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง แต่ยังคงสามารถรับมือและดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ความรู้สึกเหล่านี้อาจเป็นเพียงชั่วคราวและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อการดำเนินชีวิต

  • ระดับปานกลาง

มีความรู้สึกถึงความไม่พอใจหรือความวิตกกังวลที่มากขึ้น เริ่มมีการทบทวนชีวิตและตั้งคำถามเกี่ยวกับความสำเร็จและเป้าหมายของตน อาจเริ่มแสดงพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง เช่น การหางานใหม่ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต หรือการหาความสนใจใหม่ ๆ

  • ระดับรุนแรง

อาจเกิดการเผชิญกับความวิตกกังวลและความรู้สึกไม่พอใจอย่างหนัก ความรู้สึกเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ส่วนตัว การทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจมีพฤติกรรมที่เสี่ยง เช่น การใช้สารเสพติด การมีความสัมพันธ์นอกสมรส หรือการตัดสินใจที่ไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ในระยะยาว


ไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังเครียดอยู่หรือไม่ ทำ แบบประเมินความเครียด เบื้องต้นกับพยาบาลที่แอป BeDee ไม่มีค่าใช้จ่าย

Midlife Crisis ต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร

วิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis)

มักเกิดขึ้นในช่วงวัยกลางคนช่วงอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ดเราเริ่มทบทวนชีวิต และอาจรู้สึกไม่พอใจกับสิ่งที่ได้ทำมา หรือรู้สึกว่าตัวเองพลาดโอกาสบางอย่างในชีวิต ทำให้เกิดอาการรู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิตปัจจุบัน ต้องการเปลี่ยนแปลงบางสิ่ง เช่น งาน คู่ครอง หรืองานอดิเรก และอาจมีการกระทำที่แตกต่างจากพฤติกรรมปกติ เช่น การซื้อของราคาแพง หรือตัดสินใจเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างฉับพลัน สาเหตุของการเกิด Midlife Crisis มักเกิดจากการทบทวนและเปรียบเทียบชีวิตของตัวเองกับผู้อื่น ความรู้สึกว่าตัวเองยังไม่ได้ทำสิ่งที่ต้องการ หรือความกลัวเกี่ยวกับอนาคตและความชรา

 

โรคซึมเศร้า (Depression)

เป็นโรคทางจิตเวชที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ มักมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

อาการที่พบคือ มีความคิดทำร้ายตนเองหรือมีความคิดฆ่าตัวตาย รู้สึกเศร้า หดหู่ สิ้นหวัง ไม่มีความสุขหรือความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ มีปัญหาการนอนหลับหรือการกิน เหนื่อยง่าย รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า สาเหตุมักเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความเครียดที่สะสมอย่างยาวนาน สารเคมีหรือสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ โรคทางพันธุกรรม หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้

Midlife Crisis การรับมือกับวิกฤตวัยกลางคน

วิธีการรับมือกับวิกฤตวัยกลางคน Midlife Crisis

  • ยอมรับความรู้สึกของตนเอง

การยอมรับความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นจุดสำคัญที่ทำให้สามารถรับมือกับความกังวลที่เกิดขึ้นได้

  • พูดคุยกับคนที่คุณไว้ใจ การแบ่งปันความรู้สึกและปัญหากับเพื่อน ครอบครัว หรือผู้เชี่ยวชาญ

ด้านจิตวิทยา สามารถช่วยลดความกังวลและให้มุมมองใหม่ ๆ ได้

  • ตั้งเป้าหมายใหม่ คิดและวางแผนตั้งเป้าหมายใหม่ในชีวิต อาจเป็นเรื่องการทำงาน การเรียนรู้สิ่ง

ใหม่ หรือการพัฒนาตนเอง

  • ดูแลสุขภาพกายและใจ ออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนอย่าง

เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญในการรับมือกับความเครียด

  • หาเวลาสำหรับกิจกรรมที่ชอบ เช่น การท่องเที่ยว การทำงานอดิเรก หรือการ

ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวและเพื่อน

  • ลองทำสิ่งใหม่ที่สามารถทำให้คุณรู้สึกมีพลังและมีความสุข เช่น การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือการปรับปรุงบ้าน
  • ฝึกคิดแบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมให้สามารถยอมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ และช่วยให้ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น
  • ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ หากรู้สึกว่าการรับมือกับMidlife Crisis วิกฤตวัยกลางคนนั้นยากเกินไป สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและการรักษาอย่างเหมาะสมได้เสมอ

Midlife Crisis ป้องกันได้อย่างไร

วิธีป้องกัน Midlife Crisis สามารถทำได้ดังนี้

  • ตั้งเป้าหมายชีวิตที่สมดุล ไม่ยึดติดกับเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งมากเกินไป
  • พัฒนาทักษะการปรับตัว เช่น การบริหารจัดการเวลา และการคิดเชิงบวก เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น
  • ดูแลสุขภาพกายและใจ ออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับให้เพียงพอ นอกจากนี้ยังควรฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิหรือโยคะ
  • สร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว เพื่อน สามารถช่วยลดความเครียดและช่วยเพิ่มกำลังใจในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
  • เรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการงานหรือด้านที่สนใจส่วนตัว การ

เรียนรู้ตลอดชีวิตช่วยให้รู้สึกมีคุณค่าและมีความก้าวหน้า

  • ตั้งเป้าหมายด้านการเงิน การวางแผนการเงินที่ดีสามารถลดความเครียดและความกังวลใน

เรื่องการเงินในอนาคตได้ 

  • ค้นหาความหมายและคุณค่าในสิ่งที่ทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการมีส่วน

ร่วมในกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคม

หากรู้สึกว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิด Midlife Crisis ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Midlife crisis

1. Midlife Crisis มีวิธีรักษายังไง

หากพบว่าตัวเองกำลังอยู่ในภาวะ Midlife Crisis หรืออาจเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อรับคำแนะนำต่อวิธีรับมือหรือจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะทำให้เราจัดการกับอาการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

2. Midlife Crisis หายได้หรือไม่

Midlife Crisis สามารถดีขึ้นได้ด้วยการปรับตัว ปรับความคิด และรับการบำบัดด้านจิตใจ ยิ่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเร็วก็จะยิ่งช่วยบรรเทาความรู้สึกได้ดีขึ้น

สรุป Midlife Crisis ป้องกันก่อนได้ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเลย

มีปัญหาสุขภาพใจ ปัญหา Midlife Crisis ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ การเข้าสังคม คุยกับคุณหมอหรือนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เราคือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับคุณ

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เป็นส่วนตัวสูง พร้อมจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

สิธยา อนุสนธิ์
นักจิตวิทยาคลินิก

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Simon, S. (2023, September 29). Midlife crisis: Signs, causes and treatments. Forbes Healthhttps://www.forbes.com/health/mind/midlife-crisis/

 

Midlife. (n.d.). Psychologytoday. Retrieved July 15, 2024, from https://www.psychologytoday.com/us/basics/mid-life

Coping with a Later-Life Crisis. (2021, November 1). Johns Hopkins 

 

Medicine. https://www.hopkinsmedicine.org/health/caregiving/caregiver-guides/coping-with-a-later-life-crisis

บทความที่เกี่ยวข้อง

เสาร์อาทิตย์ทีไรก็อยากจะนอนยาว ๆ ทั้งวัน ไม่อยากลุกขึ้นมาทำอะไรแล้ว รู้สึกว่านอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ นอนเยอะแต่ยังง่วง รู้หรือไม่ว่าคุณอาจกำลังเป็น “โรคนอนเยอะเกินไป” แม้เราจะคิดว่าการนอนหลับนั้นเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด เมื่อไหร่ที่เจอเรื่องเครียด เหนื่อ

Key Takeaways โรคสมาธิสั้น ADHD มักพบได้เด็กอายุ 3-7 ขวบ แต่ตัวโรคสามารถดำเนินได้จนถึงวัยผู้ใหญ่ อาการสมาธิสั้นที่สังเกตได้ เช่น ทำกิจกรรมที่ต้องจดจ่อหรือใช้สมาธิไม่ได้ อยู่ไม่สุข ไม่สามารถนั่งนิ่งได้ หากมีสงสัยว่าลูกมีอาการสมาธิสั้นในเด็กควรปรึกษาแพ