วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า

ในกระแสสังคมปัจจุบันนั้น มักมีอะไรมากมายที่ทั้งกดดันและสร้างความเครียดให้ทุกคนไม่เว้นวัน สอดคล้องกับสถิติขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ที่ชี้ว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5% และมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกๆวัน เช่นเดียวกับในสังคมไทยที่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เรามักจะได้ยินคำว่า “โรคซึมเศร้า” บ่อยขึ้น บางครั้งผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็อาจเป็นคนรอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนรัก หรือแม้แต่ครอบครัว บางคนดูยิ้มแย้มสดใสดีแต่จริง ๆ แล้วอาจป่วยในภาวะที่เรียกว่า Smiling depression ได้เช่นกัน 


ด้วยสาเหตุทั้งหมดนี้จึงทำให้เราในฐานะคนในครอบครัว เพื่อน หรือคนใกล้ชิดผู้ป่วยอาจเกิดความกังวลได้ว่า เราจะมีวิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าอย่างไร สิ่งที่ไม่ควรทํากับคนเป็นโรคซึมเศร้า รวมถึงวิธีรับมือกับคนเป็นโรคซึมเศร้า ควรทำอย่างไรบ้าง

สารบัญบทความ

การพูดคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าสำคัญอย่างไร

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายคนนั้นทุกข์ทรมานกับความโดดเดี่ยว ซึมเศร้า ท้อแท้ มีไม่น้อยที่คนรอบข้างนั้นไม่เข้าใจ อีกทั้งยังใช้คำพูดไม่เหมาะสม ตัดกำลังใจ แม้จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ดังนั้นแล้วการที่คนใกล้ชิดเรียนรู้วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าอย่างเหมาะสมและถูกต้องนั้น จะช่วยผู้ป่วยได้เป็นอย่างมาก หากเรารู้วิธีการพูดคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าอย่างเหมาะสมแล้ว ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะรู้สึกว่ามีคนที่คอยอยู่ข้าง ๆ คอยรับฟัง ไม่โดดเดี่ยว ไม่ถูกทอดทิ้ง และยังช่วยให้ผู้ป่วยมีแรงใจที่จะปรึกษาจิตแพทย์เพื่อต่อสู้กับโรคซึมเศร้าต่อไป

 

อย่างไรก็ตามในทางกลับกัน หากคนใกล้ตัวไม่ทราบวิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า มีการใช้คำพูดอย่างไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลง ตอกย้ำแผลภายในจิตใจ และยิ่งทำให้ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยนั้นแย่ลงอีกด้วย

วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า เน้นการรับฟัง แต่ไม่ตัดสิน

รับฟังคนเป็นโรคซึมเศร้า

อยู่ข้างๆ รับฟัง “แต่ไม่ตัดสิน” 

หลายครั้งคนเป็นโรคซึมเศร้า ซึมเศร้าเรื้อรัง หรือแม้แต่ซึมเศร้าหลังคลอด ต่างต้องการใครสักคนอยู่ข้าง ๆ ในช่วงเวลายากลำบาก บางคนที่เราเห็นยิ้มแย้ม อารมณ์ดีก็อาจสะท้อนถึงภาวะ เพียงเรารู้วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า เป็นผู้รับฟังที่ดี เปิดหู และเปิดใจ รับฟังเรื่องต่าง ๆ และเรียนรู้ที่จะรับมือกับคนเป็นโรคซึมเศร้าโดยที่ “ไม่ตัดสิน” ไม่ว่าเรื่องที่เขาเล่าจะทำให้เรารู้สึกอย่างไร อย่าลืมว่าเราทุกคนนั้นเติบโตมาแตกต่างกัน ย่อมมีวิธีรับมือเรื่องราวต่าง ๆ ได้แตกต่างกัน การอยู่ข้าง ๆ ทำให้เขารู้ว่าเขาไม่ได้โดดเดี่ยวตัวคนเดียว เพียงเท่านี้ก็ช่วยได้มากแล้ว

 

หากเราไม่ทราบวิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า หรือใช้การตัดสิน นอกจากจะไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว อาจส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ป่วยด้วย ลองคิดภาพว่าเวลาเราทุกข์ใจแล้วเล่าเรื่องราวให้ใครสักคนฟัง แล้วเขาตอบกลับมาว่า “เครียดทำไม เรื่องแค่นี้เอง” เราคงรู้สึกแย่ไม่น้อย ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็เช่นเดียวกัน

 

ปรึกษาวิธีพูดคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้ากับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee

Do & Don’t วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า

สิ่งที่ไม่ควรทํากับคนเป็นโรคซึมเศร้า

คำพูดที่ควรพูดคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า

   1.) ฉันอยู่ตรงนี้ข้างๆเธอนะ

วิธีการคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าที่สำคัญคือเราไม่จำเป็นต้องบังคับฝืนใจให้คนเป็นโรคซึมเศร้าพูดเรื่องราวต่าง ๆ ออกมา แต่การที่แสดงให้เห็นว่า “ฉันอยู่ตรงนี้ข้าง ๆ นะ” เมื่อพร้อมหรืออยากพูดคุยเมื่อไหร่ จะมีคุณอยู่ข้าง ๆ เสมอ เท่านี้ก็เป็นวิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าที่เหมาะสม ช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลงแล้ว

 

   2.) อยากให้ฉันช่วยอะไรไหม ?

หลายครั้งผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นมักมีแรงทำกิจกรรมต่าง ๆ น้อยลง และอาจมีปัญหาด้านการนอน หรือบางครั้งการจะลุกออกจากที่นอนก็นับเป็นเรื่องที่ยากมากแล้ว วิธีรับมือกับคนเป็นโรคซึมเศร้าก็คือการที่เราแสดงออกถึงความเป็นห่วงอยากช่วยเหลือ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจในการทำกิจวัตรประจำวันมากขึ้นแล้ว

 

   3.) ชวนออกไปทำกิจกรรมที่ผู้ป่วยชื่นชอบ

คนเป็นโรคซึมเศร้านั้นมักมีความสนใจในการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบน้อยลง หรือแม้แต่งานอดิเรกที่เคยชอบก็มักจะมีแนวโน้มเลิกทำ วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าโดยการชวนผู้ป่วยออกไปทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ หรือกิจกรรมที่ได้ขยับร่างกาย ก็ถือเป็นวิธีช่วยคนเป็นโรคซึมเศร้าให้ได้หลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขออกมาและลดความเครียด 

ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อน สามารถชักชวนผู้ป่วยให้ร่วมทำกิจกรรมง่าย ๆ เช่น ออกกำลังกาย เดินช้อปปิ้ง หรือแม้แต่การออกไปทานข้าวข้างนอกด้วยกันสักมื้อก็ถือเป็นวิธีช่วยคนเป็นโรคซึมเศร้าได้มากแล้ว

ที่สำคัญการชวนผู้ป่วยออกไปทำกิจกรรมทางสังคมจะทำให้ผู้ป่วยลดอาการ “แยกตัวออกจากสังคม (Social withdrawal)” ได้อีกด้วย

 

   4.) เธอสำคัญสำหรับฉันนะ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเป็นที่รักหรือเป็นที่ต้องการของใครสักคนนั้นเป็นความรู้สึกดีเสมอ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นอาจตรงกันข้ามกัน เขาอาจมีความรู้สึกว่าไม่เป็นที่รักของใคร รู้สึกไร้ค่า และไม่เป็นที่ต้องการ

การคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าด้วยการบอกว่าเขานั้นสำคัญและเป็นที่ต้องการ จะทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นได้เห็นคุณค่าของตนเองเพิ่มมากขึ้น หรือแม้แต่การที่เราชื่นชมในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เป็นวิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าที่ช่วยให้เขารู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น

คำพูดที่ไม่ควรพูด หรือควรหลีกเลี่ยงกับคนเป็นโรคซึมเศร้า

คุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าอย่างไรดี

   1.)อย่าคิดมากสิ 

วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าด้วยการพูดว่า “อย่าคิดมากสิ” อาจเป็นคำพูดที่หวังดี ไม่อยากให้ผู้ป่วยคิดมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าหากเลือกได้ก็ไม่มีใครอยากจะคิดมากอยู่แล้ว การที่เราด่วนสรุปไปว่าก็แค่อย่าคิดมาก เป็นเหมือนการตัดสินและเป็นการกล่าวโทษตัวผู้ป่วยว่า “ก็ที่เป็นแบบนี้ เพราะคิดมากเองหรือเปล่า”

 

   2.)สู้ ๆ

หลายคนเข้าใจว่าวิธีช่วยคนเป็นโรคซึมเศร้าคือการพูดว่า “สู้ ๆ ”เพราะฟังดูเหมือนเป็นคำให้กำลังใจที่ใคร ๆ ก็ใช้กัน แต่ในอีกแง่หนึ่งนั้นคำว่า “สู้ ๆ ”เหมือนเป็นการบอกให้ผู้ป่วยเผชิญกับปัญหาอย่างโดดเดี่ยวคนเดียว ดังนั้นคนใกล้ชิดควรหลีกเลี่ยงคำนี้

 

   3.)คนอื่นลำบากกว่าตั้งเยอะ

การพูดว่า “คนอื่นลำบากกว่าตั้งเยอะ” เป็นวิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าที่ตัดสินผู้ป่วยว่าไม่อดทน อ่อนแอ อย่าลืมว่าคนเรานั้นมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกและมีความซับซ้อนแตกต่างกันไป การที่จะเปรียบเทียบปัญหาหรือความทุกข์ของแต่ละคนนั้นเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมนัก

 

   4.)เมื่อไหร่จะหายสักที

ไม่มีใครอยากป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและต้องทานยาโรคซึมเศร้าเป็นระยะเวลานาน แผลใจก็เช่นเดียวกับแผลกาย ดังนั้นวิธีการคุยกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าด้วยการพูดว่า “เมื่อไหร่จะหายสักที” ฟังดูแล้วเหมือนเป็นการกดดันตัวผู้ป่วย ในความเป็นจริงแล้วการรักษาโรคซึมเศร้านั้นใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล การเร่งรัดผู้ป่วยไม่เป็นผลดี และอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ลงกว่าเดิม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า

พูดกับคนเป็นโรคซึมเศร้า

1. โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร?

โรคซึมเศร้านั้นถือเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ 

สารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล สารเซโรโทนินมีปริมาณลดลง พันธุกรรม ปัจจัยทางสังคม เช่น สิ่งแวดล้อม สภาพที่อยู่อาศัย ครอบครัว ภาวะกดดัน และปัจจัยทางจิตวิทยา เช่น วิธีการรับมือเมื่อเจอกับสภาวะเครียด วิธีการผ่อนคลายความเครียดของแต่ละคน เป็นต้น โรคซึมเศร้าสามารถสังเกตอาการได้ดังต่อไปนี้ 

  1. มีอารมณ์ซึมเศร้า ( ในเด็กหรือวัยรุ่นอาจพบเป็นอารมณ์โกรธ หงุดหงิดง่าย)
  2. หมดความสนใจหรือความสุขในกิจกรรมต่าง ๆ
  3. เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือรับประทานจุและน้ำหนักเพิ่มขึ้น
  4. นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ 
  5. มีความคิดและการเคลื่อนไหวที่ช้าลง หรือกระสับกระส่าย พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย 
  6. อ่อนเพลียง่าย ไม่ค่อยมีแรง
  7. รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด
  8. สมาธิลดน้อยลง มีความลังเลใจ 
  9. มีความคิดอยากตาย คิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย

 

หากคุณหรือคนรอบข้าง มีอาการดังกล่าว 5 ข้อหรือมากกว่าเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 2 สัปดาห์ โดยเป็นทุกวันหรือเกือบทุกวัน (ตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM-V ) ควรพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม

2. อาการโรคซึมเศร้าแบบใดควรไปพบแพทย์?

หากพบว่ามีอาการคล้ายโรคซึมเศร้าติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์และพบว่าอาการดังกล่าวไม่ดีขึ้น และมีแนวโน้มที่อาการจะหนักขึ้น สามารถปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกได้ทันที ไม่ต้องรอให้อาการหนัก สามารถปรึกษาอาการเบื้องต้นกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกผ่านแอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ไม่ต้องเดินทาง เป็นส่วนตัว

3. วิธีการปฏิบัติตัวหากคนใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้า ต้องทำอย่างไร?

วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าสามารถทำได้โดยการแสดงความห่วงใย อยู่ข้างๆ พร้อมรับฟังโดยไม่ตัดสินและคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยว่ามีสัญญาณอันตราย เช่น การทำร้ายร่างกายตนเอง หรือการฆ่าตัวตายหรือไม่ วิธีช่วยคนเป็นโรคซึมเศร้าคือเน้นแสดงความเป็นห่วงโดยการเตือนให้ผู้ป่วยทานยาอย่างสม่ำเสมอ และพบจิตแพทย์เมื่อถึงเวลานัด และชวนให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันอย่างปกติ ที่สำคัญคนใกล้ชิดหรือญาติผู้ป่วยเองควรดูแลสุขภาพใจตนเองเช่นกัน บางครั้งคนใกล้ตัวเป็นซึมเศร้าก็ส่งผลให้ตัวของเรานั้นเครียดได้เช่นเดียวกัน ควรพักผ่อน ทำกิจกรรมคลายเครียด

วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า รับฟังอย่างเปิดใจ 

วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้านั้นไม่ได้มีวิธีตายตัว เพียงแค่คอยอยู่ข้าง ๆ ไม่ทอดทิ้งให้ผู้ป่วยซึมเศร้ารู้สึกโดดเดี่ยว รับฟังอย่างเข้าใจและไม่ตัดสิน เพียงเท่านี้ก็ถือว่าช่วยได้มากมายแล้ว

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

ธนวินท์ มีลาภอุดมชัย

นักจิตวิทยาคลินิก

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

“Depression (Major Depressive Disorder).” Mayo Clinic, Mayo Foundation for Medical Education and Research, 14 Oct. 2022, www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/symptoms-causes/syc-20356007.

 

“Depressive Disorder (Depression).” World Health Organization, World Health Organization, www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression. Accessed 6 Dec. 2023.

 

“Depression and Anxiety: Exercise Eases Symptoms.” Mayo Clinic, Mayo Foundation for Medical Education and Research, 27 Sept. 2017, www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/in-depth/depression-and-exercise/art-20046495. 

 

Elmer, Jamie. “7 Tips to Help You Know What to Say to Someone with Depression.” Healthline, Healthline Media, 12 July 2022, www.healthline.com/health/what-to-say-to-someone-with-depression. 

 

“What Is Social Isolation or Withdrawal? Veteran Support & Resources.” What Is Social Isolation or Withdrawal? Veteran Support & Resources, www.maketheconnection.net/symptoms/social-withdrawal/. Accessed 7 Dec. 2023.

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคแพนิคหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่หลายคนคงได้ยินชื่อและเป็นอีกโรคที่สร้างความยากลำบากต่อการใช้ชีวิตไม่แพ้โรคทางจิตเวชอื่น ๆ อย่างเช่นโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดแพนิคตอนอยู่ในที่สาธารณะและไม่สามารถควบคุมอาการได้จึงยากที่จะรับมือ ความยากลำบากนี้

คุณอาจเคยได้ยินถึงอาการแพนิคกันมาบ้างไม่มากก็น้อยว่าเป็นอาการตื่นตระหนกกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่อาจไม่ได้เป็นอันตรายต่อคนทั่วไป แต่ผู้ที่มีอาการแพนิคจะรู้สึกว่าสิ่งนั้นเป็นอันตรายกับตนเอง อาการนี้สามารถรักษาได้หากมีการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม ในบทความนี้ B