ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่สิ่งแวดล้อมรอบตัวทำให้เรามีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยทางจิตเวชมากมายโดยที่เราไม่รู้ตัว เช่น โรคเครียด, นอนไม่หลับ หรือแม้แต่โรคซึมเศร้า ก็ดูจะใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด ทุกวันนี้เรามีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษาทางด้านจิตเวชมา
โรควิตกกังวลรักษาเองได้ไหม? เคล็ดลับดูแลอาการควบคู่การพบแพทย์
*ข้อมูลทั้งหมดเป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้น ผู้ป่วยควรพบจิตแพทย์ควบคู่กับการดูแลตัวเองไปด้วย
วิธีรักษาโรควิตกกังวลหรือกลุ่มโรคทางจิตเวชทางด้านอารมณ์ต่าง ๆ นั้นควรจะต้องปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อรักษาและบำบัดอย่างใกล้ชิด และแน่นอนว่าการรับการรักษากับจิตแพทย์นั้นเป็นส่วนสำคัญในการรักษาตัวโรคให้อาการดีขึ้น แต่ส่วนที่สำคัญคือตัวเราเองที่เข้ารับการรักษาก็ต้องดูแลตัวเอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือพูดได้ว่าเราต้องรักษาตัวเองควบคู่ไปด้วยเช่นกัน เพราะตัวเราเองก็มีอิสระที่จะเลือกวิธีคิดหรือมุมมองของตนเอง โรควิตกกังวลรักษาเองอย่างไร วิธีแก้โรควิตกกังวลต้องทำอย่างไรมาดูกันเลย
อ่านเพิ่มเติม นักจิตวิทยากับจิตแพทย์ ต่างกันอย่างไร ควรปรึกษาใครดี?
รู้จักกับโรควิตกกังวล
โรควิตกกังวลถือเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่มีระดับความกังวลที่มากกว่าปกติ ผู้ป่วยจะรู้สึกวิตกกังวลและกลัวเกินกว่าเหตุ จนมีผลทางลบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่สามารถควบคุมหรือปรับตัวให้รับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ ผู้ป่วยมักมีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตึงกล้ามเนื้อ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ อาจทำให้เกิดความอ่อนเพลีย อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เศร้าง่าย หงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย หรือไม่มีสมาธิ เป็นต้น
6 วิธีรักษาโรควิตกกังวลด้วยตนเอง ดูแลจิตใจจากอาการวิตกกังวล
วิธีแก้อาการวิตกกังวลเบื้องต้นด้วยตัวเองควบคู่กับการปรึกษาจิตแพทย์เป็นการรักษาที่เหมาะสมและจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูง มาดูวิธีลดความวิตกกังวลด้วยตัวเองกันเลย
1. หลีกเลี่ยงความเครียด
โรควิตกกังวลรักษาเองควบคู่กับการพบแพทย์ได้โดยการพยายามทำจิตใจให้ผ่อนคลายด้วยการฝึกลมหายใจ จดจ่อกับประสาทสัมผัสอื่น ๆ ที่ทำให้มีความสุข เช่น ดมกลิ่นหอม ชิมอาหารอร่อย หรือทำกิจกรรม งานอดิเรกที่จะช่วยลดหรือเบี่ยงเบนจากความเครียด
2. เครียดง่ายต้องหาที่ปรึกษา
หากรู้ตัวว่าเป็นผู้ที่มีความเครียดง่าย วิตกกังวลต่อเรื่องต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่สามารถจัดการได้ วิธีคลายเครียด วิตกกังวลคือควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อปรับความคิดและการใช้ชีวิตประจำวัน
3. นอนหลับพักผ่อน
โรควิตกกังวลรักษาเองต้องไม่ลืมการนอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์สามปัจจัยนี้ยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลรักสุขภาพทั้งกายและใจเสมอ แต่เราต้องนอนให้มีคุณภาพด้วย การพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับร่างกายและจิตใจ แม้เราจะนอนครบ 8 ชั่วโมงแต่เข้านอนดึกมากเกินไป ย่อมไม่ดีต่อสุขภาพแน่นอน เมื่อนอนหลับพักผ่อนเพียงพอแล้วจะช่วยให้เราตื่นมาอย่างสดชื่น สมองปลอดโปร่ง
4. สังเกตความรู้สึกตนเองอยู่เสมอ
เทคนิคลดความวิตกกังวลอย่างหนึ่งก็คือการสังเกตหรือรู้เท่าอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ คอยสังเกตว่าวันนี้อารมณ์ของเราเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไร ดีขึ้น หรือแย่ลงกว่าเมื่อวาน มีความผิดปกติไปจากเดิมที่ต้องรีบปรึกษาจิตแพทย์หรือไม่
5. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
การรักษาความวิตกกังวลสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเลยก็คือการหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติดเพราะอาจกระตุ้นให้วิตกกังวลกว่าเดิมได้ โรควิตกกังวลรักษาเองได้เองต้องไม่ลืมการหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้
6. ไม่หยุดรับประทานยาเองเพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้
การรักษาโรควิตกกังวลต้องไม่หยุดรับประทานยาเองโดยเด็ดขาด การปรับลดยาควรเป็นไปตามการพิจารณาของแพทย์ การหยุดยาหรือลดยาเองอาจทำให้อาการแย่ลงได้ นอกจากนี้ควรพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
โรควิตกกังวลรักษาเองด้วย 6 วิธีข้างต้นแล้วต้องไม่ลืมพบแพทย์ควบคู่ไปด้วย ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกเพิ่มเติมที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการรักษาอาการวิตกกังวลด้วยตัวเอง
1. โรควิตกกังวลอันตรายไหม?
โรควิตกกังวลไม่อันตราย แต่สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ดังนั้นหากมีอาการจึงควรปรึกษาจิตแพทย์ ไม่จำเป็นต้องรอให้เป็นนาน
2. โรควิตกกังวล รักษาเอง ใช้เวลานานหรือไม่?
โรควิตกกังวล โดยเฉลี่ยใช้เวลารักษาประมาณ 2 ปี ทั้งนี้ความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละคนอาจแตกต่างกัน จึงอาจใช้เวลารักษาที่แตกต่างกัน
โรควิตกกังวลหายได้ แต่จะต้องเข้ารับการรักษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความคิด ทั้งนี้การจัดการและการรักษาสามารถทำได้หลายวิธีดังที่กล่าวไปข้างต้น เป็นไปได้ยากที่ผู้เป็นโรควิตกกังวลทั่วไปจะหายได้เองโดยไม่รักษา หากผู้ป่วยไม่สามารถหาทางออกของปัญหาและความเครียด ความกังวลที่ตนเป็นอยู่ได้ อาจส่งผลให้อาการของโรครุนแรงขึ้น เช่น คิดฆ่าตัวตาย บางรายอาจหันไปพึ่งสารเสพติด ดังนั้นจึงควรรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันผลเสียที่อาจตามมาอีกมากมาย
3. อาการของโรควิตกกังวลเป็นอย่างไร?
อาการของโรควิตกกังวลมีดังนี้
- มีความกังวลที่มากเกินไปในหลาย ๆ เหตุการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เรื่องงาน เรื่องการเรียน โดยเป็นเกือบทุกวัน ติดต่อกันเกิดขึ้นบ่อยเป็นระยะเวลานานอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป
- รู้สึกว่าตัวเองมีความกังวลแต่ไม่สามารถควบคุมความกังวลนั้นได้
- มีอาการทางด้านร่างกายอย่างน้อย 3 อาการ เช่น กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย หงุดหงิด ปวดเมื่อยตึงกล้ามเนื้อ สมาธิลดลง นอนหลับยาก หรือนอนหลับไม่สนิท หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ
- ความกังวลหรืออาการทางด้านร่างกายดังกล่าวส่งผลให้เกิดความทุกข์ หรือมีผลกระทบ รบกวนการทำงานและการใช้ชีวิต
ดูบทความ แบบทดสอบโรควิตกกังวลเพิ่มเติม อ่านเลย
สรุปโรควิตกกังวล รักษาเองควบคู่กับการปรึกษาแพทย์
ความวิตกกังวลเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติของคนเรา แต่เมื่อไหร่ที่ความวิตกกังวลนั้นมากเกินไปจนรบกวนชีวิตประจำวัน สร้างความทรมานในการใช้ชีวิตจนกลายเป็นโรควิตกกังวลรักษาเองไม่ได้ อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากแพทย์หรือคนรอบข้าง
ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
นพ.กฤตภาส ทองรักอยู่
จิตแพทย์ทั่วไป
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Kaplan HI, Sadock BJ. (2015). Synopsis of psychiatry. 11th ed. Lippincott Williams & Wilkins Publishers. p291-412.
American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders. 5th ed. Washington, DC: American Psychiatric Association. p189-233.
NIMH. (n.d.). Anxiety disorders. National Institute of Mental Health. https://www.nimh.nih.gov/health/topics/anxiety-disorders
Anxiety disorders: Types, causes, symptoms & treatments. Cleveland Clinic. (n.d.). https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9536-anxiety-disorders