สารบัญบทความ รู้จักกับ Burnout คืออะไร? ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ จิตใจ ที่เกิดขึ้นจากความเครียดในการทำงานเป็นระยะเวลานาน และขาดวิธีจัดการความเครียดที่เหมาะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคเครียดเรื้อรัง ทำให้รู้สึกอ่อนล้า
เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ควรปรับตัวอย่างไรดี ?
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
Key Takeaways
- การเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งย้ายงาน หรือบางคนอาจจะเจอปัญหานี้มานานแล้ว
- ปัญหานี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างรุนแรง เช่น ทำให้รู้สึกวิตกกังวล ซึมเศร้า โรคเครียดสะสม หรือหมดไฟอย่างต่อเนื่อง
- หากพบว่าปรับตัวแล้วก็ยังเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้หรือพบว่าการต้องปรับเปลี่ยนตัวเองทำให้เราไม่มีความสุข หากเกิดความรู้สึกเหล่านี้สามารถปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกได้ทันที
ปัญหาเพื่อนร่วมงานในที่ทำงาน
ในโลกของการทำงาน การมีเพื่อนร่วมงานที่ดีไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของบรรยากาศที่น่าอยู่ในที่ทำงานเท่านั้น แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานและความสำเร็จขององค์กรอีกด้วย เพื่อนร่วมงานที่ดีสามารถช่วยให้เราทำงานได้อย่างราบรื่น แบ่งปันไอเดีย แก้ไขปัญหา และสนับสนุนซึ่งกันและกันในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
แต่เพราะเพื่อนร่วมงานนั้นเป็นกลุ่มคนที่มีพื้นฐาน นิสัย ความเชื่อ วิธีการทำงานที่แตกต่างกัน จึงอาจทำให้บางคนรู้สึกว่าเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ การเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งย้ายงาน หรือบางคนอาจจะเจอปัญหานี้มานานแล้ว วันนี้ BeDee มีวิธีรับมือเมื่อเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้มาแนะนำ
BeDee Tips: หมดไฟในการทํางาน วิธีแก้ทำอย่างไรดี ? อ่านเลย
เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ทำอย่างไรดี ?
การเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้อาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว หมดแพชชั่น เกิดโรคเครียด หรือส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของเราโดยตรง อย่างไรก็ตาม การเข้าใจถึงสาเหตุและเรียนรู้วิธีปรับตัวด้วย 6 วิธีดังต่อไปนี้จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีขึ้นในระยะยาว
1. ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน
การแสดงความช่วยเหลือต่อเพื่อนร่วมงานเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เพื่อนร่วมงานเกิดความประทับใจและเกิดความรู้สึกดี ๆ ต่อเรา หากไม่รู้จะปรับตัวเข้ากับเพื่อนที่ทำงานอย่างไร ลองแสดงความช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างความรู้สึกดี ๆ ต่อกัน
2. ไม่จับกลุ่มนินทาว่าร้าย
หลายครั้งการเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้มักเกิดจากคำพูด สิ่งที่ไม่ควรทำในที่ทำงานอย่างยิ่งคือการพูดถึงคนอื่นลับหลังในทางไม่ดี ถ้ามีปัญหากับใครควรพูดคุยกันโดยตรงด้วยเหตุผลและความสุภาพ
3. สร้างทัศนคติที่ดีให้กับตัวเอง
อย่าเพิ่งโทษตัวเองว่าเพราะเราไม่ดี ไม่เก่ง เราแปลกแยกคนอื่นเลยไม่อยากเป็นเพื่อนกับเรา การเข้ากับสังคมที่ทำงานนั้นต้องใช้เวลาและการปรับตัว ลองเปิดใจ ใช้เวลาร่วมกัน แสดงความจริงใจต่อเพื่อนร่วมงานอาจทำให้ความรู้ที่แย่กับตัวเองลดลงได้
4. ร่วมทำงานกิจกรรม
การจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการทำงานอาจต้องใช้เวลาและทำสิ่งต่าง ๆ ร่วมกันมากขึ้น หากพบว่าการเข้ากับเพื่อนที่ทำงานไม่ได้ที่ผ่านส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราไม่ค่อยได้ทำอะไรร่วมกัน ให้ลองปรับตัว เข้าร่วมกิจกรรมบริษัทมากขึ้น หรือทำกิจกรรมหลังเลิกงานมากขึ้น เช่น ไปกินข้าว ออกกำลังกาย ไปเที่ยว
5. พยายามปรับความเข้าใจ
สำหรับในที่ทำงาน การมีความขัดแย้งหรือความไม่เข้าใจกับเพื่อนร่วมงานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ แต่สิ่งสำคัญคือการหาทางแก้ไขเพื่อให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น การปรับความเข้าใจไม่เพียงช่วยลดความตึงเครียด แต่ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น และทำให้บรรยากาศการทำงานเป็นไปในเชิงบวกมากขึ้น
6. ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิก
การปรับตัวอาจเป็นเรื่องยากและอาจทำให้เกิดความเครียด ความอึดอัด นอนไม่หลับ ไม่อยากไปทำงาน หากพบว่าปรับตัวแล้วก็ยังเข้ากับเพื่อนที่ทำงานไม่ได้หรือพบว่าการต้องปรับเปลี่ยนตัวเองทำให้เราไม่มีความสุข หากเกิดความรู้สึกเหล่านี้สามารถปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกได้ทันที
BeDee Tips: 10 วิธีจัดการความเครียด ด้วยตัวเอง ทำง่าย ได้ผล อ่านเลย
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงาน
1. หมดแพชชั่น ไม่อยากคุยกับเพื่อนร่วมงานมีสาเหตุมาจากอะไร?
ความรู้สึกหมดแพชชั่น หรือไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน อาจเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งจากสภาพแวดล้อมการทำงาน ตัวบุคคล หรือแม้แต่ปัจจัยภายในจิตใจของเราเอง วิธีแก้ไขเบื้องต้นคือ หากเป็นปัญหาความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนร่วมงานไม่คุยด้วยอาจจะต้องหาทางพูดคุยเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด หรือหากเป็นเพราะเรารู้สึกไม่สบายใจที่จะพูดคุยอาจลองจัดสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ปรับวิธีคิดและมองหาสิ่งดี ๆ ในที่ทำงาน ควรให้เวลากับตัวเองและหาทางผ่อนคลาย
2. รู้สึกแปลกแยกในที่ทำงาน เครียดสะสม ปรึกษาจิตแพทย์ได้ไหม?
การปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกเมื่อเกิดความเครียดเป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่ง หลายครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัวว่ากำลังเกิดความเครียด หรืออาจะรู้ตัวแต่ไม่ทราบว่าสาเหตุของความเครียดนั้นเกิดจากอะไร การปรึกษาจิตแพทย์จะช่วยให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น มีวิธีจัดการกับอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของตัวเองอย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
ปรึกษาจิตแพทย์ ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว
ส่งยาถึงที่ ไม่มีค่าจัดส่ง
เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ปรึกษาจิตแพทย์ได้เลยที่ BeDee
การเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้เป็นปัญหาที่หลายคนต้องเผชิญ และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างรุนแรง เช่น ทำให้รู้สึกวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือหมดไฟอย่างต่อเนื่อง การขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องผิด แต่เป็นการดูแลตัวเองให้สามารถรับมือกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม
การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญอาจช่วยให้เข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา และหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสมกับตัวเองมากขึ้น ปรึกษาหมอออนไลน์ ปรึกษาพยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรได้เลยที่นี่
BeDee พบหมอเฉพาะทางเครือ BDMS ได้ทันที ไม่ต้องรอ ส่งยาทั่วไทย มั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล พื้นที่ปลอดภัย สู่สุขภาพใจที่ดีกว่า โดยบุคลากรมืออาชีพ
สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
13 Tips for Transitioning Back to the Office. (2022). Psychology Today. https://www.psychologytoday.com/us/blog/mental-wealth/202201/13-tips-for-transitioning-back-to-the-office
Direct Discussion – How to Approach a Co-Worker. (n.d.). Vancouver Island University | Canada. Adm.viu.ca. https://adm.viu.ca/workplace-conflict/direct-discussion-how-approach-co-worker
Sutton, J. (2016, July 8). Positive Psychology in the Workplace: 16 Practical Tips. PositivePsychology. https://positivepsychology.com/positive-psychology-workplace-labor-of-love/