หมดไฟในการเรียน
  • สัญญาณเตือนภาวะหมดไฟในการเรียน เช่น รู้สึกเหนื่อย อ่อนล้าทั้งกายและใจ นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ วิตกกังวล รู้สึกกดดัน
  • อาการหมดไฟในการเรียนอาจทำให้เกิดภาวะเครียดเรื้อรัง อารมณ์หม่นหมอง หรืออาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าตามมาได้
  • การปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเป็นการจัดการกับภาวะหมดไฟในการเรียนได้อีกวิธีหนึ่ง
สารบัญบทความ

ภาวะหมดไฟในการเรียน สัญญาณเตือนที่บอกว่าไปต่อไม่ไหวแล้ว

จริง ๆ แล้วในอดีตเรามักใช้คำว่า “ภาวะหมดไฟ” หรือ “Burnout Syndrome” กับบริบทการทำงาน ซึ่งรู้จักกันในความหมายว่าเป็น ภาวะหมดไฟในการทำงาน หมดไฟในการใช้ชีวิต หมดแพชชั่น รู้สึกพลังน้อยลงหรือหมดแรง รู้สึกไม่ชอบงาน รู้สึกต่อต้านหรือเกลียดงาน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน เบื่อหน่าย ทำงานได้แย่ลงหรือไม่อยากทำงานอีกเลย แต่ในปัจจุบันมีการใช้คำว่าภาวะหมดไฟในด้านอื่น ๆ มากขึ้น เช่น ภาวะหมดไฟในการเรียน

ภาวะหมดไฟในการเรียน (Academic Burnout) คือ ภาวะที่นักเรียน นักศึกษาหรือกลุ่มคนที่อยู่ในวัยเรียนรู้สึกเบื่อ หมดแรง เหนื่อย เฉื่อยชา ไม่มีสมาธิ หมดไฟอ่านหนังสือ ไม่อยากเรียนแล้ว โดยสัญญาณเตือนภาวะหมดไฟในการเรียน เช่น

  • รู้สึกเหนื่อย อ่อนล้าทั้งกายและใจ
  • นอนไม่หลับ
  • ไม่มีสมาธิ
  • วิตกกังวล
  • รู้สึกกดดัน
  • ต่อต้านการเรียน ไม่ชอบการเรียน
  • ขาดแรงจูงใจ

รู้สึกหมดไฟในการเรียน แต่ยังต้องไปต่อ หาวิธีจัดการความเครียดและความกดดัน ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง

หมดไฟในการเรียน เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง 

หมดไฟในการเรียน เกิดจากปัจจัยดังนี้ 

  • ปริมาณการบ้านหรือเนื้อหาที่ต้องเรียน ต้องอ่านมากเกินไป 
  • เวลากระชั้นชิด ไม่สัมพันธ์กับปริมาณงาน
  • ความกดดัน ความคาดหวังสูง
  • ความยากของเนื้อหา
  • เนื้อหาหรือวิชาที่เรียนเป็นเรื่องที่ไม่ชอบ ไม่ถนัด
  • ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้น หรือคุณครู อาจารย์

หมดไฟในการเรียน VS ขี้เกียจเรียน แตกต่างกันอย่างไร

หมดไฟในการเรียนหรือขี้เกียจ

หลายคนอาจจะสงสัยว่าหมดไฟการเรียนกับอาการขี้เกียจเรียนนั้นแตกต่างกันอย่างไร ภาวะที่เรากำลังเป็นอยู่นี้หรือจริง ๆ แล้วเราแค่ขี้เกียจเรียนหนังสือ

 

ภาวะหมดไฟในการเรียนนั้นจะแสดงอาการที่เริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ วิตกกังวล เครียดแทบจะตลอดเวลา เหนื่อยล้าสะสม ไม่สนุกสนานกับการเรียน 

 

ส่วนอาการขี้เกียจเรียนอาจจะเกิดขึ้นแค่ชั่วคราว เราอาจจะแค่รู้สึกว่าเบื่อจัง ไม่อยากเรียนวิชานี้เลย ไม่เรียนดีกว่า โดยรวมแล้วคือเกิดจากนิสัยส่วนตัวของเราแต่ไม่ได้ส่งผลกระทบกับสุขภาพกายและใจนั่นเอง

วิธีรับมือหมดไฟในการเรียนด้วย 4 เทคนิค

พักผ่อน

แทนที่จะพยายามยัดเนื้อหาหรือบังคับให้ตัวเองเรียนให้มากขึ้น อ่านให้มากขึ้น ลองหาเวลาว่างในช่วงเสาร์อาทิตย์หรือเลิกเรียนไปทำกิจกรรมผ่อนคลายอื่น ๆ เช่น ไปทะเล ไปชมธรรมชาติ เปลี่ยนบรรยากาศออกไปเที่ยวกับครอบครัวหรือเพื่อนฝูงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก็จะช่วยชาร์จพลังเรา เบี่ยงเบนเราออกจากภาวะหมดไฟในการเรียนได้ นอกจากนี้คำว่าพักผ่อนคือต้องนอนหลับให้เพียงพอด้วยนะ

ปรึกษาครอบครัว

หากภาวะหมดหมดไฟในการเรียนมหาลัย หรือการเรียนชั้นใด ๆ ก็ตามเกิดจากการเลือกสายเรียน หรือคณะเรียนที่ไม่ตรงกับความชื่นชอบหรือความถนัดจนทำให้เกิดภาวะหมดไฟในการเรียน ลองปรึกษาครอบครัว หรือคนที่เรารู้สึกสบายใจด้วยเพื่อร่วมกันแก้ไขและหาทางออก

ทำสิ่งที่ชอบ

หากเรารู้ตัวแล้วว่าตอนนี้กำลังหมดไฟในการเรียนลองพักเบรกมาทำสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข ทำแล้วสบายใจสักพัก เช่น ดูหนัง ทำงานอดิเรก เล่นเกม ทั้งนี้ควรเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ ไม่ใช้ยาเสพติด และควรแบ่งเวลาให้ชัดเจน แล้วจึงค่อยกลับมาโฟกัสกับเนื้อหาการเรียน

แบ่งเวลา

การแบ่งเวลาสำคัญเสมอ เพราะอะไรที่มากเกินไปย่อมไม่ดีแน่ สมองและร่างกายของเราอาจรับไม่ไหวหากเราต้องรับข้อมูลหนัก ๆ ตลอดเวลา ลองแบ่งเวลาเรียนและเวลาพักผ่อนให้เหมาะสมขึ้นกว่าเดิม เช่น อ่านหนังสือ 1-2 ชั่วโมง แล้วพักเบรก หรือเรียนหนังสือวันจันทร์-ศุกร์ ส่วนเสาร์อาทิตย์อาจทำกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ แทนการเน้นเนื้อหาวิชาการ 

ปรึกษาจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือทำแบบประเมินความเครียด Burnout กับพยาบาลแบบไม่มีค่าใช้จ่ายที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการหมดไฟในการเรียน

1. หมดไฟในการเรียนอันตรายหรือไม่?

อาการหมดไฟในการเรียนไม่ได้อันตรายต่อชีวิต แต่กลับส่งผลกระทบทางด้านจิตใจอย่างมาก เพราะอาจทำให้เกิดภาวะเครียดเรื้อรัง อารมณ์หม่นหมอง หรืออาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าตามมาได้ หากเกิดอาการหมดไฟในการเรียนควรรีบหาวิธีรับมืออย่างเหมาะสมหรือพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ก็เป็นวิธีที่สามารถช่วยได้

2. การนอนช่วยแก้ปัญหาหมดไฟในการเรียนได้หรือไม่?

การนอนหลับเป็นการฟื้นฟูร่างกายและสมองให้ทำงานและจัดระเบียบความจำให้ดียิ่งขึ้น การนอนอาจจะช่วยแก้ปัญหาหมดไฟในการเรียนได้ในแง่ของการฟื้นฟูร่างกาย แต่ในด้านจิตใจนั้นจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหาและคำแนะนำจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพิ่มเติม

สรุป หมดไฟในการเรียนรีบปรึกษาจิตแพทย์ 

ไม่ผิดที่เราจะรู้สึกหมดไฟในการเรียน แต่เมื่อเรารู้ตัวแล้วว่าเริ่มหมดไฟในการเรียนควรหาวิธีจัดการความเครียดและรับมืออย่างเหมาะสม แม้ภาวะหมดไฟในการเรียนจะไม่ใช่ภาวะที่อันตรายต่อชีวิตแต่สร้างผลกระทบด้านจิตใจอย่างรุนแรง ค่อย ๆ ลุกลามมากขึ้นทุกวัน

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ หรือ ปรึกษาเภสัชกร ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ หรือสามารถทำแบบทดสอบความเครียดกับพยาบาล ไม่มีค่าใช้จ่าย เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง 

 

สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

 

 

Content powered by BeDee Expert

วชิรญา บุรพธานินทร์

นักจิตวิทยาคลินิก

Nair, M. (2023, December 14). What is academic burnout? University of the People. https://www.uopeople.edu/blog/what-is-academic-burnout/


Dealing with Study Burnout | Office of Academic Support & Counseling | Albert Einstein College of Medicine. (n.d.). https://www.einsteinmed.edu/education/student-affairs/academic-support-counseling/medical-school-challenges/study-burnout.aspx


Graduate-Coach. (2024, February 28). Academic burnout: How to recover from it. Graduate Coach. https://graduatecoach.co.uk/blog/academic-burnout/

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีพูดกับคนเป็นไบโพลาร์ ถ้าหากมีคนใกล้ตัวเป็นไบโพลาร์ หลายคนก็อาจมีความกังวลว่า แล้วเราต้องพูดกับเขาอย่างไร ถ้าหากอยากให้กำลังใจ ควรจะต้องใช้คำพูดแนวไหน วันนี้เราได้รวบรวมวิธีคุยกับคนเป็นไบโพลาร์มาไว้แล้ว เชื่อว่าหากได้นำวิธีที่แนะนำไปปรับใช้กับแนวท

มีพบก็ต้องมีจาก… การสูญเสียบุคคลหรือสิ่งที่รัก เช่น บุคคลที่เรารัก หรือสัตว์เลี้ยง เมื่อถึงเวลาหนึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพบเจอเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดอยู่กับเราได้ตลอดไป แม้แต่ตัวเราเองก็ตาม แต่การสูญเสียส่งผลกระทบต่อจิตใจไม่น้อย โดยเฉพาะการสู