Key Takeaways REM Sleepคือหนึ่งในช่วงของวงจรการนอนหลับในแต่ละคืน การนอนหลับในช่วง REM Sleep นั้นดวงตาของเราจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงนี้สมองจะมีการทำงานคล้ายกับช่วงที่ตื่นอยู่ แต่กล้ามเนื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในภาวะอัมพาตชั่วคราว จึงมักจะเกิดกา
วัณโรคต่อมน้ำเหลือง อันตรายจากเชื้อวัณโรคที่ไม่ควรมองข้าม
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
Key Takeaways
- วัณโรคต่อมน้ำเหลืองเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกันกับที่ทำให้เกิดวัณโรคปอด
- มักพบวัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ หรือ รักแร้ ขาหนีบ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณเหล่านี้สามารถโตขึ้น หรืออาจมีหนองไหลออกมา
- วัณโรคต่อมน้ำเหลืองติดต่อได้ยากกว่าวัณโรคปอด ยกเว้นกรณีผู้ป่วยมีอาการวัณโรคปอดร่วมด้วย หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดสัมผัสบาดแผลของผู้ป่วยโดยตรง
วัณโรคต่อมน้ำเหลืองคืออะไร?
วัณโรคต่อมน้ำเหลือง (Tuberculous Lymphadenitis) คือวัณโรครูปแบบหนึ่งที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis ซึ่งมักทำให้เกิดการติดเชื้อวัณโรคที่ปอดเป็นหลัก ในขณะที่วัณโรคต่อมน้ำเหลืองเกิดจากการที่เชื้อแพร่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลือง มักพบวัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ (Cervical Lymph Nodes) ส่วนบริเวณอื่นที่สามารถพบได้เช่นกัน ได้แก่ รักแร้ (Axillary Lymph Nodes) หรือขาหนีบ (Groin Lymph Nodes)
BeDee Tips: รู้จักวัณโรคเทียม (NTM) แม้อาการใกล้เคียงแต่ไม่ใช่วัณโรค (TB)
วัณโรคต่อมน้ำเหลืองเกิดจากอะไร ?
วัณโรคต่อมน้ำเหลืองสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ทำให้เกิดวัณโรคปอด สาเหตุที่มักทำให้ผู้ป่วยได้รับเชื้อมีดังนี้
- การแพร่กระจายของเชื้อวัณโรค
ผู้ป่วยได้รับเชื้อวัณโรคผ่านทางละอองฝอยในอากาศ (Droplet Nuclei) และเชื้อได้แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดหรือระบบน้ำเหลือง
- ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคมากกว่าคนทั่วไป
- การสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรค
การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อวัณโรคอาจทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายและแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลือง
- การติดเชื้อแฝงที่กำเริบ
กรณีที่ผู้ที่เคยติดเชื้อวัณโรคแฝง (Latent TB infection) มาก่อน เชื้ออาจไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่เมื่อภูมิคุ้มกันลดลงเชื้ออาจกำเริบและแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
- ไม่เคยได้รับวัคซีน BCG
วัณโรคต่อมน้ำเหลืองอาการเป็นอย่างไร?
วัณโรคต่อมน้ำเหลืองมักมีอาการเด่นชัดในส่วนของต่อมน้ำเหลืองและยังมีอาการร่วมอื่น ๆ ที่อาจพบได้ด้วย เช่น
- ต่อมน้ำเหลืองบวมโต มักพบบริเวณคอ
- ต่อมน้ำเหลืองโตหลายก้อน มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง
- กรณีที่อาการรุนแรงขึ้น ต่อมน้ำเหลืองอาจนุ่มลงและมีหนองอยู่ภายในจนแตกออกจนเกิดเป็นฝี
- มีไข้ต่ำในตอนเย็น
- เหงื่อออกมากตอนกลางคืน
- น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
- อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
วัณโรคต่อมน้ำเหลืองมีวิธีวินิจฉัยอย่างไร?
วิธีตรวจวัณโรคต่อมน้ำเหลืองนั้นสามารถทำร่วมกันได้หลายวิธี โดยวิธีทั่วไปที่แพทย์มักใช้ในการวินิจฉัยดังต่อไปนี้
- การซักประวัติ เช่น มีการสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคหรือเดินทางไปพื้นที่ระบาดหรือไม่ มีการอาการ เช่น ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักลด ไข้ต่ำ ๆ หรือเหงื่อออกกลางคืน
- ตรวจร่างกายบริเวณที่ต่อมน้ำเหลืองโต เช่น คอ รักแร้ หรือขาหนีบ
- การเจาะชิ้นเนื้อ (Biopsy) เพื่อตรวจหาเชื้อ Mycobacterium Tuberculosis ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดวัณโรค
- เอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray) เพื่อดูว่ามีเชื้อวัณโรคในปอดร่วมด้วยหรือไม่
- ตรวจเลือด
วิธีรักษาวัณโรคต่อมน้ำเหลือง
วิธีรักษาวัณโรคในปัจจุบันนั้นจะใช้การรักษาด้วยยาเป็นหลัก ซึ่งการรักษาวัณโรคต่อมน้ำเหลืองนั้นใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ยารักษาวัณโรคที่นิยมใช้ เช่น Isoniazid (INH), Rifampicin (RIF), Pyrazinamide (PZA) และ Ethambutol (EMB)
นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลืองที่โตมาก มีอาการรุนแรงแพทย์อาจรักษาด้วยการเจาะเอาหนองบริเวณต่อมน้ำเหลืองออกร่วมด้วย
วัณโรคต่อมน้ำเหลืองรักษาอย่างไร? ปรึกษาคุณคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ส่งยาถึงที่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการวัณโรคต่อมน้ำเหลือง
1. วัณโรคต่อมน้ำเหลืองอันตรายไหม?
วัณโรคต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาได้และมักไม่ถึงขั้นอันตรายถึงชีวิตหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาอย่างไม่เหมาะสมเชื้อวัณโรคอาจแพร่กระจายจากต่อมน้ำเหลืองไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น ปอด กระดูก สมอง หากเชื้อวัณโรคแพร่ไปยังสมองอาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค (Tuberculous Meningitis) ซึ่งอันตรายถึงชีวิต
2. วัณโรคต่อมน้ำเหลืองติดต่อหรือไม่?
วัณโรคต่อมน้ำเหลืองติดต่อได้ยากต่างจากวัณโรคปอดที่เชื้อมักกระจายผ่านการไอ จาม กรณีที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ผู้ป่วยวัณโรคต่อมน้ำเหลืองมีเชื้อวัณโรคที่ปอดร่วมด้วย ทำให้สามารถแพร่กระจายเชื้อในทางเดินหายใจ ผ่านการไอ จาม หรือพูด หรือการสัมผัสของเหลวจากฝีหรือหนองของผู้ป่วย ผู้ที่สัมผัสบาดแผลหรือฝีหนองของผู้ป่วยโดยตรงอาจมีความเสี่ยงต่อการติดโรคได้
วัณโรคต่อมน้ำเหลือง
หากพบว่ามีอาการต่อมน้ำเหลืองโตขึ้นเรื่อย ๆ มีแผลหรือฝีที่มีหนองไหลออกมา มีไข้สูง น้ำหนักลดอย่างรวดเร็วและผิดปกติ อย่าปล่อยไว้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกร ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พญ. ไอริณ จริยะโยธิน
แพทย์ อายุรแพทย์
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
- Mohapatra, P. R., & Janmeja, A. K. (2009). Tuberculous lymphadenitis. The Journal of the Association of Physicians of India, 57, 585–590.
- Bayazit, Y. A., Bayazit, N., & Namiduru, M. (2004). Mycobacterial cervical lymphadenitis. ORL; journal for oto-rhino-laryngology and its related specialties, 66(5), 275–280.
- Marimani, M., Ahmad, A., & Duse, A. (2018). The role of epigenetics, bacterial and host factors in progression of Mycobacterium tuberculosis infection. Tuberculosis (Edinburgh, Scotland), 113, 200–214.