วัณโรค

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

Key Takeaways

  • วัณโรคคือโรคติดต่อทางการหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis
  • ติดต่อผ่านทางละอองฝอยในอากาศ เมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูด สามารถทำให้เชื้อฟุ้งกระจายและติดเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของผู้อื่นได้ 
  • ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์ อาจมีไข้ต่ำในตอนเย็น เหงื่อออกมากตอนกลางคืน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
สารบัญบทความ

วัณโรคคืออะไร?

วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) คือโรคติดต่อทางการหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis โดยส่วนใหญ่แล้วเชื้อแบคทีเรียนี้มักส่งผลต่อปอดมากกว่าอวัยวะอื่น ๆทำให้เกิดวัณโรคปอด มักติดต่อผ่านการสูดเอาละอองฝอยจากการไอและจามของผู้ติดเชื้อ อย่างไรก็ตามตัวเชื้อสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น กระดูก ต่อมน้ำเหลือง หรือสมอง 


BeDee Tips: วัณโรคเทียม (Non-tuberculous Mycobacteria หรือ NTM) เป็นการติดเชื้อจากกลุ่มแบคทีเรียในกลุ่ม Mycobacterium ซึ่งไม่ใช่เชื้อในกลุ่มวัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) และไม่ติดต่อจากคนสู่คน

วัณโรคอาการเป็นอย่างไร?

วัณโรคอาการ

อาการของโรคอาจแตกต่างกันไปตามความรุนแรง แต่โดยทั่วไปแล้ววัณโรคอาการที่พบได้บ่อย เช่น

  • ไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์ 
  • ในบางรายอาจไอมีเสมหะปนเลือด
  • มีไข้ต่ำในตอนเย็น
  • เหงื่อออกมากตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
  • อ่อนเพลีย 
  • เบื่ออาหาร

สาเหตุที่ทำให้เสี่ยงวัณโรค 

วัณโรคติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางอากาศ (Airborne transmission) เมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูด สามารถทำให้เชื้อฟุ้งกระจายเป็นละอองฝอยในอากาศ (Droplet Nuclei) และติดเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของผู้อื่นได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการรับเชื้อวัณโรค ได้แก่ 

  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมแออัด เช่น เรือนจำ หรือชุมชนแออัด
  • การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค

BeDee Tips: รู้จักวัณโรคต่อมน้ำเหลือง โรคที่เกิดจากเชื้อในกลุ่มวัณโรค อ่านเลย

อันตรายที่เกิดจากวัณโรค

วัณโรคเป็นโรคที่ทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ มากมาย โดยส่วนใหญ่แล้วอันตรายที่มักพบได้ เช่น

  • วัณโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis)

วัณโรคปอดทำให้ปอดเกิดแผลและเกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อในปอด ส่งผลให้การทำงานของปอดลดลงและอาจเกิดภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลวในระยะยาว หากมีการติดเชื้อที่ปอดเมื่อมีการไอหรือจามจะสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นติดต่อได้โดยง่าย

  • วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง (Tuberculous Meningitis)

เป็นวัณโรคชนิดรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง เสี่ยงต่อความทุพพลภาพและมีอัตราการเสียชีวิตสูง อาการในระยะแรกอาจไม่จำเพาะเจาะจง เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด จากนั้นอาจจะพบอาการคอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน ในระยะท้ายของโรคผู้ป่วยอาจมีอาการซึมลง ชักเกร็ง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที 

  • วัณโรคต่อมน้ำเหลือง (Tuberculous Lymphadenitis)

มักคลำได้ต่อมน้ำเหลืองบวมโตตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่ลำคอ ต่อมน้ำเหลืองมักโตช้า ๆ ไม่เจ็บในระยะแรก มักไม่มีการแพร่กระจาย เชื้อวัณโรคสามารถทำให้ประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับการติดเชื้ออื่นลดลง จึงพบโรคนี้ได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดวัณโรคที่ลุกลามและรุนแรงขึ้น

  • วัณโรคแพร่กระจาย (Disseminated Tuberculosis)

เป็นวัณโรคที่แพร่กระจายจากปอดโดยผ่านทางกระแสเลือดไปที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาการไม่จำเพาะเจาะจง เช่น ไข้ ไอ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด จึงวินิจฉัยได้ยาก พบบ่อยในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดวัณโรคที่ลุกลามและรุนแรงขึ้นเช่นกัน

  • วัณโรคตา (Oculosis Tuberculosis)

พบได้น้อยมาก โดยเชื้อ Mycobacterium Tuberculosis สามารถแพร่กระจายไปยังดวงตาผ่านกระแสเลือดหรือระบบน้ำเหลืองได้ทำให้เกิด Ocular Tuberculosis หรือการติดเชื้อวัณโรคภายในลูกตา อาการที่พบได้คือ เกิดตุ่มหรือแผลที่เยื่อบุตา ตาแดงและระคายเคืองกระจกตา น้ำตาไหลหรือมีหนอง อาจเกิดการอักเสบหรือเป็นแผลที่กระจกตา และอาจทำให้การมองเห็นลดลง

วิธีรักษาวัณโรค

รักษาวัณโรค

วิธีรักษาวัณโรคในปัจจุบันนั้นจะใช้การรักษาด้วยยาเป็นหลัก ซึ่งการรักษานั้นใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 6-9 เดือน ยารักษาวัณโรคที่นิยมใช้ เช่น กลุ่มยาต้านเชื้อไวรัส Isoniazid (INH), Rifampicin (RIF), Pyrazinamide (PZA) และ Ethambutol (EMB)

 

อย่างไรก็ตามหากเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ค่าเอนไซม์ตับขึ้นสูง ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือมีภาวะดื้อยาแพทย์อาจใช้ยาอื่น ๆ ในการรักษาซึ่งอาจใช้เวลารักษานานถึง 20 เดือนขึ้นไป 

 

ปรึกษาวิธีรักษาวัณโรคและการทานยารักษาวัณโรคกับคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ส่งยาถึงที่

วิธีป้องกันวัณโรค 

วัณโรคเป็นโรคที่เชื้อสามารถลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ และยังใช้ระยะเวลาในการรักษานานหลายเดือน เราสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ด้วยวิธีดังนี้

  • ฉีดวัคซีน BCG เพื่อป้องกันวัณโรคในกลุ่มเด็กเล็ก
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ร่วมหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่แออัด
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม เสื้อผ้า แก้วน้ำ
  • เปิดหน้าต่างหรือใช้พัดลมเพื่อให้อากาศถ่ายเทเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วยหรืออยู่ในที่ ๆ แออัด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ โปรตีน และวิตามิน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการวัณโรค

1. คนเป็นวัณโรคไอแบบไหน?

ลักษณะการไอของผู้ป่วยคือ ไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์ ในช่วงต้นจะมีอาการไอแห้ง ต่อมาจึงเริ่มไอมีเสมหะ สามรถพบเสมหะปนเลือดได้ อาการที่พบร่วมกับอาการไอคือมีไข้ต่ำตอนบ่ายหรือเย็น เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อ่อนเพลีย หากมีอาการผิดปกติข้างต้นควรรีบปรึกษาแพทย์

2. วัณโรคติดต่อทางไหน?

วัณโรคติดต่อผ่านทางละอองฝอยในอากาศ (Droplet Nuclei) เมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูด สามารถทำให้เชื้อฟุ้งกระจายและติดเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของผู้อื่นได้ ดังนั้นเมื่ออยู่ที่แออัดหรือต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น เช่น บนรถเมล์ รถไฟฟ้า เครื่องบิน ควรสวมหน้ากากอนามัยและหมั่นล้างมือบ่อย ๆ

วัณโรคติดต่อได้ผ่านการหายใจ ปรึกษาอาการกับคุณหมอที่แอป BeDee 

หากมีอาการไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์ มีไข้ต่ำตอนบ่ายหรือเย็น เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อ่อนเพลีย หรือมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย อาจเสี่ยงต่อโรควัณโรคได้ ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกร ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS 

 

Content powered by BeDee Expert

พญ. ไอริณ จริยะโยธิน

อายุรแพทย์

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

World Health Organization: WHO & World Health Organization: WHO. (2024b, October 29). Tuberculosis. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tuberculosis


Tuberculosis – Symptoms & causes – Mayo Clinic. (2023, March 22). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tuberculosis/symptoms-causes/syc-20351250


Tuberculosis: causes and how it spreads. (2024, March 6). Tuberculosis (TB). https://www.cdc.gov/tb/causes/index.html

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Takeaways ริดสีดวงทวารมี 2 ประเภท ได้แก่ ริดสีดวงภายใน และริดสีดวงภายนอก วิธีรักษาริดสีดวงหรือบรรเทาริดสีดวงมีทั้งการเหน็บยา ฉีดยา ใช้ยางรัด เลเซอร์ หรือการผ่าตัด หากพบว่ามีหัวริดสีดวงหรือสงสัยว่าเป็นริดสีดวงไม่ต้องเขินอาย สามารถปรึกษาคุณหมอที่แอ

Key Takeaways ละเมอคืออาการผิดปกติของการนอนหลับอย่างหนึ่งซึ่งทำให้ผู้ป่วยลุกขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในขณะที่ยังอยู่ในภาวะหลับลึก เช่น ละเมอเดิน นอนละเมอพูดละเมอร้องไห้ การนอนที่ผิดปกตินี้อาจรบกวนคุณภาพการนอนหลับ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยล้าในตอนกลางวัน