โรคต่อมลูกหมากโต เป็นโรคที่พบในชายไทยเป็นจำนวนมากโรคหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่เพศหญิงเท่านั้นที่ต้องรับมือกับอาการวัยทองและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในเพศชายเมื่ออายุมากขึ้นก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคต่อมลูกหมากโตได้ แม้จะยังไม่มีการระบุสาเห
นอนกรนเกิดจากอะไร? รักษาอย่างไรดีเพื่อไม่ให้รบกวนคนใกล้ชิด
Key Takeaways
- นอนกรนเกิดได้จากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคอ้วน ภูมิแพ้ หรือผู้ที่มีปัญหาโครงสร้างใบหน้าหรือจมูกผิดรูป
- การรักษาอาการนอนกรนควรได้รับการวินิจฉัยสาเหตุการเกิดอาการของแต่ละคนเพื่อทำการรักษาต่อไปอย่างเหมาะสม
- การนอนกรนส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ปัจจุบันมีวิธีการรักษาหลายรูปแบบซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น
อาการนอนกรนคืออะไร?
อาการนอนกรน คือ การที่มีเสียงดังเกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ ซึ่งเกิดจากการที่อากาศไม่สามารถผ่านทางเดินหายใจได้อย่างราบรื่น เสียงกรนนั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจส่วนบน โดยเฉพาะที่บริเวณลิ้นไก่ เพดานอ่อน หรือผนังคอหอย ในบางรายอาจมีอาการทางเดินหายใจถูกอุดกั้นทั้งหมดจนทำให้เกิดโรคหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อมีอาการนอนกรนจึงควรหาสาเหตุของอาการเพื่อรักษาอย่างเหมาะสม
นอนกรนเสียงดังมาก ปรึกษาคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ส่งยาถึงที่
สาเหตุของอาการนอนกรน
หลายคนเข้าใจว่าปัญหานอนกรนมักเกิดขึ้นเฉพาะคนอ้วน นอกจากนี้ เรามักไม่รู้ตัวเมื่อจึงจำเป็นต้องให้คนใกล้ชิดช่วยสังเกตให้หรือใช้การทำ Sleep Test เพื่อตรวจสอบ จริง ๆ แล้วสาเหตุนอนกรนนั้นมักเกิดจากปัจจัยทางด้านร่างกาย ได้แก่
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับอันเนื่องมาจากกล้ามเนื้อเพดานอ่อนหย่อนยานจึงทำให้เกิดเสียงกรนเวลานอน
- โรคอ้วน ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินมักมีไขมันสะสมบริเวณลำคอมากทำให้ทางเดินหายใจแคบลงและอุดตันได้ง่าย
- ภูมิแพ้ ผู้ที่มีปัญหาภูมิแพ้อากาศ มีการติดขัดของทางเดินหายใจบริเวณจมูก
- จมูกผิดรูป เช่น จมูกคด
- โครงสร้างของใบหน้าหรือลำคอที่ทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง
- การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของอาการนอนกรน?
ถึงแม้ว่าอาการนอนกรนจะเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป แต่ก็มีกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะนี้มากกว่าคนทั่วไป ได้แก่
- ผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
- ผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนจะอ่อนหรือหย่อนยานลง ส่งผลให้ทางเดินหายใจแคบลงและสั่นสะเทือนได้ง่าย
- เพศชาย เนื่องจากโรคนอนกรนมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
- ผู้ที่มีอาการคัดจมูก หรือทางเดินหายใจอุดตันจากโรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ หรือมีโครงสร้างจมูกผิดปกติ
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวนอนกรนมักเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าคนทั่วไป
การวินิจฉัยภาวะนอนกรนทำอย่างไร?
เมื่อมีอาการนอนกรนควรหาสาเหตุการเกิดขึ้นของอาการและรับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ วิธีการวินิจฉัยโรคนอนกรนโดยทั่วไปนั้นแพทย์จะวินิจฉัยด้วยวิธีดังนี้
- ซักถามประวัติ แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการ เช่น การกรนเสียงดัง อาการสะดุ้งตื่นกลางดึก หายใจติดขัด หรือหยุดหายใจชั่วขณะ รู้สึกง่วงนอนมากในตอนกลางวัน ตื่นนอนรู้สึกไม่สดชื่น
อาการปวดหัวหลังตื่นนอน
- ตรวจร่างกายทั่วไป
- การทำ Sleep Test เพื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ตรวจการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด ตรวจรูปแบบการหายใจ และการเคลื่อนไหวของร่างกายและตา
วิธีรักษานอนกรนมีอะไรบ้าง?
โรคนอนกรนนั้นสามารถรักษาและบรรเทาอาการได้เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยทั่วไปแล้วอาการนอนกรนนั้นมีวิธีการรักษา เช่น
1. ใช้เครื่องมือในช่องปาก (Oral Appliance)
แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ฟันยางขณะนอนหลับ ฟันยางจะช่วยขยับกรามล่างไปข้างหน้าเพื่อป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ ลดอาการนอนกรน อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
2. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
เราควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และดูแลสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรง
3. ใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP)
การรักษาด้วยเครื่อง CPAP เป็นวิธีรักษาอาการนอนกรนที่เกิดจากโรคหยุดหายใจขณะหลับซึ่งมีประสิทธิภาพสูง โดยตัวเครื่องนี้จะสร้างแรงดันอากาศให้กับทางเดินหายใจขณะนอนหลับเพื่อป้องกันการอุดกั้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้อย่างต่อเนื่อง CPAP เหมาะสำหรับการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับระดับปานกลางถึงรุนแรง
4. ผ่าตัด
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับรุนแรงมากแพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษา เช่น การผ่าตัดลิ้นไก่และเพดานอ่อน การผ่าตัดแก้ไขโครงสร้างใบหน้าและขากรรไกร การผ่าตัดต่อมทอนซิลหรืออะดีนอยด์ หรือการใส่เครื่องกระตุ้นเส้นประสาท เป็นต้น
5. ลดน้ำหนัก
ผู้ที่ภาวะน้ำหนักเกินหรือมีภาวะโรคอ้วนมักมีไขมันสะสมบริเวณลำคอมากเกินไปทำให้ทางเดินหายใจแคบลงและอุดตันได้ง่ายจึงทำให้เกิดอาการนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภาวะนอนกรน
1. เด็กนอนกรน เป็นอะไรไหม?
การที่เด็กนอนกรนนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) หรือการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ต่อมทอนซิลโต หรือโรคภูมิแพ้ ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบหายใจของเด็กในระยะยาว แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของการเกิดอาการนอนกรนที่แน่ชัดและรับการรักษาต่อไป
2. นอนกรนแบบไหนอันตราย?
หากผู้ป่วยมีอาการกรนเสียงดังต่อเนื่องจนรบกวนคนใกล้ชิด ตื่นมาแล้วรู้สึกเจ็บคอ คนใกล้ชิดสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยมีการหยุดหายใจหรือหายใจติดขัดขณะหลับ ตื่นเช้าแล้วไม่สดชื่น ไม่มีสมาธิ ง่วงนอนมากผิดปกติในระหว่างวันจนไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ หรือเผลอหลับในขณะทำกิจกรรม ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอาการนอนกรน
นอนกรนอันตรายต่อสุขภาพและยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ปรึกษาคุณหมอได้ที่ BeDee
ปัจจุบันมีวิธีรักษาอาการนอนกรนหลายรูปแบบซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น หากรู้ตัวว่าเกิดภาวะนี้ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อวิเคราะห์สาเหตุและทำการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนแอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พญ. กัญจน์อมล ศิริเวช
อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล