Key Takeaway โรคมือเท้าปากเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร Enterovirus 71 (EV71), Coxasackievirus มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ใหญ่สามารถเป็นโรคมือเท้าปากได้เช่นกัน แม้ตัวโรคจะไม่อันตราย แต่หากได้รับเชื้อที่รุนแรงสามารถทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนถึงชีวิตไ
นอนละเมอรบกวนคุณภาพการนอนและ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ ดูวิธีป้องกัน
Key Takeaways
- ละเมอคืออาการผิดปกติของการนอนหลับอย่างหนึ่งซึ่งทำให้ผู้ป่วยลุกขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในขณะที่ยังอยู่ในภาวะหลับลึก เช่น ละเมอเดิน นอนละเมอพูดละเมอร้องไห้
- การนอนที่ผิดปกตินี้อาจรบกวนคุณภาพการนอนหลับ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยล้าในตอนกลางวัน เนื่องจากการนอนหลับไม่ต่อเนื่องและอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
- การละเมออาจส่งผลให้ทำกิจกรรมบางอย่างโดยไม่รู้ตัว หรือรู้สติไม่สมบูรณ์ อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
การละเมอคืออะไร?
นอนหลับผิดปกติแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่ การละเมอเดิน (Sleepwalking หรือ Somnambulism) และการนอนละเมอพูด (Sleep Talking) โดยอาการละเมอเดินคืออาการผิดปกติของการนอนหลับ (Parasomnia) อย่างหนึ่งซึ่งอาการที่พบได้บ่อย อาการเป็นอาการผิดปกติของการนอนหลับซึ่งทำให้ผู้ป่วยลุกขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในขณะที่ยังอยู่ในภาวะหลับลึก เช่น เดินไปมา เดินออกนอกบ้าน หรือในบางรายอาจมีอาการละเมอรุนแรงจนถึงขั้นทำอาหารหรือขับรถ
อีกประเภทหนึ่งคือการนอนละเมอพูด (Sleep Talking) หรือ ละเมอร้องไห้ซึ่งการละเมอทั้งสองลักษณะ มักพบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ ผู้ที่นอนละเมอมักจะไม่รู้ตัวและจำสิ่งที่ทำไม่ได้หรือจำได้เพียงเล็กน้อยเมื่อตื่นขึ้นมา มีข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่าการละเมอเดินอาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ กล่าวคือ มักพบในเด็กที่มีพ่อหรือเเม่คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองที่มีการละเมอเดินด้วยเช่นกัน
ประเภทของการนอนละเมอตามระยะการหลับ
อาการนอนละเมอนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในแต่ละระยะของการหลับแตกต่างออกไปตามแต่ละบุคคลและแต่ละครั้ง โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งตามระยะการหลับได้ดังนี้
- การนอนละเมอที่เกิดขึ้นในช่วง Non-REM Sleep (Nonrapid Eye Movement, NREM)
เป็นช่วงระยะการหลับลึกในช่วง Non-REM Sleep สมองยังอยู่ในสภาวะหลับลึกแต่มีการปลุกขึ้นมาบางส่วน ทำให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นการนอนละเมอ เช่น การลุกขึ้นเดิน (Sleep Walking) การผวา (Sleep Terrors หรือ Night Terrors) หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว
- การนอนละเมอในช่วง REM Sleep (Rapid Eye Movement (REM))
มักเกี่ยวข้องกับการฝันที่รุนแรง หรือการฝันร้าย (Nightmare) เช่น การต่อสู้ ตะโกน หรือทำร้ายตัวเอง
- Partial Arousal States (ภาวะการตื่นบางส่วน)
ในบางครั้งการนอนละเมอสามารถเกิดขึ้นเมื่อร่างกายยังไม่ตื่นเต็มที่หลังจากการหลับลึก ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมการนอนผิดปกติที่เกิดขึ้นในลักษณะซ้ำ ๆ เช่น การนั่ง ลุกขึ้นยืน หรือลุกจากเตียงโดยไม่รู้ตัว
- การนอนละเมอในช่วงการเปลี่ยนระยะการหลับ
เกิดขึ้นในช่วงที่สมองกำลังเปลี่ยนจากระยะการหลับลึกไปสู่ระยะการหลับอื่น ๆ ทำให้ร่างกายยังคงอยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่นและแสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติออกมา
อาการละเมอมีลักษณะอาการอย่างไรบ้าง ?
อาการนอนละเมอนั้นแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคลและตามระดับความรุนแรง โดยทั่วไปแล้วอาการที่พบบ่อย เช่น
- ลุกขึ้นจากเตียงและเดิน
- นอนละเมอออกเสียง หรืออาการนอนละเมอพูด
- ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น แต่งตัว เปิดปิดประตู เตรียมอาหาร หรือบางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นขับรถ
- ละเมอนั่งบนเตียงหรือลุกขึ้นอย่างกะทันหัน
- แสดงพฤติกรรมรุนแรง เช่น การต่อสู้ การขว้างปาสิ่งของ หรือพยายามหนีจากสถานการณ์ที่อาจรู้สึกว่าเป็นอันตรายในฝัน
- ผู้ที่ละเมอมักไม่รู้ตัวขณะที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ และเมื่อตื่นมามักจำไม่ได้ว่าทำอะไรลงไป
สาเหตุของอาการละเมอเกิดจากอะไร?
แล้วนอนละเมอเกิดจากอะไร ? หลายคนอาจจะเข้าใจว่าอาการนี้เกิดขึ้นเองแบบไม่มีสาเหตุ แต่จริง ๆ แล้วมีปัจจัยบางอย่างเช่นกันที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น
- พันธุกรรม
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ
- ความเครียดหรือความวิตกกังวล
- ยาบางชนิดหรือสารเสพติด
- การดื่มแอลกอฮอล์
- โรคบางอย่างที่ส่งผลต่อการนอนหลับ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ กรดไหลย้อนกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข การชักหรือโรคลมชัก
- การกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม
- การเปลี่ยนแปลงตารางการนอน
- อายุ พบว่าวัยเด็กมักมีการละเมอมากกว่าผู้ใหญ่
ปรึกษาปัญหาการนอนกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ส่งยาถึงที่
ผลเสียจากการละเมอคืออะไร ?
อาการนอนละเมอเราอาจจะเข้าใจกันว่าไม่ได้เป็นอาการรุนแรงหรืออันตรายถึงชีวิต แต่จริง ๆ แล้วอาการสามารถทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น
- เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
เนื่องจากการละเมออาจทำให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว เช่น ลุกขึ้นเดิน ขึ้นลงบันได เดินออกจากบ้าน ขับรถ หรือแม้แต่ทำอาหาร ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทั้งต่อตนเองและผู้อื่นได้ ดังนั้นการดูแลความปลอดภัย เช่น การตรวจสอบการล็อกประตู หน้าต่าง เก็บของมีคม หรือวัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายให้มิดชิดและปลอดภัยจากห้องนอนและในที่พักอาศัยจะช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
- เหนื่อยล้าและนอนหลับไม่เพียงพอ
การนอนละเมออาจรบกวนคุณภาพการนอนหลับ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยล้าในตอนกลางวัน เนื่องจากการนอนหลับไม่ต่อเนื่อง นอกจากนี้การตื่นกลางดึกบ่อย ๆ ทำให้สมองไม่ได้รับการพักผ่อนเพียง ส่งผลให้มีปัญหาด้านความจำ สมาธิ และการทำงานในระหว่างวัน
- ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ
ผู้ที่นอนละเมออาจรู้สึกเครียด วิตกกังวลอาการของตนเอง ประกอบกับการนอนที่ไม่ได้คุณภาพในตอนกลางคืน ทำให้อาจเกิดภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล
- ส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการเรียน
ผู้ที่มีอาการนอนละเมออาจทำให้คุณภาพการนอนหลับลดลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานหรือการเรียน เนื่องจากปัญหาด้านสมาธิ ความจำ และความสามารถในการตัดสินใจที่ลดลง
- เสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง (Chronic Disease)
การนอนหลับที่ไม่ได้คุณภาพอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคหัวใจ
วิธีป้องกันการละเมอควรทำอย่างไร ?
อาการนอนละเมอนั้นสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการวิธีแก้นอนละเมอ เช่น
- นอนหลับให้เพียงพอ พยายามเข้านอนและตื่นในเวลาเดียวกันทุกวัน
- เลี่ยงการนอนดึกหรือการอดนอน เนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพอและไม่ได้คุณภาพสามารถกระตุ้นให้เกิดการละเมอได้
- ฝึกจัดการความเครียดและความวิตกกังวลอย่างเหมาะสม เช่น ออกกำลังกาย ทำงานอดิเรก ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกหากเกิดความเครียดหรือไม่สามารถจัดการปัญหาได้
- ฝึกการผ่อนคลายก่อนนอน เช่น การฝึกหายใจ ฟังเพลงบรรเลงเบา ๆ หรือการทำสมาธิ สามารถช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนในช่วง 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน หรือถ้าจะให้ดีคือ 10 ชั่วโมงก่อนนอน ควรงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โกโก้ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลัง
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอน หากรู้สึกว่าการนอนมีปัญหา นอนไม่หลับ นอนกรน และอื่น ๆ ควรรีบปรึกษาคุณหมอ
วิธีรักษาอาการนอนละเมอ
อาการนอนละเมอสามารถรักษาและบรรเทาได้ด้วยการรักษาโรคอื่น ๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดการนอนละเมอร่วมกับการปรับพฤติกรรม ดังนี้
- เข้านอนและตื่นนอนตรงเวลาสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการใช้สารกระตุ้นระหว่างวัน หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ใช้เวลาผ่อนคลายอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
- จัดห้องนอนให้ เงียบ เย็น และ มืดสนิท
- รักษาปัญหาการนอนด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการนอน (Cognitive Behavioral Therapy for Insomnia) เป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐานโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยเพิ่มทักษะของการผ่อนคลาย
- รักษาโรคทางการนอนอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการละเมอ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) กรดไหลย้อน หรือกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome)
เครียดสะสม ทำแบบประเมินความเครียดเบื้องต้นกับพยาบาลที่แอป BeDee ไม่มีค่าใช้จ่าย
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการละเมอ
1. การละเมออันตรายไหม?
อาการนอนละเมอนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพคือทำให้คุณภาพการนอนลดลงจึงทำให้ตื่นขึ้นมาไม่สดชื่น ไม่มีสมาธิ เหนื่อย อ่อนแรง ง่วงนอนระหว่างวัน นอกจากนี้ในรายที่มีอาการรุนแรง เช่น เดินออกจากบ้าน ขับรถ หรือละเมอทำอาหารอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อตนเอง นอกจากนี้อาการนอนละเมอพูดนอนละเมอออกเสียงทุกวันอาจเป็นการรบกวนผู้ที่ใกล้ชิดได้
การนอนละเมอบ่อยผิดปกติควรรีบหาสาเหตุและรับการรักษา ซึ่งแพทย์อาจทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายและการตรวจเพิ่มเติมโดยใช้เครื่องมือพิเศษในการตรวจการนอนหลับผิดปกติ เช่น Actigraphy หรือ Polysomnography เป็นต้น
2. การละเมอในเด็กส่งผลเสียไหม?
เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ การนอนในละเมอเด็กนั้นทำให้คุณภาพการนอนลดลง ส่งผลให้เด็กตื่นมาไม่สดชื่น รู้สึกหงุดหงิดเพราะนอนหลับไม่เพียงพอ และยังกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก นอกจากนี้การนอนละเมอยังอาจทำให้เด็กเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย
นอนละเมอ มีปัญหาการนอน ปรึกษาคุณหมอที่แอป BeDee
อาการนอนละเมออาจฟังดูไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เป็นภัยถึงแก่ชีวิต แต่จริง ๆ แล้วการนอนที่ผิดปกติรบกวนคุณภาพชีวิต ทำให้การนอนไม่ได้คุณภาพและยังอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนแอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
นพ. จิติศักดิ์ พูนศรีสวัสดิ์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เวชศาสตร์ป้องกัน และอาชีวเวชศาสตร์
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
- Sleepwalking & Sleep Talking. (n.d.). American Academy of Sleep Medicine. (https://aasm.org/resources/factsheets/sleepwalkingtalking.pdf
- Newman, T. (2023, December 22). What are night terrors and why do they happen?. MedicalNewsToday.
https://www.medicalnewstoday.com/articles/301893 - Night terrors and nightmares. (2022, April 21). The NHS website for England.
https://www.nhs.uk/conditions/night-terrors/ - Bryan, L. (2023, December 8). Parasomnias. Sleep Foundation.org
https://www.sleepfoundation.org/parasomnias - Fleetham JA, Fleming JA. Parasomnias. CMAJ. 2014 May 13;186(8)
https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC4016090
/ - Cleveland Clinic. (2021, April 29). Parasomnias are disruptive sleep-related disorders. Cleveland Clinic. org.
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/12133-parasomnias–disruptive-sleep-disorders