rem sleep

Key Takeaways

  • REM Sleepคือหนึ่งในช่วงของวงจรการนอนหลับในแต่ละคืน การนอนหลับในช่วง REM Sleep นั้นดวงตาของเราจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงนี้สมองจะมีการทำงานคล้ายกับช่วงที่ตื่นอยู่ แต่กล้ามเนื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในภาวะอัมพาตชั่วคราว จึงมักจะเกิดการฝัน หรือ ผีอำ 
  • REM Sleep ช่วยในด้านการเรียนรู้ ความจำ ความคิดสร้างสรรค์ ช่วยจัดการอารมณ์ และลดความเครียด
  • การนอนหลับอย่างมีคุณภาพจะช่วยเพิ่ม REM Sleep และช่วยให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ครบทั้ง 4 ระยะของวงจรการนอนหลับ
สารบัญบทความ

REM Sleep คืออะไร? 

โดยปกติแล้ววงจรการนอนหลับหรือ Sleep Cycle ของเราในแต่ละคืนนั้นจะประกอบไปด้วย

4 ระยะสำคัญที่หมุนเวียนกันตลอดช่วงเวลาการนอนหลับ แบ่งออกเป็น 

ระยะที่ 1 Non-rapid eye movement stage 1 (Non-REM stage 1 or NREM-1) หรือ ช่วงหลับตื้น 

ระยะที่ 2 Non-rapid eye movement stage 2 (Non-REM stage 2 or NREM-2)) หรือ ช่วงหลับกลาง 

ระยะที่ 3 Non-rapid eye movement stage 3 (Non-REM stage 3 or NREM-3) หรือ ช่วงหลับลึก 

ระยะที่ 4 Rapid Eye Movement (REM Sleep) 

 

Rapid Eye Movement Sleep (REM Sleep) คือหนึ่งในช่วงของวงจรการนอนหลับในแต่ละคืน การนอนหลับในช่วง REM Sleep นั้นดวงตาของเราจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงนี้สมองจะมีการทำงานคล้ายกับช่วงที่ตื่นอยู่ แต่กล้ามเนื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในภาวะอัมพาตชั่วคราว จึงมักจะเกิดการฝัน หรือ ผีอำ การนอนหลับในช่วง REM Sleepจะเริ่มประมาณ 90 นาทีหลังจากนอนหลับ โดยรอบแรกของวงจรการนอนจะกินเวลาประมาณ 10 นาที และเพิ่มขึ้นในรอบต่อ ๆ ไป โดยรอบสุดท้ายอาจกินเวลานานถึง 60 นาที หรือคิดเป็นร้อยละ 20-25 ของระยะเวลาการนอนหลับทั้งหมดในหนึ่งคืน

 

มีปัญหานอนไม่หลับ ปรึกษาคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว ส่งยาถึงที่

NREM Sleep ต่างจาก REM Sleep อย่างไร?

nreem sleep ต่าง rem sleep

การนอนหลับของเราในแต่ละคืนนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ซึ่งในแต่ละระยะร่างกายและสมองจะเกิดการทำงานที่แตกต่างกันออกไป คือ 

 

ระยะที่ 1 (NREM-1) หรือ ช่วงหลับตื้น เป็นช่วงที่เรายังหลับไม่ลึก สมองทำงานช้าลง แต่ยังสามารถตื่นขึ้นมาได้ง่าย ระยะนี้กล้ามเนื้อจะเริ่มผ่อนคลาย และอัตราการเต้นของหัวใจและอัตรการหายใจเริ่มช้าลง

 

ระยะที่ 2 (NREM-2) หรือ ช่วงหลับกลาง ระยะนี้เป็นการเข้าสู่การหลับที่ลึกขึ้นกว่าเดิม รับรู้สิ่งรอบตัวน้อยลง กล้ามเนื้อจะผ่อนคลายลงมากขึ้น อุณหภูมิร่างกายจะลดลง การเคลื่อนไหวของดวงตาหยุดลง ร่างกายเข้าสู่สภาวะพักผ่อนลึกยิ่งขึ้น ระยะนี้มีความสำคัญในการส่งเสริมการทำงานของความจำ และการฟื้นฟูสมอง 

 

ระยะที่ 3 (NREM-3) หรือ ช่วงหลับลึก “Deep Sleep” ระยะนี้คลื่นสมองจะช้าลง และกล้ามเนื้อจะผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์ ระยะนี้สำคัญต่อการฟื้นฟูร่างกายและสมอง เซลล์ในร่างกายจะทำการซ่อมแซมตัวเอง ฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) จะถูกหลั่งออกมาในช่วงนี้ ทำให้เป็นช่วงที่สำคัญสำหรับการฟื้นฟูร่างกายและการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน 

 

ระยะที่ 4 (REM Sleep) เป็นช่วงที่เกิดการฝันและสมองจะทำงานคล้ายกับเวลาที่ตื่นอยู่ ดวงตาจะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว และกล้ามเนื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในภาวะอัมพาตชั่วคราว ช่วง REM Sleep นี้สำคัญต่อการประมวลผลและจัดเก็บความจำ 

 

BeDee Tips: ดูวิธีเอาชนะอาการนอนไม่หลับ ไม่ต้องพึ่งยานอนหลับ !

REM Sleep มีความสำคัญอย่างไร?

REM Sleep เป็นหนึ่งในระยะของวงจรการนอนหลับที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อร่างกายของเรา โดยทั่วไปแล้วประโยชน์และความสำคัญของการนอนในระยะ REM Sleep ได้แก่

  • ช่วยในด้านการเรียนรู้และความจำ REM Sleep ช่วยในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลใหม่ ๆ ที่ได้รับระหว่างวัน โดยเฉพาะการจัดเก็บความจำระยะยาว และช่วยในเรื่องของการเรียนรู้
  • ความคิดสร้างสรรค์ ช่วงการนอนหลับในระยะ REM Sleep สมองจะเชื่อมโยงข้อมูลและประสบการณ์ต่าง ๆ จึงช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้
  • ปรับสมดุลอารมณ์ ในช่วง REM Sleep สมองจะประมวลผลและจัดการอารมณ์ ลดความเครียด ซึ่งความฝันที่เกิดขึ้นในระยะนี้เป็นกระบวนการที่สมองใช้ในการคลายความเครียดและความกังวลที่เผชิญในแต่ละวัน
  • ช่วยซ่อมแซมร่างกาย เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน 

 

BeDee Tips: การทำ Sleep Test เหมาะกับใครบ้าง? เมื่อไหร่จึงควรทำ อ่านเพิ่มเติมเลย!

 

ช้อปวิตามินช่วยในการนอนหลับพร้อมปรึกษาวิธีการทานกับเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน 

ส่งสินค้าถึงที่

วิธีเพิ่ม REM Sleep ทำอย่างไร? 

เพิ่ม rem sleep

วิธีการเพิ่ม REM Sleep โดยทั่วไปก็คือการนอนหลับอย่างมีคุณภาพเพื่อให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ครบทั้ง 4 ระยะของวงจรการนอนหลับ วิธีการสร้างการนอนอย่างมีคุณภาพ เช่น

จัดระเบียบห้องนอน

การจัดระเบียบห้องนอนเป็นหนึ่งในวิธีเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ เช่น สีของผนังห้องควรเป็นโทนมืดเพื่อให้ในตอนกลางคืนมีแสงเข้าห้องนอนน้อยที่สุด เนื่องจากแสงอาจกระตุ้นให้ร่างกายตื่นจนทำให้หลับ ๆ ตื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ควรเลือกผ้าปูเตียงที่นุ่มสบาย มีม่านกันแสง รวมถึงอุณหภูมิในห้องนอนควรจะเย็นพอดี ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยทำให้นอนหลับอย่างมีคุณภาพได้ โดยช่วงเวลาในการออกกำลังกายที่ช่วยในเรื่องการนอนหลับคือ 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอนเพราะจะทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากเกินไปจนทำให้ร่างกายตื่นตัว

ตื่นและเข้านอนเป็นเวลา

พยายามเข้านอนและตื่นเป็นเวลา เริ่มจากการกำหนดเวลาตื่นตอนเช้าและพยายามตื่นให้ตรงเวลา ไม่ว่าวันที่เริ่มปรับเวลานอนจะนอนดึกแค่ไหนก็ไม่ควรทดเวลาตื่นสาย ให้พยายามฝืนตื่นตามเวลาให้ได้มากที่สุด และเข้านอนตามเวลาที่กำหนด พยายามไม่นอนตอนกลางวันเพราะจะส่งผลต่อการนอนในตอนกลางคืนได้ เมื่อร่างกายเริ่มชินและจดจำเวลาตื่นและเข้านอนได้จะทำให้การนอนง่ายขึ้น สุขภาพดี ตื่นมาสดชื่นด้วย

ฝึกผ่อนคลายก่อนนอน

การฝึกผ่อนคลายนั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การกำหนดลมหายใจ ฟังเพลงบรรเลงผ่อนคลาย อาบน้ำอุ่น หรือการใช้กลิ่นลาเวนเดอร์ช่วยผ่อนคลาย

หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน 

ในช่วง 4-6 ชั่วโมงก่อนนอนควรงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โกโก้ น้ำอัดลม รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง

หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนักหรือรสจัดก่อนนอน

การรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนนอนนั้นส่งผลให้ร่างกายต้องทำงานหนักในการย่อย ซึ่งใช้เวลาถึง 2-3 ชั่วโมง นอกจากจะทำให้นอนหลับยากแล้ว ยังอาจส่งผลให้เป็นกรดไหลย้อน

ดื่มนมอุ่น หรือรับประทานกล้วยหอมก่อนนอน

กล้วยและนมมีกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสารเซโรโทนิน (Serotonin) ทำให้รู้สึกผ่อนคลายความเครียด ความวิตกกังวล ทำให้ง่วงและนอนหลับได้ง่ายขึ้น

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

เนื่องจากในบุหรี่มีสารนิโคติน (Nicotine) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นประสาททำให้หลับยาก ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่โดยตรง (Active Smoker) หรือผู้ที่มักจะได้กลิ่นควันบุหรี่จากผู้อื่นอยู่บ่อย ๆ (Passive Smoker) ก็จะทำให้ได้รับสารนิโคตินที่ส่งผลต่อการนอนได้เช่นกัน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ REM Sleep

1. REM Sleep Behavior Disorder คืออะไร?

REM Sleep Behavior Disorder (RBD) คือความผิดปกติในการนอนหลับที่เกิดขึ้นในช่วง REM Sleep ซึ่งปกติแล้วในช่วง REM Sleep ร่างกายจะอยู่ในสภาวะที่กล้ามเนื้อส่วนใหญ่เป็นอัมพาตชั่วคราว ทำให้เราไม่สามารถขยับร่างกายตามความฝันได้ แต่ในผู้ที่มีภาวะ RBD จะสูญเสียการยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อทำให้สามารถขยับร่างกายได้ตามความฝัน เช่น การเตะ ตะโกน ลุกขึ้นเดิน หรือแม้กระทั่งต่อสู้

2. REM Sleep กินเวลากี่ชั่วโมงต่อหนึ่งคืน?

โดยทั่วไปแล้วในผู้ใหญ่การนอนในระยะREM Sleep นั้นกินระยะเวลาประมาณ 25% ของการนอนทั้งคืน หากเรานอนหลับประมาณ 7-8 ชั่วโมง REM Sleep อาจกินเวลาประมาณ 1.5-2 ชั่วโมงต่อคืน 

REM Sleep สำคัญต่อการนอนหลับ หากมีปัญหาการนอนหลับควรรีบปรึกษาแพทย์ 

การนอนหลับเป็นหนึ่งในขั้นตอนการซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกายในแต่ละวัน การนอนหลับที่ได้คุณภาพควรนอนให้ครบทั้ง 4 วงจรการนอนหลับ หากมีอาการตื่นเช้าแล้วไม่สดชื่น อ่อนเพลีย ทั้ง ๆ ที่นอนครบทั้ง 7-8 ชั่วโมงแล้ว หรือมีปัญหานอนไม่หลับควรรีบปรึกษาแพทย์

ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนแอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS 

 

Content powered by BeDee Expert

พญ.สุชานัน แก้วสุข

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวผู้สูงอายุ

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Suni, E., & Suni, E. (2023, December 8). Stages of sleep: What happens in a sleep cycle. Sleep Foundation. https://www.sleepfoundation.org/stages-of-sleep

 

Patel, A. K., Reddy, V., Shumway, K. R., & Araujo, J. F. (2024, January 26). Physiology, sleep stages. StatPearls – NCBI Bookshelf. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK526132/

 

The science of sleep: Understanding what happens when you sleep. (2024, June 20). Johns Hopkins Medicine. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/the-science-of-sleep-understanding-what-happens-when-you-sleep

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการไข้หวัดใหญ่ คือ อาการที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัส “ไข้หวัดใหญ่” (Influenza Virus) โดยผู้ติดเชื้อมักมีอาการปวดหัว, ไอ, เจ็บคอ, คัดจมูก, มีน้ำมูก, รู้สึกอ่อนเพลีย และมีไข้ อาการของไข้หวัดใหญ่ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อยในฤดูฝน (ช่วงเดือนมิถุนายน-ตุล

โรคอ้วนไม่ใช่เพียงภาวะน้ำหนักตัวเกินจากไขมันสะสมที่มากเกินเกณฑ์เท่านั้นแต่ยังนำพามาสู่ปัญหาโรคอันตรายอื่น ๆ ที่รักษาได้ยากและส่งผลร้ายต่อสุขภาพในระยะยาว ในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคอ้วนมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบและละเลยสุขภาพของ