Key Takeaway น้ํามูกสีเขียว คืออาการติดเชื้อในโพรงจมูกที่รุนแรงขึ้น น้ํามูกสีแดงแสดงถึงอาการเส้นเลือดในโพรงจมูกแตกจากการสั่งน้ำมูกแรง ๆ อาการบาดเจ็บบริเวณจมูก โรคภูมิแพ้ หรือโรคหลอดเลือดอื่น ๆ เช่น ริดสีดวงจมูก หรือเนื้องอกภายในโพรงจมูก หากพบว่าเป็
ปอดอักเสบ ไอเรื้อรัง หายใจลำบาก ต้องระวัง !
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
Key Takeaways
- ปอดอักเสบคือภาวะที่เนื้อปอดเกิดการอักเสบ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา
- อาการที่พบได้บ่อย เช่น มีไข้สูง ไอ บางรายอาจมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจเข้าลึก ๆหายใจลำบาก หายใจเร็ว หอบ
- วิธีรักษาคือการใช้ยาต้านเชื้อไวรัส ยาปฏิชีวนะ ยาต้านเชื้อรา และยารักษาตามอาการ
รู้จักโรคปอดอักเสบ (Pneumonia) คืออะไร ?
โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือที่หลายคนเรียกว่าโรค “ปอดบวม” คือภาวะที่เนื้อปอดเกิดการอักเสบ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา เมื่อปอดอักเสบ ถุงลมในปอดจะบวมและเต็มไปด้วยหนองหรือของเหลว ทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ทำงานได้ไม่ดี ส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจนและเกิดอาการต่าง ๆ ตามมา
BeDee Tips: หลอดลมอักเสบ อาการและวิธีรักษา อ่านเพิ่มเติมเลย
สาเหตุการเกิดโรคปอดอักเสบมีอะไรบ้าง ?
โรคปอดอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกันขึ้นอยู่กับเชื้อที่ได้รับและภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละบุคคล สามารถแบ่งตามสาเหตุของการเกิดโรคได้ดังนี้
ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ
ปอดอักเสบที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อมักเกิดจาก
- เชื้อไวรัส เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus), RSV (Respiratory Syncytial Virus) โดยเฉพาะในเด็ก
- เชื้อแบคทีเรีย เช่น Streptococcus Pneumoniae, Haemophilus Influenzae
- เชื้อรา เช่น Pneumocystis Jirovecii พบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอชไอวี (HIV)
ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
กรณีที่ผู้ป่วยมีโรคปอดอักเสบแต่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อนั้น กรณีนี้อาจเกิดจากการสูดดมสารเคมีบางชนิด เช่น ฝุ่น PM 2.5 ควัน หรือสารพิษ ซึ่งทำให้ปอดระคายเคืองและอักเสบ หรือการฉายรังสีรักษาบริเวณทรวงอก รวมถึงการทานยาบางชนิดที่อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้และนำไปสู่การอักเสบของปอด
ปอดอักเสบจากภูมิต้านทานต่ำ
ปอดอักเสบจากภูมิต้านทานต่ำเป็นภาวะที่เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอดในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดการติดเชื้อในปอดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ
นอกจากสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบแล้ว เราควรคำนึงถึงปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ซึ่งมีดังนี้
- อายุ กลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไป
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เบาหวาน โรคหัวใจ
- ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอชไอวี ผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด
- ผู้ที่สูบบุหรี่เพราะทำให้ระบบทางเดินหายใจอ่อนแอ
- ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ภูมิต้านทานลดลง
อาการปอดอักเสบมีอะไรบ้าง
ปอดอักเสบอาการที่พบได้นั้นมีหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งคล้ายกับอาการของโรคไข้หวัด หากผู้ป่วยพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์
- มีไข้สูง
- ไอ บางรายอาจมีเสมหะปนเลือด
- เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจเข้าลึก ๆ
- หายใจลำบาก หายใจเร็ว หอบ
- เหนื่อยง่าย
- อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
- เหงื่อออกมาก
วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคปอดอักเสบทำอย่างไรบ้าง
การตรวจวินิจฉัยโรคปอดอักเสบแพทย์จะเริ่มต้นจากการซักประวัติและตรวจร่างกาย ประวัติการสัมผัสโรค เช่น มีสมาชิกในบ้านป่วยเป็นโรคปอดอักเสบหรือไม่ จากนั้นแพทย์จะส่งเอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray) เพื่อดูการอักเสบหรือบริเวณที่ติดเชื้อในปอด การกระจายของเชื้อ และอาจมีการตรวจวัดปริมาณเม็ดเลือดขาว ตรวจเสมหะ หรืออาจทำ CT Scan ในกรณีที่การเอกซเรย์ปอดไม่สามารถบอกข้อมูลที่ชัดเจน หรือสงสัยโรคที่ซับซ้อน
วิธีรักษาโรคปอดอักเสบ
ปอดอักเสบรักษายังไง วิธีการรักษานั้นจำเป็นต้องพิจารณาว่าตัวโรคนั้นเกิดจากการรับเชื้อประเภทใดรวมถึงการดูแลตามอาการ เบื้องต้นโรคปอดอักเสบมีวิธีรักษาได้ดังนี้
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ใช้ในกรณีที่ปอดติดเชื้อแบคทีเรีย
- ยาต้านไวรัส (Antiviral Drugs) ใช้ในกรณีที่ติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) หรือ RSV
- ยาต้านเชื้อรา (Antifungal drugs) ใช้ในกรณีที่ตัวโรคเกิดจากการติดเชื้อรา เช่น เชื้อ Pneumocystis Jirovecii
- ยาลดไข้และยาแก้ปวด ตามอาการ
- ยาขยายหลอดลม หากมีอาการหอบเหนื่อย หายใจเสียงวี้ด
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หายใจลำบาก หลอดลมตีบ ออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจจำเป็นต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและดูอาการที่โรงพยาบาล
ปรึกษาหมอออนไลน์ ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว
ส่งยาถึงที่ ไม่มีค่าจัดส่ง
การป้องกันโรคปอดอักเสบ
โรคปอดอักเสบนั้นสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกายโดยรวมให้แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันเพื่อที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค โดยสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
- ฉีดวัคซีนปอดอักเสบช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจากแบคทีเรียบางชนิดได้
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่ ๆ มีคนหนาแน่น
วิธีปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการรับเชื้อปอดอักเสบ
วิธีหลีกเลี่ยงการรับเชื้อปอดอักเสบคือการรักษาความสะอาดและสุขอนามัยเช่นเดียวกับโรคติดต่อทางเดินหายใจอื่น ๆ โดยวิธีที่ควรปฏิบัติ ได้แก่
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และหรือเจลแอลกอฮอล์ก่อนรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า
- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
- หลีกเลี่ยงการอยู่ร่วมกับผู้ป่วย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ และโปรตีนที่มีคุณภาพ
- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7-8 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- สวมหน้ากากอนามัยในที่ ๆ มีฝุ่นหรือมลภาวะ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับปอดอักเสบ
1. โรคปอดอักเสบ หายเองได้ไหม?
อาการปอดอักเสบจะหายเองได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรง และร่างกายของแต่ละบุคคล เมื่อมีอาการไม่สบายหรือสงสัยโรคนี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละบุคคล ไม่ควรปล่อยไว้
2. ผู้ที่มีปอดอักเสบ ห้ามกินอะไรบ้าง?
โดยทั่วไปแล้วควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อเสริมสร้างร่างกายและภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารทอด อาหารแปรรูป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน แต่กรณีมีอาหารหอบเหนื่อยมากจนต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอาจจำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหารเนื่องจากการรับประทานอาหารขณะหายใจเร็วจะทำให้ผู้ป่วยสำลักได้
3. ปอดอักเสบกับวัณโรคต่างกันอย่างไร?
ปกติแล้ว วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis มักส่งผลต่อปอดมากกว่าอวัยวะอื่น ๆ ทำให้เกิดวัณโรคปอด ติดต่อผ่านการสูดเอาละอองฝอยจากการไอและจามของผู้ติดเชื้อ อาการที่มักพบ เช่น ไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์ บางรายอาจไอมีเสมหะปนเลือด มีไข้ต่ำในตอนเย็น เหงื่อออกมากตอนกลางคืน น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
ในขณะที่โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) คือภาวะที่เนื้อปอดเกิดการอักเสบ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อเช่น
- เชื้อไวรัส เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus), RSV (Respiratory Syncytial Virus) โดยเฉพาะในเด็ก
- เชื้อแบคทีเรีย เช่น Streptococcus Pneumoniae, Haemophilus Influenzae
- เชื้อรา เช่น Pneumocystis Jirovecii
ผู้ป่วยมักมีอาการ ไข้สูง ไอ เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจเข้าลึก ๆ หายใจลำบาก หายใจเร็ว หอบ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
ปอดอักเสบไม่ควรปล่อยไว้ ปรึกษาแพทย์ได้เลยที่นี่
โรคปอดอักเสบนั้นเป็นโรคทางเดินหายใจที่ก่อให้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีมลภาวะในอากาศสูงทำให้ยากที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดโรค ควรดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ แต่หากมีอาการไม่สบาย ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรได้เลยที่นี่
BeDee พบหมอเฉพาะทางเครือ BDMS ได้ทันที ไม่ต้องรอ ส่งยาทั่วไทย มั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล
สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พญ. ไอริณ จริยะโยธิน
อายุรแพทย์
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Seeger, A., & Rohde, G. (2023). Ambulant erworbene Pneumonie. DMW – Deutsche Medizinische Wochenschrift, 148(06), 335–341. https://doi.org/10.1055/a-1940-8944
Cunha, B. A. (2001). Pneumonia in the Elderly. Clinical Microbiology and Infection, 7(11), 581–588. https://doi.org/10.1046/j.1198-743x.2001.00328.x
Skřičková, J. (2018). [Pneumonia in immunocompromised persons]. Vnitrni Lekarstvi, 63(11), 786–795. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29303280/