Key Takeaway ไข่ไก่ให้โปรตีนสูง ช่วยให้อิ่มท้องแบบแคลอรี่ต่ำโดยในไข่ไก่ 1 ฟองให้โปรตีนประมาณ 7 กรัม ประโยชน์ของการกินไข่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และภูมิคุ้มกัน และมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างและซ่อมแซมสมอง ความจำ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโร
วัณโรคเทียมอาการคล้ายกัน แต่ไม่ใช่วัณโรค รู้จักอาการและอันตรายจากโรคนี้
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
Key Takeaways
- วัณโรคเทียม (NTM) คือเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Mycobacterium ที่ไม่ใช่เชื้อที่ก่อให้เกิดวัณโรค (TB) พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ มักไม่เป็นอันตรายต่อคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง
- วัณโรคเทียม (NTM) มีอาการคล้ายคลึงกับวัณโรค (TB) คือมักก่อให้เกิดรอยโรคบริเวณปอด แต่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน
- หากสงสัยว่ามีอาการวัณโรคเทียม ไอเรื้อรัง หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม มีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย เหงื่อออกตอนกลางคืน ควรรีบปรึกษาแพทย์
วัณโรคเทียมคืออะไร?
วัณโรคเทียม Nontuberculous Mycobacteria (NTM) คือเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งในกลุ่ม Mycobacterium ที่ไม่ใช่เชื้อที่ก่อให้เกิดวัณโรค (Mycobacterium Tuberculosis) หรือโรคเรื้อน (Mycobacterium leprae)
เชื้อกลุ่ม NTM พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ และสิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยปกติ NTM ไม่เป็นอันตรายต่อคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง แต่ในบางครั้งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ โดยเฉพาะในคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ที่ทานยากดภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่มีโรคเรื้อรังเกี่ยวกับปอด
วัณโรคเทียมอาการเป็นอย่างไร?
วัณโรคเทียมมีอาการคล้ายคลึงกับวัณโรค (Tuberculosis) คือมักก่อให้เกิดรอยโรคบริเวณปอด โดยทั่วไปแล้วอาการที่พบได้จากวัณโรคเทียม เช่น
- ไอเรื้อรัง
- ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ บางรายอาจมีเสมหะปนเลือด
- หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม
- มีไข้ต่ำ
- อ่อนเพลีย
- เหนื่อยล้า
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
- น้ำหนักลด
- ต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะบริเวณลำคอ หรือขาหนีบ
- ผื่นผิวหนัง
- แผลเรื้อรังหายช้า
BeDee Tips: รู้จักวัณโรคต่อมน้ำเหลือง โรคอันตรายที่เกิดจากเชื้อในกลุ่มวัณโรค
สาเหตุของวัณโรคเทียม
วัณโรคเทียม เกิดจากอะไร? วัณโรคเทียมมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Mycobacterium มักไม่ติดต่อจากคนสู่คน สาเหตุของวัณโรคเทียมสามารถสรุปได้ดังนี้
- การสัมผัสเชื้อวัณโรคเทียมจากสิ่งแวดล้อม เช่น ในดิน แหล่งน้ำ
- การสูดดม การสูดดมละอองน้ำหรือฝุ่นที่ปนเปื้อนเชื้ออาจทำให้เชื้อเข้าสู่ปอด
- การดื่มน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ อาจทำให้ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
วิธีรักษาวัณโรคเทียม
การรักษาวัณโรคเทียม นั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อและความรุนแรงของอาการ ในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคเทียมมักจะดื้อยารักษาวัณโรค การรักษาวัณโรคเทียมจึงใช้ยาปฏิชีวนะเป็นหลัก เช่น
- ยากลุ่ม Macrolides
- ยากลุ่ม Rifamycins
- Ethambutol
ปรึกษาวิธีรักษาวัณโรคเทียมกับคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ส่งยาถึงที่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการวัณโรคเทียม
1. วัณโรคเทียมต่างจากวัณโรคอย่างไร?
วัณโรค Tuberculosis (TB) เกิดจากเชื้อ Mycobacterium Tuberculosis ในขณะที่วัณโรคเทียม Nontuberculous Mycobacteria (NTM) เกิดจากเชื้อในกลุ่ม Mycobacterium อื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรควัณโรคโดยตรง แม้จะมีอาการคล้ายคลึงกันแต่วัณโรค (TB) สามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านละอองฝอยในอากาศ เช่น การไอหรือจาม ขณะที่วัณโรคเทียม (NTM) จะไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่จะพบเชื้อวัณโรคเทียมในสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น ดิน น้ำ หรือฝุ่น และมักเข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดดมหรือบาดแผล
2. วัณโรคเทียมอันตรายไหม?
อันตรายจากวัณโรคเทียมนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของเชื้อ สภาพร่างกายของผู้ติดเชื้อ และการรักษา แต่โดยทั่วไปวัณโรคเทียมจะไม่อันตรายเท่าวัณโรค (TB) และไม่ติดต่อระหว่างคน อย่างไรก็ตามวัณโรคเทียมเป็นอันตรายได้โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีโรคประจำตัว มีปัญหาเกี่ยวกับปอด ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
วัณโรคเทียมเป็นแล้วอาจไม่รู้ตัว ควรหมั่นสังเกตตัวเอง
วัณโรคเทียมอาจใช้เวลานานกว่าผู้ป่วยจะแสดงอาการออกมา และผู้ป่วยมักติดเชื้อโดยไม่รู้ตัวจากสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ควรทำคือการหมั่นสังเกตตัวเอง ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากมีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ทันที
ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกร ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พญ. ไอริณ จริยะโยธิน
อายุรแพทย์
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
American Lung Association. (n.d.-b). Learn about Nontuberculous Mycobacteria (NTM). https://www.lung.org/lung-health-diseases/lung-disease-lookup/nontuberculous-mycobacteria/learn-about-nontuberculosis-mycobacteria
About Nontuberculous mycobacteria (NTM) infections. (2024, April 15). Nontuberculous Mycobacteria (NTM). https://www.cdc.gov/nontuberculous-mycobacteria/about/index.html
Nardell, E. A. (2022, July 15). Nontuberculous mycobacterial infections. MSD Manual Professional Edition. https://www.msdmanuals.com/professional/infectious-diseases/mycobacteria/nontuberculous-mycobacterial-infections