Key Takeaway ถ่ายเป็นเลือดเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ทางเดินอาหาร ลำไส้ใหญ่ ริดสีดวงทวาร หากถ่ายเป็นเลือดจากอาการท้องผูกอาการอาจหายเองได้ ถ่ายเป็นเลือดเป็น ๆ หาย ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม สารบัญบทความ ถ่ายเป็นเลือดคืออะไร ถ่า
ฝีดาษลิงอันตรายหรือไม่? รวมวิธีรักษาและการป้องกัน
Key Takeaways
- ฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Orthopoxvirus ซึ่งเป็นไวรัสในกลุ่มเดียวกับโรคฝีดาษ
- ฝีดาษลิงมักมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายเองได้ใน 2-4 สัปดาห์
- อย่างไรก็ตามในรายที่มีอาการฝีดาษลิงรุนแรงควรปรึกษาแพทย์ทันที
ฝีดาษลิงคืออะไร?
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) หรือ Mpox คือโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Monkeypox ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่ในกลุ่ม Orthopoxvirus ซึ่งเป็นไวรัสในกลุ่มเดียวกับโรคฝีดาษ (Smallpox) หรือที่ในอดีตรู้จักกันในชื่อโรค “ไข้ทรพิษ” แต่ฝีดาษลิงนั้นจะมีความรุนแรงที่น้อยกว่า ฝีดาษลิงระบาดครั้งแรกในสัตว์ฟันแทะทวีปแอฟริกา เช่น ลิง หนู กระรอก กระต่าย นอกจากการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนแล้วต่อมาจึงพบว่าเชื้อฝีดาษลิงสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้เช่นกันโดยรับเชื้อฝีดาษลิงผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ ผู้ที่ติดเชื้อฝีดาษลิงจะมีอาการ เป็นไข้ ปวดหัว และมีตุ่มน้ำใสขึ้นตามใบหน้า แขน และขา เป็นต้น
ในปัจจุบันได้มีการจำแนกฝีดาษลิงเป็นสองชนิดหลักตามสายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แอฟริกากลาง และ แอฟริกาตะวันตก ซึ่งมีศัพท์เฉพาะใช้เรียกทั้งสองสายพันธุ์ คือ เคลดวัน (Clade I) สำหรับสายพันธุ์ แอฟริกากลาง และ เคลดทู (Clade II) สำหรับสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก โดยการติดเชื้อ
สายพันธุ์เคลดวันจะมีความรุนแรงของโรคและอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าการติดเชื้อสายพันธุ์เคลดทู
ปรึกษาเรื่องโรคฝีดาษลิงกับคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ส่งยาถึงที่
อาการของโรคฝีดาษลิงเป็นอย่างไร?
ถึงแม้ว่าโรคฝีดาษลิงจะมีอาการไม่รุนแรงแต่เราก็ควรทราบอาการของโรคฝีดาษลิงเบื้องต้นเพื่อการสังเกตตัวเอง อาการฝีดาษลิงมักปรากฎภายใน 5-20 วันหลังได้รับเชื้อ อาการเบื้องต้นฝีดาษลิงที่พบได้ในคนมีดังนี้
- ไข้สูง
- ปวดหัว
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ปวดหลัง
- ไอ เจ็บคอ
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- อ่อนเพลีย
- มีผื่นหรือตุ่มพองบนผิวหนัง อาจมีอาการคันหรือเจ็บปวดร่วมด้วย ผื่นจะพัฒนาจากตุ่มนูนสีแดงไปเป็นตุ่มพองใส และแตกเป็นสะเก็ด บริเวณที่มักพบผื่น ได้แก่ ใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ขาหนีบ อวัยวะสืบพันธุ์ และทวารหนัก เป็นต้น
BeDee Tips: ยิ่งเกายิ่งคัน ใช้ยาทาแก้ผื่นคันแบบไหนดี ? อ่านเลย
ฝีดาษลิงติดต่อได้อย่างไร?
โรคฝีดาษลิงหรือโรคฝีดาษวานรพบการระบาดครั้งแรกในทวีปแอฟริกา โดยตัวเชื้อฝีดาษลิงมาจากกลุ่มสัตว์ฟันแทะ เช่น ลิง หนู กระรอก กระต่าย นอกจากการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนแล้วเชื้อฝีดาษลิงสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้เช่นกัน
สัตว์สู่คน
โรคฝีดาษลิงการติดต่อจากสัตว์สู่คนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ผ่านการสัมผัสกับสัตว์ติดเชื้อโดยตรง การโดนสัตว์ที่ติดเชื้อฝีดาษลิงกัดหรือข่วน หรือการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ยังไม่ผ่านการปรุงให้สุก
คนสู่คน
การติดเชื้อฝีดาษลิงจากคนสู่คนนั้นเกิดจากสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น การสัมผัสตุ่มฝีดาษลิงของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสน้ำลาย การไอจามรดกัน การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ
ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคฝีดาษลิง
กลุ่มเสี่ยงฝีดาษลิง ได้แก่
- ผู้ที่ใกล้ชิดกับสัตว์ฟันแทะที่มีเชื้อฝีดาษลิง
- ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยฝีดาษลิง
- บุคลากรทางการแพทย์
- ผู้ที่อาศัยหรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาด
ฝีดาษลิงมีวิธีวินิจฉัยอย่างไร?
ปัจจุบันวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคฝีดาษลิงนั้นสามารถทำได้โดยการตรวจหาสารพันธุกรรม Real – Time PCR ซึ่งแพทย์จะเก็บตัวอย่างของเหลวจากแผลฝีดาษลิงของผู้ป่วยเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ฝีดาษลิงมีวิธีการรักษาอย่างไร?
โดยปกติแล้วโรคฝีดาษลิงนั้นมักมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายเองได้ภายใน 2-4 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงแพทย์จะเน้นรักษาและจ่ายยาตามอาการ หรือใช้ยาต้านไวรัสในกลุ่มที่ใช้รักษาไข้ทรพิษร่วมด้วย ผู้ป่วยไม่ควรแกะหรือเกาตุ่มฝีดาษลิงเพราะอาจทำให้แผลแย่ลงและติดเชื้อได้ ทั้งนี้ควรสังเกตอาการตัวเองหากไม่แน่ใจสามารถปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมได้ทันที
การป้องกันฝีดาษลิงควรทำอย่างไร?
การป้องกันฝีดาษลิงสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์โดยตรงโดยเฉพาะสัตว์ในกลุ่มฟันแทะ เช่น หนู กระต่าย กระรอก
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่แออัด
- หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- พยายามไม่สัมผัสใบหน้า จมูก ปาก เพื่อหลีกเลี่ยงการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฝีดาษลิง
1. ฝีดาษลิงหายเองได้ไหม?
อาการโรคฝีดาษลิงนั้นมักไม่ค่อยรุนแรงและสามารถหายเองได้ภายใน 2-4 สัปดาห์ แต่หากพบว่ามีอาการฝีดาษลิงรุนแรง เช่น มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยร่างกายมาก ปวดแผลมาก ควรปรึกษาแพทย์
2. ฝีดาษลิงสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่?
จากข้อมูลในปัจจุบันหลายแห่งระบุว่าฝีดาษลิงสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้จากการสัมผัส กอด จูบซึ่งจะทำให้เราสัมผัสเชื้อฝีดาษลิงผ่านสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำเหลือง จากผู้ติดเชื้อโดยตรง ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อฝีดาษลิง หรือการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนแปลกหน้าเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
3. ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันฝีดาษลิงหรือยัง?
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิงโดยตรง การฉีดวัคซีนจะใช้วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษฉีดในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงหรือกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องใกล้ชิดผู้ป่วย โดยในปัจจุบัน วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ JYNNEOS จะฉีดเข้าใต้ผิวหนัง จำนวน 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน สามารถป้องกันโรคฝีดาษลิง ได้ถึงร้อยละ 80 – 85 แนะนำให้ฉีดในผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีการสัมผัสโรคโดยตรงกับผู้ป่วยฝีดาษลิง เช่น สัมผัสโรค คลุกคลี ใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือผู้ที่มีเพศสัมพันธุ์กับผู้ติดเชื้อ เป็นต้น
ฝีดาษลิงแม้ไม่รุนแรงแต่ต้องหมั่นสังเกตอาการตัวเอง
ถึงแม้ว่าโรคฝีดาษลิงอาการจะไม่รุนแรงและสถานการณ์ในปัจจุบันของฝีดาษลิงในไทยจะยังไม่รุนแรงมากแต่ก็ไม่ควรประมาทและต้องเฝ้าระวังกันต่อไป
ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนแอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
นพ. จิติศักดิ์ พูนศรีสวัสดิ์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เวชศาสตร์ป้องกัน และอาชีวเวชศาสตร์
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
- World Health Organization (WHO). (2024, August 26). Fact-sheet Mpox.
https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mpox - Cleveland Clinic. (2023, April 25). Mpox.
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/22371-monkeypox - Centers of disease control and prevention (CDC). (2024, September 3). Mpox.
https://www.cdc.gov/poxvirus/mpox/about/index.html - European center for disease prevention and control. (2024, August 28). Factsheet for health professionals on Mpox.
https://www.ecdc.europa.eu/en/all-topics-z/monkeypox/factsheet-health-professionals