โรคหัด

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

Key Takeaways

  • โรคหัด (Measles) เกิดจากเชื้อไวรัส Measles Virus เป็นไวรัสชนิดหนึ่งในตระกูล Paramyxoviridae
  • มักพบในกลุ่มเด็กเล็กและเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้
  • อาการที่พบได้ เช่น ไข้ขึ้นสูง น้ำมูกไหล คัดจมูก ตาแดง พบจุดสีขาวขนาดเล็กบนพื้นแดงในกระพุ้งแก้ม และมีผื่นขึ้นทั่วร่างกาย
สารบัญบทความ

โรคหัดเกิดจากอะไร ?

โรคหัด (Measles) เกิดจากเชื้อไวรัส Measles Virus (Morbillivirus) ซึ่งเป็น RNA ไวรัสชนิดหนึ่งในตระกูล Paramyxoviridae โดยเชื้อไวรัสนี้จะทำให้เกิดอาการมีไข้ ไอ จาม ผื่นสีแดงหรือผื่นคันขึ้นตามลำตัว ตาแดง ตาแฉะ ปากแดง มีตุ่มแดงที่มีสีขาวเล็ก ๆ ตรงกลางขึ้นในกระพุ้งแก้ม โรคหัดติดต่อจากการหายใจรับละอองจากการไอหรือจามของผู้ป่วย และสามารถแพร่กระจายได้ง่ายโดยเฉพาะสถานที่แออัด เช่น โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า แหล่งชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก 0-4 ปีที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด

 

BeDee Tips: รู้จักโรคผื่นกุหลาบ ผื่นคันอีกประเภทที่ควรระวัง

โรคหัดมีอาการเป็นอย่างไร?

โรคหัดอาการ

โรคหัดมีอาการโดยทั่วไป 2 ระยะคือระยะเริ่มต้นและระยะผื่น โดยทั้ง 2 ระยะมีอาการโดยทั่วไปที่สามารถพบได้ เช่น

ระยะเริ่มต้น

ช่วงประมาณ 2-4 วันแรก

  • ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็วประมาณ 38-40°C
  • ไอแห้ง
  • น้ำมูกไหล (Coryza) คัดจมูก
  • ตาแดง น้ำตาไหล แพ้แสง
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
  • พบจุดสีขาวขนาดเล็กบนพื้นสีแดงในกระพุ้งแก้ม เรียกว่า “จุดค็อปลิค (Koplik’s Spots)” ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคหัด

ระยะผื่น

  • มีผื่นแดง หรือผื่นหัด ขึ้นในช่วง วันที่ 3-5 ของการป่วย 
  • ผื่นเริ่มขึ้นจากบริเวณหลังหูและใบหน้า 
  • ผื่นลามลงมาที่ลำตัว แขน ขา ตามลำดับ
  • ลักษณะผื่นเป็น ปื้นแดง บางครั้งนูนเล็กน้อย (Maculopapular, Erythematous Rash)
  • ผื่นมักขึ้นหนาแน่นในช่วงไข้สูง และจะอยู่ประมาณ 4-7 วัน

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคหัด 

  • ท้องเสีย
  • ขาดน้ำ
  • หูชั้นกลางอักเสบ
  • ปอดอักเสบ (Pneumonia)
  • เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) 
  • กล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis)
  • ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis)
  • ในหญิงตั้งครรภ์ อาจส่งผลทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือ ทารกน้ำหนักตัวน้อย 

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว 

ส่งยาถึงที่ ไม่มีค่าจัดส่ง

โรคหัดรักษาอย่างไร?

รักษาโรคหัด

โรคหัดเกิดจากเชื้อ Measles Virus ซึ่งไม่มียารักษาโรคหัดโดยเฉพาะ โรคหัดวิธีรักษาจะเน้นการดูแลตัวเองและใช้ยารักษาตามอาการ ดังนี้

 

  • ใช้ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของยาแอสไพริน เช่น กรดอะซีทิลซาลิซิลิก (acetylsalicylic, ASA) อะซีทิลซาลิไซเลตในเด็ก เพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Reye’s syndrome ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต)
  • องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้เสริม วิตามินเอ ในเด็กที่เป็นโรคหัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี เพราะช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อน
  • เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อลดไข้
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ

วิธีป้องกันโรคหัดทำอย่างไร?

วิธีป้องกันโรคหัดสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและดูแลตัวเองด้วยวิธี เช่น

 

  • การับวัคซีนป้องกันโรคหัด ซึ่งปัจจุบันมักจะให้ร่วมกับวัคซีนป้องกัน โรคคางทูมและหัดเยอรมัน MMR (Measles, Mumps, Rubella) 
  • เนื่องจากโรคหัดติดต่อผ่านละอองฝอยจากการไอจาม และติดต่อได้ง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน และการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากสงสัยว่ามีอาการคล้ายโรคหัด เช่น ไข้สูง น้ำมูกไหล ผื่นแดง ควรปรึกษาแพทย์ทันที

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคหัด

1. โรคหัดแพร่กระจายได้อย่างไร?

โรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัส Measles ซึ่งการติดต่อสามารถเป็นได้ทั้งจากการสัมผัสฝอยละอองขนาดใหญ่ (Droplets) และขนาดเล็กอย่างมากในอากาศ (Airborned) คือมีขนาดเล็กกว่า 5 ไมโครเมตร โรคหัดเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ง่ายอย่างยิ่งโรคหนึ่ง (Highly Contagious Disease) ติดต่อจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อ เช่น การสัมผัสละอองฝอยจากการไอจาม การสัมผัสน้ำลาย เสมหะ ของผู้ป่วย การใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ป่วย และการกระจายผ่านอากาศ (Airborned) ทำให้การติดโรคเมื่ออยู่ใกล้ชิดผู้ที่ติดเชื้อเป็นไปได้ง่าย การติดต่อสามารถเกิดได้ตั้งแต่ 4 วันก่อนเกิดผื่น และ 4 วันหลังมีผื่นหัดเกิดขึ้น

 

สิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรคหัดคือหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย สวมหน้ากากอนามัยในที่แออัด ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์

2. โรคหัดระยะฟักตัวกี่วัน?

ผู้ป่วยจะเกิดอาการของโรคหัดภายใน 14 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส โดยเริ่มจากอาการมีไข้สูง น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ตาแดง และมีจุดค็อปลิค (Koplik Spots) หรือตุ่มแดงที่มีสีขาวเล็ก ๆ ตรงกลางขึ้นในกระพุ้งแก้ม หลังจากนั้น 3-5 วันผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นแดงขึ้นตามตัวโดยจะเริ่มจากบริเวณหน้าผาก ใบหน้า ลำคอ และกระจายไปยังลำตัวแขนและขา

โรคหัดติดต่อได้ง่าย หากไม่แน่ใจควรรีบปรึกษาแพทย์ 

โรคหัดเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายทางละอองฝอยในอากาศ มีอาการเด่นคือไข้สูง ผื่นแดง น้ำมูกไหล และตาแดง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบหรือสมองอักเสบในบางราย ฯลฯ

โรคหัดสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรได้เลยที่นี่ 

 

BeDee พบหมอเฉพาะทางเครือ BDMS ได้ทันที ไม่ต้องรอคิว ส่งยาทั่วไทย มั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล

 

สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

 

นพ. จิติศักดิ์ พูนศรีสวัสดิ์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เวชศาสตร์ป้องกัน และอาชีวเวชศาสตร์

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Measles. (2024, November 14). WHO. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/measles

Measles. (2024, November 13). Health Information and Services. https://info.health.nz/conditions-treatments/infectious-diseases/about-measles/measles

 

Measles Symptoms and Complications. (2024, May 9). CDC. https://www.cdc.gov/measles/signs-symptoms/index.html

 

Gastañaduy, P. & Goodson, J. (2023, May 1). Rubeola / Measles. Travel-Associated Infections & Diseases. CDC Yellow Book 2024.

https://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2024/infections-diseases/rubeola-measles

 

Vitamin A for measles. (n.d.). Cochrane Method Equity.
https://methods.cochrane.org/equity/vitamin-measles

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Highlight    อาการหูอื้อที่ควรรีบปรึกษาหมอ เช่น หูอื้อบ่อย หูอื้อหลายวัน มีอาการหูอื้อตลอดเวลา ปวดหู หูอื้อข้างเดียว บ้านหมุน เวียนศีรษะ อาการหูอื้อทั่วไป เช่น หูอื้อจากน้ำเข้าหู หูอื้อจากการขึ้นเครื่องบิน อาการหูอื้อเหล่านี้อาจเกิดขึ้นและหายไปภา

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง Key Takeaways อาหารเป็นพิษคือภาวะที่ร่างกายได้รับเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำจนทำให้เกิ