Key Takeaway ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มีความรุนแรงมากที่สุดในกลุ่มไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้ เช่น ปอดอักเสบ ไปถึงขั้นเสียชีวิต กลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันค
รู้จักโรคมือเท้าปากคืออะไร วิธีเฝ้าระวังเด็ก ๆ ในช่วงเปิดเทอม
Key Takeaway
- โรคมือเท้าปากเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร Enterovirus 71 (EV71), Coxasackievirus
- มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ใหญ่สามารถเป็นโรคมือเท้าปากได้เช่นกัน
- แม้ตัวโรคจะไม่อันตราย แต่หากได้รับเชื้อที่รุนแรงสามารถทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนถึงชีวิตได้เช่นกัน
โรคมือเท้าปาก คืออะไร
โรคมือเท้าปาก (Hand, Foot, and Mouth Disease หรือ HFMD) คือโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร Enterovirus 71 (EV71), Coxasackie Virus โรคมือเท้าปาก พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการคล้ายไข้หวัด มีแผลภายในปาก มีตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ำใสขึ้นตามบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และบริเวณอื่น เช่น สะโพกและลำตัว โรคมือเท้าปาก ติดต่อได้ผ่านการหายใจและการสัมผัส มักพบในช่วงเปิดเทอมโดยเฉพาะช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะกลุ่มเด็กอนุบาล สถานที่รับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน เป็นต้น
โรคมือเท้าปาก อาการเป็นอย่างไร
โรคมือเท้าปากมีระยะฝักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ โรคมือเท้าปาก อาการเริ่มต้นที่คุณพ่อคุณแม่ใช้สังเกตลูก ๆ ได้ มีดังนี้
- มีไข้
- อ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยตัว
- เจ็บคอ
- มีแผลเจ็บที่ลิ้น และเยื่อบุช่องปาก
- มีตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ำใส ไม่คัน ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และบริเวณอื่น เช่น สะโพกและลำตัว
- ซึม ไม่สดใสร่าเริง
- เบื่ออาหาร
ปรึกษาวิธีรักษาโรคมือเท้าปากกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง ส่งยาถึงบ้าน ไม่เสียค่าบริการจัดส่งยา
สาเหตุของโรคมือเท้าปาก เกิดจากอะไร
โรคมือเท้าปาก สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Coxsackie A16 และไวรัส Enterovirus 71 มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และพบโรคมือเท้าปากในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ส่วนสาเหตุการได้รับเชื้อไวรัสมือ เท้า ปากนั้น โรคมือเท้าปาก มักเกิดการติดต่อจากการหายใจและการสัมผัสกับน้ำลาย น้ำมูก หรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ เช่น การสัมผัสของเล่นร่วมกัน การเกิดโรคมือเท้าปากมักพบในโรงเรียนและสถานที่แออัด เป็นอีกหนึ่งโรคเด็กเล็กที่มักพบได้ในช่วงเปิดเทอมฤดูฝน
อาการแทรกซ้อนโรคมือเท้าปากที่ต้องระวัง
โรคมือเท้าปากอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไปจนถึงเสียชีวิตได้ โดยอาการโรคมือเท้าปากที่ต้องเฝ้าระวังและควรพบแพทย์ ได้แก่
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
- เซื่องซึม
- มีตุ่มน้ำใสขึ้นผิดปกติ
- เบื่ออาหาร ทานอาหารไม่ได้เพราะเจ็บคอ
- ปวดศีรษะมาก
- อาเจียน
- ไอ หอบ
- มือสั่น
- หายใจเร็ว
- เพ้อ เห็นภาพหลอน
- ชัก
โรคมือเท้าปาก วินิจฉัยอย่างไร
การวินิจฉัยโรคมือเท้าปากแพทย์จะเริ่มต้นจากการซักประวัติ ซักอาการ ตรวจร่างกายผู้ป่วยเบื้องต้น จากนั้นแพทย์อาจพิจารณาเก็บตัวอย่างเชื้อภายในลำคอหรืออุจจาระและส่งตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูชนิดของเชื้อไวรัสและวางแผนการรักษาต่อไป
การรักษาโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก วิธีรักษาในปัจจุบันนั้นยังไม่มียารักษาโรคมือเท้าปากโดยเฉพาะ แต่แพทย์จะเน้นการรักษาโรคมือเท้าปากตามอาการของผู้ป่วย เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด อาจใช้ยาทาแผลในปาก สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการโรคมือเท้าปากทั่วไปที่ไม่ได้รุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อน แนะนำให้ผู้ป่วยจิบน้ำบ่อย ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
ปรึกษาเรื่องยารักษาโรคมือเท้าปากกับเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวันถึงเที่ยงคืน ไม่มีค่าปรึกษา จัดส่งสินค้าถึงบ้าน
วิธีการป้องกันโรคมือเท้าปาก
การป้องกันโรคมือเท้าปากนั้นสามารถทำได้ดังนี้
- ฉีดวัคซีนโรคมือเท้าปาก
- แยกตัวผู้ป่วยเป็นโรคเพื่อไม่ให้สัมผัสกับเด็ก ๆ คนอื่น
- หมั่นล้างมือ
- ทำความสะอาดของเล่นและจุดสัมผัสร่วม
- สวมหน้ากากอนามัย
- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
- งดใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก
1. โรคมือเท้าปาก กี่วันหาย?
โรคมือเท้าปากในเด็กมักมีอาการประมาณ 2-3 วันและจะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายใน 7-10 วัน โดยมากมักมีอาการไม่รุนแรง แต่หากสังเกตพบอาการ เพลีย อ่อนแรง อาเจียน เดินเซ และชัก ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
2. โรคมือเท้าปากอันตรายไหม?
โรคมือเท้าปาก อาการทั่วไปมักไม่รุนแรง สามารถหายได้ใน 7-10 วัน ไม่ใช่โรคที่อันตราย แต่ในกรณีที่ได้รับเชื้อ Enterovirus 71 อาจทำให้เกิดอาการสมองอักเสบ รวมไปถึงระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากสังเกตพบอาการ เพลีย อ่อนแรง อาเจียน เดินเซ และชัก ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
3. โรคมือเท้าปากผู้ใหญ่เป็นได้ไหม?
ไม่ใช่แค่ในกลุ่มเด็กเล็กเท่านั้น โรคมือเท้าปาก ผู้ใหญ่สามารถพบได้เช่นกัน โดยโรคมือเท้าปากในผู้ใหญ่นั้นจะมีอาการ มีไข้ รู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกาย มีตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ำที่มือหรือเท้า มีแผลในปาก สามารถหายได้ภายใน 7-10 วัน แต่หากอาการรุนแรงควรรีบปรึกษาแพทย์
4. โรคมือเท้าปากทำไมต้องทานไอศกรีม?
เมื่อเด็ก ๆ ป่วยเป็นโรคมือเท้าปากซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บปาก เจ็บคอ ระคายเคืองในปาก สามารถให้เด็ก ๆ รับประทานไอศกรีมหรือของเย็นเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวได้
สรุปโรคมือเท้าปากโรคที่ต้องระวังช่วงเปิดเทอม
ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน พร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Hand-foot-and-mouth disease – Symptoms & causes – Mayo Clinic. (2022, August 16). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hand-foot-and-mouth-disease/symptoms-causes/syc-20353035
Learn more about Hand, Foot, and Mouth Disease. (2023, May 11). Centers for Disease Control and Prevention. https://www.cdc.gov/hand-foot-mouth/index.html
Website, N. (2023, June 22). Hand, foot and mouth disease. nhs.uk. https://www.nhs.uk/conditions/hand-foot-mouth-disease/