Key Highlight กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะโดยเฉพาะเชื้ออีโคไล (Escherichia coli) ที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยมักรู้สึกปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะไม่สุด ปวดท้องน้อย ปัสสาวะขุ่น หากมีอาการควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะ สารบ
ท้องเสีย (Diarrhea) เกิดจากอะไร ท้องเสียแบบไหนต้องรีบไปหาหมอ
ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
Key Takeaway
- ท้องเสียเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้ออื่น ๆ
- เมื่อท้องเสียจนทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการชา เวียนศีรษะ หรืออ่อนเพลีย และในกรณีที่รุนแรงมากอาจเสี่ยงต่อการช็อกได้
- กลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุควรเฝ้าระวังใกล้ชิดเมื่อมีอาการท้องเสีย
ท้องเสีย คืออะไร มีกี่ประเภท
ท้องเสีย (Diarrhea) คืออาการที่ลำไส้ทำงานผิดปกติ ทำให้ถ่ายเหลวบ่อยขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้ง/วัน โดยอุจจาระมักมีลักษณะเหลวเป็นน้ำ หรือเป็นน้ำปนเนื้อ ท้องเสีย ที่เป็นลักษณะท้องเสียแบบเฉียบพลัน มักมีอาการปวดบิด เสียดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียนหรืออาจมีไข้ร่วมด้วย ท้องเสีย เกิดจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร ทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งอาจเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรค หากอาการท้องเสียรุนแรงอาจอันตรายถึงชีวิตได้ จำเป็นต้องรีบพบแพทย์ อาการท้องเสียแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. ท้องเสียแบบเฉียบพลัน (Acute diarrhea)
อาการท้องเสียเฉียบพลันสามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรืออาหารเป็นพิษ ท้องเสียประเภทนี้โดยส่วนใหญ่สามารถหายเองได้ มักดีขึ้นภายใน 1-2 วัน แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อหรือยาปฎิชีวนะ
2. ท้องเสียแบบต่อเนื่อง (Persistent diarrhea)
ท้องเสียแบบต่อเนื่องคืออาการท้องเสียที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยไม่ควรนิ่งนอนใจ เนื่องจาก อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคร้าย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้อาการท้องเสียรุนแรง และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
3. ท้องเสียแบบเรื้อรัง (Chronic diarrhea)
ท้องเสียเรื้อรังคืออาการท้องเสียต่อเนื่องตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป หรือมีอาการท้องเสียแบบเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ป่วยบางรายอาจมีน้ำหนักลด ไข้ตอนกลางคืน ถ่ายเป็นมูกเลือด หรือมีอาการปวดท้องร่วมด้วยได้ ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุท้องเสีย
มีอาการท้องเสียบ่อยปรึกษาแพทย์ที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง ส่งสินค้าถึงมือ
ท้องเสีย สาเหตุเกิดจากอะไร
สาเหตุท้องเสียเกิดได้จากหลายปัจจัย บางคนร่างกายอาจตอบสนองต่ออาหารหรือเชื้อบางอย่างแตกต่างกัน จึงอาจทำให้บางคนรับประทานอาหารแล้วมีอาการท้องเสีย แต่ในบางรายอาจไม่มีอาการ สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการถ่ายเหลวเกิดจากปัจจัยดังนี้
- การติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินทางอาหารซึ่งอาจปนเปื้อนมากับแหล่งน้ำหรืออาหาร ซึ่งอาจทำให้ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ หรือถ่ายเป็นมูกเลือดได้
- อาหารเป็นพิษจากสารพิษที่เชื้อแบคทีเรียสร้างขึ้น (ฺBacterial toxin induced -food poisoning) โดยมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมกับมีถ่ายเหลวเป็นน้ำ เกิดจากการรับประทานอาหารค้างคืนหรือทิ้งไว้นาน
- ท้องเสียจากการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโรต้า (Rotavirus), ไวรัสอะดีโน (Adenovirus)
- การติดเชื้อจากเชื้อจุลินทรีย์ อื่นๆ เช่น พยาธิ หรือ โปรโตซัว เป็นต้น
- แพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance)
- โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease)
- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือ มะเร็งตับอ่อน ผู้ป่วยมักจะมีถ่ายเหลวช่วงที่ทานอาหารมัน และอุจจาระอาจมีมันลอยร่วมด้วยได้ เนื่องจากมีการดูดซึมของไขมันที่ผิดปกติ
- การใช้ยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการท้องเสีย
- ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคทางเดินอาหาร ความเครียด และความวิตกกังวล เป็นต้น
ท้องเสีย อาการเป็นอย่างไร
เมื่อท้องเสีย อาการโดยทั่วไปที่อาจพบได้ มีดังนี้
- ปวดท้อง ปวดบิด หรือปวดเกร็งท้อง
- ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ หรือเป็นน้ำปนเนื้อ
- ถ่ายบ่อย ถ่ายอุจจาระไม่สุด
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- มีไข้
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ถ่ายเป็นเลือด หรือ ถ่ายเป็นมูกปนออกมากับอุจจาระ
อุจจาระของผู้ที่ท้องเสีย มีลักษณะเป็นอย่างไร
- อุจจาระเป็นมูกเลือด เนื่องจากการติดเชื้อ หรือการอักเสบ ซึ่งทำลายเยื่อบุผิวลำไส้ ทำให้ผิวลำไส้หลุดลอกออกมาเป็นแผ่นเมือกสีขาวคล้ายมูกปะปนกับเลือดได้ บางครั้งอาจมีอาการปวดบิดท้อง ปวดหน่วงก้น รู้สึกถ่ายไม่สุด หรือ มีไข้ร่วมด้วยได้ โดนส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- อุจจาระเหลวเป็นน้ำ อาจมีสีเหลือง สีเขียวอ่อน หรือลักษณะคล้ายน้ำซาวข้าวและมีกลิ่นเหม็นคาวได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยมักมีอาการของอาการขาดน้ำร่วมด้วย
ภาวะแทรกซ้อนจากอาการท้องเสียมีอะไรบ้าง
- ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) คือภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป อาการอาจไม่รุนแรง มีอาการคอแห้ง เวียนศีรษะ หรืออ่อนเพลีย จนถึงอาการขาดน้ำขั้นรุนแรงมากอาจ มีอาการซึม กระสับกระสาย ปัสสาวะออกน้อย จนถึงมีอาการช็อก ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต
- ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด อาจทำให้เกิดอาการไข้สูง หนาวสั่น และอาจช็อก ถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร่งด่วน
- ไตทำงานผิดปกติเนื่องจากการสูญเสียน้ำและเกลือมากอย่างมาก
- การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด อาจทำให้มีการติดเชื้อรุนแรง เกิดเม็ดเลือดแดงแตก เกร็ดเลือดต่ำ และเกิดไตวายเฉียบพลันได้
อาการท้องเสียแบบใดที่ควรรีบไปพบแพทย์
ท้องเสียกี่ครั้งควรไปหาหมอ? โดยส่วนใหญ่อาการท้องเสียเฉียบพลันชนิดไม่รุนแรง อาการท้องเสียดังกล่าวสามารถหายเองได้ ประมาณ 1-2 วันจะสังเกตได้ว่าความถี่ในการถ่ายจะค่อย ๆ ห่างกันมากขึ้น จนกลับมาถ่ายปกติ แต่หากมีอาการปวดท้อง ปวดบิดรุนแรง ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำปริมาณมาก ท้องเสียติดต่อกัน 3 วัน มีไข้สูง 38.5 องซาเซลเซียสขึ้นไป ถ่ายเหลวมีเลือดปน หรือมีอาการของการขาดน้ำ รู้สึกอ่อนเพลีย ทานไม่ได้ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุ หรือกลุ่มผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยด่วน เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจเสี่ยงต่ออาการช็อกและอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ง่าย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องรอให้อาการรุนแรงถึง 3 วัน หากสังเกตว่าอาการท้องเสีย ความถี่ในการถ่ายมากเกินไปตั้งแต่วันแรก หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย สามารถปรึกษาแพทย์ได้ทันที
ปรึกษาการรักษาท้องเสียกับแพทย์ที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง ส่งสินค้าถึงมือ
การวินิจฉัยอาการท้องเสีย
สำหรับการวินิจฉัยอาการท้องเสียนั้นแพทย์จะซักประวัติและสอบถามอาการผู้ป่วยเบื้องต้น เช่น ท้องเสียมาแล้วกี่วัน มีอาการปวดท้อง เป็นไข้ อาเจียน ร่วมด้วยหรือไม่ รวมถึงอาหารที่รับประทานเข้าไป หลังจากนั้น จึงให้การรักษา การส่งตรวจตัวอย่างอุจจาระและตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจดูการติดเชื้อ อาจทำในร้ายที่มีอาการปวดบิดท้องรุนแรง มีท้องเสียรุนแรง หรือมีท้องเสียมากกว่า 7 วันเพื่อหาเชื้อที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียรวมถึงการตรวจหาอาการแทรกซ้อน
การรักษาอาการท้องเสีย
การรักษาท้องเสียขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการท้องเสีย เช่น ท้องเสียจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้ออื่น ๆ การรักษาท้องเสียสามารถทำได้โดยการรับประทานยาตามแพทย์สั่งและดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย ในกรณีที่ท้องเสียไม่รุนแรงผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เน้นรับประทานอาหารอ่อน ปรุงสุก ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ รวมถึงการดื่มน้ำเกรือแร่เพื่อป้องกันการขาดน้ำและแร่ธาตุ การรักษาอาการท้องเสียนั้นผู้ป่วยไม่ควรหาซื้อยามารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
ยาที่ควรรับประทานเมื่อมีอาการท้องเสีย
ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
ท้องเสียกินยาอะไร ท้องเสียกินอะไรหาย ยาท้องเสียโดยทั่วไปที่ใช้ในการรักษาอาการท้องเสีย เช่น
- ยาคาร์บอน (Activated Carbon) เป็นยาที่ใช้เพื่อดูดซับสารพิษเพื่อบรรเทาอาการท้องเสีย ตัวยาไม่ได้มีผลในการฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย และไม่สามารถใช้เป็นยาหยุดถ่ายได้
- เกลือแร่ ORS
- ยาแก้ปวดท้อง
- ยาช่วยหยุดถ่าย สามารถทานได้ในผู้ที่มีถ่ายเหลวเป็นน้ำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง
- ยาฆ่าเชื้อท้องเสีย หรือยาปฏิชีวนะ ควร ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง
ปรึกษาการใช้ยาแก้ท้องเสีย ยาฆ่าเชื้อท้องเสีย กับเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวันถึงเที่ยงคืน ไม่มีค่าปรึกษา พร้อมจัดส่งสินค้าถึงมือ
เมื่อมีอาการท้องเสียดูแลตนเองอย่างไร
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
- รับประทานอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด
- จิบน้ำบ่อย ๆ โดยเฉพาะน้ำเกลือแร่ ORS เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่
- เลี่ยงอาหารรสจัด อาหารหมักดอง และอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก
- ไม่ควรรับประทานผัก ผลไม้ นม และแอลกอฮอล์
วิธีป้องกันอาการท้องเสีย
- ล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์ก่อนรับประทานอาหาร และใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานข้าวกับผู้อื่นทุกครั้ง
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และปรุงสุกใหม่
- ไม่รับประทานอาหารที่ทิ้งไว้นาน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า หอยดอง กุ้งดอง ผักดอง
- ดื่มน้ำสะอาดหรืออาจนำไปต้มก่อนดื่มหากไม่มั่นใจในความสะอาดของแหล่งน้ำ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับท้องเสีย
1. ท้องเสียกินอะไรได้บ้าง
อาหารคนท้องเสีย หรืออาหารแก้ท้องเสียที่ควรรับประทานคืออาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ที่ปรุงสุก สะอาด และควรจิบน้ำหรือน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ระหว่างวันเพื่อป้องกันการขาดน้ำ
2. อาหารที่ห้ามรับประทานเมื่อมีอาการท้องเสีย
ท้องเสียห้ามกินอะไร ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียไม่ควรรับประทานอาหารหมักดอง อาหารรสจัด อาหารดิบที่ไม่ผ่านการปรุงสุก รวมถึงนม ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3. ท้องเสียกับอาหารเป็นพิษต่างกันอย่างไร
ท้องเสียอาจเกิดจากอาหารเป็นพิษได้ ซึ่งอาหารเป็นพิษนั้นเกิดจากสารพิษที่เชื้อแบคทีเรียสร้างขึ้น (ฺBacterial toxin induced -food poisoning) ผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมกับมีถ่ายเหลวเป็นน้ำ เกิดจากการรับประทานอาหารค้างคืนหรือทิ้งไว้นาน
สรุปท้องเสียรุนแรงอาจถึงขั้นช็อคได้ รีบปรึกษาแพทย์
อาการท้องเสียทำให้ร่างกายเราขาดน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ โดยหากมีอาการท้องเสียที่รุนแรง อาจมีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้งผิวแห้ง อ่อนเพลีย รวมถึงปัสสาวะออกน้อยร่วมด้วยได้ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าร่างกายช็อกเป็นอันตรายถึงชีวิต เมื่อมีอาการท้องเสียอย่าปล่อยให้อาการรุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์เมื่อเริ่มมีอาการทันที
ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน พร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
นพ. อรรถวิทย์ พานิชกุล
แพทย์ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
- DuPont, H. L. (1997). Guidelines on acute infectious diarrhea in adults. American Journal of Gastroenterology (Springer Nature), 92(11).
- Manatsathit, S., Dupont, H. L., Farthing, M., Kositchaiwat, C., Leelakusolvong, S., Ramakrishna, B. S., … & Surangsrirat, S. (2002). Guideline for the management of acute diarrhea in adults. Journal of Gastroenterology and Hepatology, 17, S54-S71.
- Guerrant, R. L., Van Gilder, T., Steiner, T. S., Thielman, N. M., Slutsker, L., Tauxe, R. V., … & Pickering, L. K. (2001). Practice guidelines for the management of infectious diarrhea. Clinical infectious diseases, 32(3), 331-351.
- Riddle, M. S., DuPont, H. L., & Connor, B. A. (2016). ACG clinical guideline: diagnosis, treatment, and prevention of acute diarrheal infections in adults. Official journal of the American College of Gastroenterology| ACG, 111(5), 602-622.