ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง Key Takeaway ท้องเสียเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้ออื่น ๆ เมื่อท้องเสียจนทำให้
ค่าความดันโลหิตและวิธีเลือกซื้อเครื่องวัดความดันให้คุ้มค่า
ค่าความดันโลหิตเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยบ่งบอกถึงสุขภาพของเราอย่างหนึ่ง หากปล่อยให้ความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ การวินิจฉัยและติดตามอาการ อย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมค่าความดันโลหิตให้อยู่ในเป้าหมาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อน และลดโอกาสการเสียชีวิตได้ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับค่าความดันโลหิต และวิธีวัดความดันโลหิตที่บ้านอย่างถูกต้องกัน
ค่าความดัน คืออะไร
ค่าความดันตัวบน (Systolic Blood Pressure; SBP)
ค่าความดันตัวบน หรือค่า SYS คือค่าความดันโลหิตที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจบีบตัว โดยปกติจะเป็นค่าแรกที่แสดงจากการวัดความดันโลหิต ค่าปกติจะอยู่ที่ไม่เกิน 120 มิลลิเมตรปรอท
ค่าความดันตัวล่าง (Diastolic Blood Pressure; DBP)
ค่าความดันตัวล่าง หรือค่า DIA คือค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว โดยปกติค่าความดันตัวล่างจะปรากฎเป็นค่าที่สองบนหน้าจอของเครื่องวัด โดยค่าปกติจะไม่เกิน 80 มิลลิเมตรปรอท
ชีพจร (Pulse)
ชีพจร คือ อัตราการเต้นของหัวใจที่จับได้จากการเคลื่อนไหวของหลอดเลือดขณะที่หัวใจบีบตัวส่งเลือดออกมา ซึ่งชีพจรจะมีค่าเท่ากับจำนวนครั้งที่หัวใจบีบตัวในแต่ละนาที โดยปกติชีพจรจะเป็นค่าที่ได้มาจากการวัดความดันโลหิตพร้อมกัน และมักจะแสดงเป็นตัวที่สามในหน้าจอของเครื่องวัดความดันแบบดิจิทัล ค่าชีพจรปกติจะอยู่ในช่วง 60-100 ครั้งต่อนาที
ปัจจัยที่มีผลต่อความดัน
ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อค่าความดันโลหิต เช่น
- อายุ ส่วนใหญ่ค่าความดันโลหิตจะสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจากหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง
- เพศ พบว่าผู้ชายมักเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง
- กิจกรรมในแต่ละวัน เมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ในระหว่างวันหรือมีการออกแรง จะทำให้ค่าความดันโลหิตสูงขึ้น
- เวลาในการวัดค่าความดัน เนื่องจากกิจกรรมที่ทำในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกัน ช่วงกลางวันร่างกายจะมีความดันโลหิตสูงขึ้น และจะลดต่ำสุดในช่วงที่นอนหลับ
- ความเครียด เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรินาลีน (Adrenaline) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เลือดสูบฉีดมากขึ้น ส่งผลให้ค่าความดันโลหิตสูงขึ้น
- อาหาร การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารรสเค็ม อาหารแปรรูป อาหารหมักดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จะทำให้ร่างกายดูดน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงตามมาได้
- พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง จะมีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป
- ยา ยาหลายชนิดมีผลต่อค่าความดันโลหิตในร่างกาย ตัวอย่างกลุ่มยาที่อาจทำให้ค่าความดันโลหิตสูงขึ้น เช่น ยาแก้คัดจมูก ฮอร์โมนเพศและยาคุมกำเหนิด ยาสเตียรอยด์ ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาต้านซึมเศร้า ยาจิตเวช ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
วิธีวัดความดันด้วยตนเอง
การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านทำได้ง่าย ๆ โดยการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบพกพาที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน วัดบริเวณต้นแขน ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องวัดบริเวณข้อมือ ยกเว้นกรณีที่การวัดที่ต้นแขนทำได้ยาก เช่น ผู้ป่วยที่อ้วนมาก เป็นต้น การวัดความดันโลหิตที่บ้าน มีส่วนช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยหาผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่บ้าน ช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น
ขั้นตอนการวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง มีดังนี้
- ควรเลือกใช้ arm cuff หรือแถบวัดขนาดที่เหมาะสมกับขนาดแขน คือ ส่วนที่เป็นถุงลมควรจะครอบคลุมรอบได้ประมาณร้อยละ 80 ของเส้นรอบแขน
- เตรียมเครื่องวัดความดัน ตรวจสอบว่าเครื่องทำงานปกติหรือไม่
- นั่งพักบนเก้าอี้ในห้องที่เงียบสงบอย่างน้อย 5 นาที โดยนั่งหลังพิงพนัก เพื่อไม่ให้เกร็งหลัง เท้า 2 ข้างวางราบกับพื้น ห้ามนั่งไขว่ห้าง
- ไม่พูดคุยทั้งก่อนหน้าและขณะวัดความดันโลหิต
- วางแขนข้างที่จะใช้วัดความดันบนโต๊ะโดยให้บริเวณที่จะพันแถบวัดอยู่ระดับเดียวกับระดับหัวใจ
- ไม่เกร็งแขนหรือกำมือในขณะวัดความดัน
- ในแต่ละครั้งที่ทำการวัด ควรวัดซ้ำอีกครั้งห่างกัน 1 นาที
- ควรจดบันทึกค่าความดันโลหิตไว้ เพื่อเป็นข้อมูลในปรึกษากับบุคลากรทางการแพทย์
ผลค่าความดัน
ค่าความดันปกติของแต่ละช่วงอายุ
- เด็กอายุน้อยกว่า 13 ปี ค่าความดันโลหิตไม่ควรเกิน120/80 มิลลิเมตรปรอท หรือไม่เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ไทล์ เมื่อเทียบกับเด็กที่อายุ เพศ และส่วนสูงใกล้เคียงกัน
- เด็กอายุ 13-17 ปี ค่าความดันโลหิตไม่ควรเกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท
- ผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป ค่าความดันโลหิตไม่ควรเกิน 130/85 มิลลิเมตรปรอท
ความดันโลหิตสูง
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงอาการ แต่อาการที่อาจพบได้ เช่น เวียนศีรษะ ปวดศีรษะตุบ ๆ คล้ายไมเกรน อ่อนเพลีย ใจสั่น เจ็บหน้าอก นอนไม่หลับ เหนื่อยง่าย ตาพร่า เป็นต้น
เมื่อวัดค่าความดันโลหิตแล้วพบว่ามีค่าสูงกว่าค่าปกติ ควรนั่งพักและวัดซ้ำอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าค่าความดันผิดปกติจริง ไม่ได้เกิดจากความเหนื่อยหรือตื่นเต้น หากวัดซ้ำแล้วยังพบว่าผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ ตามแนวทางของสมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 แนะนำแนวทางการจัดการกับภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่ดังนี้
- เริ่มปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต (lifestyle modification) ในผู้ใหญ่ที่มีความดันโลหิตเข้าเกณฑ์เกือบสูง (high normal blood pressure) คือ ความดันตัวบนมีค่าตั้งแต่ 130 มิลลิเมตรปรอท หรือ ความดันตัวล่างมีค่าตั้งแต่ 85 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป
- ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเริ่มยาลดความดันโลหิตเมื่อความดันตัวบนมีค่าตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอท หรือ ความดันตัวล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป หรือมีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
ส่วนในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ให้ปรึกษาแพทย์เมื่อพบว่าค่าความดันโลหิตสูงกว่าค่าปกติเพื่อพิจารณาหาสาเหตุและหาแนวทางจัดการต่อไป
ใช้เครื่องวัดความดันแบบไหนดี
เครื่องวัดความดันโลหิตขนิดพกพา ช่วยให้การวัดความดันโลหิตที่บ้านเป็นไปได้อย่างสะดวก ในปัจจุบันเครื่องวัดความดันเหล่านี้จะพัฒนาให้มีการจดจำค่าที่วัดได้ ทำให้สามารถเปรียบเทียบค่าที่วัดกับครั้งก่อนได้ และสะดวกในการจดบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์
โดยปกติค่าที่วัดได้จากเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดพกพาจะต่ำกว่าค่าที่วัดจากเครื่องวัดความดันในสถานพยาบาลประมาณ 5 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้นหากพบว่าค่าความดันโลหิตที่วัดที่บ้านสูงกว่าค่าปกติ ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อทำการประเมินซ้ำ และวางแผนการจัดการความดันโลหิตได้อย่างเหมาะสม
การเลือกเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดพกพา นอกจากจะพิจารณาจากคุณสมบัติของตัวเครื่องแล้ว ยังต้องเลือกขนาดแถบวัด หรือ arm culf ให้เหมาะสมกับขนาดแขนของผู้ใช้งานด้วย
เครื่องวัดค่าความดันที่ครอบคลุมทุกฟังก์ชันการใช้งาน สามารถเชื่อมต่อกับมือถือ เพื่อดูผลการวัด ประเมินค่าความดัน และเก็บบันทึกประวัติเพื่อดูย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน ALLWELL Health App แอปพลิเคชันสุขภาพที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สุขภาพของ ALLWELL ได้อย่างหลากหลาย เช่น เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดระดับน้ำตาล ฯลฯ สะดวกกับการไปพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษา (Follow up) โดยไม่ต้องเสียเวลาจดบันทึก ไม่เสี่ยงข้อมูลสูญหาย และยังเหมาะกับคนที่ต้องการตรวจเช็กและดูแลสุขภาพอีกด้วย
จำหน่ายโดยแบรนด์ ALLWELL บริษัทเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับรางวัลการันตีคุณภาพและบริการ เช่น รางวัลสุดยอด SME แห่งชาติยอดเยี่ยม, รางวัลสุดยอดSME แห่งชาติ 3 ปีซ้อน, ผ่านมาตรฐาน ISO 9001 ฯลฯ โดยมีประสบการณ์การทำงานกับโรงพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศกว่า 26 ปี
รายละเอียดสินค้า
- เชื่อมต่อบลูทูธกับมือถือ เพื่อดูและประเมินผล พร้อมบันทึกค่าเพื่อดูย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน ALLWELL Health App ใช้งานได้ทั้ง IOS และ Android
- มาพร้อมระบบเสียงภาษาไทย บอกวิธีการใช้งานและอ่านค่าความดันที่วัดได้ เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสายตาและการมองเห็น (เปิด-ปิดเสียงได้)
- มีสัญลักษณ์แจ้งเตือน เมื่อตรวจพบหัวใจเต้นผิดปกติ
- หน้าจอ LCD ขนาดใหญ่อ่านค่าง่าย ด้านข้างจอมีแถบสีบ่งชี้ระดับความดันโลหิต อ้างอิงตามองค์การอนามัยโลก (WHO)
- ตัวเครื่องสามารถบันทึกค่าได้ 2 คน (คนละ 99 ค่า) และสามารถดูค่าเฉลี่ย 3 ค่าล่าสุดได้
- อุปกรณ์ครบชุดพร้อมตรวจ แถมฟรีกระเป๋าสำหรับพกพา
เครื่องวัดความดันโลหิตดิจิทัล Yuwell YE660F
ช่วยเฝ้าระวังปัญหาด้านสุขภาพได้อย่างแม่นยำ ใช้งานง่าย มาพร้อมความสามารถที่ครบถ้วนสำหรับเครื่องวัดความดันโลหิต สามารถแสดงวันที่ เวลา กํากับการวัดแต่ละครั้งได้ โดยใช้วิธีการวัดความดันแบบ Oscillation Measurement แสดงค่าความดันได้ในหน่วย kPa (กิโลปาสกาล) และ mmHg (มิลลิเมตรปรอท) วัดค่าความดันโลหิตได้ในช่วง 0 – 300 mmHg โดยมีค่าความแม่นยำของการวัดค่าความดันโลหิตอยู่ในช่วง ±3 mmHg (±0.4 kPa) และยังสามารถวัดค่าอัตราการเต้นของหัวใจได้ในช่วงระหว่าง 40 – 200 ครั้งนาที (ความแม่นยำอยู่ในช่วง ±5%)
รายละเอียด
- ขนาดตัวเครื่อง : 135 x 98 x 72 มิลลิเมตร
- ขนาดสายพันต้นแขน : 22 – 45 เซนติเมตร
- วิธีการวัด : Oscillation Measurement
- วัดค่าความดันโลหิตได้ในช่วง : 0 – 300 mmHg (มิลลิเมตรปรอท)
- ความแม่นยําของความดันโลหิตอยู่ในช่วง : ±3 mmHg
- ความแม่นยําของความดันโลหิตอยู่ในช่วง : ±0.4 kPa (กิโลปาสกาล)
- วัดค่าอัตราการเต้นของหัวใจได้ในช่วง : 40 – 200 ครั้งนาที
- ความแม่นยําของอัตราการเต้นหัวใจอยู่ในช่วง : ±5%
- อุณหภูมิที่เหมาะสมในการใช้งาน : ±5℃ ⁓ ±40℃
- ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมในการใช้งาน : 15% – 90%
Microlife เครื่องวัดความดันโลหิต รุ่น B1 Classic
รายละเอียดสินค้า
- เครื่องวัดความดันไมโครไลฟ์ รุ่น B1 คลาสสิก มาพร้อมกับเทคโนโลยี PAD ตรวจจับชีพจรพร้อมกับตรวจวัดการเต้นของหัวใจผิดปกติ และผ่านการทดสอบทางการแพทย์ในระดับสากล ได้แก่ ESH, BHS, และ AAMI
- เทคโนโลยี Gentle+ ช่วยเพิ่มความอ่อนโยน ลดความเจ็บ และเพิ่มความแม่นยำขณะทำการวัด
- เครื่องวัดความดันไมโครไลฟ์เตือนท่านพบแพทย์ได้ ด้วยเทคโนโลยี PAD ซึ่งเป็นสิทธิบัตรเฉพาะไมโครไลฟ์ที่สามารถตรวจจับชีพจรพร้อมกับตรวจวัดการเต้นของหัวใจผิดปกติ (Pulse Arrhythmia)
- แถบสีบอกระดับความความเสี่ยงของค่าความดันโลหิตสูง (Hypertension Risk Indicator) เพื่อให้ท่านทราบถึงระดับความเสี่ยงของค่าความดันโลหิตได้โดยง่าย
- เครื่องวัดความดันไมโครไลฟ์เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการตรวจวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ หรือโรค ปลอกแขน 2 in 1 แขนเล็กแขนใหญ่ก็ใช้ได้ ด้วยปลอกแขน ไซส์ M-L ขนาด 22-42 ซม. ใช้ได้กับทุกคนในครอบครัว
- ปลอกแขนไมโครไลฟ์ (Microlife Cuff) ผ่านการทดสอบทางการแพทย์ (Clinically Test) ว่าสามารถให้ค่าที่ถูกต้องในการทำการวัด
- สามารถเก็บค่าความดันล่าสุดที่ทำการวัดได้ 30 ค่า และสามารถกดปุ่ม M เพื่อดูค่าความดันย้อนหลังได้ทุกค่า พร้อมทั้งแสดงวันที่และเวลาขณะบันทึกค่า
- แสดงผลอย่างชัดเจนบนหน้าจอขนาดใหญ่ พร้อมค่าตัวเลข 3 ค่าหลัก ทั้ง Systolic Diastolic และ Pulse
- น้ำหนัก: 0.4 kg.
Microlife เครื่องวัดความดันโลหิต รุ่น B3 AFIB Advance
เครื่องวัดความดันโลหิต มีเทคโนโลยี่ตรวจคัดกรองภาวะการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ (AFIB) ปลอกแขนใหญ่ สามารถใช้งานกับวงรอบ แขน ขนาดเล็กสุดที่ 22 ซม. ถึง ใหญ่สุดที่ 42 ซม. ทำงานด้วยระบบควบคุมแรงดัน Gentle plus รู้สึกสบายไม่เจ็บ
OMRON เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติรุ่น HEM-7121
เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติรุ่น HEM-7121 มาตรฐาน
คุณสมบัติ
- สัญลักษณ์แสดงเมื่อพันผ้าถูกต้อง
- สัญลักษณ์แสดงการเคลื่อนไหวขณะวัดความดันโลหิต
- สัญลักษณ์บ่งชี้ความดันโลหิตสูงเกินมาตรฐาน (เกิน 135/85 mmHg)
- สัญลักษณ์แสดงการเต้นผิดปกติของหัวใจ
- INTELLISENSE TECHNOLOGY
- เก็บค่าวัด 30 ครั้งในหน่วยความจำ
สรุปเรื่องค่าความดันโลหิต
ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่อาจนำไปสู่ความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจขาดเลือด หัวใจโดสมองขาดเลือด เส้นเลือดในสมองแตก ไตวาย การมองเห็นผิดปกติ และอาจคร่าชีวิตเราได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการวัดค่าความดันโลหิตอยู่สม่ำเสมอ จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับภัยเงียบนี้ได้อย่างทันท่วงที
ปรึกษาเรื่องความดันโลหิตกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือพูดคุยเรื่องยาลดความดันโลหิตกับเภสัชกรจาก BDMS บนแอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ไม่ต้องเดินทาง
สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
ปรึกษาเรื่องวิธีการวัดความดันโลหิตกับพยาบาล ไม่มีค่าใช้จ่าย!
1.สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562.
2.Understanding Blood Pressure Readings. Available at URL:
https://www.heart.org/en/health-topics/high-blood-pressure/understanding-blood-pressure-readings. Accessed on 27 Aug 2023.
3.Monitoring Your Blood Pressure at Home. Available at URL
https://www.heart.org/en/health-topics/high-blood-pressure/understanding-blood-pressure-readings/monitoring-your-blood-pressure-at-home. Accessed on 27 Aug 2023.
4.Clinical Practice Guideline for Screening and Management of High Blood Pressure in Children and Adolescents. Available at URL:
https://publications.aap.org/pediatrics/article/140/3/e20171904/38358/Clinical-Practice-Guideline-for-Screening-and. Accessed on 27 Aug 2023