หูอื้อ

Key Highlight 

 

  • อาการหูอื้อที่ควรรีบปรึกษาหมอ เช่น หูอื้อบ่อย หูอื้อหลายวัน มีอาการหูอื้อตลอดเวลา ปวดหู หูอื้อข้างเดียว บ้านหมุน เวียนศีรษะ
  • อาการหูอื้อทั่วไป เช่น หูอื้อจากน้ำเข้าหู หูอื้อจากการขึ้นเครื่องบิน อาการหูอื้อเหล่านี้อาจเกิดขึ้นและหายไปภายในไม่กี่นาที หรือภายใน 1-2 วัน แต่หากอาการหูอื้อนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและโรคอื่น ๆ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
สารบัญบทความ

รู้จักกับอาการหูอื้อ 

หูอื้อ (Blocked Ears) คือ อาการที่หูของเราได้ยินเสียงน้อยลง รู้สึกเหมือนมีอะไรมาขวางกั้นหรืออุดภายในหูจนทำให้เราได้ยินเสียงอื้ออึง เสียงหวีด ได้ยินเสียงภายนอกไม่ชัดเจนเหมือนปกติ บางคนอาจมีเสียงรบกวนภายในหูร่วมด้วย ทั้งนี้อาการหูอื้อเกิดได้จากหลายสาเหตุ

 

ปรึกษาอาการหูอื้อกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง

หูอื้อเกิดจากอะไร

สาเหตุหูอื้อ

โดยทั่วไปแล้วเราสามารถแบ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูอื้อออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

หูอื้อที่เกิดจากปัจจัยภายนอกร่างกาย

หูอื้อเป็นเพราะอะไร? จริง ๆ แล้วอาการหูอื้อที่เกิดจากปัจจัยภายนอกนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น อยู่ในพื้นที่เสียงดัง คอนเสิร์ต ได้ยินเสียงพลุ เสียงระเบิด เสียงประทัด ความดันหูเปลี่ยนแปลงกระทันหันเนื่องจากการขึ้นเครื่องบินหรือดำน้ำ มีน้ำคั่งอยู่ในหู ขี้หูอุดตัน เป็นต้น

หูอื้อที่เกิดจากปัจจัยภายในร่างกาย

หูอื้อที่เกิดจากปัจจัยภายในร่างกาย เช่น เป็นหวัดหูอื้อจากการติดเชื้อไข้หวัด ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด ความเครียด การบาดเจ็บบริเวณใบหูหรือศีรษะ ประสาทหูเสื่อม โรคบ้านหมุน โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือโรคหูตึงในผู้สูงอายุเป็นต้น

หูอื้อ อาการเป็นอย่างไร

อาการหูอื้อของแต่ละคนอาจต่างกันไปขึ้ยอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของอาการหูอื้อด้วย แต่โดยรวมแล้วหูอื้ออาการทั่วไปที่พบได้มีดังนี้

  • ได้ยินเสียงภายนอกลดลง
  • มีอาการหูอื้อเหมือนน้ําเข้าหู
  • รู้สึกเหมือนมีอะไรมาอุดรูหู
  • ได้ยินเสียงหึ่ง ๆ เสียงพึมพำ
  • ได้ยินเสียงคลิก หรือเสียงคำราม

 

BeDee Tips: ไซนัสอักเสบ มีอาการอย่างไร เกี่ยวข้องกับอาการหูอื้อหรือไม่ อ่านเลย

อาการหูอื้อแบบใดที่ควรไปพบแพทย์

บางคนมีอาการหูอื้อข้างเดียว หูอื้อไม่หาย แล้วเมื่อไหร่ที่เราควรพบแพทย์ สำหรับอาการหูอื้อที่ควรสังเกตและรีบพบแพทย์ เช่น 

  • หูอื้อบ่อย
  • การได้ยินแย่ลง หรือได้ยินไม่เท่ากัน
  • หูอื้อหลายวัน
  • มีอาการหูอื้อตลอดเวลา
  • ปวดหู หูอื้อ ข้างเดียว
  • บ้านหมุน
  • ปวดหัว เวียนศีรษะ

การตรวจวินิจฉัยหูอื้อ 

สำหรับวิธีการตรวจวินิจฉัยอาการหูอื้อนั้น เบื้องต้นแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ เช่น มีอาการหูอื้อมานานขนาดไหน อาการหูอื้อเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือเป็นฉับพลัน มีประวัตินั่งเครื่องบินหรือไม่ มีน้ำเข้าหูหรือปั่นหู มีอาการหวัดนำมาก่อนหรือไม่ อยู่ในที่เสียงดัง ฯลฯ แล้วจึงตรวจร่างกาย ตรวจการได้ยินเพื่อประเมินการได้ยินและความเสียหายภายในชั้นหูและทำการรักษาต่อไป ทั้งนี้แพทย์อาจมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละบุคคล

วิธีการรักษาหูอื้อ

หูอื้อ แก้ยังไง

การรักษาอาการหูอื้อโดยปกติแล้วขึ้นอยู่กับสาเหตุว่าอาการหูอื้อเกิดจากอะไร เช่น ถ้าหูอื้อจากขี้หูอุดตัน การทำความสะอาดช่องหูก็จะแก้ปัญหาได้ แต่ถ้าหูอื้อจากหวัด ก็จะรักษาตามอาการ แต่ถ้าเป็นอาการหูดับ อาจใช้ยาสเตียรอยด์ซึ่งมีทั้งชนิดทานและแบบฉีดเข้าหูชั้นกลาง

 

อย่างไรก็ตามวิธีการรักษาหูอื้อนั้นขึ้นอยู่กับว่าอาการหูอื้อเกิดจากอะไรและความรุนแรงของแต่ละบุคคลด้วย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยและรักษาให้เหมาะสม

 

อาการหูอื้อเกิดจากอะไร ปรึกษาวิธีรักษาหูอื้อกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง

วิธีการป้องกันหูอื้อ 

  • หากจำเป็นต้องขึ้นเครื่องบินวิธีแก้หูอื้อคือให้กลืนน้ำลายหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง
  • หากจำเป็นต้องอยู่หรือทำงานในพื้นที่เสียงดังควรใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง 
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่เนื่องจากนิโคตินอาจส่งผลต่อการทำงานของเส้นประสาทและทำให้หูอื้อได้
  • ลดเครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม โกโก้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ซาลิไซเลต และยาควินิน
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อไม่ให้เป็นไข้หวัด เนื่องจากอาจทำให้ติดเชื้อทางเดินหายใจและทำให้หูอื้อได้
  • พยายามไม่เครียด ไม่วิตกกังวล
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอหรือ 150 นาที / สัปดาห์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับหูอื้อ

1. หูอื้อข้างเดียวอันตรายไหม?

อาการหูอื้อจะอันตรายหรือไม่นั้นจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุ อาการ และความรุนแรงของอาการหูอื้อแพทย์จึงจะประเมินได้ว่าอาการหูอื้อข้างเดียวที่เกิดขึ้นนั้นอันตรายหรือไม่

2. หูอื้อกี่วันหาย?

อาการหูอื้อทั่วไปที่ไม่อันตราย เช่น หูอื้อจากน้ำเข้าหู หูอื้อจากการขึ้นเครื่องบิน อาการหูอื้อเหล่านี้อาจเกิดขึ้นและหายไปภายในไม่กี่นาที หรือภายใน 1-2 วัน แต่หากอาการหูอื้อนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและโรคอื่น ๆ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม

3. ทำไมขึ้นเครื่องบินแล้วหูอื้อ?

อาการหูอื้อเมื่อขึ้นเครื่องบินนั้นเกิดจากการที่หูชั้นกลางไม่สามารถปรับความดันได้เท่ากับชั้นบรรยากาศภายนอก อาการหูอื้อจะส่งผลกระทบมากขึ้นกับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ เป็นหวัด หรือไซนัสอักเสบ

 

สอบถามปัญหาหูอื้ออื่น ๆ กับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง

สรุป หูอื้อบ่อย ปวดหู ควรรีบปรึกษาแพทย์

อาการหูอื้อสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันและยังอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เราอาจไม่ทราบ เช่น มีอาการคัดจมูกข้างเดียวร่วมด้วย มีเลือดกำเดาหรือน้ำมูกไหลข้างเดียว มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโตร่วมด้วย สิ่งเหล่านี้อาจสัมพันธ์กับมะเร็งหลังโพรงจมูก ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

 

เมื่อเกิดอาการหูอื้อไม่ควรซื้อยาเพื่อใช้รักษาเอง ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและจ่ายยาให้ตรงจุด 

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน พร้อมให้คำปรึกษา รอรับยาที่บ้าน จัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

 

Content powered by BeDee Expert

นพ. บุญชัย พิริยกิจกำจร 

แพทย์โสต ศอ นาสิกวิทยา

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Admin. (2023, August 23). Blocked Ears: Causes, treatment guidelines & advice. Neurosensory. https://nsu.com.au/hearing-solutions/blocked-ears/

 

Earwax blockage – Symptoms & causes – Mayo Clinic. (2022, July 12). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/earwax-blockage/symptoms-causes/syc-20353004

 

Golen, T., MD. (2023, April 1). Why do my ears feel clogged? Harvard Health. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/why-do-my-ears-feel-clogged

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Takeaways เบาหวาน คือ ภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่อง เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน ปัจจุบันพบว่ากลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมีอายุที่น้อยลง ต่างจากในอดีตที่มักพบ

Key Takeaway   น้ํามูกสีเขียว คืออาการติดเชื้อในโพรงจมูกที่รุนแรงขึ้น น้ํามูกสีแดงแสดงถึงอาการเส้นเลือดในโพรงจมูกแตกจากการสั่งน้ำมูกแรง ๆ อาการบาดเจ็บบริเวณจมูก โรคภูมิแพ้ หรือโรคหลอดเลือดอื่น ๆ เช่น ริดสีดวงจมูก หรือเนื้องอกภายในโพรงจมูก หากพบว่าเป็