คันช่องคลอด

อาการ “คันช่องคลอด” หรือคันอวัยวะเพศหญิง เป็นปัญหาหนักใจของสาว ๆ หลายคน ด้วยอาการคันน้องสาวที่สร้างความรำคาญในการใช้ชีวิตประจำวัน สร้างความไม่มั่นใจ แต่จะไปหาหมอหรือไปซื้อยาก็เขินอาย ไม่มั่นใจว่าควรกินยาหรือใช้ยาอะไรดี

สารบัญบทความ

อาการคันช่องคลอด

อาการคันช่องคลอด (Vaginal Itching) คืออาการคันอวัยวะเพศหญิงบริเวณช่องคลอด ซึ่งอาการคันช่องคลอดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งภายในและภายนอกช่องคลอด เริ่มตั้งแต่บริเวณเนินหัวหน่าว ขน แคมใหญ่ แคมเล็ก กลีบ บางรายมีอาการคันในช่องคลอด แสบคันช่องคลอด คันรอบช่องคลอด และอาจมีอาการตกขาว ติดเชื้อในช่องคลอด ปัสสาวะแล้วแสบร่วมด้วย 

คันอวัยวะเพศหญิงภายนอก

อาการคันอวัยวะเพศหญิงภายนอกหรือคันนอกช่องคลอดนั้น คืออาการคันบริเวณหัวหน่าว ไรขน คันบริเวณกลีบ แคมเล็ก แคมใหญ่ หรือผิวหนังภายนอกอวัยวะเพศหญิงซึ่งมักเกิดจากการโกนขนบริเวณอวัยวะเพศ ความเครียด การสวมใส่เสื้อผ้าหรือชุดชั้นในที่รัดแน่น การระคายเคืองที่เกิดจากการแพ้น้ำยา สบู่ ผงซักฟอก

คันอวัยวะเพศหญิงภายใน

อาการคันช่องคลอดภายในคืออาการคันในช่องคลอดหรือภายในอวัยวะเพศ มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือติดเชื้ออื่น ๆ ที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ อาการคันในช่องคลอดมักพบร่วมกับตกขาวที่มีลักษณะผิดปกติ เช่น ตกขาวสีเหลือง เป็นก้อนข้น ตกขาวสีเขียว มีกลิ่นเหม็นคาวมาก หรืออาจมีเลือดปะปนออกมาร่วมกับตกขาวได้เช่นกัน ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์เพื่อวิเคราะห์ว่าติดเชื้อประเภทใด

 

ปรึกษาอาการคันช่องคลอดกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่มีค่าจัดส่งยา

คันช่องคลอดเกิดจากอะไร

โดยปกติแล้วภายในช่องคลอดของผู้หญิงนั้นจะมีภาวะสมดุลของเชื้อแบคทีเรียดี หรือ ที่เรียกว่าแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus species) อยู่แล้วเพื่อช่วยปรับสมดุลทำให้เกิดกรดอ่อน ๆ ภายในช่องคลอด ซึ่งเมื่อช่องคลอดขาดสมดุลซึ่งอาจเกิดจากเกิดติดเชื้อต่าง ๆ หรือการสวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นอาจทำให้เกิดตกขาวและเกิดอาการคันตรงช่องคลอดภายใน และในบางรายอาจมีอาการคันอวัยวะเพศหญิงภายนอกหรือคันรอบช่องคลอดได้ ซึ่งอาการคันเหล่านี้มีสาเหตุแตกต่างกัน 

 

สาเหตุของอาการคันช่องคลอดภายใน ได้แก่ 

  1. การติดเชื้อรา แคนดิด้า อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ผู้ป่วยจะมีอาการคันช่องคลอด มีตกขาวสีขาวข้น คล้ายแป้งเปียก ร่วมกับอาการคันในช่องคลอด
  2. การติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยหลายรายมักมีอาการคันอวัยวะเพศหญิงภายในช่องคลอดร่วมกับการมีตกขาวสีเหลือง สีเขียวมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  3. การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ โรคหนองในแท้ หนองในเทียม หูด เริม พยาธิในช่องคลอด โดยอาการคันช่องคลอดนี้อาจเกิดร่วมกับการมีตกขาวได้
สีตกขาว สาเหตุของการคันช่องคลอด

สาเหตุของอาการคันช่องคลอดภายนอก ได้แก่ 

  1. การเสียดสีหรือระคายเคืองจากผ้าอนามัย กางเกงใน หรือน้ำยาซักชุดชั้นใน
  2. การโกนขนอวัยวะเพศ
  3. การสวมใส่เสื้อผ้ารัดแน่น
  4. โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema)
  5. การติดเชื้อราบริเวณขาหนีบ 
  6. โรคเริม (Genital herpes) ผู้ป่วยมักมีอาการแสบคันช่องคลอด
  7. โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  8. โรคมะเร็งปากช่องคลอด (Vulvar cancer) 
  9. วัยทอง เนื่องจากเมื่อร่างกายเข้าสู่ช่วงวัยทองและขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้ผิวหนังและขนบริเวณอวัยวะเพศบางลง ช่องคลอดแห้ง ส่งผลให้เกิดอาการแห้ง ระคายเคืองและคันช่องคลอดได้ง่าย
  10. รับประทานอาหารประเภทหมักดองมากเกินไป

คันช่องคลอดแบบไหนควรรีบพบแพทย์

อาการคันช่องคลอดที่ควรพบแพทย์

อาการคันช่องคลอดไม่ควรปล่อยเอาไว้เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติที่หากปล่อยไว้อาจลุกลามยากต่อการรักษา หากมีอาการเหล่านี้รีบปรึกษาแพทย์ด่วน 

  • ตกขาวผิดปกติ เช่น ตกขาวมีสีเขียว สีเหลือง และมีกลิ่นเหม็นรุนแรงหรือเหม็นคาว
  • คันช่องคลอด คันปากช่องคลอด คันอวัยวะเพศหญิงอย่างรุนแรง ต้องเกาจนผิวหนังเป็นขุย เป็นแผล แสบ หรือทำให้อวัยวะเพศบวมแดง แสบ 
  • ช่องคลอดเป็นแผล
  • เจ็บอวัยวะเพศ
  • เจ็บ ปวด เวลามีเพศสัมพันธ์ 
  • ปัสสาวะติดขัด แสบ มีปัญหาในการปัสสาวะ

ปรึกษาอาการคันช่องคลอดหรือปัญหาสุขภาพสตรีกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่มีค่าจัดส่งยา

ทำอย่างไรเมื่อมีอาการคันช่องคลอด

เมื่อมีอาการคันช่องคลอดควรรีบปรึกษาแพทย์ ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองควบคู่กับการใช้ยารักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและช่องคลอดจากด้านหน้าไปด้านหลังด้วยน้ำเปล่าและซับให้แห้งทุกครั้ง 
  2. ไม่ควรใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นเพราะจะทำให้ผิวหนังแห้งและคันมากขึ้น
  3. ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอด 
  4. ไม่ควรสวนล้างบริเวณช่องคลอด
  5. ไม่ควรเกาบริเวณอวัยวะเพศ
  6. สวมเสื้อผ้าสบาย ๆ ไม่รัดแน่น หรือหนาจนไม่สามารถระบายอากาศได้
  7. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

วิธีรักษาอาการคันช่องคลอด

วิธีรักษาอาการคันอวัยวะเพศหญิงหรืออาการคันช่องคลอดขึ้นอยู่กับอาการและสาเหตุของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเพราะอาจได้รับยาไม่ตรงกับสาเหตุและอาการของโรคควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อการรักษาที่ตรงจุด โดยทั่วไปแล้วแพทย์อาจรักษาอาการคันช่องคลอดด้วยวิธีดังนี้ 

  1. กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการคันช่องคลอดที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  2. กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการคันช่องคลอดที่เกิดจากการติดเชื้อราและมีตกขาวร่วมด้วยรักษาด้วยยาเหน็บ เช่น Clotrimazole
  3. กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคทางเพศสัมพันธ์แพทย์อาจให้ยา เช่น ยาฉีดร่วมกับยารับประทาน
  4. กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการคันช่องคลอดภายนอกแพทย์อาจให้ยาแก้คันอวัยเพศหญิง ภายนอกในรูปแบบยาทา เช่น Clotrimazole cream หรือ Low-strength corticosteroid 
  5. กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการคันช่องคลอดซึ่งเกิดจากการแพ้ หรือภูมิแพ้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยารับประทานแก้แพ้ หรือ Anti-histamine

การป้องกันอาการคันช่องคลอด

คันช่องคลอดป้องกันอย่างไร
  1. ล้างทำความสะอาดช่องคลอดและบริเวณอวัยวะเพศด้วยน้ำเปล่า ไม่จำเป็นต้องใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นเพราะอาจทำให้ช่องคลอดเสียสมดุลได้
  2. หลังอาบน้ำหรือเข้าห้องน้ำควรซับบริเวณอวัยวะเพศให้แห้งอยู่เสมอ ควรใช้กระดาษทิชชูซับจากด้านหน้าไปด้านหลังและไม่ควรเช็ดย้อนกลับเพราะอาจทำให้สิ่งสกปรกจากก้นเข้าสู่บริเวณช่องคลอดได้
  3. ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด
  4. ไม่สวมเสื้อผ้ารัดแน่น ควรสวมใส่เสื้อผ้าสบาย ๆ ระบายอากาศได้ดีเพื่อไม่ให้เกิดการอับชื้น
  5. เมื่อมีประจำเดือนควรเปลี่ยนผ้าอนามัยหรือแผ่นอนามัยทุก 4 ชั่วโมงหรือเร็วกว่านั้นหากประจำเดือนมามาก 
  6. ใช้การเล็มขนบริเวณหัวหน่าวแทนการโกนหรือแว๊กซ์เพื่อลดอาการคัน ไม่ควรกำจัดขนบริเวณอวัยวะเพศออกทั้งหมดเพราะอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ช่องคลอด
  7. หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคนเพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  8. ทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยน้ำเปล่าก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์
  9. ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับคันช่องคลอด

1. คันช่องคลอดรักษาหายไหม?

อาการคันช่องคลอดสามารถรักษาให้หายได้ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันช่องคลอดก่อนเพื่อการรักษาที่ตรงจุดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยปกติแล้วการรักษาอาการคันช่องคลอดจะเน้นการปรับพฤติกรรมและการใช้ยา เมื่อมีอาการคันช่องคลอดผู้ป่วยไม่ควรปล่อยไว้เพราะอาจทำให้อาการยิ่งลุกลามยากต่อการรักษามากยิ่งขึ้น

2. ยาที่ใช้รักษาอาการคันช่องคลอดมีอะไรบ้าง?

ยาเหน็บช่องคลอดเป็นยาที่แพทย์และเภสัชกรนิยมเลือกใช้รักษาเป็นอันดับแรกในกรณีผู้ป่วยมีอาการคันภายในช่องคลอด เนื่องจากยาออกฤทธิ์ที่บริเวณที่เป็นทำให้มีประสิทธิภาพการรักษาที่ดี และมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายารับประทาน เช่น Clotrimazole, Miconazole

  • ยาทาภายนอก เหมาะกับผู้ที่มีอาการคันหรือมีผื่นบริเวณภายนอกช่องคลอด เช่น Clotrimazole, Miconazole
  • ยารับประทาน เช่น กลุ่มยาฆ่าเชื้อที่ช่วยรักษาอาการคันอวัยวะเพศหญิงที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนยา Clotrimazole, Miconazole, และ Tioconazole จะใช้รักษาอาการคันอวัยวะเพศหญิงที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อรา
  • นอกจากนี้ยังมีเจลที่มีส่วนประกอบสำคัญคือกรดแลคติก (lactic acid) และไกลโคเจน (glycogen) สำหรับทาช่องคลอดที่อักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เพื่อรักษาและป้องกันการเป็นซ้ำของภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ช่วยปรับและรักษาสมดุลความเป็นกรดในช่องคลอดเพื่อให้มีสภาวะเหมาะสมกับการเจริญของแบคทีเรียแลคโตบาซิลไล (lactobacilli) และช่วยบรรเทาอาการตกขาวที่สีและกลิ่นผิดปกติได้

3. คันช่องคลอดห้ามกินอะไรบ้าง?

โดยปกติแล้วผู้ที่มีอาการคันช่องคลอดหรือแม้แต่ในคนปกติก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทหมักดอง เช่น ปลาร้า หน่อไม้ดอง อาหารทะเลดองที่ไม่ผ่านการปรุงสุก ควรรับประทานอาหารที่สด สะอาด ปรุงสุกแล้วเท่านั้น

 

สอบถามปัญหาอื่น ๆ กับคุณหมอ

คันช่องคลอดต้องรีบรักษา

อาการคันช่องคลอดอาจเกิดจากการติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือโรคทางเพศสัมพันธ์ที่รุนแรงกว่าที่คิด

จึงควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและวินิจฉัยเพิ่มเติมก่อนที่อาการจะลุกลามยากต่อการรักษาและสร้างความยากลำบากต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น 

เขิน อาย ไม่กล้าคุยเรื่องน้องสาว ? เราเข้าใจผู้หญิง ปรึกษาหมอออนไลน์เรื่องปัญหาสุขภาพสตรีกับ พยาบาล และปรึกษาเภสัชกรบนแอป BeDee ได้ทุกวัน พร้อมสินค้าถึงมือ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

ภญ.กมลวรรณ พัดศรีเรือง

เภสัชกร

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Itchy vulva. Pruritus vulvae  | DermNet. (n.d.). https://dermnetnz.org/topics/the-itchy-vulva

 

Vaginal itching and discharge – adult and adolescent: MedlinePlus Medical Encyclopedia. (n.d.). https://medlineplus.gov/ency/article/003158.htm

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อพูดถึงอาการ ปวดท้องเมนส์ หรือ ปวดท้องประจำเดือนแล้ว เรียกได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ของผู้หญิงจำนวนมากที่ต้องเผชิญทุกเดือนเลยทีเดียว บางรายอาจจะมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย บางคนปวดรุนแรงจนถึงขั้นเป็นลม ต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนถึง

Key Takeaways เราควรได้รับโปรตีนที่ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ควรเลือกชนิดของโปรตีนที่มีคุณภาพดี มีกรดอะมิโนครบถ้วน ไขมันต่ำ ควรปรึกษานักกำหนดอาหารเพื่อการทานอาหารที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและเป้าหมาย สารบัญบทความ โปรตีนลดน้ำหนักคืออะไร โปรตีนเป็