คีโม

เมื่อพูดถึงคำว่า “คีโม” หลายคนน่าจะนึกถึงการรักษาโรคมะเร็งและผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการรับคีโม จริง ๆ แล้วคีโมในปัจจุบันนั้นน่ากลัวหรือไม่ ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นรุนแรงแค่ไหน เรามาดูกันเลย

สารบัญบทความ

คีโมหรือเคมีบำบัด คือ

คีโมเทอราปี (Chemotherapy) หรือที่เราเรียกกันว่า “คีโม”คือสารเคมีที่มีฤทธิ์ยับยั้งและทำลายเซลล์ที่มีอัตราการเติบโตหรือแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เซลล์มะเร็ง แต่ไม่ใช่แค่เซลล์ร้ายเท่านั้นที่คีโมเข้าไปทำลาย เมื่อผู้ป่วยทำการรักษาด้วยการรับคีโมแล้ว คีโมยังเข้าไปทำลายเซลล์ปกติในร่างกายเราด้วย เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว เซลล์เส้นผม เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นต้น จึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียงหลังการรับคีโม เช่น ผมร่วง ภูมิคุ้มกันต่ำเนื่องจากปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวลดลง ท้องเสีย อ่อนเพลีย เป็นต้น

เป้าหมายของคีโม

แพทย์แต่ละท่านอาจใช้คีโมเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย โดยทั่วไปแล้วแพทย์มักใช้คีโมเพื่อเป้าหมายทางการรักษาดังนี้ 

 

  1. เพื่อรักษาโรคมะเร็ง สำหรับเป้าหมายในการรักษาโรคมะเร็งนั้น แพทย์จะให้การรักษาโดยการใช้คีโมเพื่อมุ่งหวังให้เซลล์มะเร็งนั้นหายไปได้มากที่สุด แต่เซลล์มะเร็งอาจเกิดขึ้นใหม่ได้อีกเช่นกัน จึงต้องติดตามดูอาการของโรคต่อไป

  2. เพื่อควบคุมเซลล์มะเร็ง ไม่ใช่แค่การกำจัดเซลล์มะเร็งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แพทย์อาจจำเป็นต้องควบคุมเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในร่างกายไม่ให้เติบโตและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ และทำให้อาการผู้ป่วยทรุดลงกว่าเดิม

  3. เพื่อประคับประคองอาการของผู้ป่วย เมื่อเซลล์มะเร็งในร่างกายผู้ป่วยแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ จนยากที่จะควบคุม แพทย์อาจพิจารณาให้คีโมเพื่อประคับประคองอาการของผู้ป่วย ไม่ให้อาการแย่ลงและช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตปกติได้อย่างยืนยาวที่สุด 

การทำคีโม มีกี่ประเภท

ประเภทคีโม

การรักษาโรคมะเร็งด้วยการทำคีโมนั้นมีหลายวิธี ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีการให้คีโมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและลักษณะของโรคมากที่สุด ประเภทของคีโมโดยทั่วไปมีดังนี้

คีโมแบบฉีดเข้าเส้นเลือด (Intravenous or intraarterial injection) 

คีโมรูปแบบฉีด สามารถฉีดเข้าหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง

คีโมแบบรับประทาน  (Oral Chemotherapy) 

เป็นยาคีโมในรูปแบบยาเม็ด แคปซูล หรือยาน้ำสำหรับรับประทาน

คีโมแบบฉีดเข้าช่องท้อง (Intraperitoneal: IP) 

เป็นการให้ยาคีโมด้วยการฉีดเข้าไปที่บริเวณช่องท้องของผู้ป่วย

คีโมแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular) 

เป็นการให้คีโมโดยการฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อ เช่น ต้นแขน สะโพกของผู้ป่วย

คีโมแบบฉีดเข้าไขสันหลัง (Intrathecal) 

ยาคีโมจะถูกฉีดเข้าไปในช่องว่างระหว่างชั้นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง

คีโมแบบทาผิวหนัง (Topical) 

ยาคีโมในรูปแบบครีมสำหรับทาลงไปบนผิวหนังโดยตรง

 

ปรึกษาการทำคีโมและการรักษาโรคมะเร็งกับแพทย์เฉพาะทางที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง

ผู้ที่ไม่เหมาะกับการทำคีโม

สำหรับผู้ที่ไม่เหมาะที่จะรักษาโรคมะเร็งด้วยการทำคีโมหรือควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรับคีโมอย่างใกล้ชิดนั้นมีดังนี้ 

 

  • ผู้ป่วยโรคไตหรือตับขั้นรุนแรง เมื่อทำการรักษาด้วยคีโมร่างกายจำเป็นต้องมีการกำจัดของเสียผ่านตับและไต ดังนั้นผู้ที่ป่วยหรือมีปัญหาเกี่ยวกับตับและไตจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการทำคีโม
  • ผู้ป่วยที่มีเซลล์เม็ดเลือดต่ำหรือร่างกายเกิดการติดเชื้อ เนื่องจากเมื่อทำคีโมแล้วจะทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง อาจเกิดโรคแทรกซ้อน เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ผู้ที่มีเซลล์เม็ดเลือดต่ำหรือร่างกายเกิดการติดเชื้ออยู่ก่อนแล้วจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการทำคีโมต่อไป
  • ผู้ที่อยู่ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากการทำคีโมในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้

ก่อนทำคีโม เตรียมตัวอย่างไร

เตรียมตัวก่อนทำคีโม
  1. แพทย์จะประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อนเริ่มทำการรักษาด้วยคีโมด้วยการตรวจเลือดเพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและการทำงานของตับและไต และให้ข้อมูลการทำคีโมกับผู้ป่วยและญาติก่อนทำการรักษา
  2. ผู้ป่วยควรดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  3. รับประทานอาหารปรุงสุก สะอาด ให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นเสริมโปรตีนให้ร่างกาย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบเพราะอาจปนเปื้อนเชื้อโรคหรือพยาธิต่าง ๆ ได้
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและการสูบบุหรี่ รวมถึงการับประทานยาที่ไม่ทราบแหล่งที่มา เช่น ยาสมุนไพร เพราะอาจส่งผลต่อตับและไต
  5. ทำใจให้สบาย ไม่คิดวิตกกังวลจนเกินไป เพราะสุขภาพใจเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาอย่างมาก

วิธีการให้คีโม

การรักษาด้วยคีโม มีรูปแบบการให้ยาหลักๆ 2 แบบคือ

 

  • คีโมชนิดฉีด
  • คีโมชนิดรับประทาน

ยาคีโมแบบฉีด

หลังจากการตรวจกับแพทย์และผลเลือดต่าง ๆ พร้อมที่จะรับยาแล้ว คนไข้จะไปรับยากับพยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญในการให้ยาคีโม ซึ่งยาคีโมแบบฉีดนั้นจะให้ทางหลอดเลือดดำเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็สามารถฉีดให้หลอดเลือดแดง หรืออวัยวะอื่น ๆ ได้ ดังนี้

 

การฉีดยาคีโมเข้าหลอดเลือดดำแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

 

  • การฉีดแบบ IV push คือการฉีดคีโมโดยให้ยาหมดภายในเวลาไม่กี่นาทีผ่านสายน้ำเกลือ โดยพยาบาลอาจจะเป็นผู้ถือยาในหลอดฉีดยาแล้วฉีดให้ผู้ป่วย 
  • การฉีดแบบ IV infusion คือการฉีดคีโมโดยให้ยาหมดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง อาจใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง ขึ้นกับประเภทของยา โดยยามักจะถูกผสมกับสารน้ำอยู่ในถุงห้อยให้ยาแล้วควบคุมโดยเครื่องให้ยาเพื่อให้เข้าสู่เส้นเลือดดำของผู้ป่วย 
  • การฉีดแบบ Continuous Infusion คือการฉีดคีโมโดยให้ยาแบบต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน อาจจะ 1-2 วัน หรือ 5 วัน โดยยามักจะถูกผสมกับสารน้ำอยู่ในถุงห้อยให้ยาแล้วควบคุมโดยเครื่องให้ยาเพื่อให้เข้าสู่เส้นเลือดดำของผู้ป่วยโดยผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องนอนรับยาในโรงพยาบาล

ยาคีโมแบบรับประทาน

แพทย์จะสั่งเป็นยาในรูปแบบรับประทานให้ผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นยาเม็ดหรือ ยาน้ำ ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาได้ตามเวลาที่แพทย์กำหนด

การดูแลตนเองจากการทำคีโม

ดูแลตัวเองเมื่อทำคีโม
  • รับประทานอาหารปรุงสุก สะอาด
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และอาหารที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงอาหารดิบ 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • อาจฝึกกำหนดลมหายใจหรือทำกิจกรรมผ่อนคลายอื่น ๆ หากรู้สึกว่าตนเองมีความวิตกกังวล เครียด 
  • หากพบว่ามีอาการผิดปกติอย่างรุนแรงหลังรับคีโม เช่น ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ เพลียมาก มีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป หนาวสั่น เจ็บรอบ ๆ ทวารหนัก ซีดมาก เหนื่อยหอบ หน้ามืด มีจุดเลือดจ้ำ เลือดขึ้นตามผิวหนัง เยื่อบุตาขาว เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล ปวดศีรษะรุนแรง สูญเสียการทรงตัว มีผื่นหรือตุ่มขึ้นตามร่างกาย ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

ผลข้างเคียงของคีโม มีอะไรบ้าง

ผลข้างเคียงคีโม

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการทำคีโมมีดังนี้

  • เกิดแผลในปาก เจ็บปาก เจ็บคอ ผู้ป่วยอาจเกิดแผลในปากหลังทำคีโมในช่วงสัปดาห์แรก ซึ่งอาการจะดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ ควรเลือกใช้แปรงสีฟันขนอ่อนนุ่มพิเศษ  ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และลิปมันสูตรอ่อนโยนเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและลดการระคายเคือง หมั่นรักษาความสะอาดภายในช่องปาก และดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ
  • ผิวบอบบางแพ้ง่าย ควรทาครีมบำรุงผิวและใช้สบู่สูตรอ่อนโยน ไม่มีน้ำหอม มีสารเพิ่มความชุ่มชื้นหรือผลิตภัณฑ์สูตรเฉพาะที่มีขายที่โรงพยาบาลเท่านั้น หลีกเลี่ยงแสงแดดเนื่องจากหลังรับคีโมผิวจะอยู่ในช่วงบอบบาง อาจทำให้เกิดฝ้ากระได้ง่าย ควรทาครีมกันแดดเป็นประจำ สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมถุงเท้า ทั้งนี้เสื้อผ้าที่สวมใส่ควรเป็นผ้าเนื้อนุ่ม  ไม่มีตะเข็บ เพื่อลดการเสียดสีและป้องกันแสงแดด
  • ผมร่วง หลังรับคีโมปัญหาใหญ่ที่หลายคนกังวลคงหนีไม่พ้นปัญหาผมร่วง ผู้ป่วยควรตัดผมสั้นเพื่อความสะดวกในการดูแล ใช้แชมพูที่อ่อนโยนต่อหนังศีรษะและเส้นผม  ใช้แปรงหวีผมที่มีขนนิ่มหรือหวีเด็ก ไม่ควรดัด ทำสี หรือใช้เคมีรุนแรงกับเส้นผม
  • ปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดเนื้อปวดตัว สำหรับอาการปวดหลังรับคีโมสามารถใช้เจลประคบร้อนเย็นประคบตามตัวเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ 
  • เบื่ออาหาร ผู้ป่วยอาจมีอาการเบื่ออาหาร หรือเจ็บปากเจ็บคอจนทำให้ยากต่อการรับประทานอาหาร สามารถรับประทานอาหารเสริมทางการแพทย์เสริมมื้ออาหารในช่วงหลังทำคีโมได้ 
 
ช้อปสินค้าสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่แอป BeDee พร้อมปรึกษาเภสัชกร ไม่มีค่าใช้จ่าย ส่งสินค้าถึงมือ 

อาการข้างเคียงแบบใดที่ควรพบแพทย์ทันที

การทำคีโมมักพบอาการข้างเคียงได้เนื่องจากคีโมเข้าไปทำลายทั้งเซลล์มะเร็งและเซลล์ที่ปกติในร่างกายไปพร้อม ๆ กัน อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เยื่อบุปากอักเสบ เจ็บปากเจ็บคอ น้ำลายเหนียว เบื่ออาหาร อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นหลังการทำคีโม 1-3 วัน 

ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ได้แก่ ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ รู้สึกเจ็บปวดตามร่างกายมาก เพลียมาก มีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป หนาวสั่น เจ็บรอบ ๆ ทวารหนัก ซีดมาก เหนื่อยหอบ หน้ามืด มีจุดเลือดจ้ำ เลือดขึ้นตามผิวหนัง เยื่อบุตาขาว เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล ปวดศีรษะรุนแรง สูญเสียการทรงตัว มีผื่นหรือตุ่มขึ้น ตามร่างกาย ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

คีโมใช้เวลารักษาเท่าไร

สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งด้วยคีโมนั้นขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ชนิดของโรคมะเร็ง การตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย โดยปกติแล้วแพทย์จะให้คีโมเป็นชุด ซึ่งจะใช้คีโม 1 ชุด / ต่อระยะเวลา 1-5 วัน อาจเว้นช่วงห่างแต่ละชุด 2-4 สัปดาห์จึงเริ่มต้นรับคีโมชุดต่อไป จำนวนชุดคีโมที่จะต้องรับขึ้นอยู่กับอาการและแผนการรักษาของแพทย์แต่ละท่าน 

การทำคีโม ราคาเท่าไร

การรักษาโรคมะเร็งด้วยการทำคีโมนั้นแพทย์ต้องพิจารณาถึงอาการของผู้ป่วย ความรุนแรงของโรค และวางแผนการรักษาต่อไป ดังนั้นจำนวนการให้คีโมสำหรับแต่ละบุคคลนั้นจึงแตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินราคาการรักษาเบื้องต้นได้

คำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับคีโม

ให้คีโม

ให้คีโมเจ็บไหม?

ยาคีโมบางประเภทหากขณะให้ยาแล้วเกิดการรั่วซึมของยาออกมาบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อภายนอกอาจจะทำให้เกิดอาการ เจ็บ ปวด บวมแดง รอบ ๆ บริเวณที่ให้ยาได้ แต่หากมีแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อเฝ้าระวังประเมินและจัดการอย่างดี มักจะมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการปวด

เป็นมะเร็งระยะใดจึงควรทำคีโม?

การเลือกให้ยาคีโม ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยป่วยเป็นมะเร็งชนิดใด และอยู่ระยะใด แต่โดยสรุปไม่ว่าจะเป็นระยะแรก หรือระยะลุกลามหากมีข้อบ่งชี้ ก็สามารถรับการรักษาด้วยยาคีโมได้

การให้คีโม จำเป็นไหม?

การให้คีโมมีจุดประสงค์เพื่อทำลายเซลล์โรคมะเร็งในร่างกาย หากผู้ป่วยมีอาการของโรคอยู่ในระยะต้น แพทย์จะมีเป้าหมายในการให้คีโมเพื่อกำจัดตัวโรคให้หมดไป แต่หากผู้ป่วยมีอาการของโรคอยู่ในระยะลุกลามแพทย์อาจวางแผนการรักษาเพื่อบรรเทาอาการและความรุนแรงของตัวโรค

ถ้าให้คีโมไม่ได้ผล ควรทำอย่างไร?

แพทย์จะจัดหาวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุดหากประเมินแล้วว่าการรักษาด้วยยาคีโมไม่ได้ผล เช่น ตรวจหาการกลายพันธุ์อื่น ๆ เพื่อใช้ยามุ่งเป้าในการรักษา หรือใช้ยาอื่น ๆ เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

ผู้สูงอายุ ให้คีโมได้ไหม?

โดยปกติไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุของผู้ป่วยที่มากขึ้นในการให้ยาคีโม แต่จะมีข้อควรระวังพิเศษ และการประเมินพิเศษสำหรับผู้สูงอายุก่อนที่จะให้ยาคีโมเพื่อพิจารณาว่าจะสามารถให้ยาโดยที่ได้ประโยชน์มากกว่าที่จะได้รับผลข้างเคียงหรือไม่

วิธีที่ทำคีโมแล้วผมไม่ร่วง มีไหม?

ปัจจุบันมีสูตรคีโมบางชนิดที่ทำให้ผู้ป่วยผมร่วงน้อย หรือแทบจะไม่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงเลยอยู่ เพื่อช่วยไม่ให้ผมร่วงหมดทั้งศีรษะ

ทำคีโมแล้วอยู่ใกล้ชิดกับคนอื่นได้หรือไม่?

หลังการรับยาคีโมผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ โดยคนรอบข้างไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับสารเคมีแปลกปลอมออกมาจากผู้ป่วย เนื่องจากยาคีโมไม่ได้ออกฤทธิ์แผ่ผลข้างเคียงไปสู่คนรอบข้าง สิ่งที่พึงระวังคือ ตัวยาคีโมจากผู้ป่วยจะถูกกำจัดออกมาจากร่างกายในรูปแบบของเหงื่อ ปัสสาวะ หรืออุจจาระ แต่มักจะหมดไปภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับยาคีโม

หากต้องกำจัดสารคัดหลั่งต่าง ๆ จากร่างกายผู้ป่วยอาจจะแนะนำให้สวมถุงมืออนามัยในขณะที่ทำความสะอาด และผู้ที่รับคีโมต้องระวังตัวเองไม่ให้ติดเชื้อจากคนรอบข้างเนื่องจากภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยจะลดลงในช่วงที่ทำคีโม

 

สอบถามเรื่องอื่น ๆ กับแพทย์เฉพาะทาง

สรุปเรื่องคีโม

ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งมีหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยประคับประคองอาการเพื่อใช้ชีวิตปกติต่อไปให้ได้นานที่สุด การรักษาโรคมะเร็งด้วยการทำคีโมเป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเซลล์มะเร็งและไม่ได้น่ากลัวเหมือนในอดีต ผู้ป่วยสามารถวางแผนและขอคำแนะนำจากแพทย์เพื่อให้เหมาะสมกับตนเองที่สุด 

 

ปรึกษาเรื่องการรักษาโรคมะเร็งและการดูแลเพิ่มเติมได้ที่ BeDee แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา สะดวก ไม่ต้องเดินทาง เราพร้อมช่วยเหลือคุณทุกวัน สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS 

 

Content powered by BeDee’s experts

นพ. ปณต สายน้ำทิพย์

อายุรศาสตร์ มะเร็งวิทยา

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

  • Chu, E., & DeVita, V. T. (2019). Physician’s Cancer Chemotherapy Drug Manual. Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning.
  • Olsen, M. M., & Naseman, R. W. (2019). Chemotherapy. In M. M. Olsen, K. B. LeFebvre, & K. J. Brassil (Eds.), Chemotherapy and Immunotherapy Guidelines and Recommendations for Practice (pp. 61-90). Pittsburgh, PA: Oncology Nursing Society.
  • Oncology Nursing Society (ONS). (2019). Toolkit for Safe Handling of Hazardous Drugs for Nurses in Oncology. Retrieved from https://www.ons.org/sites/default/files/2018-06/ONS_Safe_Handling_Toolkit_0.pdf
  • Anderson, M. K., & Matey, L. (2019). Overview of cancer and cancer treatment. In M. M. Olsen, K. B. LeFebvre, & K. J. Brassil (Eds.), Chemotherapy and Immunotherapy Guidelines and Recommendations for Practice (pp. 25-50). Pittsburgh, PA: Oncology Nursing Society.
  • Yuki, M., Sekine, S., Takase, K., Ishida, T., & Sessink, P. J. (2013). Exposure of family members to antineoplastic drugs via excreta of treated cancer patients. Journal of Oncology Pharmacy Practice, 19(3), 208-217.

ซื้อสินค้าสำหรับผู้ทำคีโมที่ไหนดี

การเลือกซื้อสินค้าสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังทำคีโมต้องใส่ใจเป็นพิเศษ สิ่งสำคัญคือต้องเลือกซื้อสินค้าที่อ่อนโยน คัดสรรมาเพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยเฉพาะ 

 

สะดวกกว่าที่เคย BeDee ร่วมกับโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ เปิดตัวตู้ We Care Your Selfcare ตู้ขายสินค้าสุขภาพอัตโนมัติเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยเฉพาะ แห่งแรกในประเทศไทย จำหน่ายสินค้าช่วยบรรเทาผลข้างเคียงหลังทำคีโม ครอบคลุมอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น เช่น ผิวแห้ง ผิวบางแพ้ง่าย แผลในปาก น้ำลายเหนียว เบื่ออาหาร ปวดข้อ และปวดกระดูก

 

พร้อมให้ช้อปแล้ววันนี้ที่บริเวณชั้น 1 โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ หรือช้อปออนไลน์ได้ที่ Line Official : @BeDeebyBDMS

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปากมดลูก 1 ใน 5 อันดับมะเร็งยอดฮิตของคนไทย ไม่ใช่แค่ผู้หญิงเท่านั้นที่สามารถรับเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก แต่ผู้ชายเองก็สามารถติดเชื้อ HPV ได้เช่นกัน ซึ่ง 80% ติดเชื้อ HPV จากการมีเพศสัมพันธ์ ในกรณีที่ได้รับเชื้อสาย