นอนไม่หลับ

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการแนะนำเบื้องต้น โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

อาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก ปัญหายอดฮิตที่เราพบมากขึ้นในทุกวันนี้ ด้วยสภาพแวดล้อม การทำงาน รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจส่งผลทั้งทางด้านสภาพร่างกายและจิตใจจึงทำให้เกิดการนอนไม่หลับ บางคนนอนหลับยาก นอนแล้วสะดุ้งตื่นกลางดึก ทำให้รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลาในตอนกลางวัน ซึ่งอาการนอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง และยังส่งผลต่อสุขภาพด้วย ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันปรึกษาหมอออนไลน์ ให้คำปรึกษาเรื่องโรคนอนไม่หลับ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เข้ามาช่วยผู้ป่วย

สารบัญบทความ

นอนไม่หลับ (Insomnia) คืออะไร

อาการนอนไม่หลับรูปแบบต่างๆ

  • นอนหลับยาก ต้องใช้ระยะเวลานานเกินสามสิบนาทีถึงจะหลับได้
  • หลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดคืนโดยตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อใช้เวลามากกว่า 30 นาที เมื่อมีอาการดังกล่าวจะทำให้รู้สึกเหมือนไม่ได้นอนตลอดทั้งคืน 
  • ตื่นเช้าก่อนเวลาที่จะต้องการตื่นจริง
 
ปรึกษาอาการนอนไม่หลับกับจิตแพทย์ที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง ฟรีค่าจัดส่งยาถึงบ้าน

ผลเสียของการนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับนอกจากจะทำให้รำคาญใจเมื่อถึงเวลาที่ต้องนอนหลับพักผ่อนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้านได้ดังนี้

  • รู้สึกเหนื่อย อ่อนแรงในตอนกลางวัน 
  • ง่วงนอนระหว่างวันตลอดเวลาไม่สดชื่น 
  • สมาธิ ความจำแย่ลง การจดจำแย่ลง
  • มีปัญหาทางด้านอารมณ์ รู้สึกหงุดหงิด วิตกกังวล
  • ปวดศีรษะ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร 
  • เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน
  • เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
  • เสี่ยงต่อโรคทางจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า มีความคิดอยากตาย 
  • อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
  • มีปัญหาในการเข้าสังคม การทำงาน และการเรียน
  • มีปัญหาพฤติกรรม เช่น อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว
  • ไม่มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิต
  • มีความกังวลเกี่ยวกับการนอนหลับ
 
อย่าปล่อยให้อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง! มาดูวิธีเอาชนะอาการนอนไม่หลับ ที่จะช่วยให้คุณหลับสบาย

สาเหตุของการนอนไม่หลับ

นอนไม่หลับเกิดจากอะไร

สาเหตุของการนอนไม่หลับนั้นสามารถแบ่งตามปัจจัยต่าง ๆ ได้ดังนี้

ปัญหาทางด้านร่างกาย 

  • อาการนอนไม่หลับที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในวัยรุ่นทำให้รูปแบบการนอนเปลี่ยนไป
  • มีอาการกรดไหลย้อน 
  • มีอาการเจ็บปวด เช่น ปวดท้อง ปวดตามเนื้อตัวทำให้นอนไม่หลับ
  • หยุดหายใจขณะหลับ 
  • ดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ ทำให้นอนหลับยาก

ปัญหาด้านพฤติกรรม

  • ใช้เวลาทำกิจกรรมบนที่นอน ที่ไม่ใช่การนอนหลับหรือ Sex มากเกินไป
  • การนอนกลางวัน

ปัญหาทางด้านจิตใจ และความคิด

ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม

  • มีแสงสว่างหรือเสียงที่รบกวนการนอนหลับ
  • อุณหภูมิห้องสูง 
  • การทำงานที่ต้องปรับเปลี่ยนเวลานอนตลอดเวลา

อาการนอนไม่หลับแบบไหนจึงควรพบจิตแพทย์

นอนไม่หลับแบบไหนควรพบแพทย์

หากมีอาการนอนไม่หลับจนทำให้เกิดผลกระทบดังนี้ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์โดยด่วน 

  • มีอาการนอนไม่หลับ นอนหลับแล้วสะดุ้งตื่นกลางดึก นอนแล้วกระตุก ติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน/ สัปดาห์ เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
  • รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลาไม่สดชื่นในตอนกลางวัน ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น
  • สมาธิ ความจำ แย่ลง อารมณ์และจิตใจขุ่นหมอง ไม่สดใส กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน

การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง (Chronic Insomnia Disorder)

ผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับ (Insomnia) ทุกรายไม่ได้จำเป็นต้องเป็นโรคนอนไม่หลับเสมอไป การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับอาศัยการสัมภาษณ์ประวัติโดยแพทย์โดยประวัติที่ได้อาจมาจาก ผู้ป่วยหรือญาติ

โดยเกณฑ์การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับเรื้อรังในปัจจุบันอาศัยเกณฑ์ The International Classification of Sleep Disorders 3rd version จัดทำโดยสมาคมวิชาชีพด้านการแพทย์เฉพาะทางด้านยานอนหลับของสหรัฐอเมริกา มีดังนี้

  1. ผู้ป่วยหรือญาติรายงานปัญหาการนอนหนึ่งในข้อต่อไปนี้
    • มีปัญหาเข้านอนยากในช่วงแรก
    • มีความลำบากในการนอนอย่างต่อเนื่อง
    • ตื่นเร็วกว่าที่ตั้งใจ
    • ในกรณีของเด็กจะปฏิเสธการเข้านอนตามเวลาที่กำหนด
    • ในกรณีของเด็กมีการเข้านอนหลับยากถ้าไม่มีผู้ดูแลคอยช่วยเหลือ
  1. ผู้ป่วยหรือญาติรายงานอาการระหว่างวันข้อใดต่อไปนี้
    • เหนื่อยล้า
    • สมาธิ ความจำแย่ลง
    • มีปัญหาในการเข้าสังคม การงาน และ การเรียน
    • มีปัญหาอารมณ์แปรปรวน หรือ หงุดหงิด
    • ง่วงนอนระหว่างวัน
    • มีปัญหาพฤติกรรม เช่น อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว
    • ขาดพลังงานในการใช้ชีวิต
    • ผิดพลาดหรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
    • มีความกังวลหรือไม่พอใจเกี่ยวกับการนอน
  1. ภาวะที่เป็นไม่ได้เกิดจากโอกาสในการนอนที่ไม่เพียงพอ หรือ สภาพแวดล้อมการนอนที่ไม่เหมาะสม
  2. ปัญหาการนอนและอาการระหว่างวันเกิดขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้ง / สัปดาห์
  3. ปัญหาการนอนและอาการระหว่างวันเกิดขึ้นอย่างน้อย 3 เดือน
  4. อาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายจากโรคความผิดปกติในการนอนหลับชนิดอื่น

การรักษาโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายสาเหตุ ก่อนรักษาด้วยการใช้ยาและไม่ใช้ยา ควรพบแพทย์เพื่อสาเหตุที่แท้จริงก่อนการรักษา สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคไบโพลาร์ และสาเหตุจากโรคทางกาย เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ปวดเรื้อรัง ปัญหาการใช้สารเสพติด เป็นต้น

รักษาโรคนอนไม่หลับโดยไม่ใช้ยา

สำหรับการรักษาโรคนอนไม่หลับโดยการไม่ใช้ยานั้น แพทย์จะเน้นการทำกิจกรรมบำบัดด้านพฤติกรรม เช่น 

  • สุขอนามัยในการนอนหลับ
    • หลีกเลี่ยงการใช้สารกระตุ้นระหว่างวัน หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 
    • ใช้เวลาผ่อนคลายอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน 
    • จัดห้องนอนให้ เงียบ เย็น และ มืดสนิท 
    • เข้านอนและตื่นนอนตรงเวลาสม่ำเสมอ
  • เทคนิคผ่อนคลายความเครียด เช่น การฝึกหายใจเข้าออก การใช้จินตภาพบำบัด 
  • การรักษาโรคนอนไม่หลับด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการนอน (Cognitive Behavioral Therapy for insomnia) เป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐานโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยเพิ่มทักษะของการผ่อนคลาย
 
ปรึกษาวิธีการรักษาโรคนอนไม่หลับกับจิตแพทย์ที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง ฟรีค่าจัดส่งยาถึงบ้าน

รักษาโรคนอนไม่หลับโดยใช้ยา

การรักษาโรคนอนไม่หลับด้วยยา จะใช้ก็ต่อเมื่อวิธีรักษาโดยไม่ใช้ยานั้นไม่ได้ผล จึงค่อยรักษาด้วยการใช้ยา ข้อควรระวังคือไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 4 อาทิตย์ ซึ่งกลุ่มยาที่ใช้รักษาอาการนอนไม่หลับสามารถแบ่งเป็นกลุ่มดังนี้ 

 

*การรักษาด้วยยาต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง 

 

  1. Benzodiazepine เป็นกลุ่มยาที่ใช้บ่อยในการรักษา มีทั้งกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้นและยาว สำหรับยาที่ออกฤทธิ์สั้นได้แก่ Lorazepam เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเข้านอนยากในช่วงแรก ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ยาว ได้แก่ Diazepam Clonazepam และ Clorazepate เหมาะกับผู้ที่มีปัญหานอนหลับไม่สนิทตื่นกลางดึก ส่วนยาที่ควรใช้อย่างระมัดระวังเนื่องจากมีโอกาสเสพติดได้ง่าย ได้แก่ Midazolam และ Alprazolam

    โดยการใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากอาจมีปัญหาผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้แก่ ง่วงซึมช่วงตื่น เดินเซ อ่อนเพลีย ความจำแย่ลง มีอาการสับสนเพิ่มขึ้น และ เกิดปัญหานอนไม่หลับมากขึ้นหลังจากหยุดยา

 

  1. Non-Benzodiazepine หรือยา Zolpidem เป็นยาที่ออกฤทธิ์ไว และหมดฤทธิ์เร็ว จึงมักไม่มีปัญหาง่วงนอนช่วงตื่น แต่ผลข้างเคียงที่สามารถพบได้ คือ ง่วงซึม เดินเซ และอาจมีปัญหาพฤติกรรมผิดแปลกมากขึ้นที่สัมพันธ์กับช่วงที่นอนหลับ
     
  1. Orexin Receptor antagonist ยากลุ่มนี้เป็นยาชนิดใหม่ ในประเทศไทยมียาชื่อ Lemborexant โดยข้อดีของยากลุ่มนี้มีการศึกษาว่า ผู้ป่วยสูงอายุรับประทานแล้วมีปัญหาด้านความจำน้อย และสามารถปลุกให้ตื่นได้ง่าย แต่ข้อจำกัดคือราคายาที่ค่อนข้างสูง
 
  1. Melatonin ยากลุ่มนี้มีชื่อว่า Circadin เหมาะสำหรับผู้ป่วยสูงอายุเนื่องจากมีผลข้างเคียงที่พบได้น้อย
 
  1. Sedating Antidepressant เป็นยาต้านเศร้าที่มีฤทธิ์ช่วยนอนหลับ ได้แก่ Trazodone, Mirtazapine,  Doxepin และ  Amitryptyline
     
  1. Antihistamine คือกลุ่มของยาแก้แพ้ ได้แก่ CPM หรือ ยา Hydroxyzine โดยยากลุ่มนี้อาจมีผลข้างเคียงในแง่ความจำ และไม่เหมาะกับการใช้ในผู้ป่วยสูงอายุ
     
  1. ยาต้านโรคจิต เช่น Quetiapine และ Olanzapine
 
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ยานอนหลับ

การป้องกันโรคนอนไม่หลับ

เทคนิคป้องกันโรคนอนไม่หลับเหล่านี้สามารถทำได้ทั้งผู้ที่ยังไม่มีปัญหาการนอนหลับ และผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับแต่ยังไม่อยากพบแพทย์ได้แก่

  1. ตื่นนอนและเข้านอนให้เป็นเวลา ไม่ควรเปลี่ยนเวลาเข้านอนหรือตื่นไปมา โดยเวลาการเข้านอนขึ้นกับนาฬิกาชีวิตของแต่ละบุคคล
  2. ห้ามใช้เตียงนอนในการทำกิจกรรมอื่น นอกจากการนอนหลับและกิจกรรมทางเพศ เช่น ห้ามดูโทรทัศน์ รับประทานอาหาร พูดคุยโทรศัพท์ เล่นคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ และ คิดกังวล
  3. หากิจกรรมที่เงียบสงบที่ทำแล้วจะรู้สึกผ่อนคลายก่อนที่จะเข้านอนประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้สงบลงก่อนที่จะเข้านอน เช่น อ่านหนังสือธรรมะ นั่งสมาธิ ฟังเพลงผ่อนคลาย อ่านตำราเรียน 
  4. หากนอนไม่หลับหลังจากเข้านอนมากกว่า 20 นาทีไม่ควรบังคับตัวเองให้พยายามนอนต่อ ควรลุกขึ้นมาทำกิจกรรมที่จะทำให้สงบผ่อนคลายในข้อ 3
  5. ปรับอุณหภูมิห้องและแสงสว่างให้พอดีกับการนอน ห้องนอนควรมืดสนิท ไม่มีแสงและเสียงเข้ามารบกวน 
  6. ไม่ควรวางนาฬิกาไว้ในห้องนอน และควรหลีกเลี่ยงการดูนาฬิกาจากโทรศัพท์ เนื่องจากการดูนาฬิกาจะยิ่งทำให้เกิดความกังวลว่าทำไมยังนอนไม่หลับ ซึ่งจะส่งผลให้นอนไม่หลับยิ่งขึ้น 
  7. ใช้กลิ่นในการบำบัดผ่อนคลาย เช่น กลิ่นลาเวนเดอร์ 
  8.  งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสมหลังเที่ยง เช่น น้ำชา ชาเขียว ช็อคโกแลต โค้ก
  9. งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ ถึงแม้ว่าจะช่วยให้หลับดีขึ้นแต่เมื่อหลับไปแล้วมักกระตุ้นให้เกิดการตื่นได้บ่อยช่วงกลางคืน
  10. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแต่หลีกเลี่ยงการออกช่วงก่อนเข้านอน 
  11. ไม่ควรงีบระหว่างวันเกิน 30 นาทีและ ไม่ควรงีบหลังเวลา 15.00 น

สรุปเรื่องนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับอาจฟังดูไม่ใช่ปัญหาใหญ่แต่เป็นเรื่องที่รบกวนการใช้ชีวิตและส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก เสมือนภัยเงียบที่ค่อย ๆ ทำลายสุขภาพกายและสุขภาพใจของเราไปเรื่อย ๆ การนอนไม่หลับอันตรายกว่าที่เราคิด หากมีอาการนอนไม่หลับควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน 

 

 

Content powered by BeDee’s experts 

นพ.อภิชาญ แดงรุ่งโรจน์

จิตแพทย์ทั่วไป

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

  1. Sateia M. J. (2014). International classification of sleep disorders-third edition: highlights and modifications. Chest146(5), 1387–1394. https://doi.org/10.1378/chest.14-0970
  2. RIEMANN, D. (n.d.). European guideline for the diagnosis and treatment of insomnia. Journal of Sleep Research26(6). doi:10.1111/jsr.12594
  3. Kilduff, T.S., & Mendelson, W.B. (2017). Chapter 41 – Hypnotic Medications: Mechanisms of Action and Pharmacologic Effects.
  4. Chan, N. Y., Chan, J. W. Y., Li, S. X., & Wing, Y. K. (2021). Non-pharmacological Approaches for Management of Insomnia. Neurotherapeutics : the journal of the American Society for Experimental NeuroTherapeutics18(1), 32–43. https://doi.org/10.1007/s13311-021-01029-2
  5. Hershner, S. (2021). Retrieved from https://sleepeducation.org/healthy-sleep/healthy-sleep-habits/

รักษาโรคนอนไม่หลับที่ไหนดี

รักษาอาการนอนไม่หลับ

BeDee มีทีมจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง เลือกคุยกับผู้เชี่ยวชาญตามเวลาที่คุณสะดวก ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากเครือ BDMS พร้อมช่วยเหลือคุณทุกวัน สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเครียดอยู่รอบตัวเราตลอดเวลาไม่ว่าจะเรื่องการเรียน การงาน การเงิน รถติด คนเยอะ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็ทำให้เกิดความเครียดโดยที่เราอาจไม่รู้ตัวได้ ความเครียดไม่ได้กระทบในด้านจิตใจเพียงเท่านั้นแต่ยังส่งผลถึงด้านร่างกายด้วย “ภาวะเครียดลงกระเพาะ” เป็นสิ

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง สารบัญบทความ Key Takeaways Hyperventilation คืออาการหายใจเร็วหรือหายใจลึกเกินกว่าความต้องการขอ