ภูมิแพ้อาหารแฝง

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

Key Takeaways

  • ภูมิแพ้อาหารแฝงคือภาวะที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่ออาหารบางชนิดแบบล่าช้า แตกต่างจากการแพ้อาหารแบบเฉียบพลันที่จะทำให้เกิดอาการรุนแรงทันทีหลังรับประทานอาหารชนิดนั้น
  • ตัวอย่างอาการภูมิแพ้อาหารแฝงที่พบได้ เช่น ปวดศีรษะไมเกรน คัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง ผื่นลมพิษที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือท้องเสีย
  • การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงนั้นสำคัญอย่างมากเพราะจะทำให้เราทราบว่าอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการแพ้อาหารแฝงหรือไม่เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงและดูแลตัวเองได้ดีขึ้น
สารบัญบทความ

ภูมิแพ้อาหารแฝงคืออะไร?

ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) คือ ภาวะที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่ออาหารบางชนิดแบบล่าช้า (Delayed Reaction) ซึ่งแตกต่างจากการแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน (Food Allergy) ที่จะทำให้เกิดอาการรุนแรงทันทีหลังรับประทานอาหารชนิดนั้น ถึงแม้ว่าภูมิแพ้อาหารแฝงจะไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ทันทีแต่กลับทำให้เกิดอาการเรื้อรังจนทำให้รบกวนสุขภาพ ตัวอย่างอาการภูมิแพ้อาหารแฝงที่พบได้ เช่น ปวดศีรษะไมเกรน คัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง ผื่นลมพิษที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือท้องเสีย เป็นต้น

ภูมิแพ้อาหารแฝงมีอาการเป็นอย่างไร?

ภูมิแพ้อาหารแฝง อาการ

อาการภูมิแพ้อาหารแฝงนั้นจะมีอาการไม่รุนแรง แต่อาจมีลักษณะอาการคล้ายกับการแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน ซึ่งระยะเวลาในการแสดงอาการจะช้าออกไปหรือนานกว่านั้นจนไม่สามารถระบุชนิดอาหารที่แพ้ได้ โดยมีอาการที่พบได้ เช่น

  • ปวดศีรษะไมเกรน
  • ปัญหาสมาธิสั้น 
  • คัดจมูก 
  • น้ำมูกไหลเรื้อรัง 
  • ผื่นลมพิษที่ไม่ทราบสาเหตุ 
  • ท้องเสีย 
  • ลำไส้อักเสบ 
  • ท้องผูก 
  • จุกเสียดแน่นท้อง 
  • น้ำหนักขึ้นง่าย 
  • ปวดกล้ามเนื้อ

ภูมิแพ้อาหารแฝงต่างจากการแพ้อาหารแบบเฉียบพลันอย่างไร?

ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) เกิดจากปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวข้องกับ IgG (Immunoglobulin G) ซึ่งส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในร่างกาย มักมีอาการไม่รุนแรง แต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว

 

ในขณะที่การแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน (Food Allergy) เกิดจากปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวข้องกับ IgE (Immunoglobulin E)ทำให้ร่างกายหลั่งสารฮีสตามีน (Histamine) ออกมาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหลังรับประทานอาหารที่แพ้ทันที

ตรวจหาภูมิแพ้อาหารแฝงคืออะไร?

การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance Test) คือการตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันจำเพาะต่ออาหารแต่ละชนิด (Food Specific IgG) ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมได้อย่างปกติ โดยอาการแพ้อาหารแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นทันทีหลังจากทานอาหาร แต่จะค่อย ๆ ปรากฏอาการภายในหลายชั่วโมงหรือหลายวันหลังจากการรับประทานอาหารบางชนิด แตกต่างจากการแพ้ปกติ (Food Allergy IgE) ที่จะแสดงอาการแพ้ให้เห็นทันทีหรือในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังรับประทานชนิดนั้น ๆ

 

ช้อปแพ็กตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงจาก N Health เครือ BDMS สะดวก พร้อมโค้ดส่วนลดสูงสุด 450.-

วิธีดูแลตัวเองเพื่อรับมือกับภูมิแพ้อาหารแฝง

ดูแลตัวเอง ภูมิแพ้อาหารแฝง

เมื่อเราไม่แน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นคือสัญญาณของภูมิแพ้อาหารแฝงหรือไม่ หรือในบางรายอาจทราบแล้วว่าตัวเองมีอาการภูมิแพ้อาหารแฝง เราสามารถรับมือหรือดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ได้ดังนี้

1. ตรวจหาภูมิแพ้อาหารแฝง 

การตรวจหาภูมิแพ้อาหารแฝงนั้นสำคัญอย่างมากเพราะจะทำให้เราทราบว่าอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการแพ้อาหารแฝงหรือไม่เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงและดูแลตัวเองได้ดีขึ้น

2. หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้

เมื่อตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงและทราบประเภทของอาหารที่แพ้แล้วควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ และสามารถตรวจซ้ำเพื่อติดตามอาการได้

3. หลีกเลี่ยงอาหารหรือวัตถุดิบที่ปนเปื้อนสารพิษ

ถึงแม้ว่าเราจะหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้แล้วแต่สารเคมีหรือสารพิษที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ผัก ผลไม้ อาจทำให้เกิดผลกระทบอันตรายต่อสุขภาพและทำให้เกิดอาการป่วยได้ ก่อนปรุงอาหารทุกครั้งจึงควรล้างทำความสะอาดเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ให้สะอาด

4. ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ

การดูแลสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรงทั้งกายและใจนั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเมื่อร่างกายของเราเหนื่อยล้า พักผ่อนไม่เพียงพอ เครียด จะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง ง่ายต่อการเจ็บป่วยหรือการเกิดอาการแพ้

5. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

การตรวจสุขภาพมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยป้องกัน คัดกรอง และทำให้ตรวจพบปัญหาสุขภาพตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ทำให้เรารู้ทันสุขภาพของตัวเองและอาการภูมิแพ้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภูมิแพ้อาหารแฝง

1. ภูมิแพ้อาหารแฝงมีอาหารอะไรบ้าง?

แต่ละคนอาจมีชนิดของอาหารที่แพ้แตกต่างกันไป ตัวอย่างอาหารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้อาหารแฝงซึ่งพบได้บ่อย เช่น 

  • ผลิตภัณฑ์นมวัว นมแพะ เคซีน (โปรตีนจากนม) 
  • กลูเตน โปรตีนที่พบในข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ (เช่น ขนมปัง เส้นพาสต้า)
  • ไข่ โดยเฉพาะไข่ขาว
  • ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วลิสง อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วเหลือง
  • อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู หอย
  • ข้าวโพด
  • ยีสต์ พบในขนมปัง เบเกอรี่ เครื่องดื่มหมักบางชนิด
  • สารเติมแต่งอาหาร เช่น ผงวุ้น

2. ภูมิแพ้อาหารแฝงรักษาอย่างไร?

การรักษาภูมิแพ้อาหารแฝงจะเน้นไปที่การค้นหาต้นเหตุ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร มากกว่าการใช้ยา เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วหากผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการแพ้ ร่างกายจะค่อย ๆ ฟื้นตัวเองได้เอง

ภูมิแพ้อาหารแฝงแม้ไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง ควรรีบตรวจให้มั่นใจ 

การแพ้อาหารแบบเฉียบพลันอาจรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนภูมิแพ้อาหารแฝงแม้ไม่รุนแรงแต่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น ปวดศีรษะไมเกรน คัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง ผื่นลมพิษที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือท้องเสีย ช้อปแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงจาก N Health ได้เลยที่ Health Plaza รวมแพ็กเกจตรวจสุขภาพมาตรฐาน BDMS สะดวก ใช้งานง่าย พร้อมส่วนลด On Top

 

สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @healthplaza

Food intolerance. (2019). Australasian Society of Clinical Immunology and Allergy (ASCIA). https://www.allergy.org.au/patients/food-other-adverse-reactions/food-intolerance

 

Li, JTC. (2024, February 28). Food allergy vs. food intolerance: What’s the difference?. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/food-allergy/expert-answers/food-allergy/faq-20058538

 

Allergy Food Fact Sheet. (2015). BDA. https://www.bda.uk.com/resource/food-allergy-food-intolerance.html

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Takeaways ริดสีดวงทวารมี 2 ประเภท ได้แก่ ริดสีดวงภายใน และริดสีดวงภายนอก วิธีรักษาริดสีดวงหรือบรรเทาริดสีดวงมีทั้งการเหน็บยา ฉีดยา ใช้ยางรัด เลเซอร์ หรือการผ่าตัด หากพบว่ามีหัวริดสีดวงหรือสงสัยว่าเป็นริดสีดวงไม่ต้องเขินอาย สามารถปรึกษาคุณหมอที่แอ

Key Highlight  ภาวะฮีทสโตรกเกิดขึ้นได้เมื่อเราออกแรงทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก ๆ กลางแจ้ง อุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ดื่มน้ำไม่เพียงพอจนทำให้ร่างกายร้อนจัด โรคลมแดดหรือฮีทสโตรกนั้นอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และ