ผื่นกุหลาบ

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

Key Takeaways

 

  • ผื่นกุหลาบ (Pityriasis Rosea) คืออาการทางผิวหนังที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส ชนิดหนึ่งมักพบในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 10-35 ปี มักเกิดในช่วงฤดูหนาว
  • อาการมักเริ่มต้นด้วยผื่นแดงวงกลมหรือวงรีขนาดใหญ่เรียกว่า “ผื่นนำ” มีลักษณะเป็นขุยเล็กน้อย จากนั้นจะพบผื่นลักษณะคล้ายต้นคริสต์มาส (Christmas Tree Pattern) และอาจมีอาการคันร่วมด้วย
  • วิธีป้องกันนั้นสามารถทำได้โดยการดูแลรักษาสุขภาพโดยรวมและดูแลภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
สารบัญบทความ

ผื่นกุหลาบคืออะไร?

“ผื่นกุหลาบ” (Pityriasis Rosea) หรือบางคนอาจเรียกว่า “ผื่นดอกกุหลาบ” หรือ “โรคหัดดอกกุหลาบ” คืออาการทางผิวหนังชนิดหนึ่ง มักพบในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 10-35 ปี แต่อาจพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ลักษณะอาการคือผู้ป่วยจะมีผื่นคันสีแดง ลักษณะเป็นวงรีขึ้นที่บริเวณลำตัว แขน ขา และแผ่นหลัง ผื่นที่พบจะมีลักษณะเป็นขุยเล็กน้อย ขนาดประมาณ 2-5 เซนติเมตร ผื่นกุหลาบสาเหตุ มักเกิดจากภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง สภาพอากาศช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว การแพ้แมลง หรือการได้รับเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางอย่าง

ผื่นกุหลาบเกิดจากอะไร? 

สาเหตุของการเกิดดรคนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ผู้ป่วยควรหมั่นสังเกตตัวเองว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้ร่างกายเกิดผื่นขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยง แต่โดยทั่วไปแล้วโรคผื่นกุหลาบเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

 

  • ภาวะภูมิคุ้มกันลดลง
  • การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสบางอย่าง
  • ความเครียด
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
  • แมลงกัดต่อย

ผื่นกุหลาบมีอาการเป็นอย่างไร?

ผื่นกุหลาบ อาการ

ผื่นกุหลาบอาการที่พบได้จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ซึ่งจะมีลักษณะอาการแตกต่างกันไปรวมถึงความรุนแรงจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามระยะเวลา โดยแต่ละระยะมีอาการดังนี้

ระยะแรก

ในระยะแรกอาการมักเริ่มต้นด้วยผื่นแดงวงกลมหรือวงรีขนาดใหญ่เรียกว่า “ผื่นนำ” (Herald Patch) มีลักษณะเป็นขุยเล็กน้อย ขนาดประมาณ 2-5 เซนติเมตร ผื่นกุหลาบมักขึ้นที่บริเวณลำตัว เช่น หน้าอก ท้อง หรือหลัง บางครั้งอาจขึ้นที่คอหรือต้นแขนต้นขาได้เช่นกัน ผื่นนำมักปรากฏขึ้นก่อนผื่นอื่น ๆ ประมาณ 1-2 สัปดาห์

ระยะที่ 2

หลังจากระยะผื่นนำประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะเริ่มมีผื่นขนาดเล็กขึ้นกระจายทั่วลำตัว โดยเฉพาะบริเวณหน้าอก หลัง และท้อง ลักษณะเป็นวงรี ขอบสีแดง มีขุยตรงกลาง ลักษณะผื่นที่เรียงตัวตามแนวเส้นของผิวหนัง (Langer’s line) ทั้งสองข้าง ของหน้าอก หรือหลัง ทำให้มีลักษณะคล้ายต้นคริสต์มาส (Christmas Tree Pattern) อาจมีอาการคันร่วมด้วย โดยมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป ตั้งแต่คันเล็กน้อยจนถึงคันมาก

ใครเสี่ยงเป็นโรคผื่นกุหลาบบ้าง? 

ผื่นกุหลาบนั้นสามารถพบได้ในบุคคลทั่วไปทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคมากกว่าปกติ ได้แก่

 

  • เด็กและผู้ใหญ่ตอนต้น ช่วงอายุ 10-35 ปี 
  • เพศหญิง พบว่าผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคผื่นกุหลาบมากกว่าผู้ชาย
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือมีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วย HIV ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน 
  • ผู้ที่อยู่ในสภาพอากาศช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน ผู้ป่วยโรคผื่นกุหลาบบางรายอาจมีประวัติโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อน
  • ผู้ที่มีความเครียด เนื่องจากความเครียดเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดผื่นกุหลาบได้

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว 

ส่งยาถึงที่ ไม่มีค่าจัดส่ง

ผื่นกุหลาบวินิจฉัยอย่างไร?

วินิจฉัย ผื่นกุหลาบ

โรคที่มีอาการคล้ายกับโรคผื่นกุหลาบ เช่น โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 หรือที่เรียกว่า ซิฟิลิสระยะออกดอก, โรคสะเก็ดเงินชนิดลักษณะคล้ายหยดน้ำ (Guttate psoriasis), โรคกลาก (Ringworm), ผื่นแพ้ยาบางชนิด ซึ่งการวินิจฉัยโรคผื่นกุหลาบทำได้โดยวิธีดังนี้

 

  • ซักประวัติและการตรวจร่างกาย เช่น อาการ ระยะเวลาที่เป็นผื่น
  • การดูลักษณะผื่น แพทย์จะดูผื่นนำ (Herald Patch) และผื่นกระจาย (Secondary Eruption) ว่ามีลักษณะและการเรียงตัวอย่างไร
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในกรณีที่สงสัยว่าเป็นโรคผิวหนังอื่นๆ เช่น กลาก เกลื้อน แพทย์อาจขูดผิวหนังบริเวณผื่นเพื่อนำไปตรวจหาเชื้อรา
  • การตรวจเลือด พบได้น้อย
  • การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (Skin Biopsy)

วิธีรักษาผื่นกุหลาบ 

ผื่นกุหลาบมักหายได้เองใน 6-8 สัปดาห์ โดยไม่ต้องรักษา แต่บางรายอาจมีผื่นอยู่นานถึง 3-4 เดือนหรือนานกว่า ในกรณีที่จำเป็นต้องรักษา สามารถบรรเทาอาการได้ดังนี้

 

  • ใช้ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamines)
  • ใช้ครีมสเตียรอยด์ ครีมบำรุงผิว หรือให้ความชุ่มชื้นผิว (Emollient)
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนและการใช้สบู่ที่ทำให้ผิวแห้ง
  • สวมใส่เสื้อผ้าเนื้อนุ่ม ไม่ระคายเคืองผิว
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด

วิธีป้องกันผื่นกุหลาบ

ป้องกันผื่นกุหลาบ

วิธีป้องกันผื่นกุหลาบนั้นสามารถทำได้โดยการดูแลรักษาสุขภาพโดยรวมและดูแลภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วยวิธีดังนี้

 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ และโปรตีน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่อ่อนโยน เช่น สบู่และครีมที่ไม่มีสารก่อการระคายเคือง
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนจัดหรือการถูผิวแรง ๆ
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายหรือวัสดุที่ระบายอากาศได้ดี เนื้อนิ่ม ไม่ระคายเคืองผิว ไม่รัดแน่น

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นผื่นกุหลาบ 

เมื่อเป็นผื่นกุหลาบนอกจากวิธีการทานยาและทายาตามที่แพทย์สั่งแล้ว การดูแลตัวเองเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งเช่นกัน ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยวิธีเช่น
 

  • หลีกเลี่ยงการเกาเมื่อเกิดผื่นคันเพราะอาจทำให้เกิดแผลจนทำให้ติดเชื้อได้
  • ไม่ควรอยู่ในที่ ๆ มีอากาศหนาวและแห้งตลอดเวลา 
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นเพราะจะทำให้ผิวแห้งคัน
  • ใช้ผ้าเย็นหรือถุงน้ำแข็งประคบบริเวณผื่นเพื่อลดอาการคันและการอักเสบ
  • หากมีอาการคันมากอาจใช้ยาทาแก้คัน เช่น คาลาไมน์โลชั่นหรือยาสเตียรอยด์ชนิดอ่อน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้
  • ยาแก้แพ้ ในกรณีที่คันมากแพทย์อาจสั่งยาแก้แพ้ชนิดรับประทานเพื่อบรรเทาอาการ
  • ทาออยล์หรือโลชันหลังอาบน้ำเสร็จเป็นประจำเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว
  • ซักทำความสะอาด เปลี่ยนปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน และผ้าเช็ดตัวเป็นประจำ
  • ไม่เปลี่ยนสกินแคร์หรือเครื่องสำอางบ่อย ๆ เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพ้ผลิตภัณฑ์
  • ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพื่อผิวบอบบางแพ้ง่ายโดยเฉพาะ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการผื่นกุหลาบ

1. ผื่นกุหลาบกับสะเก็ดเงินต่างกันอย่างไร?

ผื่นกุหลาบกับโรคสะเก็ดเงินนั้นแตกต่างกัน โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) คือโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นผื่นคันหนา นูน แดง มักมีลักษณะเป็นวงกลมและมีสะเก็ด มีขุย สามารถพบได้ทั้งบริเวณลำตัว แขน ขา ข้อพับ รักแร้ ขาหนีบ ศีรษะหรือบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อย ผู้ป่วยสะเก็ดเงินมักมีอาการคันร่วมด้วย 

 

ในขณะที่ผื่นกุหลาบPityriasis Rosea คือโรคผิวหนังชนิดหนึ่งลักษณะอาการคือผู้ป่วยจะมีผื่นสีแดงลักษณะเป็นวงรีขึ้นที่บริเวณลำตัว แขน ขา และแผ่นหลัง ผื่นที่พบจะมีลักษณะเป็นขุยเล็กน้อย ขนาดประมาณ 2-5 เซนติเมตร ผื่นกุหลาบสาเหตุมักเกิดจากภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง สภาพอากาศช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว การแพ้แมลง หรือการได้รับเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางอย่าง 

2. ยาทาผื่นกุหลาบใช้อะไรดี ?

โดยปกติแล้วแพทย์อาจจ่ายยาต้านฮีสตามีน (Antihistamines) ที่เป็นยาเม็ดสำหรับรับประทานร่วมกับครีมสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบของผิวหนัง สิ่งที่ควรระวังคือผู้ป่วยไม่ควรหาซื้อยามาใช้รักษาโรคผื่นกุหลาบเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง

ไม่แน่ใจว่าเป็นผื่นกุหลาบหรือไม่ ปรึกษาแพทย์ได้ทันที

ในกรณีที่ผื่นมีอาการคันมากหรือมีบริเวณกว้าง แพทย์อาจให้การรักษาด้วยยา หรือการรักษาอื่น เช่น การใช้แสงบำบัด หรือ การใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยา Acyclovir เป็นต้นถึงแม้ว่าผื่นกุหลาบอาจหายได้เองแต่ผู้ป่วยไม่ควรนิ่งนอนใจ เนื่องจากอาการของโรคผื่นกุหลาบมักใช้ระยะเวลานานในการรักษา และอาจคล้ายกับโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ 

 

เมื่อพบผื่นคันควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคที่เกิดขึ้นและรับการรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้อาการผื่นลุกลาม ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรได้เลยที่นี่ 

 

BeDee พบหมอเฉพาะทางเครือ BDMS ได้ทันที ไม่ต้องรอคิว ส่งยาทั่วไทย มั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล

 

สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

 

นพ. จิติศักดิ์ พูนศรีสวัสดิ์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เวชศาสตร์ป้องกัน และอาชีวเวชศาสตร์

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Pityriasis rosea – Symptoms & causes – Mayo Clinic. (2024, July 12). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pityriasis-rosea/symptoms-causes/syc-20376405

 

Pityriasis rosea: Diagnosis and treatment. (n.d.-b). https://www.aad.org/public/diseases/a-z/pityriasis-rosea-treatment

 

Pityriasis rosea. (2023, July 12). DermNet®. https://dermnetnz.org/topics/pityriasis-rosea

 

Méndez, A., Stevens, C., & Murina, A. (2023). From the Cochrane Library: Interventions for Pityriasis Rosea. JMIR Dermatology6, e45388. https://doi.org/10.2196/45388

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรดไหลย้อน โรคที่พบได้บ่อยมากขึ้นเนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทั้งผู้ที่มีโรคเครียด ขาดการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายน้อย รับประทานอาหารแล้วนอนทันที ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกรดไหลย้อนมากขึ้น สร้างควา

Key Takeaways นอนกรนเกิดได้จากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคอ้วน ภูมิแพ้ หรือผู้ที่มีปัญหาโครงสร้างใบหน้าหรือจมูกผิดรูป  การรักษาอาการนอนกรนควรได้รับการวินิจฉัยสาเหตุการเกิดอาการของแต่ละคนเพื่อทำการรักษาต่อไปอย่างเหมาะสม การนอนกรนส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีว