Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง Key Takeaways Gaslighting คือพฤติกรรมหรือเทคนิคการชักจูงทางจิตวิทยาที่บุคคลหนึ่งพยายามทำให้อีก
เซโรโทนินสารสื่อประสาทที่เป็นมากกว่าสารแห่งความสุข
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
Key Takeaways
- เซโรโทนินคือสารสื่อประสาททำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทซึ่งส่งผลต่อร่างกายหลายอย่าง
- เซโรโทนินมีบทบาทหลายอย่างต่อร่างกาย เช่น การควบคุมอารมณ์ การควบคุมการนอนหลับ การควบคุมความอยากอาหาร การทำงานของระบบทางเดินอาหาร
- การมีระดับเซโรโทนินที่ต่ำเกินไปหรือมากเกินไปทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
เซโรโทนินคืออะไร?
เซโรโทนิน (Serotonin) คือสารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในร่างกายและสมอง ทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทซึ่งส่งผลต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น การควบคุมอารมณ์ การควบคุมการนอนหลับ การควบคุมความอยากอาหาร การทำงานของระบบทางเดินอาหาร
การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย และการรับความเจ็บปวด ซึ่งในผู้ที่มีระดับเซโรโทนินที่น้อยเกินไปอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าโรควิตกกังวล หรือทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับได้
เซโรโทนินมีหน้าที่อะไร?
เซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทที่มีบทบาทหน้าที่หลายอย่างซึ่งมีผลต่อร่างกายอย่างมาก หน้าที่ของเซโรโทนินที่มีต่อร่างกาย ได้แก่
การควบคุมอารมณ์
- เซโรโทนินมีส่วนช่วยในการสร้างความสมดุลของอารมณ์
- ระดับเซโรโทนินที่ต่ำเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า (Depression) หรือโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)
การควบคุมการนอนหลับ
- เซโรโทนินช่วยส่งสัญญาณให้สมองผลิตเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมวงจรการนอนหลับ
การควบคุมความอยากอาหาร
- เซโรโทนินมีบทบาทในการควบคุมความรู้สึกหิวและอิ่ม
การทำงานของระบบทางเดินอาหาร
- เซโรโทนินส่วนใหญ่ (ประมาณ 90%) ถูกผลิตในระบบทางเดินอาหาร มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยในเรื่องการย่อยอาหาร
การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
- เซโรโทนินช่วยปรับอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสม
การรับความเจ็บปวด
- เซโรโทนินมีผลต่อการรับรู้ความเจ็บปวดและช่วยลดระดับความเจ็บปวดได้
หากมีเซโรโทนินน้อยจะเกิดอะไรขึ้น?
ระดับเซโรโทนินที่ต่ำสามารถส่งผลต่อร่างกายและจิตใจในหลายด้านเนื่องจากเซโรโทนินมีบทบาทสำคัญในระบบประสาทและการควบคุมการทำงานของร่างกาย ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น
- ปัญหาทางจิตใจและอารมณ์
เนื่องจากเซโรโทนินมีความสัมพันธ์กับการควบคุมอารมณ์ หากร่างกายมีระดับเซโรโทนินที่ต่ำอาจทำให้รู้สึกเศร้า หดหู่ และขาดความสุขในชีวิตเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล โรคเครียด และอาจมีปัญหาการควบคุมอารมณ์ เช่น หงุดหงิดง่าย โกรธ หรืออารมณ์แปรปรวน - ปัญหาการนอน
เซโรโทนินมีส่วนสำคัญต่อการผลิตเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญสำหรับการนอน ฉะนั้น หากมีระดับเซโรโทนินที่ต่ำก็อาจทำให้หลับยากหรือหลับไม่สนิท - ความผิดปกติด้านการกิน
เซโรโทนินมีส่วนช่วยควบคุมความอยากอาหาร หากเรามีระดับเซโรโทนินที่ต่ำอาจทำให้กินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน - อาการทางกาย
เมื่อระดับเซโรโทนินต่ำอาจทำให้เกิดไมเกรนหรือปวดศีรษะบ่อย รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดกล้ามเนื้อ รู้สึกเจ็บปวดง่าย - ปัญหาในระบบทางเดินอาหาร
เนื่องจากสารเซโรโทนินส่วนใหญ่ถูกผลิตในลำไส้ หากระดับเซโรโทนินต่ำอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืดหรือท้องเสีย
ปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว
ส่งยาถึงที่ ไม่มีค่าจัดส่ง
วิธีเพิ่มเซโรโทนินทำอย่างไร?
วิธีเพิ่มสารเซโรโทนินในสมองนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีดังนี้
การออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายเป็นประจำหรือการทำกิจกรรมคลายเครียด เช่น ฝึกสมาธิ โยคะ หรือเทคนิคการผ่อนคลาย ช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนินในร่างกายได้
การรับประทานอาหารที่มีทริปโตเฟนสูง
ทริปโตเฟน (Tryptophan) คือกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทอย่างเซโรโทนิน ซึ่งช่วยในการผ่อนคลายและนอนหลับ อาหารที่มีทริปโตเฟนสูง เช่น ไข่ ปลา ไก่ ถั่วเหลือง ข้าวกล้อง และกล้วย
การได้รับแสงแดด
แสงแดดช่วยกระตุ้นการผลิตเซโรโทนินดังนั้นเราจึงควรรับแสงแดด 15-20 นาทีต่อวัน ในช่วงเช้าหรือเย็น ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดช่วงเวลา 10.00-15.00 น. เนื่องจากมีค่ารังสี UV ที่สูง
วิธีปรับระดับเซโรโทนินให้สมดุล
1. รับประทานอาหารที่มีทริปโตเฟน (Tryptophan)
ทริปโตเฟนเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยผลิตเซโรโทนิน เช่น ไข่ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน เนื้อไก่ ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วลิสง อัลมอนด์ วอลนัท กล้วย ชีสและโยเกิร์ต ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวโอ๊ต ควินัว ควรลดอาหารแปรรูปและน้ำตาลสูง
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการหลั่งเซโรโทนินในสมอง การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ โยคะหรือพิลาทิส จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและเพิ่มสมาธิ
3. รับแสงแดดอย่างเพียงพอ
แสงแดดช่วยกระตุ้นการผลิตเซโรโทนินในสมอง ควรรับแสงแดด 15-20 นาทีต่อวัน ในช่วงเช้าหรือเย็น หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วง 10.00-15.00 น.
4. นอนหลับอย่างมีคุณภาพ
ควรนอนหลับให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อคืน หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน ปิดโทรทัศน์ ปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้สงบมืดและมีอากาศถ่ายเทที่เหมาะสมจะทำให้นอนหลับได้มีคุณภาพมากขึ้น
5. การจัดการความเครียด
เนื่องจากความเครียดส่งผลให้ระดับเซโรโทนินลดลง ควรใช้วิธีผ่อนคลาย เช่น ทำกิจกรรมที่รู้สึกผ่อนคลาย ฝึกสมาธิ การหายใจลึก ๆ โยคะ หรือใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเซโรโทนิน
1. Serotonin Syndrome คืออะไร?
Serotonin Syndrome คือภาวะที่เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับเซโรโทนินมากเกินไป ส่งผลให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติ ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้ยา หรือสารเสพติดที่ส่งผลทำให้ระดับเซโรโทนินในร่างกายสูงเกินไป อาการที่พบได้ เช่น กล้ามเนื้อกระตุก สั่นหรือชัก หัวใจเต้นเร็ว
ความดันโลหิตสูง เหงื่อออกมาก มีไข้สูง และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
2. เซโรโทนินเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าอย่างไร?
เซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการควบคุมอารมณ์ ความสุข และความสมดุลของจิตใจ ในทางการแพทย์พบว่าผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าบางรายมีระดับเซโรโทนินในสมองที่ต่ำกว่าปกติซึ่งส่งผลให้รู้สึกเศร้า หมดกำลังใจ นอนไม่หลับ เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากเกินไปและอาจมีความคิดทำร้ายตัวเองได้
เซโรโทนิน สารสื่อประสาทที่ร่างกายขาดไม่ได้
เซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก หากเรารู้สึกเศร้า ไม่มีความสุข อาจจะลองปรับวิธีใช้ชีวิตง่าย ๆ เพื่อสร้างเซโรโทนินให้มากขึ้น แต่ถ้าไม่แน่ใจอาการตัวเอง ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรได้เลยที่นี่
BeDee พบหมอเฉพาะทางเครือ BDMS ได้ทันที ไม่ต้องรอคิว ส่งยาทั่วไทย มั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล
สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
นพ.รักสกุล เมฆกุลวิโรจน์
จิตแพทย์ทั่วไป
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Watson, S. (2023, November 20). Serotonin: The natural mood booster. Harvard Health. https://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/serotonin-the-natural-mood-booster
What is serotonin? (n.d.). Mental Health America. https://mhanational.org/what-serotonin
Serotonin syndrome – Symptoms & causes – Mayo Clinic. (2024, September 12). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/serotonin-syndrome/symptoms-causes/syc-20354758