hyperventilation

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

สารบัญบทความ

Key Takeaways

  • Hyperventilation คืออาการหายใจเร็วหรือหายใจลึกเกินกว่าความต้องการของร่างกายส่งผลให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในเลือดลดลง
  • สาเหตุการเกิดภาวะนี้มักเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านจิตใจ
  • อาการที่มักพบ เช่น หายใจถี่หรือหายใจลึกเกิน เวียนศีรษะหรือมึนหัว ชาและรู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มบริเวณปลายนิ้ว มือ เท้า หรือรอบปาก มือหรือเท้าเกร็ง

Hyperventilation คืออะไร? 

Hyperventilation Syndrome คืออาการที่เกิดจากการหายใจเร็วหรือหายใจลึกเกินกว่าความต้องการของร่างกาย บางคนอาจเรียกว่า “ภาวะการหายใจเกิน” ซึ่งการหายใจเกินนี้ส่งผลให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ในเลือดลดลงจนและเกิดภาวะด่างจากการหายใจ ทำให้เกิดอาการทางร่างกายและจิตใจที่ไม่พึงประสงค์ตามมา เช่น ใจสั่น ชารอบปากและแขนขา มือจีบเกร็ง โดยมากแล้วสาเหตุการเกิดภาวะนี้มักเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านจิตใจ เช่น โรคเครียด ความวิตกกังวล การตื่นตระหนก (Panic Attack) หรือปัญหาทางด้านร่างกายอื่น ๆ

Hyperventilation สาเหตุเกิดจากอะไร?

hyperventilation เกิดจาก

Hyperventilation Syndrome หรือ “ภาวะหายใจเกิน” เกิดจากการหายใจที่ตอบสนองต่อความเครียด อารมณ์ สารเคมีบางชนิด หรือโรคทางกายบางอย่าง ทำให้มีอาการหายใจเร็วและลึกเป็นเวลาหลายนาทีโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ในเลือดลดลงจนเกิดความไม่สมดุลในระบบทางเดินหายใจและร่างกาย สาเหตุหลัก ๆ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ปัจจัยทางจิตใจ และ ปัจจัยทางร่างกาย เช่น

1.สาเหตุทางจิตใจ

  • ความเครียด เช่น เครียดจากการทำงาน การเรียน ปัญหาความสัมพันธ์ ทะเลาะเบาะแว้ง ถูกขัดใจ เป็นต้น 
  • ความเครียดเรื้อรัง
  • โรควิตกกังวล
  • โรคแพนิค
  • ปัจจัยโน้มนำ คือ ในวัยเด็กได้รับการเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป
  • พื้นฐานนิสัยเดิมวิตกกังวลง่าย เมื่อมีอาการทางกายทำให้ยิ่งโฟกัสไปที่อาการทางกาย ยิ่งเกิดความวิตกกังวล

 

2. สาเหตุทางร่างกาย 

  • โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง การอุดตันในทางเดินหายใจ
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคที่เกี่ยวกับสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก
  • โรคทางระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะไทรอยด์สูง ภาวะกรดเกินในร่างกาย

Hyperventilation อาการเป็นอย่างไร? 

นอกจากอาการหายใจเกินแล้วภาวะ Hyperventilation ยังอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยอาการของภาวะนี้ที่มักพบได้ เช่น 

  • หายใจถี่หรือหายใจลึกเกิน
  • รู้สึกหายใจไม่อิ่มหรือเหมือนขาดอากาศ
  • เวียนศีรษะหรือมึนหัว
  • ชาและรู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มบริเวณปลายนิ้ว มือ เท้า หรือรอบปาก
  • มือหรือเท้าเกร็ง
  • หัวใจเต้นเร็ว 
  • เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
  • กล้ามเนื้อกระตุกหรือเกร็ง โดยเฉพาะมือและเท้า
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เหงื่อออกมากผิดปกติ
  • รู้สึกเหมือนจะเป็นลม
  • มักสัมพันธ์กับความวิตกกังวล

 

ปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว 

ส่งยาถึงที่ ไม่มีค่าจัดส่ง

วิธีรับมือ Hyperventilation Syndrome

รับมือ hyperventilation

ขจัดความเครียดที่เข้ามากระตุ้น

แยกตัวออกมาอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทและสงบเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น นึกภาพสถานที่สงบและผ่อนคลายในใจ เช่น บรรยากาศทะเล บรรยากาศห้องนอนที่อบอุ่นคุ้นเคย บรรยากาศสวนร่มรื่นย์

ฝึกควบคุมการหายใจ

หายใจเข้า-ออกทางจมูกแทนการหายใจทางปากช้า ๆ หรืออาจเทคนิค 4-7-8 คือการหายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ นับ 4 วินาที กลั้นหายใจนับ 7 วินาที และหายใจออกช้า ๆ นับ 8 วินาที

หายใจผ่านถุงกระดาษ

นำถุงกระดาษมาครอบบริเวณจมูกและปากแล้วหายใจเข้า-ออกช้า ๆ เพื่อให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนสู่กระแสเลือด ห้ามใช้วิธีนี้หากผู้ป่วยเป็นโรคหอบหืด

ฝึกผ่อนคลายจิตใจ

ใช้วิธีการฝึกสมาธิหรือสติ (Mindfulness) เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล ใช้การเบี่ยงเบนความสนใจ โฟกัสที่สิ่งรอบตัว เช่น สี เสียง หรือกลิ่น หรือลองนับตัวเลขถอยหลัง

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

หากเกิดอาการ Hyperventilation ควรปรึกษาจิตแพทย์ตรวจหาสาเหตุทางกายภาพหรือโรคที่เกี่ยวข้อง และรับการบำบัดจิตใจ เช่น การบำบัดพฤติกรรมทางความคิด (Cognitive Behavioral Therapy: CBT)

วิธีรักษา Hyperventilation ทำอย่างไร?

วิธีการรักษาภาวะ Hyperventilation นั้นอันดับแรกแพทย์จะตรวจร่างกายและสอบถามประวัติเพื่อประเมินถึงโรคอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง ซึ่งหากพบว่าผู้ป่วยมีภาวะ Hyperventilation แพทย์อาจให้การรักษา เช่น การบำบัดจิตใจ การบำบัดพฤติกรรมทางความคิด (Cognitive Behavioral Therapy: CBT) เพื่อปรับความคิดที่กระตุ้นความวิตกกังวล ฝึกเทคนิคการจัดการความเครียด เช่น การฝึกสติ (Mindfulness) และอาจมีการใช้ยาคลายกังวลหรือยาต้านเศร้าร่วมด้วย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Hyperventilation

1. Hyperventilation สามารถนำไปสู่โรคอื่นได้ไหม?

ในระยะยาว Hyperventilation อาจนำไปสู่ภาวะขาดสมดุลของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด

ทำให้เกิดการการเกร็งของกล้ามเนื้อ เกิดโรควิตกกังวล (Anxiety Disorders) หรือภาวะตื่นตระหนก (Panic Attack) นอกจากนี้การขาดสมดุลของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเวลานาน อาจมีผลต่อสมองหากอาการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ หรือมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษา

2. Hyperventilation Syndrome ปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ควรทำให้ผู้ป่วยสงบและผ่อนคลาย พาผู้ป่วยไปอยู่ในที่เงียบและอากาศถ่ายเทสะดวกและช่วยผู้ป่วยควบคุมการหายใจโดยการหายใจช้า ๆ และลึก ๆ ด้วยวิธีดังนี้

  • หายใจเข้า: นับ 1-2-3 
  • กลั้น: นับ 1-2 
  • หายใจออก: นับ 1-2-3-4

หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการหายใจได้ให้ใช้ถุงกระดาษ (ห้ามใช้ถุงพลาสติก) ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออกผ่านถุงประมาณ 10-15 ครั้ง แล้วหยุดพัก ห้ามใช้วิธีหายใจผ่านถุงกระดาษหากผู้ป่วยมีโรคปอด เช่น หอบหืด

Hyperventilation ต้องรีบปรึกษาแพทย์

Hyperventilation Syndrome สร้างความลำบากต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมากเพราะไม่รู้ว่าอาการจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ นอกจากนี้สาเหตุของภาวะนี้ยังมักเกิดจากปัญหาทางด้านจิตใจ ดังนั้นหากรู้สึกเครียด กังวล หรือมีปัญหาจิตใจอื่น ๆ ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อหาทางรับมืออย่างเหมาะสม ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรได้เลยที่นี่ 

 

BeDee พบหมอเฉพาะทางเครือ BDMS ได้ทันที ไม่ต้องรอคิว ส่งยาทั่วไทย มั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

พญ. อธิชา วัฒนาอุดมชัย
จิตแพทย์

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Hyperventilation. (2024, August 23). Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/hyperventilation

 

Fields, L. (2021, October 29). What is hyperventilation? WebMD. https://www.webmd.com/lung/lung-hyperventilation-what-to-do

 

Hyperventilation. (n.d.). Cambridge University Hospitals. https://www.cuh.nhs.uk/patient-information/hyperventilation/

บทความที่เกี่ยวข้อง

เสี่ยง สงสัย โรคซึมเศร้า, โรคเครียด, โรควิตกกังวล, นอนไม่หลับ, หยุดคิดไม่ได้ หรือมีปัญหาสุขภาพใจอื่น ๆ ห้ามปล่อยไว้ !    ปัจจุบันสังคมหันมาให้ความสำคัญกับการปรึกษาจิตแพทย์มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สะท้อนได้ว่ามีผู้ป่วยทางด้านจิตใจ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เ

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่สิ่งแวดล้อมรอบตัวทำให้เรามีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยทางจิตเวชมากมายโดยที่เราไม่รู้ตัว เช่น โรคเครียด, นอนไม่หลับ หรือแม้แต่โรคซึมเศร้า ก็ดูจะใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด ทุกวันนี้เรามีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษาทางด้านจิตเวชมา