gaslighting

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

Key Takeaways

  • Gaslighting คือพฤติกรรมหรือเทคนิคการชักจูงทางจิตวิทยาที่บุคคลหนึ่งพยายามทำให้อีกฝ่ายรู้สึกสงสัยในความทรงจำ ความรู้สึก หรือการรับรู้ของตนเองจนสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง
  • เกิดขึ้นได้ทั้งในรูปแบบความสัมพันธ์ที่เป็นความรัก เพื่อน ครอบครัว ที่ทำงาน
  • หากสงสัยว่าตัวเองอาจกำลังโดน Gaslight ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิก
สารบัญบทความ

Gaslighting คืออะไร? 

“Gaslighting” คำนี้มาจากละครเวทีและภาพยนตร์เรื่อง Gaslight ในปี ค.ศ. 1944 ที่ตัวละครฝ่ายชายพยายามทำให้ภรรยาของเขาคิดว่าตัวเองกำลังเสียสติ โดยการปรับแสงไฟในบ้านให้มืดลงและบอกว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทำให้ภรรยารู้สึกว่าเป็นฝ่ายคิดไปเองคนเดียวและสงสัยในเรื่องจิตใจของตัวเองว่าอาจมีปัญหา 

ในปัจจุบันคำว่า “Gaslighting” คือพฤติกรรมหรือเทคนิคการชักจูงทางจิตวิทยาที่บุคคลหนึ่งพยายามทำให้อีกฝ่ายรู้สึกสงสัยในความทรงจำ ความรู้สึก หรือการรับรู้ของตนเองจนสูญเสียความมั่นใจในตัวเองหรือไม่แน่ในความเป็นจริงในชีวิต ซึ่งมักจะเกิดในความสัมพันธ์ที่มีลักษณะควบคุมหรือมีการใช้อำนาจเหนือกว่า เรียกได้ว่าเป็น Toxic Relationship อีกรูปแบบหนึ่ง โดย Gaslighting เกิดขึ้นได้ทั้งในรูปแบบความสัมพันธ์ที่เป็นความรัก เพื่อน ครอบครัว ที่ทำงาน 

ปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว 

ส่งยาถึงที่ ไม่มีค่าจัดส่ง

Gaslighting มีกี่ประเภท?

ประเภท gaslighting

คำพูดเป็นอาวุธที่ร้ายแรงที่สุดอย่างหนึ่ง ยิ่งหากเราต้องเผชิญกับสิ่งนี้ทุกวันยิ่งบั่นทอนจิตใจแน่นอน Gaslighting หรือการใช้คำพูดเป็นอาวุธเพื่อเปลี่ยนให้ “ผู้บริสุทธิ์” กลายเป็น “เหยื่อ” นั้นมีหลายวิธีด้วยกัน เทคนิคที่พบได้บ่อยมี 4 วิธีดังนี้

ปฏิเสธข้อเท็จจริง

Gaslighting ประเภทแรกคือการไม่ยอมรับ บิดเบือนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น หรือบิดเบือนคำพูด พยายามทำให้อีกฝ่ายเข้าใจว่าคิดผิดไปเอง เช่น “ฉันไม่เคยพูดแบบนั้น” “เธอคิดไปเอง”

บิดเบือนความทรงจำ

การบิดเบือนความทรงจำในรูปแบบนี้คือการทำให้อีกฝ่ายสับสนกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หรือทำให้เกิดความสงสัยในความทรงจำของตัวเอง เช่น “เธอจำผิดเองหรือเปล่า” “มันไม่ได้เป็นแบบนั้นนะ” 

ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกผิด

อีกหนึ่งเทคนิคที่นิยมใช้คือการทำให้อีกคนเป็นฝ่ายผิด หรือรู้สึกผิดด้วยคำพูดเช่น “ฉันไม่ได้เป็นคนผิดนะ” “ฉันไม่ได้เป็นคนเริ่มเรื่องนี้” “ก็เธอต้องการแบบนี้เอง” “ฉันเหนื่อยมากนะ” “พ่อแม่ทำเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเธอ แต่เธอกลับมองว่าเราทำร้ายเธอ” “เพราะเธอเป็นแบบนี้ไง ฉันถึงมีคนอื่น”

ทำลายความมั่นใจ

สิ่งสำคัญของการทำ Gaslighting คือการทำให้เหยื่อรู้สึกไม่มั่นใจ ขาดความมั่นใจในตัวเอง หรือมี Self-esteem ที่ต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จนเหยื่อเริ่มเชื่อว่าไม่มีความสามารถหรือคุณค่า ซึ่งเทคนิคข้างต้นทั้งหมดจะเริ่มทำให้เหยื่อหมดความมั่นใจในตัวเองลงเรื่อย ๆ

5 สัญญาณที่บอกว่าคุณอาจกำลังโดน Gaslighting 

หลายคนอาจกำลังตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัวและอาจตกอยู่ในจุดที่สภาพจิตใจกำลังอ่อนแอ ย่ำแย่จากการถูกล้างสมองด้วยคำพูดเหล่านี้ BeDee มี 5 สัญญาณที่บอกว่าคุณอาจกำลังตกเป็นเหยื่อของการทำ Gaslighting มาฝากกัน

  1. คุณรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้น “มันอาจจะเป็นความผิดของฉันเอง” 
  2. สูญเสียความมั่นใจในตัวเอง
  3. รู้สึกว่าตัวเองต้องเป็นฝ่ายขอโทษบ่อยครั้ง
  4. มักถูกบอกว่า “คิดไปเอง”
  5. ไม่กล้าตัดสินใจเอง ต้องพึ่งพิงอีกฝ่ายมากขึ้น

วิธีรับมือ Gaslighting

รับมือ gaslighting
  1. เชื่อมั่นในความรู้สึกของตัวเอง
    ถ้าคุณรู้สึกว่าสิ่งที่อีกฝ่ายพูดหรือทำไม่ถูกต้อง ให้เชื่อในสัญชาตญาณของตัวเอง ฝึกจดจำและยืนยันความจริงในสิ่งที่คุณเห็นหรือเจอมา

  2. บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
    เขียนหรือบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น สิ่งที่อีกฝ่ายพูดหรือทำ ระบุวันและเวลา การบันทึกจะช่วยให้คุณมีหลักฐานยืนยันความทรงจำของตัวเอง

  3. ตั้งขอบเขตที่ชัดเจน
    สื่อสารขอบเขตของเราอย่างชัดเจน ว่าอะไรคือสิ่งที่เรายอมรับไม่ได้ กล้าปฏิเสธและยืนยันในขอบเขตของตนเอง

  4. สร้างระยะห่าง
    พยายามถอยห่างจากความสัมพันธ์ที่เป็นพิษนั้นหากเป็นไปได้ ค่อย ๆ ยุติความสัมพันธ์

  5. พิจารณาความสัมพันธ์
    หากการ Gaslighting เกิดจากคนใกล้ตัวและไม่สามารถแก้ไขได้ อาจต้องพิจารณาว่าความสัมพันธ์นั้นควรดำเนินต่อไปหรือไม่

  6. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
    หากรู้สึกไม่มั่นใจ กังวล ไม่รู้จะหาทางรับมืออย่างไรดี สามารถปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกได้ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้เรามีวิธีรับมือและจัดการกับความรู้สึกได้ดีขึ้น

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Gaslighting

1. Manipulate กับ Gaslight ต่างกันยังไง?

Manipulate หรือการหลอกใช้ คือการกระทำที่มุ่งเน้นการควบคุมพฤติกรรมและการตัดสินใจของเหยื่อชักจูงผู้อื่นให้ทำในสิ่งที่ต้องการโดยใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น การแสร้งว่าตัวเองเป็นเหยื่อ บิดเบือนความจริง กดดันให้เหยื่อกระทำบางอย่าง สร้างความรู้สึกผิดให้กับผู้ที่ถูกชักจูงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตัว

 

ในขณะที่ Gaslighting คือการทำให้เหยื่อสงสัยในความทรงจำ ความคิด หรือการรับรู้ของตัวเอง เพื่อควบคุมจิตใจและทำให้เหยื่อพึ่งพาผู้กระทำ 

2. Gaslighting อันตรายหรือไม่?

Gaslight คือรูปแบบของการล่อลวงทางจิตวิทยาที่อันตรายมาก เพราะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ถูกกระทำ ผู้ที่ถูก Gaslighting มักจะถูกทำให้สงสัยในความคิด ความทรงจำ หรือการรับรู้ของตัวเอง จนในที่สุดอาจสูญเสียความมั่นใจในตัวเองและพึ่งพาผู้กระทำเป็นหลักหรืออาจเรียกได้ว่าถูกครอบงำโดยสมบูรณ์

3. Gaslighting ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างไร?

ความสัมพันธ์แบบนี้อาจทำให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเกิดความเครียดเรื้อรัง วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือสูญเสียความมั่นใจในตัวเองในระยะยาว หากรู้สึกว่าได้รับผลกระทบจนจัดการเองไม่ไหว ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิก

4. หากคนในครอบครัวหรือคนใกล้ตัว Gaslighting กับเราควรทำอย่างไร?

การเผชิญหน้ากับคนในครอบครัวที่ใช้เทคนิค Gaslighting กับเราอาจเป็นเรื่องยาก ควรพูดคุยอย่างใจเย็น และหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ควรพูดคุยกับบุคคลในครอบครัวที่เข้าใจและรับฟังคุณ หรือขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อช่วยประเมินวิธีการแก้ปัญหา

อย่าปล่อยให้ Gaslighting ทำร้ายความรู้สึก 

Gaslighting คือการบิดเบือนความจริงและทำให้เหยื่อสงสัยในความคิดของตัวเอง มักใช้เพื่อควบคุมหรือมีอำนาจเหนืออีกฝ่าย อย่าปล่อยให้ตัวเองตกเป็นเหยื่อของคำพูดโดยไม่รู้ตัว ปกป้องและดูแลความรู้สึกของตัวเองตั้งแต่วันนี้ ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรได้เลยที่นี่ 

BeDee พบหมอเฉพาะทางเครือ BDMS ได้ทันที ไม่ต้องรอคิว ส่งยาทั่วไทย มั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

Content powered by BeDee Expert

ธนวินท์ มีลาภอุดมชัย
นักจิตวิทยาคลินิก

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Huizen, J. (2024b, March 22). Examples and signs of gaslighting and how to respond. https://www.medicalnewstoday.com/articles/gaslighting#how-it-works

Gaslighting. (2024, July 1). Psychology Today. https://www.psychologytoday.com/intl/basics/gaslighting

What is gaslighting? | The National Domestic Violence Hotline. (2023, July 4). The Hotline. https://www.thehotline.org/resources/what-is-gaslighting/

บทความที่เกี่ยวข้อง

*ข้อมูลทั้งหมดเป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้น ผู้ป่วยควรพบจิตแพทย์ควบคู่กับการดูแลตัวเองไปด้วย     วิธีรักษาโรควิตกกังวลหรือกลุ่มโรคทางจิตเวชทางด้านอารมณ์ต่าง ๆ นั้นควรจะต้องปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อรักษาและบำบัดอย่างใกล้ชิด และแน่นอนว่าการร

พูดถึงโรคซึมเศร้า เราอาจจะนึกถึงภาพถึงกลุ่มคนในช่วงอายุวัยรุ่น วัยทำงาน ที่ป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นในช่วงหลังมานี้ แต่มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เราอาจไม่ได้นึกถึงว่าอาจเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าได้เช่นกันได้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นอันตรายไม่ต่