ด้วยความเครียด การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ พักผ่อนไม่เพียงพอ ประเภทอาหารที่รับประทาน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อผู้ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนแล้วไม่ได้รับการรักษาหรือไม่เปลี่ยนพฤติกรรมก็อาจทำให้มีอาก
Toxic Relationship เช็กความสัมพันธ์ที่ควรไปต่อหรือพอแค่นี้?
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
Key Takeaways
- Toxic Relationship คือความสัมพันธ์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต อารมณ์ หรือแม้กระทั่งสุขภาพร่างกายของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษนี้อาจเกิดขึ้นกับความสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ ทั้งความสัมพันธ์แบบคู่รัก ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนทั่วไปก็ตาม
- หากพบว่ามีความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ไม่รู้จะรับมือและจัดการอย่างไร แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อหาทางรับมือ
ทำความรู้จัก Toxic Relationship คืออะไร?
“Toxic Relationship” หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ” นั้นคือความสัมพันธ์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต อารมณ์ หรือแม้แต่สุขภาพร่างกายของบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยความสัมพันธ์เช่นนี้อาจเกิดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์แบบคู่รัก ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนทั่วไปก็ตาม ความสัมพันธ์แบบ “เป็นพิษ” นี้อาจมีเพียงเราฝ่ายเดียวที่รู้สึกโดยที่อีกฝ่ายอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังทำให้อีกฝ่ายเกิดความอึดอัดใจ
เช็ก 7 สัญญาณ Toxic Relationship ที่ต้องระวัง
ถึงแม้ว่าทุกความสัมพันธ์อาจมีปัญหาที่เราจะต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกันและค่อย ๆ ปรับตัวกันไป แต่ความสัมพันธ์แบบ Toxic Relationship นั้นอาจเป็นความสัมพันธ์แบบเป็นพิษซึ่งร้ายแรงจนไม่สามารถยอมรับได้ แล้วความสัมพันธ์ Toxic มีอะไรบ้าง? BeDee มีตัวอย่างมาให้ดูกัน
1. ควบคุมการกระทำและความคิด
สัญญาณ Toxic Relationship ข้อแรกคือแฟน เพื่อน หรือบุคคลนั้น ๆ ของคุณพยายามควบคุมการตัดสินใจหรือการกระทำของอีกฝ่ายมากเกินไป เช่น ห้ามพบเพื่อน ต้องแต่งตัวมิดชิด เสื้อผ้าต้องปกปิดทุกส่วน ห้ามมีความคิดเห็นอื่น ๆ และอื่น ๆ การกระทำแบบนี้อาจทำให้เรารู้สึกอึดอัด ไม่มีความสำคัญในความสัมพันธ์นั้น
2. ขาดความไว้วางใจ
ความสัมพันธ์แบบ Toxic อย่างหนึ่งคือการที่อีกฝ่ายมักสงสัยและไม่เชื่อใจ เช่น แอบเช็กโทรศัพท์ ข้อความ หรือโซเชียลมีเดีย
3. มีความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจน
ความสัมพันธ์ในครั้งนี้อาจจะไม่มีสถานะที่ใช้ระบุความสัมพันธ์ที่ชัดเจน เช่น แฟน คนรัก คนคุย ทำให้เมื่อเกิดปัญหาขึ้นอีกฝ่ายอาจยกเรื่องสถานะที่ไม่ชัดเจนนี้มาเป็นข้ออ้างได้
4. หลอกลวง ไม่ซื่อสัตย์
ความสัมพันธ์ระหว่างคุณและอีกฝ่ายอาจมีความหลอกลวง ไม่จริงใจเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น มีการโกหก นอกใจ หลอกเอาผลประโยชน์บางอย่าง หลอกใช้งานอีกฝ่าย และอาจมีการใช้เทคนิค Gaslighting เผื่อให้เรากลายเป็นผู้ที่ควรรู้สึกผิดแทนอีกด้วย
5. หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
ตัวอย่าง Toxic Relationship ในข้อนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในเรื่องความรักและชีวิตการทำงาน สิ่งที่เกิดขึ้นคืออีกฝ่ายมักไม่ยอมรับผิดหรือไม่สนใจแก้ไขปัญหา เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะพยายามหลีกเลี่ยง ไม่ข้องเกี่ยว ปล่อยให้อีกฝ่ายแก้ปัญหาอยู่เพียงลำพังโดยไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ
6. ใช้อารมณ์รุนแรง
อีกฝ่ายอาจมีการใช้อารมณ์ เช่น ความโกรธ ความหึงหวง กล่าวโทษ ด่าทอ ขึ้นเสียง เพื่อกดดันหรือข่มขู่อีกฝ่าย การใช้อารมณ์รุนแรงนั้นอาจนำไปสู่การใช้กำลังต่อไปได้
7. ใช้กำลัง
สิ่งที่อันตรายที่สุดอย่างหนึ่งของ Toxic Relationship คือการใช้กำลัง การทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ เช่น การตี การข่มขู่ หรือการล่วงละเมิด การบังคับให้อีกฝ่ายทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ ไม่เต็มใจ
วิธีรับมือกับ Toxic Relationship
เมื่อเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว Toxic Relationship มีวิธีแก้อย่างไร? การรับมือกับ Toxic Relationship ต้องใช้การวางแผนที่เหมาะสมเพื่อปกป้องตัวเองทั้งในด้านจิตใจและร่างกาย วิธีการรับมือที่เหมาะสม เช่น
- สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา
เปิดใจพูดคุยเพื่อบอกความรู้สึกของตัวเองและสิ่งที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ สิ่งสำคัญคือควรใช้เหตุผลและภาษาที่เป็นมิตรในการพูดคุย รับฟังความคิดเห็นของอีกฝ่าย ให้โอกาสอีกฝ่ายแสดงความคิดเห็นในมุมของตัวเอง - ตั้งขอบเขตที่ชัดเจน
เมื่อพูดคุยกันแล้วให้ระบุสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ บอกอีกฝ่ายให้เข้าใจถึงพฤติกรรมที่คุณไม่สามารถทนได้ เช่น การดูถูกหรือการโกหก - ประเมินความสัมพันธ์อย่างเป็นกลาง
ลองถามและพูดคุยกับตัวเองว่าความสัมพันธ์นี้มียังเป็นไปได้หรือไม่? มีความเป็นไปได้ที่อีกฝ่ายจะปรับปรุงพฤติกรรมและความคิดหรือไม่ ? หากไปต่อเราจะมีความสุขหรือความทุกข์มากกว่ากัน ?
- ให้เวลากับการเยียวยาตัวเอง
สิ่งที่ควรให้ความเข้าใจคือเราไม่ได้ผิดที่ต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น ใช้เวลาในการดูแลตัวเอง สร้างความมั่นใจ และฟื้นฟูสุขภาพจิต - ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
หากมีปัญหาในความสัมพันธ์ การปรึกษานักจิตวิทยาคลินิกหรือจิตแพทย์จะช่วยให้เราปรับวิธีคิดและมีวิธีการรับมือกับปัญหาได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
มีปัญหาความสัมพันธ์ การปรับตัว ปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว ส่งยาถึงที่ ไม่มีค่าจัดส่ง
วิธีป้องกัน Toxic Relationship
วิธีป้องกัน Toxic Relationship คือการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแรงและมีความเข้าใจถึงคุณค่าในตัวเองตั้งแต่เริ่มต้นด้วยวิธีการ เช่น
- รู้จักคุณค่าของตัวเอง
เราควรเข้าใจว่าความสัมพันธ์นี้ไม่ได้เป็นตัวตัดสินคุณค่าของเรา เรายังมีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเองและคนอื่นเสมอ เราไม่ควรยอมรับพฤติกรรมที่ทำให้รู้สึกไม่ดี หากมีพฤติกรรมที่ทำให้ไม่สบายใจ ควรพูดออกไป - ดูแลสุขภาพจิตของตัวเอง
มีเวลาสำหรับตัวเองเพื่อผ่อนคลาย และพบเจอคนอื่น ๆ เช่น ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ พูดคุยกับเพื่อน ใช้เวลากับครอบครัว - มีการสื่อสารที่ดี
สร้างการพูดคุยอย่างเปิดใจ ตรงไปตรงมาเพื่อสื่อสารถึงความรู้สึก ความต้องการ และความคาดหวังของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจนโดยไม่ใช้อารมณ์ ในขณะเดียวกันเราก็ควรฟังอีกฝ่ายอย่างตั้งใจ ให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความคิดของอีกฝ่าย เคารพความเห็นต่าง - กำหนดขอบเขตที่ชัดเจน
กำหนดสิ่งที่ยอมรับได้และยอมรับไม่ได้ในความสัมพันธ์นี้และบอกให้อีกฝ่ายได้ทราบ เช่น การโกหก ดูถูก ใช้อารมณ์ การเอาเปรียบ หนีปัญหา - เข้าใจว่าความรักไม่ใช่ทุกอย่าง
มองหาความสัมพันธ์ที่ดีต่อสุขภาพใจ ไม่ใช่แค่ความรักที่ลึกซึ้งแต่ต้องมีความเคารพและการสนับสนุนซึ่งกันและกัน กล้าที่จะถอยหากความสัมพันธ์ในครั้งนี้ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ดีต่อสุขภาพจิต
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Toxic Relationship
1. หากเลือกจะไปต่อกับ Toxic Relationship ควรทำอย่างไร?
เมื่อประเมินและได้เปิดใจพูดคุยกันทั้งสองฝ่ายแล้วพบว่าความสัมพันธ์ในครั้งนี้อาจไม่ดีขึ้น ไม่เป็นไปตามที่เรายอมรับได้ ควรยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น ชี้แจงถึงเหตุผลให้อีกฝ่ายได้ฟังถึงเหตุผลที่จะต้องยุติความสัมพันธ์โดยไม่ใช้อารมณ์และอคติ
2. วิธีช่วยเพื่อนหรือคนใกล้ชิดที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบ Toxic ควรทำอย่างไร?
ให้กำลังใจ รับฟังโดยไม่ตัดสิน และช่วยสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจ หรืออาจแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิก
3. Toxic Relationship ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างไร?
ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษสามารถสร้างความเครียดเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล ซึ่งอาจทำให้รู้สึกหมดพลังงาน ขาดความสุข และไม่มีสมาธิในการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังอาจทำลายความมั่นใจในตัวเอง ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่มีคุณค่า หรือต้องโทษตัวเองตลอดเวลา หากไม่ได้รับการแก้ไข ผลกระทบนี้อาจลุกลามไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพกาย เช่น อาการปวดหัว นอนไม่หลับ หรือระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลงด้วย
4. เริ่มต้นใหม่อย่างไรหลังจากออกจาก Toxic Relationship?
ควรเริ่มต้นด้วยการให้เวลาและพื้นที่กับตัวเองในการฟื้นฟูจิตใจ มุ่งเน้นการดูแลตัวเอง เช่น ทำกิจกรรมที่ชอบหรือพัฒนาตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและปลอดภัยกับคนรอบข้าง หากยังรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่มั่นใจ สามารถปรึกษานักจิตวิทยาคลินิกหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยสร้างมุมมองใหม่และความมั่นใจในความสัมพันธ์ครั้งต่อไป
Toxic Relationship ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิก
มีปัญหาสุขภาพใจ ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ ปัญหาการทำงาน คุยกับคุณหมอหรือนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เราคือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับคุณ ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรได้เลยที่นี่
BeDee พบหมอเฉพาะทางเครือ BDMS ได้ทันที ไม่ต้องรอคิว ส่งยาทั่วไทย มั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล
สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
ธนวินท์ มีลาภอุดมชัย
นักจิตวิทยาคลินิก
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
10 signs of an unhealthy relationship. (n.d.). https://somersetdomesticabuse.org.uk/10-signs-of-an-unhealthy-relationship/
Lloyd, K. (2024, July 16). 10 steps to Fix a toxic Relationship | ClearMinds. ClearMinds, Center for Emotional Health. https://www.clearmindscenter.com/blog/10-steps-to-fix-a-toxic-relationship/
mindbodygreen. (2022, December 7). Can a toxic relationship be fixed? 10 necessary steps it would take. Mindbodygreen. https://www.mindbodygreen.com/articles/how-to-fix-a-toxic-relationship?srsltid=AfmBOoqwqrUcgsM9Q3PQgdNkaRIhrV7d5oZtgzqmRRCPEsxKBgMqLB65