วิธีแก้นอนไม่หลับผู้สูงอายุ

Key Takeaways

  • วิธีแก้นอนไม่หลับผู้สูงอายุมีหลายวิธี ควรเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแทนการพึ่งยานอนหลับ
  • หากผู้สูงอายุนอนไม่หลับควรลุกมาทำกิจกรรมเบา ๆ เช่น อ่านหนังสือ ดื่มนมอุ่น ยืดเส้นยืดสายเล็กน้อย
  • หากพบว่าผู้สูงอายุมีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ในตอนกลางคืน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อป้องกันโรคหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้จากการพักผ่อนไม่เพียงพอในผู้สูงอายุ
สารบัญบทความ

สาเหตุอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร?

อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร

การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย ผู้สูงอายุบางท่านนอนหลับแล้วแต่มักตื่นกลางดึก หรือบางท่านอาจนอนหลับได้ยาก หรือแม้แต่นอนไม่หลับเลย สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับ ปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังนี้

 

  • การเปลี่ยนแปลงของวงจรการนอน เมื่ออายุมากขึ้นวงจรการนอนหลับอาจเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้สูงอายุหลับยากขึ้น หรือตื่นบ่อยในตอนกลางคืน รวมถึงอาจหลับได้น้อยลง โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 26-64 ปี ควรพักผ่อนวันละ 7-9 ชั่วโมง
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงวัยทอง ทำให้นอนหลับยาก 
  • ปัญหาสุขภาพ เช่น ปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ อาจรบกวนการนอน
  • ปัญหาทางด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ความวิตกกังวล ปัญหาครอบครัว

 

BeDee Tips: คนแก่นอนไม่หลับ กินอะไรดี ? อ่านเพิ่มเติมเลย นอนไม่หลับ กินอะไรดี

อาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุอันตรายไหม?

อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องพบได้บ่อยและดูเหมือนจะไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตแต่จริง ๆ แล้วหากผู้สูงอายุมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังอาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น 

  • เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ: การนอนหลับไม่เพียงพออาจทำให้ผู้สูงอายุวูบ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ ทำให้เสี่ยงต่อการหกล้มจนทำให้ร่างกายบาดเจ็บได้ 
  • ผลกระทบต่อระบบประสาทและสมอง: การนอนไม่หลับเรื้อรังอาจทำให้สมองทำงานไม่เต็มที่ ส่งผลให้ความจำเสื่อมลง หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า: การนอนไม่หลับเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หงุดหงิด และปัญหาด้านอารมณ์อื่น ๆ 
  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ: การพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือทำให้เจ็บป่วยง่ายขึ้น

 

สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือไม่ควรซื้อยานอนหลับมารับประทานเอง การรับประทานยานอนหลับต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเท่านั้น

 

มีปัญหาผู้สูงอายุนอนไม่หลับ ปรึกษาคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ไม่ต้องเดินทาง ส่งยาถึงที่

9 วิธีแก้นอนไม่หลับผู้สูงอายุแบบง่าย ๆ

อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ วิธีแก้

การนอนไม่หลับเป็นเรื่องที่ทำให้ตัวผู้สูงอายุเองอาจจะกังวลใจไม่น้อย บางคนพยายามข่มตาหลับต่อเพื่อให้นอนหลับ หลายคนอาจคิดว่าการข่มตานอนจะช่วยทำให้ง่วงไปเอง แต่ความจริงแล้วอาจจะทำให้เรานอนไม่หลับไปทั้งคืนเลยก็ได้ เรามีวิธีแก้นอนไม่หลับผู้สูงอายุมาแนะนำดังนี้ 

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    วิธีแก้นอนไม่หลับผู้สูงอายุอย่างแรกคือควรหากีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับช่วงวัย เช่น เดินเร็ว โยคะ ปั่นจักรยาน รำมวยจีน เป็นต้น โดยช่วงเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสมคือ 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอนเพราะจะทำให้ระบบประสาทอัตโนวัติทำงานมากเกินไปจนทำให้ร่างกายตื่นตัว


  2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
    ผู้สูงอายุหลายท่านมักจะติดการดื่มกาแฟหรือชา ซึ่งเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้นอนหลับยากในตอนกลางคืน
     
  3. ดื่มนมอุ่นหรือรับประทานกล้วยหอมก่อนนอน
    เนื่องจากกล้วยและนมมีกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสารเซโรโทนิน (Serotonin) ทำให้รู้สึกผ่อนคลายความเครียด ความวิตกกังวล ทำให้ง่วงและนอนหลับได้ง่ายขึ้น


  4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนัก หรือรสจัดก่อนนอน
    การทานมื้อเย็นหรือมื้อดึกก่อนนอนจะทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องอืด จุก แน่น และทำให้นอนหลับยาก


  5. ผ่อนคลายจิตใจก่อนนอน
    เช่น การทำสมาธิ การฝึกหายใจก่อนนอน ทำจิตใจให้สบาย หรือการนวดตามร่างกายเบา ๆ จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลายมากขึ้น

  6. งดเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน
    งดเล่นโทรศัพท์มือถือ ดูโทรทัศน์ หรือใช้คอมพิวเตอร์ก่อนนอน เนื่องจากแสงสีฟ้าจากหน้าจอจะทำให้เรารู้สึกตื่นตัว นอนหลับยาก

  7. อาบน้ำอุ่น
    การอาบน้ำอุ่นก่อนนอนจะช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย กล้ามเนื้อได้คลายตัว ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น

  8. จัดห้องนอนให้เหมาะสม
    อุณหภูมิห้องนอนไม่ควรร้อนจนเกินไปและห้องนอนไม่ควรมีแสงและเสียงเข้ามารบกวนเพื่อให้เกิดการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ

  9. ปรึกษาคุณหมอ
    หากวิธีแก้นอนไม่หลับของผู้สูงอายุข้างต้นไม่ได้ผลหรือผู้สูงอายุมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง กระทบชีวิตประจำวัน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ควรรีบปรึกษาคุณหมอ สามารถปรึกษาคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ไม่ต้องเดินทาง

 

BeDee Tips: เอาชนะ อาการนอนไม่หลับอย่างไรดี อ่านต่อเลย!

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิธีแก้อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

1. ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปควรนอนวันละกี่ชั่วโมง?

ตามคำแนะนำของ National Sleep Foundation ผู้มีอายุระหว่าง 26-64 ปีขึ้นควรนอนพักผ่อนวันละ 7-9 ชั่วโมง ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคล หากนอนน้อยเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อความจำ สมาธิ และอารมณ์ นอกจากนี้การนอนหลับไม่เพียงพออาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ และภาวะซึมเศร้า

2. คนแก่นอนไม่หลับทําไงดี?

หากพบว่าผุ้สูงอายุมีปัญหานอนไม่หลับสามารถทำตาม 9 วิธีแก้นอนไม่หลับผู้สูงอายุข้างต้นได้ เช่น การฝึกเทคนิคผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ ออกกำลังกาย แต่หากพบว่าอาการนอนไม่หลับรุนแรงและเรื้อรังควรปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติม

วิธีแก้นอนไม่หลับผู้สูงอายุทำตามได้ง่าย ๆ ไม่ต้องพึ่งยานอนหลับ

หากทำตาม 9 วิธีแก้นอนไม่หลับผู้สูงอายุข้างต้นแล้วพบว่าอาการนอนไม่หลับไม่ดีขึ้น หรือมีอาการนอนไม่หลับเป็นระยะเวลานาน ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อป้องกันโรคหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ 

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนแอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

พญ. กัญจน์อมล ศิริเวช

อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Thensf. (2024, August 30). How much sleep do you really need? National Sleep Foundation. https://www.thensf.org/how-many-hours-of-sleep-do-you-really-need/

 

Fry, A., & Fry, A. (2023, November 22). Insomnia and older adults. Sleep Foundation. https://www.sleepfoundation.org/insomnia/older-adults

 

A good night’s sleep. (2020, November 3). National Institute on Aging. https://www.nia.nih.gov/health/sleep/good-nights-sleep

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Takeaways ละเมอคืออาการผิดปกติของการนอนหลับอย่างหนึ่งซึ่งทำให้ผู้ป่วยลุกขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในขณะที่ยังอยู่ในภาวะหลับลึก เช่น ละเมอเดิน นอนละเมอพูดละเมอร้องไห้ การนอนที่ผิดปกตินี้อาจรบกวนคุณภาพการนอนหลับ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยล้าในตอนกลางวัน

Key Takeaways โรคลมหลับเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่มีลักษณะเด่นคือการง่วงนอนมากเกินไปในเวลากลางวัน ผู้ป่วยจะมีอาการวูบหลับนั่งหลับหลับกลางอากาศ หรือหลับแบบไม่รู้ตัว  ผู้ป่วยโรคลมหลับบางรายมีอาการ Cataplexy คืออาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย มักเ