แบบประเมินความเสี่ยงโรคไต

Key Takeaways

  • แบบประเมินความเสี่ยงโรคไตเป็นเครื่องมือที่ช่วยประเมินความเสี่ยงต่อเบื้องต้นต่อการเกิดโรคไตในอีก 10 ปี
  • ผู้ที่ชอบทานรสเค็มจัด หรือมีประวัติทานยาเป็นเวลานานควรทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคไต
  • การทำแบบประเมินจะช่วยให้เราป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตตั้งแต่เนิ่น ๆ
สารบัญบทความ

แบบประเมินความเสี่ยงโรคไตใน 10 ปีข้างหน้า ป้องกันความเสี่ยงด้วยการคัดกรองเบื้องต้น

โรคไต (Kidney Disease) คือ ภาวะที่การทำงานของไตเกิดความผิดปกติทำให้ไม่สามารถกรองของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากเลือดได้อย่างเต็มที่ 

ความอันตรายของโรคไต มีดังนี้ 

  • การสะสมของเสียในร่างกาย: เมื่อไตไม่สามารถกรองของเสียออกจากเลือดได้ ของเสียจะสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • ปัญหาความดันโลหิต: โรคไตสามารถทำให้ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ภาวะบวม: เมื่อไตไม่สามารถกรองน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้ น้ำจะสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวมที่ขาและเท้า
  • สมดุลของเกลือและแร่ธาตุผิดปกติ: ไตที่ทำงานไม่ปกติสามารถทำให้ระดับเกลือและแร่ธาตุ เช่น โพแทสเซียมและแคลเซียมในร่างกายผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหากับหัวใจและกระดูก
  • ภาวะเลือดจาง: เมื่อไตทำงานผิดปกติทำให้ไม่สามารถผลิตฮอร์โมน Erythropoietin ซึ่งช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะเลือดจาง
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด: ผู้ป่วยโรคไตมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

การประเมินโรคไตด้วยแบบประเมินเบื้องต้นจะช่วยให้เราทราบถึงความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการดูแลตัวเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

 

ปรึกษาเรื่องโรคไตกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่มีค่าจัดส่งยา

แบบประเมิน โรคไต

แบบประเมินความเสี่ยงโรคไต ใน 10 ปีข้างหน้า (Thai CKD Risk Score) 

Disclaimer: แบบประเมินความเสี่ยงโรคไตใน 10 ปีข้างหน้า หรือ Thai CKD Risk Score เป็นแบบประเมินความเสี่ยงเพื่อทำนายโอกาสการเกิดโรคไตในอีกระยะ 10 ข้างหน้า ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องยืนยันในการเกิดโรคได้ ผู้ทำแบบทดสอบควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายอีกครั้ง

โปรดเลือกคำตอบที่ตรงกับท่านที่สุดในแต่ละข้อพร้อมให้คะแนน เมื่อทำครบทุกข้อแล้วให้รวมคะแนนและดูการแปรผลความเสี่ยงในตารางถัดไป

ปัจจัยเสี่ยง
คะแนนความเสี่ยง
อายุ
Add New
• น้อยกว่า 45
0
• 45-54 ปี
2
• มากกว่า 55 ปี
4
เพศ
Add New
• หญิง
0
• ชาย
3
รอบเอว
Add New
• ผู้หญิง น้อยกว่า 80 เซนติเมตร
0
• ผู้ชาย น้อยกว่า 90 เซนติเมตร
0
• ผู้หญิง มากว่า 80 เซนติเมตร
1
• ผู้ชาย มากกว่า 90 เซนติเมตร
1
ประวัติการป่วยโรคเบาหวาน
Add New
• มี
0
• ไม่มี
2
ระดับความดันโลหิต
Add New
• น้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท
-2
• 120-129 มิลลิเมตรปรอท
0
• 130-139 มิลลิเมตรปรอท
1
• 140-149 มิลลิเมตรปรอท
2
• 150-159 มิลลิเมตรปรอท
3
• เท่ากับหรือมากกว่า 160 มิลลิเมตรปรอท
4

ที่มา : คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 

https://www.rama.mahidol.ac.th/kidney_disease_risk/Thai_CKD_risk_score/

แปลผลระดับคะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตใน 10 ปีข้างหน้า

การประเมินโรคไต
ผลรวมคะแนนความเสี่ยง
ระดับความเสี่ยง
-2 ถึง 2
ระดับน้อย (มีความเสี่ยงน้อยกว่า 5%)
3 ถึง 6
ระดับปานกลาง (มีความเสี่ยง 5-10%)
7 ถึง 9
ระดับสูง (มีความเสี่ยง 10-20%)
10 ขึ้นไป
ระดับสูงมาก (มีความเสี่ยง 20% ขึ้นไป)

คำแนะนำสำหรับผู้มีความเสี่ยงต่อโรคไตจากแบบประเมินความเสี่ยงโรคไตใน 10 ปีข้างหน้า

แบบประเมินผู้ป่วยโรคไต
ระดับความเสี่ยง
คำแนะนำ
1. ระดับน้อย
ควรหมั่นดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำและนอนหลับให้เพียงพอ ลดหรือจำกัดการรับประทานหวาน มัน เค็ม ไม่รับประทานเกินความต้องการของร่างกาย รักษาระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือ เหมาะสม และไปตรวจสุขภาพประจำทุกปี
2. ระดับปานกลาง
ควรหมั่นดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำและนอนหลับให้เพียงพอ ลดหรือจำกัดการรับประทานหวาน มัน เค็ม ไม่รับประทานเกินความต้องการของร่างกายรักษาระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือ เหมาะสม และไปตรวจสุขภาพประจำทุกปี
3. ระดับสูง
ต้องใส่ใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น หาความรู้ด้านสุขภาพ ปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง หลีกเลี่ยงความเสี่ยงจะเป็นโรคไต รักษาระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลใน เลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือเหมาะสม และไปตรวจสุขภาพประจำทุกปี
4. ระดับสูงมาก
ควรปรึกษาแพทย์ ปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง หลีกเลี่ยงความเสี่ยงจะเป็นโรคไต รักษาระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือเหมาะสม และไปตรวจสุขภาพประจำทุกปี

แบบประเมินความเสี่ยงโรคไต มีความสำคัญอย่างไรบ้าง ทำไมถึงควรทำ

แบบประเมินความเสี่ยงโรคไตมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบและทราบถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคไตตั้งแต่แรก ๆ ซึ่งมีประโยชน์และความสำคัญของแบบประเมินโรคไตมีดังนี้

  1. การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรก: การประเมินความเสี่ยงช่วยให้ตรวจพบโรคไตตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งทำให้สามารถเริ่มการรักษาได้ทันเวลาและลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน

  2. การป้องกันและลดความเสี่ยง: เมื่อทราบถึงความเสี่ยงแล้วจะช่วยให้เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การควบคุมความดันโลหิต การลดการบริโภคเกลือ และการดูแลน้ำหนักตัว เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไตได้ดีขึ้น

  3. การดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม: การทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคไตช่วยให้ทราบถึงวิธีการดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น เช่น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไต

  4. การติดตามและตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ: เมื่อทราบแล้วว่าเรามีความเสี่ยงก็จะช่วยให้เกิดการตรวจสุขภาพเป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามสถานะของไตและตรวจหาอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น

ใครที่ควรทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคไต

ผู้ที่ควรทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคไต ได้แก่กลุ่มบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตดังนี้

  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไต
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
  • ผู้ที่มีประวัติการทานยาเป็นเวลานาน เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs 
  • ผู้ที่มีโรคหัวใจหรือหลอดเลือด

สรุปแบบประเมินความเสี่ยงโรคไต

โรคไตเป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดภาวะอันตรายต่อร่างกายอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น บวมน้ำ น้ำท่วมปอด ความดันโลหิตสูง ภาวะเลือดจาง

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เป็นส่วนตัวสูง พร้อมจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

พญ.กนกวรรณ อนุศักดิ์
แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Thai CKD risk score. (n.d.). https://www.rama.mahidol.ac.th/kidney_disease_risk/Thai_CKD_risk_score/#regat3

 

Thai CKD risk score. (n.d.-b). https://www.rama.mahidol.ac.th/kidney_disease_risk/Thai_CKD_risk_score/

https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1308820220905025852.pdf

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Takeaways Telemedicine คือ การปรึกษาแพทย์และผู้ชำนาญการผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ ควรเลือกใช้บริการ Telemedicine ในไทยที่เชื่อถือได้ บุคลากรมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ มีการรักษาความลับของข้อมูลคนไข้ Telemedicine คือ การหาหมอที่สะดวกสำหรับอาการป่วยท

หากพูดถึงเรื่องการลดน้ำหนัก Intermittent Fasting หรือการทำ IF น่าจะเป็นหนึ่งในวิธีที่หลายคนเลือกใช้ IF เป็นวิธีการลดน้ำหนักที่นิยมมาระยะหนึ่ง แต่ปัญหาหนึ่งที่หลายคนพบคือทำ IF แล้วไม่ได้ผล หรือ น้ำหนักไม่ลดอย่างที่ต้องการ มาทำความเข้าใจวิธีทํา IF และส