Key Highlight ปัญหานกเขา ไม่ขันเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งปัญหาการไหลเวียนของหลอดเลือด ปัญหาฮอร์โมนเพศชายลดลง การทานยาบางชนิด การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ความเครียด นกเขาไม่ขันในเพศชายอายุน้อยมักจะเกิดจากปัจจัยด้านจิตใจ เช่น ผู้ที่มีความเครียด มีภาวะวิตกกังว
รู้จักโรคเอดส์ต่างกับโรคติดเชื้อไวรัส HIV อย่างไร วิธีรักษาและป้องกัน
Key Takeaways
- โรคเอดส์คือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งจะพบในระยะสุดท้ายของการติดเชื้อไวรัส HIV ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัส HIV แล้วนานประมาณ 8 – 10 ปี
- เมื่อสงสัยว่าจะได้รับเชื้อไวรัส HIV ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อปรึกษาขอรับยาต้านไวรัสหลังสัมผัสเสี่ยง (PEP) ในทันที หรือภายใน 72 ชั่วโมง
- การติดเชื้อไว้รัส HIV สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งที่มีเลือดของผู้ติดเชื้อ HIV ปนเปื้อน
โรคเอดส์ คืออะไร
โรคเอดส์ Acquired Immunodeficiency Syndrome (AIDS) หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง คือ กลุ่มอาการในระยะสุดท้ายของการติดเชื้อไวรัส Human Immunodeficiency Virus (HIV) ซึ่งโรคเอดส์จะปรากฏขึ้นภายหลังผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัส HIV นานประมาณ 8 – 10 ปี โดยในระยะนี้ปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ในร่างกายจะมีปริมาณลดลงเหลือน้อยกว่า 200 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงมีโอกาสสูงในการเกิดการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ เช่น โรควัณโรคปอด โรคปอดอักเสบจากเชื้อรา ท้องเสียเรื้อรังจากเชื้อโพรโทซัว โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา เป็นต้น
BeDee Tips: รู้จักซิฟิลิสโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพิ่มเติม อ่านเลย
ปรึกษาเรื่องอาการโรคเอดส์กับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่มีค่าจัดส่งยา
โรคเอดส์กับโรคติดเชื้อไวรัส HIV ต่างกันอย่างไร
หลายคนอาจยังสับสนว่า AIDS กับ HIV นั้นแตกต่างกันอย่างไร ก่อนที่จะเกิดโรคเอดส์ได้นั้นผู้ป่วยจะต้องผ่านการติดเชื้อไวรัส Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV ก่อนนั่นเอง ซึ่งระยะของการติดเชื้อ HIV จะแบ่งระยะตามอาการและระยะเวลาของการติดเชื้อ
ระยะของ HIV สู่โรคเอดส์
โรคติดเชื้อไวรัส HIV แบ่งอาการได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 ระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อไวรัส HIV (Primary Infections: Acute HIV Infection)
อาการมักเกิดขึ้นในช่วง 2-4 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อไวรัส HIV โรค hiv อาการในช่วงนี้ผู้ป่วยอาจมีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีต่อมน้ำเหลืองอักเสบ และมีผื่น หรือในบางรายอาจไม่มีอาการแสดงใด ๆ เนื่องจากอาการ HIV ระยะแรก ร่างกายของผู้ป่วยจะยังสามารถเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัส HIV ได้ จึงจะปรากฏอาการไม่สบายช่วงสั้น ๆ และที่สำคัญคือหลังการติดเชื้อในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีปริมาณไวรัส HIV ในร่างกายเพิ่มมากขึ้น จึงสามารถแพร่เชื้อ HIV ให้กับผู้อื่นได้ด้วย หากยังไม่ได้รับยาต้านไวรัสเพื่อรักษา ผู้ป่วยจึงควรรีบเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาโดยการรับประทานยาต้านไวรัส HIV โดยเร็วที่สุด - ระยะที่ 2 ระยะติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ (Clinical Latent Infection: Chronic HIV Infection)
อาการติดเชื้อไวรัส HIV ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีปริมาณไวรัสในเลือดลดลงเมื่อเทียบกับระยะแรก แต่ยังคงพบอยู่ในร่างกาย ระยะนี้อาจกินเวลาอยู่หลายปี ผู้ติดเชื้ออาจไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่จำเพาะเพียงเล็กน้อย แต่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 จะถูกไวรัสทำลายลงอย่างช้า ๆ ถ้ายังไม่ได้รับการรักษา HIV ซึ่งระยะนี้ยังคงสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน - ระยะที่ 3 ระยะโรคเอดส์ (Progression to AIDS)
ในระยะนี้จะเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัส HIV แล้วนานประมาณ 8 – 10 ปี เป็นช่วงที่ระดับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 จะลดลงเหลือต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ซึ่งแสดงถึงภูมิคุ้มกันที่ลดลงอย่างมาก ด้วยสาเหตุนี้เองทำให้โรคเอดส์อาการเริ่มต้นมักมีอาการแสดงที่เกิดจากการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ เช่น โรควัณโรคปอด โรคปอดอักเสบจากเชื้อรา ท้องเสียเรื้อรังจากเชื้อโพรโทซัว โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา เป็นต้น ซึ่งการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 ปีหลังเข้าสู่ระยะของโรคเอดส์
BeDee Tips: เริมกับเริมที่ปาก ติดต่อได้ไหม มีอาการอย่างไร อ่านเลย
โรคเอดส์และ HIV เกิดจากอะไร ติดต่อได้อย่างไร
โรค AIDS เกิดจากเชื้อไวรัส HIV ซึ่งการติดต่อหรือวิธีการรับเชื้อไวรัส HIV นั้นผู้ป่วยจะได้รับเชื้อผ่านการสัมผัสสารคัดคลั่งที่มีการปนเปื้อนเลือดของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ และยังไม่ได้รับการรักษาด้วยการรับประทานต้านไวรัส ผ่านวิธีการ เช่น
- การมีบาดแผลเปิดที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งที่มีการปนเปื้อนเลือดของผู้ป่วยติดเชื้อ
- การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันทั้ง ชาย-หญิง และ ชาย-ชาย
- การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ป่วยติดเชื้อ
- การรับเชื้อจากมารดาที่ตรวจพบมีการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ และยังไม่ได้รับการรักษาก่อนการคลอด
BeDee Tips: ไวรัส HPV ไม่ได้ทำให้เกิดโรคมะเร็งเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิด หูดหงอนไก่ ได้อีกด้วย อ่านเพิ่มเติมเลย
ปรึกษาเรื่องโรคเอดส์กับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่มีค่าจัดส่งยา
โรคเอดส์ อาการเป็นอย่างไร
อาการแสดงของโรคเอดส์ โดยทั่วไปแล้วมักเกิดขึ้นหลังจากที่ระดับภูมิคุ้มกันหรือปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ลดลงมีปริมาณน้อยกว่า 200 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตรทำให้ร่างกายอ่อนแอลงมาก และแสดงอาการของการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส เช่น โรควัณโรคปอด โรคปอดอักเสบจากเชื้อรา ท้องเสียเรื้อรังจากเชื้อโพรโทซัว โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา เป็นต้น โดยมีอาการที่อาจพบได้ เช่น
- มีไข้เรื้อรัง
- ไอเรื้อรัง
- ท้องเสียเรื้อรัง
- พบฝ้าขาว ร่วมกับเจ็บในช่องปาก และในคอ
- มีอาการกลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
- มีผื่นคันตามตัว
- ไอปนเลือด
- อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ
- อาการปวดศีรษะเรื้อรัง
- น้ำหนักตัวลดลง
- คลำได้ก้อนต่อมน้ำเหลืองตามตัว
โรคติดเชื้อไวรัส HIV มีวิธีวินิจฉัยอย่างไร
การวินิจฉัยโรคเอดส์ (AIDS) เป็นกลุ่มอาการโดยต้องตรวจพบการติดเชื้อไวรัส HIV มาก่อนนานเป็นระยะเวลาหนึ่ง ร่วมกับมีอาการแสดงของการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ลดลงเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV (Human Immunodeficiency Virus) โดยทั่วไปแล้วการตรวจหาเชื้อ HIV แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
การตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ HIV (Antibody Tests)
- การตรวจเลือด (Blood Test): เป็นวิธีการตรวจมาตรฐานเนื่องจากมีความแม่นยำสูง การตรวจหาแอนติบอดีเชื้อ HIV ในเลือดสามารถให้ผลตรวจที่ชัดเจนภายในระยะเวลา 2-8 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ
- การตรวจน้ำลาย (Oral Fluid Test): การเก็บตัวอย่างน้ำลายจากเหงือกและกระพุ้งแก้มสามารถนำมาตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ HIV ได้ แต่มีความแม่นยำน้อยกว่าการตรวจเลือด และจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
- การตรวจปัสสาวะ (Urine Test): การตรวจหาการติดเชื้อ HIV จากปัสสาวะ แต่มีความแม่นยำน้อยกว่าการตรวจเลือด และจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
การตรวจหาแอนติเจนต่อเชื้อ HIV (Antigen Tests)
- การตรวจหาแอนติเจนต่อเชื้อ HIV (Antigen Tests)
การตรวจ p24 Antigen: แอนติเจน p24 เป็นโปรตีนที่อยู่ในตัวเชื้อไวรัส HIV การตรวจนี้สามารถใช้ตรวจพบการติดเชื้อในช่วงระยะเวลาที่เร็วกว่าแอนติบอดี คือภายใน 2-4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ
การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ HIV (Nucleic Acid Amplification Test, NAAT)
การตรวจ Nucleic Acid Amplification Test หรือ NAAT: เป็นการตรวจที่สามารถพบเชื้อ HIV ได้ภายใน 7-14 วันหลังจากติดเชื้อ เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูงมาก แต่มีค่าใช้จ่ายในการตรวจที่สูง จึงไม่นิยมนำมาใช้เพื่อการตรวจเชิงคัดกรอง แต่จะใช้ในกรณีที่มีข้อจำกัดในการตรวจ และแปลผลด้วยวิธีมาตรฐาน หรือเพื่อยืนยันการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมจากการตรวจด้วยวิธีการตรวจแอนติเจน และแอนติบอดีมาตรฐาน เช่น การตรวจในทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงจากมารดาที่ได้รับการวินิจฉัยติดเชื้อ HIV หรือการตรวจยืนยันในผู้ที่มีผลการตรวจคัดกรองในเบื้องต้นเป็นบวกแต่มีความขัดกันของผลในแต่ละชุดตรวจ
โรคติดเชื้อไวรัส HIV รักษาอย่างไร
สำหรับการรักษาโรคติดเชื้อไวรัส HIV นั้น ทันทีที่ผู้ป่วยทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส HIV ควรรีบพบแพทย์ในทันทีเพื่อรับการตรวจประเมินความเสี่ยง และรับยาต้านไวรัสหลังสัมผัสเสี่ยง PEP (Post-Exposure Prophylaxis) โดยเร็วที่สุด หรือภายใน 72 ชั่วโมง และในกรณีเมื่อผู้ป่วยได้รับการยืนยันแล้วว่าตรวจพบเชื้อไวรัส HIV แพทย์จะแนะนำการรักษา และจ่ายยาต้านไวรัส HIV ให้ผู้่ป่วยรับประทานต่อเนื่อง ยิ่งผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสเร็ว จะยิ่งช่วยในการควบคุมการติดเชื้อได้เร็วขึ้น ลดโอกาสการเกิดโรคเอดส์ที่จะตามมา และที่สำคัญคือลดโอกาสในการแพร่กระจายโรคติดเชื้อไวรัส HIV ไปสู่ผู้อื่นอีกด้วย
ปรึกษาเรื่องโรคเอดส์กับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่มีค่าจัดส่งยา
โรคเอดส์มีวิธีป้องกันอย่างไร
วิธีป้องกันโรคเอดส์นั้น คือการป้องกันไม่ให้ตนเองติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัส HIV ซึ่งวิธีการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV สามารถทำได้ดังนี้
- การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์
- ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ
- ตรวจคัดกรองหากมีประวัติสัมผัสเสี่ยง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคเอดส์
1. โรคเอดส์และ HIV สามารถติดต่อผ่านน้ำลายได้ไหม?
HIV กับ AIDS นั้นสามารถติดต่อผ่านน้ำลายได้ แต่โอกาสในการติดเชื้อนั้นมีโอกาสน้อยมาก อย่างไรก็ตามการหากสงสัยว่ามีความเสี่ยงจากการสัมผัสสารคัดคลั่ง หรือมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันกับผู้ติดเชื้อ HIV ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส และรับยาต้านไวรัสหลังสัมผัสเสี่ยง (PEP)โดยเร็วที่สุด หรือภายใน 72 ชั่วโมง
2. เอดส์สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?
การรักษาโรคเอดส์นั้นเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคติดเชื้อไวรัส HIV แล้วควรได้รับการรักษาโดยการรับประทานยาต้านไวรัสโดยเร็วเพื่อควบคุมปริมาณไวรัส ไม่ให้การดำเนินโรคพัฒนาเข้าสู่ระยะโรคเอดส์ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัส HIV ไปแล้วนานประมาณ 8 – 10 ปี เมื่อการดำเนินโรคเข้าสู่ระยะขั้นโรคเอดส์แล้ว ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันลดลงอย่างมาก ระดับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ลดลงจนทำให้เกิดการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสได้มากมาย ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 2-3 ปี แล้วจึงเสียชีวิตจากการติดเชื้อแทรกซ้อนในท้ายที่สุด
3. หากต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วย HIV ปฏิบัติตัวอย่างไร?
โรค HIV นั้นติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ วิธีการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส HIV ควรหลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกัน เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน หรือเข็มฉีดยาร่วมกัน เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้สามารถปนเปื้อนสารคัดหลั่งได้ ควรสวมถุงมือเมื่อมีการสัมผัสกับเลือดหรือของเหลวในร่างกาย เช่น การทำแผล เป็นต้น ควรเน้นการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ เห็นอก เห็นใจ ให้กำลังใจผู้ป่วยในการใช้ชีวิต และการช่วยดูแลให้ผู้่ป่วยรับประทานยาต้านไวรัส HIV อย่างต่อเนื่อง และพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำ
สรุปโรคเอดส์ ปรึกษาการรักษาและวิธีการดูแลผู้ป่วยกับคุณหมอ
วิธีการรักษาโรคติดเชื้อไวรัส HIV หรือโรคเอดส์นั้นต้องอาศัยความเข้าใจจากญาติ และการดูแลต่อเนื่องจากแพทย์
ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เป็นส่วนตัวสูง พร้อมจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
นพ.ธณัติ อุ่นสินมั่น
อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
About HIV. (2024, January 24). HIV. https://www.cdc.gov/hiv/about/index.html
HIV/AIDS – Symptoms and causes – Mayo Clinic. (2024, February 9).
Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hiv-aids/symptoms-causes/syc-20373524
HIV symptoms. (2023, May 21). WebMD. https://www.webmd.com/hiv-aids/understanding-aids-hiv-symptoms