เตียงผู้ป่วย

เมื่อพูดถึงการดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องการการพักฟื้นเป็นเวลานาน การเลือกเตียงผู้ป่วยที่เหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความสบายแล้ว ยังช่วยลดภาระของผู้ดูแลและป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการนอนในท่าเดิมนาน ๆ ปัจจุบันมีเตียงผู้ป่วยหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติและประโยชน์แตกต่างกันไป ซึ่งการที่ผู้ดูแลเข้าใจถึงความหลากหลายของเตียงคนไข้และวิธีการเลือกให้เหมาะสมกับผู้ป่วย จะช่วยให้การดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในบทความนี้ เราจะมาสำรวจกันว่ามีเตียงผู้ป่วยแบบใดบ้าง และมีวิธีการเลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์การใช้งานอย่างแท้จริง

สารบัญบทความ

เตียงผู้ป่วย คืออะไร

เตียงผู้ป่วยคืออะไร

เตียงผู้ป่วย คือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องนอนพักฟื้นเป็นระยะเวลานาน หรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ซึ่งแตกต่างจากเตียงนอนทั่วไปในหลายด้าน เตียงคนไข้ จึงไม่ใช่แค่ที่นอน แต่เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก เพิ่มความปลอดภัย และส่งเสริมการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วย ทั้งยังช่วยลดภาระของผู้ดูแลในการจัดการและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอีกด้วย

เตียงผู้ป่วยมีกี่ประเภท

เตียงผู้ป่วยมีหลายประเภท แต่โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ตามลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติเฉพาะ ดังนี้

1. เตียงผู้ป่วยแบบมือหมุน (Manual Hospital Bed)

เตียงผู้ป่วยคืออะไร
  • ปรับระดับท่าทางต่าง ๆ ด้วยมือหมุน
  • เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลระยะสั้น หรือไม่ต้องการการปรับเปลี่ยนท่าทางบ่อย
  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
  • เป็นเตียงผู้ป่วยราคาถูกกว่าแบบอื่น

2. เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า (Electric Hospital Bed)

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
  • เตียงผู้ป่วยที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ในการปรับระดับเตียง ท่าทาง และฟังก์ชันต่าง ๆ
  • ผู้ป่วยสามารถควบคุมเองได้ผ่านรีโมทหรือแผงควบคุม ช่วยลดภาระของผู้ดูแล
  • เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องนอนนาน ต้องการเปลี่ยนท่าบ่อย หรือมีปัญหาในการเคลื่อนไหว
  • มีราคาเตียงผู้ป่วยที่แพงขึ้นกว่าแบบมือหมุน แต่สะดวกสบายกว่า

เตียงผู้ป่วย หรือเตียงคนไข้ มีประโยชน์แค่ไหนสำหรับผู้ป่วย

เมื่อพูดถึงการดูแลผู้ป่วย สิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้ามคือความสำคัญของเตียงผู้ป่วย หลายคนอาจคิดว่าเตียงนอนธรรมดาทั่วไปที่ใช้กันตามบ้าน แต่สำหรับผู้ป่วยแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องนอนพักฟื้นเป็นเวลานาน เตียงนอนคนป่วยไม่ใช่แค่ที่นอน แต่เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มหาศาลต่อการฟื้นฟูร่างกายและคุณภาพชีวิต
เตียงผู้ป่วย ข้อดี
  1. เพิ่มความปลอดภัย ทั้งการออกแบบที่เหมาะสมเสำหรับผู้ป่วย ราวกั้นข้างเตียงที่ช่วยป้องกันการตกเตียงโดยเฉพาะในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีอาการสับสน นอกจากนี้ ความสามารถในการปรับระดับความสูงของเตียงยังช่วยให้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทำได้ง่ายและปลอดภัยมากขึ้น ลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้ม
  2. สะดวกสบายทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล การปรับระดับเตียงผู้ป่วยไม่ใช่แค่ความสะดวกสบาย แต่ยังช่วยให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น เตียงผู้ป่วยปรับนั่งได้ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการรับประทานอาหาร ดูทีวี นั่งพักผ่อน โดยลดการพึ่งพาผู้อื่น ส่งผลดีต่อสภาพจิตใจผู้ป่วย อีกทั้งฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ช่วยแบ่งเบาแรงผู้ดูแลอีกด้วย
  3. ส่งเสริมการไหลเวียนเลือด การนอนในท่าเดิมนานๆ อาจทำให้เกิดปัญหาการไหลเวียนเลือด นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเช่นลิ่มเลือดอุดตัน เตียงผู้ป่วยที่ปรับระดับได้ช่วยยกขาหรือปรับท่านอนเพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของเลือด ลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้
  4. ป้องกันปัญหาระบบทางเดินหายใจ การยกหัวเตียงสูงขึ้นไม่เพียงช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น แต่ยังช่วยป้องกันการสำลักและลดความเสี่ยงของปอดอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยติดเตียง

เลือกซื้อเตียงผู้ป่วยแบบไหนดี

การเลือกเตียงผู้ป่วยที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะส่งผลโดยตรงต่อความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และการฟื้นฟูของผู้ป่วย รวมถึงภาระของผู้ดูแล ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกเตียงคนไข้มีดังนี้
เตียงผู้ป่วยแบบไหนดี
  1. สภาพร่างกายผู้ป่วย ผู้ป่วยติดเตียงหรือเคลื่อนไหวน้อย ควรเลือกเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เพราะจะมีฟังก์ชันที่ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างปลอดภัย และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแล โดยเฉพาะผู้ดูแลตัวคนเดียวหรือมีอายุมากแล้ว ทั้งท่าทางการปรับระดับต่าง ๆ ยังช่วยดูแลสุขภาพให้ผู้ป่วยอีกด้วย
  2.   ระยะเวลาการใช้งาน ใช้งานระยะสั้น แค่ไม่กี่เดือน เตียงผู้ป่วยราคาถูก อาจเหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่าย แต่หากต้องการใช้งานระยะยาวหลายปี ควรลงทุนซื้อเตียงไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติครบครันจะคุ้มค่ามากกว่า
  3. พื้นที่ใช้สอย การที่บ้านมีพื้นที่จำกัด ควรเลือกเตียงผู้ป่วยที่มีขนาดไม่ใหญ่ ซึ่งมาตรฐานที่ดีคือเตียงผู้ป่วยขนาด 3 ฟุต อาจต้องพิจารณาเพิ่มในรุ่นที่มีล้อเลื่อนเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย สามารถพับเก็บได้เมื่อไม่ใช้งาน เตียงน้ำหนักเบาขนย้ายสะดวก ถอดหัวท้ายเตียงได้ เป็นต้น
  4. บริษัทผู้ผลิตและร้านที่จำหน่าย เตียงผู้ป่วยหรือเตียงคนไข้ ควรดูผู้ผลิตที่มีความชำนาญและมีมาตรฐานในการผลิตระดับสากล รวมทั้งร้านค้าที่นำมาจำหน่าย แนะนำให้เป็นร้านขายเครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง เพราะจะมีการให้คำแนะนำและบริการที่เหมาะสมกว่า หากสินค้ามีปัญหาก็จะสามารถให้การดูแลได้ถูกต้อง
  5. งบประมาณ เตียงผู้ป่วยมือหมุนอาจมีราคาถูกกว่า แต่อาจมีฟังก์ชันจำกัด ผู้ป่วยปรับระดับเองไม่ได้ และผู้ดูแลต้องลำบากกายมากขึ้น ในขณะที่เตียงไฟฟ้ามีราคาสูงกว่า แต่สะดวกสบายมากกว่า ฟังก์ชันครบครันมากกว่า และคุ้มค่าเมื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในระยะยาว
ซื้อเตียงผู้ป่วย

หากมองหาเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่มีคุณภาพ มีฟังก์ชันให้เลือกได้หลากหลายตามความต้องการ พร้อมทั้งให้ราคาเตียงผู้ป่วยที่คุ้มค่าเหมาะสม แนะนำให้เลือกเตียงไฟฟ้า ALLWELL นำเข้าจากต่างประเทศที่ได้รับมาตรฐานระดับสากลจากผู้ผลิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านเครื่องมือแพทย์  ที่มีให้เลือกหลากหลายรุ่นหลายฟังก์ชัน โดยมีประสบการณ์การจำหน่ายเตียงผู้ป่วยของแบรนด์ให้โรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 60,000 เตียง

ซื้อเตียงผู้ป่วย ALLWELL ยังมีบริการให้คำปรึกษาฟรี ในการช่วยเลือกเตียงที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ พร้อมมีบริการจัดส่ง ติดตั้ง และสาธิตการใช้งานโดยช่างเทคนิคให้ถึงบ้าน ที่สำคัญ ทางแบรนด์มีศูนย์บริการหลังการขาย คอยดูแลให้คำปรึกษาหลังใช้งาน และมีอะไหล่ที่พร้อมให้บริการ สามารถดูแลลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

สรุป เตียงผู้ป่วยคืออุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นที่สุด

จะเห็นได้ว่า เตียงนอนคนป่วยไม่ใช่แค่เฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งในห้อง แต่เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของผู้ป่วย ตั้งแต่การป้องกันภาวะแทรกซ้อน ไปจนถึงการส่งเสริมการฟื้นฟูและคุณภาพชีวิต การลงทุนในเตียงผู้ป่วยที่เหมาะสมจึงไม่ใช่แค่เรื่องความสะดวกสบาย แต่เป็นการลงทุนในสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ป่วย เพื่อที่จะกลับมามีชีวิตที่มีคุณภาพอีกครั้ง
บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Takeaways สาเหตุการเกิด PM 2.5 มีหลายปัจจัย เช่น ธรรมชาติ การก่อสร้าง การคมนาคม การเผาไหม้ ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ผื่นคัน ไอเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ หากมีอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ควรปรึกษาแพทย์ สารบัญบทความ ฝุ่น PM 2.5 เก

Key Takeaway นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าทำให้ผู้สูบเสพติดการสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ต่างจากบุหรี่ปกติ บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษเสพติดอันตรายเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ และมะเร็ง บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย สารบัญบทความ รู้จักบุหรี่ไฟฟ้าคืออะ