ผื่นลมพิษ หนึ่งในอาการที่หลายคนเคยเป็น แม้ลมพิษจะดูไม่อันตรายอะไรแต่ก็สร้างความรำคาญด้วยอาการผื่นแดงคัน ผื่นขึ้นตามตัว และอาการเห่อแดงของผื่นจนทำให้ไม่กล้าพบเจอใคร และในบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นหอบ หายใจไม่ทัน หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน
รู้จักเซ็บเดิร์ม โรคผิวหนังลอกเป็นขุย
Key Takeaway
- โรคเซ็บเดิร์มมักเกิดบริเวณที่มีการผลิตน้ำมันบนผิวหนังอย่างมาก เช่น เซ็บเดิร์มที่หน้า เซ็บเดิร์มหนังศีรษะ เซ็บเดิร์มที่จมูก
- ผู้ป่วยเซ็บเดิร์มมักพบผิวลอกเป็นขุย หรือเป็นแผ่นสีขาว บริเวณหัวคิ้ว ข้างจมูก ใบหู รอบปาก หนังศีรษะ มีอาการปวด คัน ร่วมด้วย
- การใช้ยารักษาเซ็บเดิร์มที่เป็นทากลุ่มสเตรียรอยด์นั้นจำเป็นต้องจ่ายโดยแพทย์ จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยก่อน
โรคเซ็บเดิร์ม คืออะไร
โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) คือโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากการอักเสบของต่อมไขมันที่ผิวหนัง โรคเซ็บเดิร์มมักเกิดบริเวณที่มีการผลิตน้ำมันบนผิวหนังอย่างมาก เช่น เซ็บเดิร์มที่หน้า เซ็บเดิร์มหนังศีรษะ เซ็บเดิร์มที่จมูก ลักษณะอาการที่พบคือมีผื่นแดง ผิวลอกเป็นขุยสีขาว ผิวเป็นสะเก็ด คัน แสบระคายเคืองโรคเซ็บเดิร์มเป็นโรคเรื้อรังและอาจก่อให้เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการมาก อาจทำให้ขาดความมั่นใจในภาพลักษณ์ของตนเอง
บริเวณที่มักเกิดเซ็บเดิร์ม
โรคเซ็บเดิร์มบริเวณที่เรามักพบรอยโรค ได้แก่ เซ็บเดิร์มที่หน้า เซ็บเดิร์มหนังศีรษะ เซ็บเดิร์มที่จมูก หัวคิ้ว หลังหูรวมถึงบริเวณลำตัวก็สามารถพบเซ็บเดิร์มได้เช่นกัน ผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย ผิวจะระคายเคืองต่อสิ่งเร้าจะมีแนวโน้มทำให้เกิดเซ็บเดิร์มได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
ปรึกษาวิธีรักษาเซ็บเดิร์มกับแพทย์โรคผิวหนังที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง จัดส่งสินค้าถึงบ้าน
เซ็บเดิร์ม สาเหตุเกิดจากอะไร
การรักษาเซ็บเดิร์มให้ดีขึ้นนั้นต้องเข้าใจก่อนว่าโรคเซ็บเดิร์มเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ละคนอาจมีปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดเซ็บเดิร์มแตกต่างกันไป สาเหตุของการเกิดเซ็บเดิร์มนั้น ได้แก่
- ยีสต์บนผิวหนังที่เรียกว่า Malassezia
- ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ
- ความเครียด และโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า
- การสัมผัสหรือแพ้สารเคมีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพผิวหนัง เช่น สบู่ ยาสระผม เครื่องสำอาง
- ฮอร์โมน
- สภาพอากาศร้อนจัด เย็นจัด
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากดภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็งบางชนิด
อาการของเซ็บเดิร์ม เป็นอย่างไร
อาการเซ็บเดิร์มนั้นขึ้นอยู่กับบริเวณที่ผู้ป่วยมีอาการ โดยทั่วไปมักพบอาการเซ็บเดิร์ม ดังนี้
- ผิวลอกเป็นขุย สะเก็ด หรือเป็นแผ่นสีขาวหรือสีเหลือง เช่น บริเวณหัวคิ้ว ข้างจมูก ใบหู รอบปาก หนังศีรษะ
- พบลักษณะรังแคบนหนังศีรษะและอาจผมร่วง ในกรณีที่เป็นโรคเซ็บเดิร์มหนังศีรษะ
- ผื่นแดง
- แสบ คัน
- มีสะเก็ดแข็งติดในบริเวณต่าง ๆ เช่นเปลือกตา
เซ็บเดิร์มแตกต่างจากโรคผิวหนังอื่น ๆ อย่างไรบ้าง
หลายคนอาจสับสนระหว่างสะเก็ดเงิน และเซ็บเดิร์ม โรคสะเก็ดเงินนั้นผู้ป่วยจะมีมีผื่นผิวหนังอักเสบนูนหนาขึ้นมา มีขอบ มีรูปทรงเป็นหยักโค้งชัดเจนเป็นแผ่นแข็ง ผื่นสะเก็ดเงินจะมีสีเข้ม อาจพบเป็นสีแดง สีชมพู สีม่วง และมีขุยด้านบนเป็นสีขาวออกไปทางสีเงิน นอกจากนี้เซ็บเดิร์มยังอาจพบร่วมกับสิวและอาจพบรอยโรคคล้ายคลึงกับกลุ่มอาการผื่นแพ้สัมผัส โดยโรคผื่นแพ้สัมผัสนั้นเมื่อซักประวัติจะพบว่าผู้ป่วยมีการสัมผัสหรือใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจึงอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ระคายเคืองเกิดขึ้นได้
ปรึกษาการใช้ยารักษาโรคเซ็บเดิร์มกับเภสัชกร BeDee ได้ทุกวันถึงเที่ยงคืน ไม่มีค่าปรึกษา! สะดวก ไม่ต้องเดินทาง จัดส่งสินค้าถึงบ้าน
เซ็บเดิร์ม รักษาอย่างไร
ใช้ยาสเตียรอยด์
การรักษาโรคเซ็บเดิร์มด้วยการใช้ยารักษาเซ็บเดิร์มที่เป็นสเตรียรอยด์นั้นจำเป็นต้องจ่ายโดยแพทย์ ทั้งนี้การรักษาเซ็บเดิร์มด้วยวิธีันี้นั้นจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยก่อน หรือแพทย์อาจพิจารณาจ่ายยาทาเซ็บเดิร์มอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง
ใช้แชมพูเซ็บเดิร์ม
การรักษาเซ็บเดิร์มหนังศีรษะอาจเลือกใช้แชมพูที่ส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) เซเลเนียม ซัลไฟด์ (Selenium Sulfide) ซิงก์ ไพริไธออน (Zinc Pyrithione) หรือโคล ทาร์ (Coal tar) เนื่องจากส่วนผสมข้างต้นมีการศึกษาว่าช่วยบรรเทาอาการที่ศีรษะได้ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงการเกา
โรคเซ็บเดิร์มมักมาพร้อมอาการคัน การดูแลรักษาโรคเซ็บเดิร์มที่สำคัญก็คือหลีกเลี่ยงการเกาเพราะอาจทำให้เกิดแผลจนทำให้ติดเชื้อได้
รักษาความสะอาด
ดูแลผิวเซ็บเดิร์มให้แห้งและสะอาด ทำความสะอาดผิวด้วยผลิตภัณฑ์อ่อนโยน หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และน้ำหอมที่อาจทำให้ผิวแห้งและระคายเคือง
นอนหลับ ไม่เครียด
วิธีรักษาโรคเซ็บเดิร์มที่หลายคนอาจลืมนึกถึงก็คือการดูแลภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรง นอนหลับพักผ่อน ออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงความเครียดเพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็นเซ็บเดิร์ม
- ทำความสะอาดบริเวณผิวเซ็บเดิร์มอย่างอ่อนโยน ควรใช้สบู่สำหรับผิวบอบบางแพ้ง่าย ใช้น้ำสะอาดอุณหภูมิปกติอาบน้ำ ล้างหน้า เพื่อรักษาความชุ่มชื้น
- ทาโลชันหลังอาบน้ำเสร็จเป็นประจำเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว
- หลีกเลี่ยงการเกาเมื่อเกิดผื่นคันเพราะอาจทำให้เกิดแผลจนทำให้ติดเชื้อได้
- หลีกเลี่ยงการแต่งหน้ากรณีรักษาเซ็บเดิร์มที่หน้า
- งดขัด สครับหน้า หรือบริเวณที่เป็นเซ็บเดิร์ม
- ใช้ยาสระผมเซ็บเดิร์มสูตรอ่อนโยน
- ไม่ควรอยู่ในที่ ๆ มีอากาศหนาวและแห้งตลอดเวลา
- หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด
- สวมใส่เสื้อผ้าเนื้อนิ่ม ลื่น สบายผิว ไม่รัดแน่นเพื่อลดการเสียดสีและการระคายเคือง
- ซักทำความสะอาด เปลี่ยนปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน และผ้าเช็ดตัวเป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงความเครียด
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเซ็บเดิร์ม
ใช้ครีมทาเซ็บเดิร์มอะไรดี?
สำหรับครีมรักษาเซ็บเดิร์มผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยถึงอาการ ความรุนแรง และสาเหตุของการเกิดเซ็บเดิร์มเพื่อให้แพทย์สั่งจ่ายยาที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย ไม่ควรหาซื้อยาเซ็บเดิร์มมาใช้เอง
เซ็บเดิร์มติดต่อได้หรือไม่?
โรคเซ็บเดิร์มไม่ใช่โรคติดต่อ ผู้ป่วยเซ็บเดิร์มสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ปกติ แต่ควรระวังเรื่องความสะอาด ไม่ใช่สิ่งของ เช่น ผ้าเช็ดตัว ร่วมกัน ถึงแม้ว่าเซ็บเดิร์มจะไม่ใช่โรคติดต่อแต่เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาให้โรคสงบ อย่างไรก็ตามเซ็บเดิร์มสามารถกลับมากำเริบได้ตลอดหากร่างกายอ่อนแอ หรือมีสิ่งเร้าต่อร่างกาย
เซ็บเดิร์มหายเองได้ไหม?
โรคเซ็บเดิร์มอาจดีขึ้นได้ในบางรายแต่อาจใช้เวลาสักระยะหนึ่ง แนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อวินิจฉัยโรค สาเหตุ เพื่อให้แพทย์จ่ายยารักษาได้อย่างตรงจุดซึ่งจะช่วยทำให้อาการเซ็บเดิร์มดีขึ้น
สรุป ไม่แน่ใจอาการเซ็บเดิร์มควรปรึกษาแพทย์
เซ็บเดิร์มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันและอาจทำให้ขาดความมั่นใจหากมีอาการเซ็บเดิร์มรุนแรง นอกจากนี้เซ็บเดิร์มยังเป็นโรคเรื้อรังที่ใช้ระยะเวลาในการรักษา หากไม่แน่ใจอาการควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยให้ตรงจุด
ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน พร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พญ.วีรุทัย สภานนท์
แพทย์ผิวหนัง
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Seborrheic dermatitis – Symptoms and causes – Mayo Clinic. (2022, September 27). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seborrheic-dermatitis/symptoms-causes/syc-20352710
National Eczema Association. (2022, November 17). Seborrheic dermatitis: Causes, symptoms and treatment. https://nationaleczema.org/eczema/types-of-eczema/seborrheic-dermatitis/
Seborrheic dermatitis: Overview. (n.d.). https://www.aad.org/public/diseases/a-z/seborrheic-dermatitis-overview