ช่วงเวลาที่ผู้หญิงกำลังจะกลายเป็นคุณแม่ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่น่ายินดีและน่าจะมีความสุข แต่เมื่อหลังจากคลอดลูกแล้ว คุณแม่กลับมีอาการซึมลง ดูไม่มีความสุข หรือเกิดความเครียดขึ้นมา อาการเหล่านี้อาจส่งสัญญาณว่าคุณแม่กำลังมีอาการของซึมเศร้าหลังคลอด หรือที่
ระดับความเครียดทั้ง 4 ระดับ สัญญาณเตือนที่ต้องสังเกต
ทุกคนล้วนเจอกับความเครียดในทุก ๆ วัน บางครั้งอาจเป็นระดับความเครียดเล็กน้อยที่เราอาจไม่รู้ตัว เช่น เครียดเรื่องรถติด เครียดที่ต้องตื่นเช้า เครียดหิวข้าว เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงความเครียดเล็กน้อยเท่านั้น ในชีวิตเรายังมีปัญหาอื่น ๆ ที่ทำให้ระดับความเครียดสูงขึ้นจนอาจนำไปสู่โรคเครียด หรือ โรคเครียดสะสม ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมา แล้วเราควรจะรับมือกับโรคนี้ได้อย่างไร ประเมินระดับความเครียด อย่างไรได้บ้าง มาทำความเข้าใจกันเลย
ระดับความเครียด มีกี่ระดับ เครียดแบบไหนอันตราย
ระดับความเครียด คือ การวัดระดับของความกังวลหรือความตึงเครียดของบุคคลในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งสาเหตุของความแตกต่างในแต่ละระดับความเครียดนั้นสามารถเกิดจากสิ่งต่าง ๆ เช่น ปัญหาทางส่วนตัว ปัญหาการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์กับคนรัก ครอบครัว เพื่อนฝูง หรือปัญหาการเงิน เป็นต้น
ระดับความเครียดมีกี่ระดับ? บางคนรู้สึกว่าตัวเองเครียดมาก เครียดจนทนไม่ไหว บางคนรู้สึกเครียดเพียงเล็กน้อย แต่จริง ๆ แล้วร่างกายอาจกำลังมีความเครียดระดับสูง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเครียดที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้เป็นระดับความเครียดแบบใด โดยทั่วไปแล้วเราสามารถแบ่งระดับความเครียดออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ความเครียดต่ำ (Mild Stress)
ระดับความเครียดแบบต่ำคือระดับความเครียดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหรือชีวิตประจำวันมากนัก ระดับของความเครียดแบบนี้อาจทำให้รู้สึกเบื่อ เหนื่อยหน่าย เชื่องช้า ไม่มีแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจ
ความเครียดระดับปานกลาง (Moderate Stress)
ระดับของความเครียดปานกลางคือความเครียดที่เกิดขึ้นทั่วไปในชีวิตประจำวัน จัดเป็นระดับความเครียดที่ไม่มาก ยังสามารถดูแลและจัดการชีวิตประจำวันของตัวเองได้
ความเครียดระดับสูง (High Stress)
ระดับความเครียดสูงคือระดับของความเครียดที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อตึง ปวดท้อง เครียดลงกระเพาะ มีปัญหาการนอน มีพฤติกรรมการทานอาหารที่เปลี่ยนไป คือทานมากขึ้นหรือน้อยลงจากปกติ ความเครียดในระดับนี้ควรหาคนปรึกษาหรือคนรับฟังเพื่อลดระดับความเครียด
ความเครียดระดับรุนแรง (Severe Stress)
ความเครียดระดับสูงทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายและทำให้เกิดโรคทางจิตเวชต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคอารมณ์แปรปรวน โรคเครียดสะสม โรควิตกกังวล, โรคกลัว (Phobia) เช่น กลัวการเข้าสังคม (Social Phobia) เป็นต้น โรคแพนิค หรือแม้แต่โรคซึมเศร้า (Depression) หากเริ่มมีอาการเครียดต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนติดต่อกัน ควรปรึกษาแพทย์
สงสัยว่าเรากำลังมีความเครียดอยู่หรือไม่? มาทำแบบประเมินความเครียดที่นี่ได้เลย สามารถอ่านผลกับพยาบาล หรือปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาเพิ่มเติมที่แอป BeDee
ความเครียดส่งผลเสียอย่างไร?
เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้นย่อมต้องส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ สัญญาณเตือนของระดับความเครียดที่ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ได้แก่
- Cognitive Symptoms
ความเครียดส่งผลกระทบต่อด้านสมองและความจำเป็นขั้นแรก เช่น ทำให้เกิดความสับสน ความกังวล ทำให้การทำงานของสมองและการตัดสินใจช้าลง
- Emotional Symptoms
ความเครียดที่ส่งผลต่อด้านอารมณ์ เมื่อเกิดความเครียดจะทำให้อารมณ์แปรปรวน เกิดความหงุดหงิด ทุกข์ใจ รู้สึกหดหู่ ฉุนเฉียว เหงา โดดเดี่ยว หรือซึมเศร้า
- Physical Symptoms
ในด้านความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายเมื่อมีระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดอาการปวดหัว ปวดท้อง มีปัญหาในการนอนหลับ ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก
- Behavioral Symptoms
สำหรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากระดับความเครียดที่มากขึ้น ได้แก่ พฤติกรรมการทานอาหารที่มากขึ้นหรือน้อยกว่าปกติ ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่มากขึ้น หลีกเลี่ยงการพบปะคนหรือการเข้าสังคม
สอบถามวิธีจัดการความเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล หรือปัญหาสุขภาพใจอื่น ๆ กับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิก
ดูแลตนเองและรับมือกับความเครียดในระดับต่าง ๆ อย่างไร
การดูแลตนเองเมื่อเครียดสามารถทำได้ไม่ยากดังนี้
- ผ่อนคลายตัวเองด้วยการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ หรือการฝึกลมหายใจเพื่อผ่อนคลาย
- พักผ่อน เปลี่ยนบรรยากาศด้วยการไปเที่ยว ชื่นชมธรรมชาติ ออกไปเจอสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ
- มองโลกในแง่บวก พยายามคิดว่าปัญหานั้นสามารถแก้ไขได้
- พบปะ พูดคุยกับเพื่อน คนในครอบครัว หลายครั้งการระบายปัญหาที่เราเผชิญอยู่ให้กับคนรอบข้างฟัง ช่วยให้รู้สึกโล่งใจและยังได้ไอเดียใหม่ ๆ ที่เราอาจคิดไม่ถึงในการแก้ปัญหาอีกด้วย
BeDee Tips : ถ้าไม่รู้จะจัดการระดับความเครียดของตัวเองอย่างไรดี มาดู วิธีจัดการความเครียด ที่เราแนะนำเพิ่มเติมเลย
สรุประดับความเครียด อย่ามองข้าม รีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ความเครียดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อระดับความเครียดรุนแรงขึ้น หรือเกิดขึ้นในระยะเวลายาวนานเรื้อรัง จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางรับมือ และป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคเครียดตามมา BeDee พร้อมให้คำปรึกษาโดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกวัน
ทำแบบทดสอบความเครียดพร้อมปรึกษาพยาบาล ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือเลือกปรึกษาหมอออนไลน์, ปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
วชิรญาณ์ เลิศไกร
นักจิตวิทยาคลินิก
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับระดับความเครียด
1. เครียดแค่ไหนจึงควรปรึกษาแพทย์?
หากรู้สึกว่าระดับความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เกิดความเจ็บป่วยต่อร่างกาย นอนไม่หลับ หรืออาการที่ส่งผลกระทบอื่น ๆ ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ทันทีเพื่อจัดการกับความเครียดและโรคเครียดที่เกิดขึ้นทั้งการรักษาด้วยการใช้ยา การพูดคุยเพื่อปรับความคิด รวมถึงป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา
2. ป้องกันภาวะเครียดอย่างไร?
เมื่อเจอเรื่องเครียดมาก ไม่สบายใจ รู้สึกกระทบต่อร่างกายหรือชีวิตประจำวันควรรีบปรึกษาแพทย์ และควรฝึกให้เวลาผ่อนคลายตัวเอง เช่น แบ่งเวลาเพื่อทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ฝึกกำหนดลมหายใจ ฝึกให้ตัวเองมีสติและมองในแง่บวก และเชื่อว่าเราจะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยการมีสติ อย่าตกใจกลัวปัญหาที่เข้ามา
Kaplan HI, Sadock BJ. (2022). Synopsis of psychiatry. 12th ed. Lippincott Williams & Wilkins Publishers.
American Psychiatric Association. (2022). Title of chapter. In Diagnostic and statistical manual of mental disorders (5th ed., text rev.). https://dsm-psychiatryonline-org.csu.idm.oclc.org/doi/book/10.1176/appi.books.9780890425787